Numquam prohibere somniantes
Vladimir Lenin
Vladimir Lenin

Vladimir Lenin

วลาดิมีร์ เลนิน (Владимир Ильич Ленин)

เลนิน เกิดวันที่ 22 เมษายน 1870 (10 เมษายน O.S.) ในซิมเบิร์ก, รัสเซีย (Simbirsk, Russia) 

พ่อของเขาชื่ออิลย่า อุลยานอฟ (Ilya Nikolayevich Ulyanov, 1863-1886) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาซาน (Kazan Imperial University) 

แม่ของเลนินชื่อมาเรีย แบล็ง (Maria Alexandrovna Blank, 1835-1916) บรรพบุรุษของเธอเป็นยิวที่ย้ายมาจากเยอรมันในสมัยของแคทเธอรีน มหาราช (Catherine the great) และเปลี่ยนมานับถือออโธด็อกซ์  พ่อของมาเรียนั้นเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

อิลย่ากับมาเรียแต่งงานกันในปี 1863 ไม่นานหลังจากที่พ่อและแม่ของเขาแต่งงานกัน อิลย่าก็ได้งานใหม่ในนิชนี่ นอฟโกรอด (Nizhny Novgorod) ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลโรงเรียนประถมหลายแห่งในซิมเบิร์ก ซึ่งอิลย่าอุทิศตนให้กับการทำงานมาก จนต่อมาก็ได้เป็นผู้ดูแลโรงเรียนกว่าสี่ร้อยแห่งในเขต

เลนิน นั้นเป็นลูกคนที่สามในพี่น้องทั้งหมดแปดคน แอนนา (1864 – 1935) อเล็กซานเดอร์ (1866 – 1887) โอลก้า (1868 – 1869) เลนิน (1870 – 1924) โอลก้า (1871 – 1891) นิโคไล (1873 – 1873) ดมิทรี (1874 – 1943) มาเรีย (1878 – 1937)

ตอนเด็กเลนิน ถูกเรียกว่า โวโลเดีย (Volodya) ซึ่งหมายถึงนักบุญวลาดิมีร์ (Vladimir) ตัวเล็ก  ในขณะที่พ่อของเขาเป็นออโธด๊อกซ์ที่เคร่ง แต่แม่ของเลนินแม้นจะเป็นลูเธอรันในนมามแต่ความเป็นจริงนั้นกลับไม่สนใจศาสนาเลย ซึ่งเธอมีอิทธิพลต่อความคิดของลูกๆ มาก

1879 เลนินเข้าเรียนที่ซิมเบิร์กจิมเนเซียม (Simbirsk gymnasium) ซึ่งผู้อำนวยการของโรงเรียนเวลานั้นคือ ฟรีโอดอร์ เคเรนสกี้ (Fyodor Mikhailovich Kerensky) พ่อของอเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี้ (Alexander Kerensky) นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลเฉพาะกาลในเวลาต่อมา

1886 เมื่อเลนินอายุ 15 ปี พ่อของเขาก็เสียชีวิตจากอาการเลือดออกในสมอง ซึ่งหลังจากพ่อเสียชีวิต เลนินก็กลายเป็นคนก้าวร้าวและต่อต้านพระเจ้าเปิดเผย 

ในขณะที่ช่วงเวลานี้ อเล็กซานเดอร์ พี่ชายคนโต ก็กำลังเรียนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg University) และเขาก็เคลื่อนไหวต่อต้านระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 (Tsar Alexander III) ด้วย ซึ่งอเล็กซานเดอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงที่ต้องการจะลอบปลงพระชมษ์พระเจ้าซาร์ด้วย ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมีการทำระเบิดขึ้นมาเพื่อให้ปลงพระชมม์ แต่ว่าตำรวจได้เบาะแสและเข้าทำลายแผนการณ์ของพวกเขาได้เสียก่อน ทำให้อเล็กซานเดอร์ถูกจับและถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในเดือนพฤษภาคม

1887 เลนินจบจากจิมเนเซียด้วยคะแนนรับเหรียญทอง และเขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาคาซาน (Kazan University) ทางด้านกฏหมาย และระหว่างที่เรียนก็ได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มเซมยาเชสต์โว่ (Землячество, Zemlyachestvo) ซึ่งเหมือนสมาคมของนักเรียนที่ต้องมาเรียนไกลบ้าน ซึ่งเลนินได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกลุ่มเซมยาเชสต์โว่ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและพระเจ้าซาร์ด้วย  ซึ่งการรวมกลุ่มเป็นสมาคมในมหาวิทยาลัยขณะนั้นยังถือว่าผิดกฏหมาย ทำให้ตำรวจได้เข้าจับกุมเลนินในฐานะแกนนำ  จนในที่สุดเลนินก็ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย 

