Numquam prohibere somniantes
Zenobia
Zenobia

Zenobia

เซโนเบีย (Zenobia) 
ราชีนีแห่งอาณาจักรพัลมีรา (Palmyra Empire)
เซโนเบีย เกิดประมาณปี 272 AD ในเมืองพัลมีร่า, อาณาจักรโรมัน (Palmyra, Syria) มีชื่อในภาษาโรมันว่า จูเลีย เซโนเบีย (Julia Aurelia Zenobia) 
จารึกบนเสาหินของเมืองพัลมีร่า เซโนเบียใช้ชื่อของตนว่า Bat-Zabbai (בת זבי) แปลว่า ลูกสาวของซับไบ
เซโนเบียถูกเรียกว่าเป็นลูกสาวของแอนติโอชัส (Antiochus) 
[1] หนังสือฮิสโตเรีย ออกัสต้า (Historia Augusta) นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ว่า เซโนเบีย อ้างว่าเธอสืบสายตระกูลมาจากคลีโอพัตราและพโตเลมี , พ่อของเซโนเบีย ชื่อ อชิเลียส (Achileus) ซึ่งต่อมาสถาปนาตัวเองเป็นเจ้าเมือง และใช้ชื่อแอนติโอชัส (Antiochus)
[2] ที่เสาหินของเมืองพัลมีร่า มีการบันทึกชื่อจูเลียส เซโนเบียส (Julius Aurelius Zenobius) ไว้บนเสาหิน ซึ่งเขาเป็นผู้ปกครองพัลมีราในปี 229 ซึ่งเซโนเบียสอาจจะเป็นพ่อของเซโนเบีย
[3] อธานาเซียส แห่งอเล็กซานเดรีย (Athanasius of Alexandria) อ้างว่าเซโนเบียมีเชื้อสายยิวและเป็นลูกศิษย์ของพอลแห่งซาโมซาต้า (Paul of Samosata) บิชอฟแห่งแอนติออช (Antioch, เมืองหนึ่งอยู่ในตุรกีปัจจุบัน)
[4] อัล-ตาบาริ (Al-Tabari) นักประวัติศาสตร์เปอร์เซีย ในศตวรรษที่ 9 บอกว่าเซโนเบีย เป็นชาวอาหรับ เผ่าแอมลากิ (Amlaqi) เช่นเดียวกับพระสวามีของนาง  เธอมีชื่อแบบอาหรับว่าเซียแนบ (Zaynab) พ่อของเซโนเบีย ชื่อ อีบิน อัล-ซาริบ (Amr ibn al-Zarib) เป็นชีกค์ของเผ่าแอมลากิต่อมาเสียชีวิตในการรบกับเผ่าศัตรู
เซโนเบีย มักถูกบรรยายว่าเป็นผู้หญิงสวยและฉลาด มีผิวสีคล้ำ ดวงตาสีดำ มีความเก่งกล้าและประพฤติตัวคล้ายบุรุษ มักแวดล้อมไปด้วยนักปราชญ์ทั้งอียิปต์และโรมัน นักปราชญ์มีชื่อเสียงที่เป็นที่ปรึกษาของเธอ อาทิ คัสเซีย ลองกินัส (Cassius Longinus) เธอสามารถใช้ภาษาอียิปต์และลาติน
255 AD เซโนเบียแต่งงานกับเซปติเมียส โอเดียเนธัส (Septimius Odaenathus) ซึ่งเป็นนายทหารที่โรมันส่งมาปกครองเมืองพัลมีร่า เซโนเบียเป็นภรรยาคนที่สองของเขา   ต่อมาทั่งคู่มีลูกชายด้วยกันชื่อ วาบาลลาธัส (Vaballathus, เกิดราวปี 266) , เฮโรเดียนัส (Herodianus, Herennianus), ติโมลาออส (Timolaos)
261  AD โอเดียเนธัส มีตำแหน่งเสมือนเป็นจักรพรรดิ เมื่อเกิดการแย่งชิงอำนาจกันในโรม เมื่อจักรพรรดิเวเลเรียน (Valerian) สวรรคต และมีการแย่งชิงอำนาจกัน โอเดียเนธัสเลือกอยู่ข้างกัลไลนัส (Gallienus) ซึ่งต่อมาได้รับตำแหน่งจักรพรรดิ  กัลไลนัสจึงประทานตำแหน่ง totius Orientis imperator ให้กับโอเดียเนธัส
โอเดียเนธัส ขยายอาณาจักรทางเหนืองไปจนถึงอีเมซ่า (Emesa)  ทางใต้ไปจนถึงดามัสคัส (Damascus) และเพทรา (Petra) 
267 AD โอเดียเนธัสและลูกชายคนโตเฮรอด (Herod, Hairan) ซึ่งเกิดกับภรรยาคนแรกถูกลอบสังหาร (หนังสือฮิสโตเรีย ออกัสต้า บอกว่าคนที่ลอบสังหารโอเดียเนธัสคือญาติของเขาชื่อแมโอเนียส (Maeonius)) วาบาลลาธัส ซึ่งเป็นรัชทายาทลำดับถัดมาก็ยังมีพระชนแค่หนึ่งชันษา เซโนเบียจึงได้ประกาศสถาปนาตัวเองเป็นราชินี และประกาศให้ดินแดนของเธอเป็นอิสระจากการปกครองของโรมัน จากนั้นเธอได้ส่งทหารเข้ายึดครองอียิปต์และอาราเบีย โดยที่จักรพรรดิกัลไลนัส  ไม่ได้สนใจที่จะส่งกองทัพมาปราบปราม
268 AD จักรพรรดิกัลไลนัส  ถูกปลงพระชน และคลาสเดียส โกธิคัส (Claudius Gothicus) เป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่
270 AD คลาสเดียส โกธิคัส เสียชีวิตจากการระบาดของโรคครั้งใหญ่ในโรม ,อูเรเลียส (Emporer Aurelius) จึงได้ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ของโรมัน แต่ขณะนั้นจักรพรรดิอูเรเลียสกำลังทำสงครามกับพวกกาลลิค (Gallica Empire) มีความเป็นไปได้ว่าจักรพรรดิยอมรับอำนาจของเซโนเบีย
ในสมัยของเซโนเบีย มีการสร้างป้อมปราการขึ้นสองแห่ง คือป้อมฮาลาบิย่า (Halabiya) ในเมืองยูเฟรเตส (Euphratea, Syria)  และซาลาบีเย (Zalabiye)
เซโนเบีย ส่งกองทัพนำโดยนายพลซับดัส (General Zabdas) บุกอียิปต์ และเอาชนะเมนากิโน โพรบัส (Tenagino Probus) แม่ทัพของโรมได้
271 AD พยายามบุกดินแดนทางตะวันตกของเอเชียไมเนอร์แต่ไม่สำเร็จ
274 AD จักรพรรดิ อูเรเลียส ได้ส่งทหารบุกอาณาจักรพัลมีล่า และได้มีการรบกันบริเวณเมืองแอนติออช
[1] โซสิมอส (Zosimos), เซโนเบียและวาบาลลาธัส ถูกนำตัวกลับมายังโรม แต่วาบาลลาธัสเสียชีวิตระหว่างทาง
[2] หนังสือฮิสโตเรีย ออกัสต้า (Historia Augusta), เซโนเบีย ถูกนำมายังโรม และต่อมาได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในติโวลี (Tivoli) อิตาลี  อีกหลายปีจนกระทั้งเสียชีวิต

[3] จอห์น มาลาลัส (John Malalas) , เซโนเบียถูกประหารตัดศรีษะในวันที่พ่ายให้กับโรมัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!