Numquam prohibere somniantes
Zheng Yi Sao
Zheng Yi Sao

Zheng Yi Sao

เจิ้ง ยี่ เซา (鄭一嫂, Zheng Yi Sao)

โจรสลัด

เจิ้งยี่เซา มีชื่อจริงเมื่อตอนเกิดว่า ชี หยาง (Shi Yang) เธอเกิดในปี 1775 ในเมืองซินฮุย (Xinhui) มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเธอเป็นต้าเจีย (疍家, Tanka) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมอาศัยอยู่ในเรือ และบางข้อมูลก็บอกว่าเธอมีอาชีพเป็นหญิงค้าประเวณี

1802 กุมภาพันธ์, เจิ้งยี่เซาแต่งงานกับโจรสลัดที่มีชื่อว่า เจิ้ง ยี่ (鄭一, Zheng Yi

คำว่า เจิ้งยี่เซา ( Zheng Yi Sao) นั้นไม่ใช่ชื่อจริง แต่แปลว่า “ภรรยาของเจิ้งยี่” จึงถูกเรียกขานเป็นชื่อที่คนรู้จักเธอ

ต่อมาพวกเขามีลูกชายด้วยกันสองคน คือ เจิ้ง ยิ่งชี (Zheng Yingshi, b.1803) และ เจิ้ง  เชียงชี (Zheng Xiongshi, b.1807)

ในช่วงเวลานี้เจิ้งยี่ ทำงานร่วมกับญาติของเขาชื่อเจิ้ง ฉี (Zheng Qi) ซึ่งเรือโจรสลัดของพวกเขาใช้ธงสีแดงเป็นสัญลักษณ์ คอยดักปล้นเรือสินค้าที่ผ่านไปมาในทะเลจีนใต้ ทำให้พวกเขามีปัญหากับรัฐบาลชิง (Qing China) ของจีน บริษัทอีสต์อินเดีย (East India Company) ของอังกฤษ และกองเรือสินค้าของโปตุเกส  อยู่เนืองๆ

อีกทั้ง เจิ้งยี่ยังเป็นโจรสลัดที่รับจ้างรบให้กับราชวงศ์เตชอน (Tây Sơn dynasty) ของเวียดนาม ซึ่งรบกับจีนในราชวงศ์ชิง และกองกำลังของเหวิน ฟา (Nguyễn Phúc) 

แต่ว่าไม่นานหลังการแต่งงานของเจิ้งยี่กับเจิ้งยี่เซา  เจิ้งฉีก็ถูกทหารของเหวินฟาจับตัวเอาไว้ได้และถูกประหารชีวิตที่เมืองเจียงปิง (Jiangping) บริเวณพรหมแดนเวียดนามและจีน ซึ่งหลังจากเจิ้งฉีเสียชีวิต เจิ้งยี่ก็เข้ามารับผิดชอบดูแลบรรดาโจรสลัดในสังกัด และได้นำบรรดาโจรสลัดแล่นเรือกลับจีน ไปอยู่ในทะเลแถบกว้างตุ้ง

กรกฏาคม, เหวิน ฟา นำกองทัพบุกยึดฮานอยได้สำเร็จ และได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิเจียหลง (Emperor Gia Long) หลังจากโค่นราชวงศ์เตซอนลงได้

1805 เจิ้งยี่สามารถบรรลุข้อตกลงกับโจรสลัดกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มในพื้นที่ได้ และได้มีการก่อตั้งเป็นสมาพันธ์โจรสลัดขึ้นมา โดยประกอบไปด้วยกองเรือโจรสลัด 6 กองเรือของแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะอยู่ภายใต้ธงสีที่แตกต่างกัน คือ แดง, ดำ, ขาว, น้ำเงิน, เหลือง และม่วง โดยที่เรือโจรสลัดของเจิ้งยี่นั้นอยู่ภายใต้ธงสีแดง

สมาพันธ์โจรสลัดนี้จัดเป็นกองทัพโจรสลัดขนาดมหึมาที่มีเรือกว่า 600 ลำ และกำลังคนกว่า 50,000 คน

1807 16 พฤศจิกายน, เจิ้งยี่ สามีของเธอเสียขีวิตในวัย 42 ปี  เจิ้งยี่เซาจึงได้รับผิดชอบการดูแลกองกำลังโจรสลัดต่อจากสามีโดยที่ได้รับความช่วยเหลือจาก จาง เป๋า ไส่ (張保仔, Zhang Bao Sai) ลูกเลี้ยที่เจิ้งยี่สามีของเธอลักพาตัวมาตั้งแต่ตอนอายุ 15 และนำมาเลี้ยงเป็นบุตร ซึ่งต่อมาเจิ้งยี่เชากับจางเป๋าจ่ายก็มีความสัมพันธ์กัน 

1808 จางเป๋าจ่าย นำสมาพันธ์โจรสลัด บุกทำลายกองเรือของแม่ทัพ หลิน กัวหลิง (Lin Guoling) ที่บริเวณเมืองฮูเมน (Humen) ในมณฑลกวางตุ้งลงได้ ซึ่งทำให้จีนต้องเสียเรือรบกว่า 35 ลำ 

และต่อมาก็ได้ทำลายกองเรือของแม่ทัพหลิน ฟา (Lin Fa) ที่อยู่บริเวณเกาะเว่ยหยวน (weiyuan island) ทางตะวันออกของเมืองฮูเมนลงได้อีก ซึ่งเปิดทางให้กองเรือโจรสลัดสามารถแล่นเข้าไปยังแม่น้ำไข่มุก (Pearl river) ได้ 