8 พฤษภาคม (20 พ.ค. N.S.) อเล็กซานเดอร์ พี่ชายของเลนินถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอจากความพยายามลอบปลงพระชมษ์ซาร์

หลังจากออกจากมหาวิทยาลัย เลนินได้อ่านนิยายเรื่อง What Is to Be Done นวนิยายของนิโคไล เชอร์ไนเชฟสกี้ (Nikolay Chernyshevsky) นักเขียนที่สนับสนุนการปฏิวัติ

ต่อมาเลนินได้กลับมาอยู่ในคาซาน (Kazan) และได้เข้าร่วมกับกลุ่มของนักปฏิวัติที่นำโดยนิโคไล ฟีโดซิเยฟ (Nikolai Fedoseev) ซึ่งทำให้เลนินได้อ่าน The Capital ของคาร์ล มาร์ก (Karl Marx) เป็นครั้งแรก 

ในขณะที่แม่ของเลนินนั้นเป็นห่วงว่าเขาจะกลายเป็นพวกหัวรุนแรง เธอจึงได้ซื้อที่แปลงหนึ่งในหมู่บ้านอเลกาเยฟก้า ในซามาร่า (Alakaevka vllage, Samara) โดยอยากจะให้เลนินกลับมาเป็นเกษตรกร แตว่าเลนินก็เอาที่ดนิไปขาย 

1889 ครอบครัวของเลนินย้ายไปอยู่ในซามาร่า  ซึ่งที่เมืองนี้เลนินได้ใช้เวลาในการแปล The Communist Manifasto ของมาร์ก และฟรีดริช แองเกิ้ล (Friedrich Engels) มาเป็นภาษารัสเซีย นอกจากนั้นยังใช้เวลาศึกษาผลงานเขียของจอร์จิ เปลคานอฟ (Georgi Plekhanov) นักเขียนมาร์กซิสต์ชาวรัสเซีย 

1890 มาเรีย แม่ของเลนินได้วิ่งเต้นจนทำให้เลนินได้รับอนุญาตให้เข้าสอบที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ ซึ่งเลนินสามารถผ่านการทดสอบจนจบมาด้วยเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง

หลังจากได้รับปริญญาด้านกฏหมาย เลนินก็ทำงานเป็นผู้ช่วยอยู่ที่ศาลในซามาร่าอยู่หลายปี แต่ก็ยังไม่ได้ละทิ้งแนวคิดการเมืองหัวรุนแรง เขายังพบปะกับกลุ่มเซอร์ไนเชฟสกี้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อหาวิธีในการนำระบบมาร์กซิสต์มาใช้ในรัสเซีย 

1893 เลนินย้ายมาอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยทำงานเป็นผู้ช่วยทนายความ ของมิคาอิล โวลเกนสไตน์ (Mikhail F. Wolkenstein) ส่วนในด้านการเมืองเขาก็กลายเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหมู่มาร์กซิสต์ด้วยกัน ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็นพวก Social-Democrats

1894 เลนินกลายเป็นหัวหน้าของพวกแรงงานฝ่ายซ้าย ซึ่งช่วงนี้เลนินได้รู้จักกับนาเดซด้า ครปสกาย่า (Nadezhda Krupskaya) ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนประถม ซึ่งก็เธอเป็นมาร์กซิสต์และภายหลังก็ได้เป็นภรรยาอย่างเป็นทางการของเลนิน

เขียนบทความ Friends of the People and How They Fight the Social-Democrats ซึ่งโจมตีกลุ่มนาร๊อดนิก (Narodnik) ซึ่งเป็นพวกสังคมนิยมด้วยกัน แต่ว่ามีแนวความคิดแตกต่างกันเรื่ององคาพยพของการปฏิวัติ ฝ่ายนาร๊อดนิกนั้นเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบสังคมนิยมนั้นจะเกิดขึ้นจากกลุ่มของเกษตรกรในชนบท (peasant) ในขณะที่เลนินเชื่อตามความคิดของเปลคานอฟว่าการปฏิวัติสู่สังคมนิยมนั้นต้องอาศัยแรงงานในเมือง (proletariat) 

เลนินนั้นได้มีการติดต่อกับกลุ่ม Emancipation of Labour (Щсвобождение Труда) ซึ่งเป็นกลุ่มมาร์กซิสต์กลุ่มแรกของรัสเซีย มีฐานอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์อย่างต่อเนื่อง 

