Numquam prohibere somniantes
William James Sidis
William James Sidis

William James Sidis

วิลเลี่ยม เจมส์ ไซดิส (William James Sidis)
ชายที่มี IQ สูงที่สุดในโลก ?
วิลเลี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1898 ในนิวยอร์คซิตี้  
บอริส ไซดิส (Boris Sidis) พ่อของเขาเป็นคนเชื้อสายยิวที่อพยพออกมาจากยูเครน, จักรวรรดิรัสเซีย ในปี 1887 ด้วยเหตุผลทางการเมือง   บอริสทำงานเป็นครูจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีความรอบรู้ในหลายด้าน และมีผลงานเขียนหนังสือและบทความจำนวนมาก
ส่วนแม่ชื่อซาร่าห์ (Sarah Mandelbaum) ออกมาจากยูเครนในปี 1889 เพราะกลัวกระแสการต่อต้านยิวในขณะนั้น ซาราห์เข้าเรียนด้านแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน  (Boston University) และจบในปี 1897
ตั้งแต่วันแรกที่วิลเลี่ยมเกิดพ่อกับแม่เชื่อว่าพวกเขาสามารถสร้างอัจฉริยะขึ้นมาได้ พวกเขาจึงทุ่มเททุกอย่างกับวิลเลี่ยม ซาร่าห์หยุดทำงานเพื่อที่จะทำหน้าที่ดูแลลูกของตัวเธอเองอย่างเต็มที่ บอริสใช้ความรู้ด้านจิตวิทยาในการฝึกลูกของเขา
วิลเลี่ยมสามารถพูดคำแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนและป้อนข้าวตัวเองด้วยช้อนตั้งแต่อายุ 8 เดือน เขาสามารถอ่านหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ได้ตั้งแต่อายุเพียง 18 เดือน พออายุ 4 ขวบก็ได้เรียนคณิตศาสตร์ขั้นสูง พอมีอายุ 8 ปี วิลเลี่ยมสามารถพูดได้ถึง 8 ภาษา ได้แก่ ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ลาติน, ฮิบรู, กรีก, รัสเซีย, ตุรกี, อาร์เมเนีย โดยการเรียนด้วยตัวเอง นอกจากนั้นเขายังประดิษฐ์ภาษาของตัวเองขึ้นมาด้วย โดยเขาเรียกว่าภาษาเวนเดอร์กู๊ด (Vendergood) 
1909 วิลเลี่ยมเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ตั้งแต่อายุ 11 ปี เป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่เคยเข้าเรียนที่นี่  ซึ่งความเป็นจริงแล้วบอริสได้พาวิลเลี่ยมสมัครเข้าฮาร์วารด์ตังแต่ตอนอายุ 9 ปี แต่ทางมหาวิทยาลัยปฏิเสธเพราะเห็นว่าเขาเด็กเกินไป
ชีวิตในมหาวิทยาลัยของเขาเป็นที่โด่งดังและถูกจับจ้องจากสื่อ และต้องเรียนอยู่ท่ามกลางเพื่อนๆ ที่มีอายุมากกว่าเขาเกือบสองเท่า
สื่อต่างๆ พากันให้ความสนใจกับความสามารถที่สูงกว่าคนทั่วไปของวิลเลี่ยม โดยเฉพาะเมื่อวิลเลี่ยมขึ้นเลคเชอร์ต่อหน้าผู้ฟังในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมากมายที่มาฟังเขาพูดในหัวข้อ “Fourth Dimensional Bodies”  
วิลเลี่ยมกลายเป็นตัวอย่างที่มีชีวิตในทฤษฏีด้านจิตของบอริสพ่อของเขา 
แต่ชีวิตที่โด่งดังของวิลเลี่ยมในฮาร์ดวาร์ดทำให้เขากดดันและไม่มีความสุข วิลเลี่ยมเคยให้สัมภาษณ์ว่า “เขาต้องการชีวิตที่สมบูรณ์แบบ และทางเดียวของการมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบคือการมีชีวิตที่เป็นส่วนตัว,​เขาเกลียดการอยู่ท่ามกลางผู้คน” 
1914 มิถุนายน, เขาได้รับปริญญาทางด้านศิลปะศาสตร์
1915 เขาได้ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่สถาบันวิลเลี่ยม มาร์ช ไรซ์ (William Marsh Rice Institute for the Advancement of Letters, Science, and Art) ในเมืองฮูสตัน ,รัฐเท็กซัส ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยไรซ์ 
