Numquam prohibere somniantes
Zheng He
Zheng He

Zheng He

เจิ้ง เหอ (郑和)
เจิ้ง เหอ มีชื่อตอนเกิดว่า หม่า เห (Ma He,馬和) เกิดในปี 1371 ในกุ่นหยาง,​มณฑลยูนาน (Kunyang, Yunnan) ครอบครัวของเขาเป็นชาวฮุ่ย (Hui people) ที่นับถือศาสนาอิสลาม
หมู่บ้านที่เจิ้ง เหอ เกิดอยู่ใกล้กับทะเลสาบ Lake Dianchi
พ่อของเจิ้ง เหอ ชื่อ หม่า โฮ (Ma Ho) พ่อของเขามีตำแหน่งเป็น ฮัจจ์ (hajji) ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ที่ผ่านการเดินทางไปนครเมกกะแล้ว คนทั่วไปจึงเรียกเขาว่า หม่า ฮัจจ์ (Ma Hajji)
แม่ของเจิ้ง เหอ ชื่อว่า เหว่น (Wen, 温)
ครอบครัวนี้มีลูกสาวสี่คน และลูกชายสองคน  
เชื่อกันว่าปู่ของเจิ้ง เหอ ซึ่งถูกเรียกว่า หม่า ฮัจจ์ เหมือนกัน เป็นหลานของเซย์ญิด อัล-ดิน โอมาร์ (Sayyid Ajjal Shams al-Din Omar) เป็นชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ในบุคาร่า (Bukhara ~ ในอุซเบกิสถานปัจจุบัน) ต่อมาเมืองได้ถูกทหารมองโกลในสมัยของเจงกีสข่าน (Genghis Khan) ยึดครอง  , อัล-ดิน โอมาร์จึงได้ทำงานให้กับราชสำนักของราชวงศ์หยวน (Yuan Dynasty)
ต่อมาในสมัยของกุ๊บไลข่าน  ได้ตีอาณาจักรต้าลี้ (Kingdom of Dali) ได้ในปี 1274 จึงได้ส่ง อัล-ดิน โอมาร์ มาทำงานในยูนาน (Yunnan)
1381 หม่า ฮัจจ์ พ่อของเจิ้ง เหอ เสียชีวิตช่วงสงครามที่กองทัพมองโกล ในราชวงศ์หมิง (Ming) บุกยูนาน 
ส่วนเจิ้ง เหอ ต้องหนีภัยสงคราม ระเหเร่ร่อนไปอย่างไร้จุดหมายจนกระทั้งนายพล ฟู ยูเด (General Fu Youde) มาพบเข้าระหว่างทาง จึงได้จับเขาไปเป็นเชลย
ต่อมาถูกส่งตัวเข้าไปเป็นข้าราชบริพารของเจ้าชายจู ไต, เจ้าชายแห่งยาน (Zhu Di, Prince of Yan) พระโอรสของจักรพรรดิฮงหวู่ (Hongwu Emperor) จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิง
เจ้าชายจู ไต ภายหลังได้ขึ้นครองราชย์ เป็นจักรพรรดิหยงเจิ้ล (Yongle Emperor) ขณะนั้นเจ้าชายจู ไต มีพระชนษ์ 21 ชันษา แล เป็นผู้ปกครองเมืองไบปิ่ง (Beiping~ ปักกิ่งในเวลาต่อมา) 
` ขณะที่เข้าไปทำงานเในราชสำนักนั้น เจิ้ง เหอ มีอายุ 10  ปี
1385 เจิ้ง เหอ ถูกตัดอัญฑะ ให้เป็นขันที ในราชสำนักเจิ้ง เหอเป็นที่รู้จักในชื่อหม่า ซานเบา (Ma Sanbao, 三保) ซึ่ง “ซานเบา” หมายถึง พระรัตนตรัย 
เจิ้ง เหอยังเป็นทหารและก็ติดตามกองทัพของเจ้าชายจู ไต ออกไปทำสงครามในดินแดนทางเหนือเพื่อรบกับพวกมองโกลด้วย
1390 มีนาคม, กองทหารของเจ้าชายจู ไต สามารถเอาชนะกองทัพของแม่ทัพนาคาชู (Naghachu) แห่งมองโกลได้ ซึ่งเจิ้ง เหอ ก็เป็นทหารร่วมในศึกครั้งนี้ดวย
1398 จักรพรรดิฮงหวู่สววรคต และเจ้าชายจู ยันเว่น (Zhuwen) พระราชนัดดา ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ ทรงพระนามว่าจักรพรรดิ เจียนเว่น (Jianwen Emperor)