เข้าเรียนที่ Staatsbibliothek เป็นเวลาหกสัปดาห์ 

1896 เดินทางกลับรัสเซีย เพื่อลักลอบตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการปฏิวัติ  โดยเขาต้องเดินทางไปในหลายเมื่องของรัสเซียเพื่อเผยแพ่บทความของฝ่ายซ้าย ก่อนที่ในเวลาต่อมาเลนินจะถูกจับพร้อมกับนักเคลื่อนไหวคนอื่นอีก 40 คนในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จากข้อหาการปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย

1897 ถูกตัดสินเนรเทศไปไซบีเรียเป็นเวลาสามปี  โดยก่อนไปเลนินได้มีโอกาสพบปะกับกลุ่มม Social-Democrats ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น League of Struggle for the Emanipcation of the Working Class

การเดินทางไปไซบีเรียของเลนินนั้น แม่และน้องสาวของเขาร่วมในการเดินทางไปด้วย  โดยเขาถูกส่งไปอยู่ในชูเชนสโกเย่ (Shushenskoye, Krasnoyarsk Krai) ซึ่งเขามีชีวิตได้อิสระพอสมควรระหว่างอยู่ที่นี่ สามารถที่จะออกไปไหนมาไหนภายในเมืองได้ หรือพบปะกับนักปฏิวัติด้วยกันเองได้ เพียงแต่มีเจ้าหน้าที่คอยจับตามองเป็นระยะ 

1898 นาเดซด้า ซึ่งจับตั้งแต่ปี 1896 ได้ถูกตัดสินเนรเทศเช่นกัน โดยตอนแรกเธอถูกตัดสินให้ไปที่อูฟ่า (Ufa) แต่ว่าเธอวิ่งเต้นขอให้เจ้าหน้าที่ส่งเธอมาที่ชูเซนสโกเย่ เพื่อที่เธอจะได้พบกับเลนิน 

10 กรกฏาคม, เลนิน กับนาเดซด้า แต่งงานกันภายในโบสถ์

ระหว่างอยู่ในเมืองนี้เลนินกับนาเดซด้ายังช่วยกันแปลงานเขียนของฝ่ายซ้ายในเยอรมันมาเป็นภาษารัสเซียอย่างต่อเนื่อง

1898 1 มีนาคม, กลุ่ม Emancipation of Labour ได้เปลี่ยนไปเป็นพรรค RSDLP (Russia Social Democratic Labour Party) ซึ่งถือว่าวันนี้เป็นการประชุมใหญ่ของพรรค RSDLP ครั้งแรกซึ่งมีผู้เข้าประชุม 9 คน

1899 เลนินเขียน The Development of Capitalism in Russia” ซึ่งตีพิมพ์ออกมาโดยใช้นามปากกา Vladimir Ilin แต่ว่าหนังสือไม่ได้รับความสนใจมากนักในขณะนั้น

1900 เลนินหลบหนีออกมาจากชูเชนสโกเย่ โดยไปอยู่ในพัสกอฟ (Pskov) และทำหนังสือพิมพ์ Iskra (Spark) ออกมา ซึ่งกลายเป็นสื่อหลักของพรรค RSDLP

กรกฏาคม, หนีออกจากรัสเซีย และไปร่วมกับพวกมาร์กซิสต์ที่อยู๋ในสวิสเซอร์แลนด์

1901 เริ่มใช้นามแฝงใหม่ว่า เลนิน ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากชื่อแม่น้ำเลน่า (Lena River) ในไซบีเรีย

1902 เขียนบทความ “What Is To Be Done ? ซึ่งเลนินเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นของการตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ซึ่งเลนินเรียกว่า Vanguard party เพื่อให้เป็นผู้นำชนชั้นกรรมาชีพในการปฏิวัติ 

ต่อมาไม่นานนาเดซด้าได้ตามไปพลกับเลนินในมิวนิค, เยอรมัน

ในปีนี้กลุ่มนาร๊อดนิก ก็ได้ก่อตั้งพรรค SR (Socialist Revolutionary Party) ขึ้นมาด้วย

เมษายน, เลนินย้ายมาอยู่ในลอนดอน และได้รู้จักกับทร็อตสกี้ (Leon Trotsky) 

เมื่อมาอยู่ในลอนดอนเลนินอาการป่วยด้วยโรค erysipelas (โรคไฟลามทุ่ง)

1903 กรกฏาคม, พรรค RSDLP จัดประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 ขึ้นในลอนดอน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ทำให้พรรค RSDLP แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ บอลเชวิค (Bolsheviks) และ เมนเชวิค (Mensheviks) ซึ่งบอลเชวิคนั้นสนับสนุนเลนิน ที่เห็นว่าผู้นำพรรคควรมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการควบคุมพรรค ในขณะที่จูเรียส มาร์ตอฟ (Julius Martov) ซึ่งอยากเห็นสมาชิกพรรคมีความอิสระในการแสดงความคิดเห็น กลุ่มซึ่งสนับสนุนแนวคิดของมาร์ตอฟ จึงถูกเรียกว่าเมนเชวิค 