1916 วิลเลี่ยมลาอออกจากสถาบันวิลเลี่ยม เพราะทดแรงกดดันจากการปฏิบัติต่อเขาที่ไม่ดีจากนักเรียนที่มีอายุมากกว่าเขาไม่ได้ 
กันยายน,​วิลเลี่ยมสมัครเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนกฏหมายฮาร์วาร์ด (Harvard Law School) แต่ว่าไม่นานก็ยุติการเรียน
1919 พฤษภาคม, วิลเลี่ยมถูกจับเพราะเข้าร่วมการเดินชบวนในวันแรงงานของกลุ่มนิยมซ้ายในบอสตัน แต่ว่าการเดินขบวนนี้กลายเป็นการจราจล วิลเลี่ยมจึงติดร่างแหไปด้วย 
ระหว่างที่เขาถูกนำตัวขึ้นศาล เขาได้ประกาศว่าตัวเขาเองไม่เชื่อในพระเจ้า, และเขาอยากจะเห็นรัฐบาลแบบสังคมนิยม  ซึ่งศาลได้ตัดสินจำคุกวิลเลี่ยมเป็นเวลา 18 เดือน
ซึ่งระหว่างที่ถูกคุกขังเขาได้พบรักครั้งแรกและรักเดียวของเขา กับนักสังคมนิยมเชื้อสายไอริช มาร์ธ่า โฟเลย์ (Martha Foley)
1921 หลังจากออกจากเรือนจำ วิลเลี่ยมพยายามหลบออกจากสังคม และมีชีวิตสันโดษอย่างที่เขาต้องการ เขาเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนงานและย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ  วิลเลี่ยมแทบจะไม่ได้ติดต่อกับใครที่เขารู้จักแม้กระทั้งพ่อแม่ของเขา เชื่อกันว่าเขาเขียนหนังสือเอาไว้หลายเล่มโดยใช้นามแฝง อาทิ หนังสือชื่อ Notes on the Colletion of Streetcar Transfers ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาเขียนหนังสือเอาไว้ทั้งหมดกี่เล่ม แต่ว่าผลงานเขียของเขาหลากหลายกว้างขวาง มีทั้งวิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์
1923 พ่อของวิลเลี่ยมเสียชีวิต 
1925 The Animate and the Inanimate
1933 เขาสอบผ่านการทดสอบเป็นราชการในนิวยอร์ค แต่ว่าได้คะแนนเป็นอันดับ 254 วิลเลี่ยมเขียนไว้ในจดหมายภายหลังว่าเป็นเพราะข้อสอบไม่น่าสนใจ
1937 หนังสือแม็กกาซีน The New Yorker ส่งนักข่าวสาวไปแกล้งทำตัวเป็นเพื่อนกับวิลเลี่ยมเพื่อมาเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับตัวเขา หลังจากคอลัมน์นั้นถูกตีพิมพ์ออกมา วิลเลี่ยมมองว่าบทความมองเขาเป็นตัวตลกและคนบ้า วิลเลี่ยมจึงได้ยื่นฟ้องต้องนิวยอร์คเกอร์แม็กกาซีน และศาลตัดสินให้เขาชนะคดีในปี 1944
1944 17 กรกฏาคม, วิลเลี่ยมถูกพบนอนหมดสติอยู่ในอพาร์ตเม้นต์เล็กๆ ในบอสตัน โดยเขามีอาการของเลือดออกในสมอง และมีอาการสมองตายวิลเลี่ยมถูกประกาศว่าเสียชีวิต
วิลเลี่ยม ไม่ใช่เด็กอัจฉริยะคนเดียวในยุคนั้น แต่ดูเหมือนเขาจะเป็นคนเดียวที่เป็นเหยื่อของความคาดหวังของผู้เป็นพ่อและแม่  อดอร์ฟ เบอร์เล (Adolf A. Berle) เด็กอัจฉริยะที่กลายมาเป็นนักทฤษฏีทางธุรกิจและมีส่วนในการออกแบบนโยบายใหม่ (New Deal) , นอร์เบิร์ต ไวเนอร์ (Norbert Weiner) กลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์
ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการทดสอบ IQ  ของวิลเลี่ยม ยืนยัน แต่มักมีการอ้างอิงกันต่อๆ มาว่าเขามีไอคิว 250-300
ชีวิตของวิลเลี่ยมเป็นแรงบันดาลใจของหนังเรื่อง กู๊ด วิลล์ ฮันติ้ง (Good Will Hunting)
ผลงานเขียน

  • The Animate and the Inanimate
  • The Tribes and the States
  • Notes on the collection of streetcar transfers
  • Passaconaway in the white Mountains

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!