แต่ว่าจักรรพรรดิเจียนเว่น  ทรงประกาศนโยบาย “Xianfan” นโยบายที่จะดึงเอาอำนาจและดินแดนจากเจ้าชายองค์อื่นๆ ซึ่งเป็นโอรสของจักรพรรดิฮงหวู่กลับมาไว้ที่ศูนย์กลาง ทำให้มีการจับกุมตัวพระมาตุลาหลายองค์ ซึ่งเป็นโอรสของจักรพรรดิองค์ก่อน
1399 สิงหาคม,​(Jingnan Campaign, 1399-1402) เจ้าชายจู ไต ซึ่งเป็นพระมาตุลาของจักรรดิเจียนเว่น ก็ไม่พระทัย จึงได้เกิดสงครามระหว่างสองฝ่าย  , เจิ้ง เหอ ซึ่งได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยมากขึ้นก็ติดตามเจ้าชายจู ไต ไปทำสงครามด้วย 
1402 กองทัพของเจ้าชายจู ไต สามารถยึดเมืองนานจิง (Nanjiing) เมืองหลวงเอาไว้ได้
กรกฏาคม, เจ้าชายจู ไต ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ ทรงพระนามว่าจักรพรรดิหยงเจิ้ล  ซึ่งเมื่อทรงครองราชย์ ก็ได้ทรงแต่งต้ังเจิ้ง เหอ เป็นไต๋เจี้ยน (Taijian) ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าข้าราชบริพารภายในพระราชวัง
1404 11 กุมภาพันธ์, จักรพรรดิหยงเจิ้ล พระราชทาน แซ่ เจิ้ง (Zheng) ให้กับเจิ้ง เหอ 
1405 กรกฏาคม, (1st voyage) ออกเดินเรือครั้งแรก โดยมีหวัง จิงหง (Wang Jinghong) และทหารเกือบสามหมื่นนายร่วมเดินทางด้วย กองเรือของเจิ้ง เหอ มีเรือราว 270 ลำ โดยการเดินเรือนี้มีการสักการะและนำเจ้าแม่ม่าโจ้ว (Mazu) ซึ่งเป็นเทพที่ศักการะของนักเดินเรือติดมาด้วย
การเดินทางครั้งนี้ เขาเดินทางไปยัง จำปา (Champa)-ชะวา (Java)-มะละกา (Malacca)-อุรุ (Aru)-สะมุเดร่า (Semudera~ อาณาจักรทางเหนือบนเกาะสุมาตรา), อาณาจักรลามุรี (Lamuri) บริเวณจังหวัดอาเจะฮ์บนเกาะสุมาตรา, ซีลอน (Ceylon),โคลลัม  (Kollam ~Qiolon),และ คาลิคัต (Calicut) เมืองชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย
แต่ว่าระหว่างที่แวะที่ซีลอน กองทัพเรือของจีนได้รับการต้อนรับอย่างไม่เป็นมิตรจากราชวงศ์อลากักโคนาระ (Alagakkonara) ซึ่งมีกษัตริย์วีระ (King Vira Alakeshwara) เป็นผู้ปกครองซีลอนเวลานั้น
1407 เดินทางกลับจีน โดยระหว่างทางกลับ กองเรือของเขาเจอกับโจรสลัด เชน ซูยี (Chen Zuyi) บริเวณปาเล็มบัง, เจิ้ง เหอ สามารถสังหารโจรสลัดกว่าห้าพันคนได้ 
2 ตุลาคม, กลับถึงนานจิง
30 ตุลาคม, (2nd voyage) เขาออกเดินทางอีกครั้ง ร่วมกับ หวาง จิงฮอง (Wang Jinghong), ฮัว เซียน (Hou Xian) โดยในครั้งนี้ ได้เดินทางไปยัง คาลิคัต, มะลักกา, เซมุเดร่า (Semudera), อะรุ (Aru), Jiaylie, ชวา, สยาม, จำปา, โชชิน (Cochin), อโลบาดาน (Abobadan), โคลลัม, แลมบริ (Lambri),  กันบาลิ (Ganbali) แต่ว่าครั้งนี้เขาไม่ได้แวะที่ซีลอน
1409 มกราคม,​กลับถึงเมืองจีน
พฤศจิกายน, (3rd voyage) ออกเดินทางครั้งที่ 3 โดยที่ครั้งนี้ เจิ้ง เหอ เดินทางไปซีลอน และยกกองทัพขึ้นแผ่นดินจนไปถึงเมืองคอตเต้ (Kotte) และสามารถจับตัวกษัตริย์วีระและราชวงศ์ไว้ได้
1411 กลับจีน โดยได้นำตัวกษัตริย์วีระแห่งซีลอนกลับมายังเมืองจีนด้วย เพื่อให้ จักรพรรดิหยงเจิ้ลทรงลงอาญา