ด้วยความโกรธแค้นของเลนิน ต่อเมนเชวิคที่ไม่ยอมเชื่อฟังตัวของเขา ทำให้ในเวลาต่อมาเลนินจึงได้ลาออกจากบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Iskra

พฤษภาคม, เลนินเขียนบทความ “One Step Forward, Two Step Back” เพื่อโจมตีฝ่ายเมนเชวิค

หลังจากนั้นไม่นาน ความเครียดทำให้เลนินล้มป่วย จึงต้องเดินทางไปพักผ่อนในสวิสฯ 

ธันวาคม, ฝ่ายบอลเชวิค ควบคุมเสียงในคณะกรรมาธิการกลางของพรรค RSDLP เอาไว้ได้ทั้งหมด และได้ทำหนังสือพิมพ์ Vpered (Forward) ขึ้นมา

1904 เกิดสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo- Japanese War, 1904-1905) โดยญี่ปุ่นเริ่มโจมตีฐานทัพเรือรัสเซียในพอร์ต อาร์เธอร์ (Port Arthur) ซึ่งรัสเซียเช่าจากจีน เพราะเห็นว่ารัสเซียเป็นอุปสรรคในการขยายดินแดนญี่ปุ่นมาในเกาหลีและแมนจูเรีย

1905 22 มกราคม, ( Bloody Sunday) เกิดการประท้วงใหญ่ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามกับญี่ปุ่นทำให้เศรษฐกจของรัสเซียย่ำแย่  การประท้วงนำโดยบาทหลวงกาปอน (Georgy Gapon) เรียกร้องให้มีการปรับปรุงสวัสดิภาพแรงงานและปฏิรูปการบริหารประเทศ และการขอให้มีรัฐธรรมนูญและรัฐสภา 

ฝ่ายเลนินนั้นยุยงให้สมาชิกบอลเชวิคเข้าไปทำให้สถานการณ์รุนแรง คอยปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรง 

เหตุการณ์ Bloody Sunday จบลงการด้วยการนองเลือด

เมษายน, พรรค RSDLP จัดประชุมใหญ่ขึ้น ครั้งที่ 3ในลอนดอน บอลเชวิคและเมนเชวิคขัดแย้งกันหนักขึ้น โดยบอลเชวิคเน้นให้ความารุนแรง แต่เมนเชวิคต้องการการปฏิวัติที่สงบและค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่ประชุมเลนินได้นำเสนอไอเดียตามบทความ “Two Tactics of Social Democracy in the Democratic Revolution” เผยแพร่ออกมาในเดือนสิงหาคม โดยเลนินเห็นว่าฝ่ายปฏิวัติที่นำโดยเกษตรกรและแรงงานควรใช้ความรุนแรง จับอาวุธขึ้นสู้ โดยใช้สโลแกน “Death or Freedom (ความตายหรืออิสระภาพ) เพื่อโค่นล้มระบบกษัตริย์ให้จงได้ และสถาปนารัฐบาลเฉพาะกาลซึ่งเป็นเผด็จการของเกษตรกรและแรงงานชั่วคราวขึ้นมา

ตุลามคม, October Manifeto ซาร์นิโคลัส ที่ 2 (Tsar Nicholas II) ได้ทรงออกแถลงการณ์ซึ่งแสดงเจตจำนงค์ที่จะจัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นมาในประเทศ เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องในเหตุการณ์ bloody sunday

ไม่นานเลนินเดินทางกลับรัสเซีย และได้เข้าเป็นกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Novayha Zhinzn (New Live) ซึ่งเป็นหนังสือของพวกหัวรุนแรง บริหารโดยมาเรีย แอนเดรเยว่า (Maria Andreyeva)

ซึ่งระหว่างนี้เลนินได้เร่งให้พรรค RSDLP เร่งขยายจำนวนสมาชิก เลนินกระตุ้นให้มีการก่อความวุ่นวาย ก่อการร้ายให้มากขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นของการปฏิวัติ  และเพื่อหาเงินทุนสำหรับกิจกรรมของพรรค 

สมาชิกพรรค RSDLP จำนวนมากจึงเป็นอาชญากร พวกเขาพากันปล้นสถานที่ราชการ ทั้งไปรษณีย์, รถไฟ, ธนาคาร 