1809 เหลียง เบา (Liang Bao) ซึ่งเป็นผู้นำของเรือโจรสลัดภายใต้ธงสีขาว เรือโจรสลัดภายใต้การบัญชาการของเขาถูกกองทัพเรือของราชวงศ์ชิงเอาชนะได้ บริเวณทะเลเมืองจินหวาน (Jinwan District, Zhuhai) ซึ่งการสูญเสียเหลียงเบาในครั้งนี้ ทำให้สมาพันธ์โจรสลัดภายใต้การนำของเจิ้งยี่เซาทำการล้างแค้นด้วยการปลุกปล้นสดมภ์ครั้งใหญ่ โดยกองเรือธงแดงบุกเมืองตงกวน (Dongguan) กองเรือธงดำบุกเมืองชุนเต (Shunde) และเจิ้งยี่เซาเองนำโจรสลัดบุกเมืองซินฮุย (xinhui) ซึ่งในการล้างแค้นครั้งนี้ทำให้มีผู้บริสุทธ์เสียชีวิตนับหมื่นคน

หลังเหตุการณ์นี้ รัฐบาลจีนก็หันไปขอความช่วยเหลือจากโปตุเกส ซึ่งครอบครองมาเก้า (Macau) อยู่ในเวลานั้นให้ช่วยต่อสู้กับสมาพันธ์โจรสลัดของเจิ้งยี่เซา

15 กันยายน, เจิ้งยี่เซาสามารถยึดเรือใบ (brig) ของแอนโตนิโอ โฮเมน (Antonio Betelho Homen) ซึ่งเป็นผู้ว่าการประจำติมอร์ (Timor) อาณานิคมของโปตุเกสในเวลานั้น

พฤศจิกายน, เจิ้งยีเซา นำเรือจำนวนหนึ่งออกจากแม่น้ำไข่มุก ไปยังเกาะลันเตา (Lantau island) เพื่อซ่อมแซม ซึ่งเมื่อโปตุเกสรู้ข่าว ก็ส่งเรือรบจำนวน 8 ลำนำโดยกัปตัน โจเซ่ อัลโคโฟราโด (Jose Pinto Alcoforado de Azavedo e Sousa)  มาปิดอ่าวตังชุง (Tung Chung Bay) ซึ่งเป็นที่จอดซ่อมเรือของเจิ้งยีเซา เอาไว้  และต่อมาทางการจีนก็ส่งเรืออีก 93 ลำ นำโดยซุน กวนมัว (Sun Quanmou) มาเสริมการปิดล้อม

ฝ่ายโจรสลัดก็พยายามจะฝ่าการปิดล้อมออกไป แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จ แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จในช่วงแรกเพราะว่ากระแสลมไม่เป็นใจ

29 พฤศจิกายน, เจิ้งยีเซา สามารถฝ่าวงล้อมหนีการปิดล้อมของจีนและโปตุเกสออกมาได้  และได้แล่นเรือหนึไปยังบริเวณทะเลจีนใต้

ในช่วงปลายปี เกา โปได๋ (Guo Podai) ซึ่งเป็นผู้นำของกองเรือโจรสลัดภายใต้ธงสีดำ ซึ่งเขาปฏิเสธและไม่ยอมส่งกำลังไปช่วยเจิ้งยีเซา ขณะที่ถูกโปตุเกสปิดล้อมอยู่ที่อ่าวตังซุง 

เกา โปได๋ก็ได้เจรจาของวางอาวุธกับฝ่ายรัฐบาลจีนนำโดยอุปราชไบ่ หลิง (Bai Ling, Viceroy of Lianngguang) ซึ่งมีผลทำให้กองเรือโจรสลัดธงดำภายใต้เกา โปได๋ เข้ามาเป็นฝ่ายของจีนแทน

1810 21 กุมภาพันธ์, เจิ้งยี่เชา ได้เปิดเจรจากับอุปราชไบ่หลิง  ซึ่งการเจรจาในตอนแรกล้มเหลว เพราะว่าฝ่ายโจรสลัดขอคงกำลังเรือเอาไว้ 80 ลำและขอสิทธิในการค้าเกลือในพื้นที่ตะวันตกของกวางตุ้ง

เมษายน, เจิ้งยี่เซา ได้เจรจากับอุปราชไบ่หลิง อีกรอบ ที่ฟูหลงชา (Furongsha) ซึ่งในครั้งนี้ฝ่ายโจรสลัดยินยอมวางอาวุธโดยได้รับการอภัยโทษ โดยที่เรือกว่า 226 ลำถูกส่งให้ทางการพร้อมปืนใหญ่ 1,315 กระปอก

เจิ้งยี่เซา ยังได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับจางเป๋าจ่าย อย่างถูกกฏหมาย ในขณะที่จางเป๋าจ่ายก็ได้รับยศร้อยโท อยู่ในกองทัพเรือของมณฑลกวางตุ้ง 

1813 เจิ้งยี่เซากับจางเป๋าจ่ายมีลูกชายด้วยกันชื่อ จาง ยูหลิน (Zhang Yulin, b.1813)

1822 จางเป๋าจ่าย เสียชีวิตในวัย 36 ปี บนเกาะเผิงหู (Penghu) ขณะที่ทำงานเป็นผู้คุมเรือจำบนเกาะ

1824 เจิ้งยี่เซา พร้อมลูกชาย  ย้ายไปอยุ่ในเมืองหนานไห่ (Nanhai, Guangdong) ในมณฑลกวางตุ้ง โดยเธอใช้ชีวิตที่เหลืออย่างสงบสุข โดยเปิดกิจการบ่อนการพนันเล็ก พร้อมทำธุรกิจค้าเกลือ

1844 เสียชีวิตในวัย 68 ปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!