6 กรกฏาคม,​ กลับถึงเมืองนานจิง
จักรพรรดิหยงเจิ้ลได้พระราชทานอภัยโทษแก่กษัตริย์วีระ และได้ส่งตัวพระองค์กลับซีลอนในปีต่อมา 
1413 ธันวาคม, (4th voyage) กองเรือของเจิ้ง เหอ ออกเดินทะเลอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้นอกจากจะได้ไปเยือนยังเมืองเดิมที่เคยไปแล้ว ยังได้แวะที่เมืองใหม่ๆ อย่าง มัลดีฟ, เคลันตัน (Kalantan), ปาหัง (Pahang), เกาะบิตรา (Bila, Bitra Atoll), เกาะเชตลัต (Sunla, Chetlat Atoll), ฮอร์มุต (Hormuz)
1415 ระหว่างที่เดินทางกลับจีน กองเรือได้แวะที่ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา และเจิ้ง เหอได้รู้ว่าอาณาจักรสะมุเดร่า (Samudera Sultanate) ได้มีสุลต่านองค์ใหม่คือ สุลต่านสีกันดาร์ (Sekanda) ที่ได้ยึดอำนาจจากสุลต่านซาอิน อัล-อบิดีน (Zain al-Abidin) 
เจิ้ง เหอ เห็นว่าสุลต่านสีกันดาร์ไม่ได้รับการรับรองจากจีน จึงได้ยกทหารเข้าโจมตีอาณาจักรสุมุเดร่า และตั้งสุลต่านซาอิน อัล-อบิดีน กลับขึ้นเป็นสุลต่าน ตามเดิม  และจับสุลต่านสีกันดาร์กลับมายังเมืองจีน และต่อมาจักรพรรดิหยงเจิ้ล ได้สั้งให้ประหารสุลต่านสีกันดาร์เสีย
สิ่งหาคม, เจิ้ง เหอ กลับถึงนานจิง โดยที่มาพร้อมกับทูตจาก 18 ดินแดนที่ถูกส่งมาถวายบรรณาการณ์แก่จักรพรรดิจีน  แต่ว่าตอนที่เจิ้ง เหอ มาถึงนานจิง นั้น จักรพรรดิหยงเจิ้ง ออกไปรบกับพวกมองโกล (second Mongol campaign) และเสด็จกลับมาในช่วงปลายปี
1417 ออกเดินทางครั้งที่ 5 (5th voyage) เพื่อที่จะส่งทูตของแต่ละประเทศกลับ พร้อมกับนำของขวัญพระราชทานจากจักรพรรดิหยงเจิ้งไปมอบให้กับผู้ครองดินแดนแต่ละแห่ง  ครั้งนี้เจิ้ง เหอ แวะจอดที่ง จำปา, ปาหัง, ชะวา, ปาเลมบัง,​มะลัคคา, สะมุเดร่า, แลมบริ, ซีลอน, โคชิน, คาลิคัต, ชาลิวันนี (Shaliwanni), ลัวชาน (Liushan) และในแถบมัลดีฟ, ฮอร์มุซ, ลาซา (Lasa), เอเดน (Aden), โมกาดิชู (Mogadishu), ชูบุ (Zhuba) และมาลินดิ (Malindi)
1419 8 สิงหาคม, กลับถึงเมืองจีน โดยได้นำสัตว์หลายชนิดกลับมาด้วย ทั้งสิงโต, เสือดาว, อูฐ, ม้าลาย, แรด, ยีราฟ, กวาง  
1421 พฤษจิกายน, เดินทางครั้งที่ 6 (6th voyave) เพื่อที่จะส่งคณะทูตจาก 16 ชาติกลับ โดยครั้งนี้มี ฮอง ฮี (Kong He,孔和), ชู บุฮัว (Zhu Buhua, 朱卜花), ถัง กวนเบา (Tang Guanboa, 唐觀保), ฮอง เบา (Hong Bao, 洪保) ร่วมเดินทางมาด้วย การเดินทางครั้งนี้เรือของจีนเข้าไปยังฮอร์มุซ ในอ่าวเปอร์เซีย , ไปยังเมือง โดฟาร์ (Djofar), ลาซา, และเอเดน ในอาหรับ และไปยังโมกาดิสชู, บราวา เมืองในแอฟริกา
1422 กลับถึงนานจิง ซึ่งช่างเดินทางกลับเชื่อว่ากองเรือของเจิ้ง เหอ จะแวะที่สยามด้วย
เมื่องกลับถึงจีน จักรพรรดิหยงเจิ้ลก็สั่งให้ระงับการเดินเรือไว้ก่อน เพราะว่าพระองค์ต้องออกไปรบกับพวกมองโกล ซึ่งต้องการใช้เงินทุนจำนวนมาก 
1424 เจิ้ง เหอเดินทางมายังปาเลมบัง (Palembang) เพื่อนำพระราชสารตราตั้ง แต่งตั้งเจ้าเมืองใหม่มาประกาศ