มิถุนายน, ลีโอนิด กราซิน (Leonid Krasin) , โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ซึ่งเป็นสมาชิกของ RSDLP บอลเชวิค ได้สร้างวีรกรรมครั้งใหญ่ ด้วยการปล้นธนาคารกลางของรัฐบาล ในกรุงทิฟลิส, จอร์เจีย (Tiflis, Georgia) 

1906 เมษายน, การประชุมพรรค RSDLP ครั้งที่ 4 จัดขึ้นใสกรุงสต๊อกโฮล์ม 

6 พฤษภาคม, ซาร์นิโคลัส ที่ 2 พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของประเทศอย่างเป็นทางการ

1907 พฤษภาคม, การประชุมพรรค RSDLP ครั้งที่ 5 ในลอนดอน 

เลนินหลบหนีจากรัสเซียไปฟินแลนด์ก่อนที่จะต่อไปยังสวิสฯ หลังจากซาร์ได้สั่งให้ตำรวจลับกวาดล้างเหล่านักปฏิวัติ

1908 พฤษภาคม, เลนินเดินทางมาลอนดอนชั่วเวลาหนึ่งและใช้เวลาในการเขียน “Materialism and Empirio-criticism

ธันวาคม, อเล็กซานเดอร์ บ๊อกดานอฟ (Alexander Bogdanov) และแกนนำของบอลเชวิคตัดสินในย้ายพรรค RSDLP ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ปารีส  โดยที่เลนินไม่เห็นด้วย

1910 สิงหาคม, เลนินเข้าร่วมประชุมพรรค RSDLP ครั้งที่ 8 และ Second International ในโคเปนเฮเก้น  ซึ่งที่นี่เลนิน ได้รู้จักกับ อิเนสซ่า อาร์มัน (Inessa Armand) ซึ่งกลายเป็นคนรักของเลนิน อีกคนหนึ่ง 

หลังการสิ้นสุดการประชุม เลนิน พาแม่ ภรรยาและอาร์มัน ย้ายไปอยู่ในฝรั่งเศส

1912 ย้ายมาอยู่ในกราโกว, ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย (Krakow, Galicia and Lodomeria Kingdom) 

1913 มกราคม, สตาลินเดินทางไปพบกับเลนินที่กาลิเซีย

1914 เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 , รัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี ทำสงครามกัน ทำให้เลนินซึ่งเป็นพลเมืองรัสเซียถูกทางการกาลิเซียจับขังคุกอยู่พักหนึ่ง ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวมาเมื่อเลนินสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาต่อต้านซาร์ของรัสเซีย 

หลังได้รับการปล่อยตัว เลนินกับภรรยาก็เดินทางไปสวิสฯ 

1916 กรกฏาคม, แม่ของเลนินเสียชีวิตในเปโตรกราด ในขณะที่เลนินไม่สามารถจะเดินทางมาร่วมงานศพเธอได้

1917 กุมภาพันธ์, (February Revolution) เกิดการปฏิวัติกุมภาพันธ์ในรัสเซีย ทำให้ระบบกษัตริย์ในรัสเซียสิ้นสุดลง ทำให้อำนาจการบริหารประเทศรัสเซีย แบ่งเป็นสองฝ่าย คือส่วนของรัฐบาลเฉพาะกาล (Provisional Government) และส่วนของเปโตรกราดโซเวียต (Petrograd Soviet) ซึ่งแย่งอำนาจกัน

โดยที่รัฐบาลเฉพาะกาลนำโดยจอร์จี ลโวว (Georgy Lvov) ทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล ระหว่าง มีนาคม -กรกฏาคม และอเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี้ (Alexander Kerensky) เป็นหัวหน้ารัฐบาลในช่วง กรกฏาคม-กันยายน 

ส่วนของเปโตรกราดโซเวียต ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในเมืองเปโตรกราด ซึ่งสนับสนุนพรรค RSDLP นำโดย นิโคไล ชคีดซ์ (Nikolay Chkheidze), ทร็อตสกี้, กริโกรี ซิโนเวียฟ (Grigory Zinoviev)

เมษายน, เลนิน เดินทางกลับมายังรัสเซีย โดยใช้รถไฟขบวนพิเศษมาถึงสถานีฟินแลนด์ (Finland Station) ในเปโตรกราด 

17 เมษายน, เลนิน ตีพิมพ์ “April Theses” เรียกร้องให้มีผู้สนับสนุนร่วมกันล้มรัฐบาลเฉพาะกาล

16-20 กรกฏาคม, (July Days) เป็นความพยายามปฏิวัติล้มรัฐบาลเฉพาะกาลลงของบอลเชวิค โดยมีทหารเรือและแรงงานในเปโตกราดสนับสนุน แต่ว่าล้มเหลว โดยที่ช่วงเกิดเหตุเลนิน และแกนนำบอลเชวิค หลบซ่อนตัวอยู่ในเซฟเฮาส์ ซึ่งต่อมาหลังถูกออกหมายจับเลนินก็หนีไปยังฟินแลนด์ 

สิงหาคม, นายพลลาฟ์ร กอร์นิลอฟ (Lavr Kornilov) พยายามปฏิวัติล้มรัฐบาลเฉพาะกาลของเคเรนสกี้ แต่ล้มเหลว แต่ว่าหลังเหตุการณ์นี้ทำให้เคเรนสกี้หันไปเจรจากับบอลเชวิคเพื่อขอการสนับสนุน ซึ่งเคเรนสกี้ยินยอมให้มีการตั้ง หน่วยติดอาวุธเรดการ์ด (Red Guards) ขึ้นมาในเปโตรกราด ซึ่งทำให้บอลเชวิคกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่นานทร็อตสกี้ก็ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำของเปโตรกราดโซเวียตด้วย 

กันยายน, เลนินตีพิมพ์ผลงานเรื่อง “Imperialism, the Highest Stage of Capitalism

10 ตุลาคม, เลนินซึ่งกลับมาอยู่ในเปโตรกราาดหลังจากสถานการณ์มีความปลอดภัยสำหรับเขา  และได้จัดประชุมคณะกรรมการกลางบอลเชวิค และเลนินเสนอให้พรรคเป็นแกนนำในการจับอาวุธขึ้นมาเพื่อล้มรัฐบาลเฉพาะกาล  ซึ่งเสียงส่วนใหญ่สนับสนุน

24 ตุลาคม, การประชุมวางแผนปฏิวัติของบอลเชวิคจัดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายที่สถาบันสโมลนี่ (Smolny Institute) 

25 ตุลาคม, ปฏิวัติตุลาคม (October Revolution) เริ่มต้นขึ้น โดยบอลเชวิคได้เข้ายืดพระราชวังฤดูหนาว ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาล ยึดสถานีรถไฟ และสถานีสื่อสารต่างๆ ซึ่งการปฏิวัติดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว และล้มรัฐบาลเฉพาะกาลได้ในเวลาสั้น

26 ตุลาคม, ออกกฏหมาย Decree on Land เป็นกฏหมายฉบับแรก ซึ่งประกาศให้ทรัพย์สินของขุนนางและของศาสนาต่างๆ ตกเป็นสมบัติของรัฐบาล เพื่อจะนำไปจัดสรรให้กับเกษตรกร

27 ตุลาคม, เลนินประกาศตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมา โดยเรียกว่า สภากรรมาธิการประชาชน ( Council of People’s Commissars, Совет Народных Комиссаров РСФСР) หรือ ซอฟนากรอม (Sovnarkom)

พฤศจิกายน, เลนินประกาศกฏหมาย Declaration of the Rights of the Peoples of Russia ซึ่งให้สิทธิคนที่ไม่ใช่เชื้อสายรัสเซีย แต่อยู่อาศัยอยู่ในดินแดนรัสเซีย มีสิทธิในการตั้งประเทศของตัวเอง ซึ่งเป็นผลให้ ฟินแลนด์, ลิธัวเนีย, แลตเวีย, ยูเครน, เอสตัวเนีย, ทรานคอเคซัสต่างทยอยกันประกาศเป็นเอกราช ซึ่งกฏหมายยังเป็นที่ถกเถียงถึงเจตนาที่แท้จริงของเลนิน ว่าเพียงต้องการบั่นทอนกำลังของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นหรือไม่ เพราะสุดท้ายโซเวียตก็รวบรวมดินแดนเหล่านั้นกลับมา 

5 ธันวาคม, หน่วยตำรวจพิเศษเชก้า (Cheka) ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อปราบปรามผู้ต่อต้านการปฏิวัติทั่วรัสเซีย  

27 ธันวาคม, กองทัพอาสาสมัคร (Volunteer Army) ซึ่งเป็นกองกำลังต่อต้านบอลเชวิค นำโดยนายพลมิคาอิล อเล็กเซเยก (Mikhail Alekseyev) และนายพล ลาฟร์ คอร์นิลอฟ (Lavr Kornilove) ถูกประกาศตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลายเป็นกองกำลังหลักที่ต่อสู้กับบอลเชวิคในสงครามกลางเมืองของรัสเซีย (Civil War, 1917-1922) 