12 สิงหาคม, จักรพรรดิหยงเจิ้ล สวรรคต
7 กันยายน, เจ้าชายจู เกาชี (Zhu Gaozhi) ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ พระนามว่า จักรพรรดิฮองซี (Hongxi Emperor, 洪熙)
เมื่อเจิ้ง เหอ กลับจากปาเลมบัง ก็ทราบข่าวการสรรคตของจักรพรรดิหยงเจิ้ล 
ในรัชกาลของจักรพรรดิฮองซี , เจิ้ง เหอ ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนให้ออกเดินทะเลอีก เขาถูกแต่งตั้งให้ไปเป็นผู้ดูแลเมืองนานกิง เขามีผลงานสำคัญคือการสร้างหอเจดีย์กระเบื้อง (Porcelain Tower of Nanjing) ต่อจนสำเร็จ
1425 25 พฤษภาคม, จักรพรรดิฮองซี สวรรคต 
27 มิถุนายน, เจ้าชายจู จานจี (Zhu Zhanji, 朱瞻基) ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่พระนามว่า จักรพรรดิเจ๋อตี้ (Xuande Emperor, 宣德帝)
จักรพรรดิเจ๋อตี้ทรงมีพระราชานุญาตให้ เจิ้ง เหอ ออกเดินทางทางทะเลได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 และครั้งสุดท้ายของเขา
1431 มกราคม, (7th Treasure voyages) เจิ้ง เหอ ออกเดินทะเลอีกครั้ง โดยครั้งนี้สามารถไปเยือนเมืองต่างๆ ได้ไม่ต่ำกว่า 17 เมือง
1433 ทฤษฏีหนึ่งเชื่อว่าเจอ เหอ เสียชีวิตระหว่างการเดินทางกลับเมืองจีน ในการออกเดินทะเลครั้งที่ 7  โดยเสียชีวิตใกล้กับคาลิคัต (Calicut) ในอินเดีย  และร่างของเขาถูกโยนทิ้งทะเล
ต่อมาเมื่อเรือเดินทางมาถึงเสมารัง (Semarang) บนเกาะชวา ได้มีการจัดพิธีศพให้กับเขา โดยใช้เสื้อผ้าและหมวกแทนร่างของเขา  โดยจุดที่มีการทำพิธีฝังศพนั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดซำปอกง (Sam Poo Kong, Gedung Batu Temple) เกาะชวา อินโดนีเซีย,​ และต่อมาได้มีการนำเอาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของเจิ้ง เหอ กลับมาไว้ในสุสานที่นานจิง 
หม่า ฮวน (Ma Huan, 马欢) ซึ่งได้ออกเดินทะเลไปกับเจิ้ง เหอ สามครั้ง ได้เขียนหนังสือ The Overall Survey of the Ocean’s Shores (Ying-yai Sheng-Lan, 瀛涯勝覽) ออกมา ซึ่งเขาบันทึกข้อมูลสำคัญทั้วัฒนธรรม, ภูมิศาสตร์, เศรษฐกิจ ของแต่ละดินแดนที่ไปเยือนเอาไว้
1435 Xu Yuhua (徐玉虎) ทฤษฏีหนึ่งบอกว่าเขากลับมาอยู่ที่นานจิง และเสียชีวิต ฮวงซุ้ยของเขาถูกสร้างขึ้นที่เนินเขาหัววัว (Cattle Head Hill) ในนานจิง 
_________________
1621 ตำราทางทหารของจีน ชื่อว่า วูบิชิ (Wubei Zhi ,武備志) ที่พิมพ์ออกมา มีการพิมพ์แผนที่การเดินทางของเจิ้ง เหอ เอาไว้ด้วย โดยเรียกว่า Mao Kun map
1985 สุสานของเจิ้ง เหอ ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้เป็นแบบอิสลาม

2002 กาวิน เมนซี (Gavin Menzies)  อดีตทหารเรือชาวอังกฤษ เขียนหนังสือ 1421 : The Year China Discovered America อ้างว่าเจิ้ง เหอ เดินทางไปถึงอเมริกาก่อนโคลัมบัส

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!