1918 14 มกราคม, เลนินถูกลอบสั่งหารระหว่างท่ีรถของเขาแล่นอยู่ในเปโตรกราด แต่ว่าฟริตซ์ แพลตเตน (Fritz Platten) คอมมิวนิสต์ชาวสวิสฯ ซึ่งนั่งอยู่ในรถด้วย ได้ใช้ตัวบังเลนินเอาไว้จนตัวเขาเองได้รับบาดเจ็บ ส่วนเลนินเองก็ได้รับบาดเจ็บจากกระสุน ซึ่งกระสุนบางส่วนที่อยู่ในร่างของเลนินไม่ได้รับการผ่าตัดเพื่อนำออกมา

3 มีนาคม, รัสเซียลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟส์ก (Brest-Litovsk treaty) เพื่อถอนตัวออกจากสงครามโลก 

โดยที่รัสเซียต้องเสียดินแดนบอลติก ให้กับเยอรมัน และต้องปล่อยให้ยูเครนเป็นเอกราช และยังเสียดินแดนคาร์ส (Kars Oblast) ซึ่งเป็นรัฐในคอเคซัสให้กับอ๊อตโตมัน ซึ่งรวมแล้วรัสเซียสูญเสียดินแดนกว่า 23% จากข้อตกลงนี้ ซึ่งการถอนตัวออกจากสงครามโลก เป็นหนึ่งในนโยบายของเลนิน ซึ่งมีสมาชิกพรรคจำนวนมากไม่เห็นด้ว และทำการประท้วง จนเมื่อเยอรมันแพ้สงคราม และจักรพรรดิวิลเฮล์ม ที่ 2 (Emperor Wilhelm II) ถูกปลดออกจากตำแหน่ง รัสเซียก็ได้ประกาศว่าสนธิสัญญา เบรสต์-ลิตอฟส์ก เป็นโมฆะ

6 มีนาคม, บอลเชวิคจัดประชุมพรรค RSLDP ครั้งที่ 7 ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคมาเป็น พรรคคอมมิวนิสต์ (Communist Party) อย่างเป็นทางการ

มีนาคม, เลนินแได้ย้ายศูนย์กลางบริหารจากเปโตรกราดมาอยู่ในเครมลิน, มอสโคว์ เพื่อความปลอดภัย เพราะเกรงว่าเยอรมันจะบุกรัสเซีย 

กองกำลังเชคโกสโลวัค (Czechoslovak Legion) เป็นกองกำลังทหารอาสาสมัครในสงครามโลก ครั้งที่ 1 ซึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร (Entente Powers) ข้างเดียวกับอิมพีเรียลรัสเซีย และรบกับเยอรมัน โปแลนด์ อยู่ทางตะวันตกของยูเครน โปแลนด์ และเบลารุส ปันจุบัน แต่เมื่อบอลเชวิคทำสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟส์ก กับกลุ่มเซ็นทรัลเพาเวอร์ (Central Powers เยอรมัน, ออสเตรียและอ๊อตโตมัน) ทำให้กองกำลังเชคโกสโลวัค ติดอยู่ภายในดินแดนรัสเซีย ไม่สามารถถอนทหารออกทางตะวันตกได้  จึงได้วางแผนที่จะถอนกำลังออกมาทางตะวันออกไกลที่วลาดิวอสต๊อก โดยใข้เส้นทางสายทรานไซบีเรีย 

แต่ตอนเดือนพฤษภาคม กองกำลังเชคโกสโลวัคมีการปะทะกับฝ่ายบอลเชวิค ทำให้ฝ่ายชาติสัมพันธมิตร  (Allied Powers)  ซึ่งเกรงว่าเยอรมันและกลุ่มเซนทรัลเพาเวอร์จะเข้ามาครอบครองรัสเซียได้ จึงได้ส่งทหารเข้ามาในรัสเซีย โดยสหรัฐฯ ญี่ปุ่นส่งทหารเข้ามาที่วลาดิวอสตีอก และ อังกฤษส่งทหารเข้ามาที่เมอร์แมนส์ก (Murmansk) อาร์คแองเจลส์ก (Arkhangelsk)

6- 7 กรกฏาคม, (Left SR revolt) สมาชิกของพรรคปฏิวัติสังคมนิยม (Left Sociallist Revolutionary Party) พยายามปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลบอลเชวิค ในมอสโคว์ 

กรกฏาคม, รัฐธรรมนูญฉบับแรก ของสหพันธรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (Russian Soviet Federative Socialist Republic) ประกาศใช้

16 กรกฏาคม, มีการประหารซาร์นิโคลัส, ซาร์ดินาอเล็กซานดร้า , รัชทายาท 5 พระองค์ และผู้ติดตาม อีก 4คน  รวมทั้งหมด 11 คน ในเยคาเตรินเบิร์ก (Yekaterinburg) ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพขาวหรือฝ่ายต่อต้านบอลเชวิคสามารถช่วยพวกเขาไปได้

30 สิงหาคม, เลนินถูกลอบสังหารอีกครั้ง โดยแฟนนี่ กาแพลน (Fanny Kaplan) ระหว่างที่เลนินไปเยี่ยมชมโรงงานแห่งหนึ่ง โดยเลนินถูกยิงด้วยกระสุนสามนัดและได้รับบาดเจ็บสาหัส แฟนนี่ถูกจับได้และถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา

ไม่นานหลังจากเลนินรักษาอาการบาดเจ็บ เลนินก็เริ่มนโยบาย Red Torror ซึ่งเน้นใช้การปราบปรามที่รุนแรงต่อผู้ที่ต่อต้านบอลเชวิค 

3 กันยายน, หนังสือพิมพ์อิสเวสเทีย ตีพิมพ์นโยบาย Red Terror ลงในบทความ “Appeal to the Wroking Class” ซึ่งประกาศใช้ความรุนแรงต่อผู้ต่อต้านการปฏิวัติทุกรูปแบบ และผู้ที่ถูกจับถ้ายังมีชีวิตก็จะถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกัน (gulug) 

5 กันยายน, ซอฟนากรอมประกาศนโยบาย Red Terror เป็นกฏหมายอย่างเป็นทางการ ซึ่งตลอดระยะเวลาในช่วงสงครามกลางเมืองของรัสเซีย 1917-1922 ไม่สามารถระบุจำนวนเหยื่อของนโยบาย Red Terror ของเลนินได้ แต่ว่ามีการประเมินกันว่าอยู่ที่สองแสนถึงล้านคน

การบริหารประเทศของเลนินในปีแรก รัฐบาลของเลนินเลือกที่จะยึดกิจการต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่มาเป็นของรัฐบาล ทั้งธนาคาร, การขนส่ง, รถไฟ เหมืองแร่และที่ดินขนาดใหญ่ แต่ว่ายังคงอนุญาตให้ธุรกิจขนาดเล็กเป็นของเอกชน

เศรษฐกิจในปีนี้หลายเมืองของรัสเซียเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารรุนแรง เลนินพยายาโทษว่าเป็นเพราะพวกคูลัก (Kulaks) หรือ ชาวนาที่มีฐานะร่ำรวย มีที่ดินเยอะ กักตุนเมล็ดพันธุ์เพื่อเก็งกำไร เลนินจึงสั่งให้มีการปราบปรามและยึดทรัพย์และที่ดินคืนมา รวมถึงมีการประหารคูลักเหล่านี้ในที่สาธารณะเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง ซึ่งนโยบายของเลนินนี้สร้างความเดือนร้อนไปทั่ว จนกระทั้งสังคมวุ่นวายและเป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมือง และไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารได้ แต่กลับทำให้ทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก แต่เลนินเน้นย้ำว่าความรุนแรงและอาชญากรรมเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้การปฏิวัติประสบความสำเร็จ 

1919 Likbez Campaign เลนินเริ่มโครงการในกระตุ้นอัตราการรู้หนังสือของประชาชน ในช่วง 1919-1923 โดยเห็นว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ก็จะถูกปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคได้งาย และจะสร้างสังคมนิยมอุดมคติขึ้นมาได้ กระทรวงศึกษา (Narkompros) มีการตั้งหน่วย Cheka Likbez ขึ้นมาเพื่ออบรบครูที่จะถูกส่งไปสอนหนังสือทั่วประเทศ มีการตั้งห้องเรียนขึ้นมาในแต่ละหมู่บ้าน แต่ว่าอันที่จริงแล้วห้องเรียนเหล่านั้นกลายเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเขื่อให้กับพรรค และชาวบ้านต้องเข้ามาเรียนหนังสือที่พรรคคอมมิวนิสต์ส่งมาให้เท่านั้น พวกเขาจึงถูกเปรียบเป็น นักอ่านแดง (Red Reader)

14 กุมภาพันธ์, (Polish-Soviet War, 1919-1920) สงครามโปแลนด์-โซเวียต 

2 มีนาคม, ก่อตั่งโคมินเทิร์น (Communist Internaitional, Comintern) เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ทั่วยุโรป ซึ่งเลนินมองว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้  

1920 เขียน “Left-Wing” Communism” An Infantile Disorder

กันยายน, อิเนสส่า อาร์มันด์ เสียชีวิต จากโรคอหิวาห์ที่ระบาด ซึ่งร่างของเธอถูกนำมาฝังไว้ที่ข้างกำแพงเครมลิน 

1921 (Russian famine, 1921-1922) ประชาชนยังเผชิญกับภาวะอดอยากรุนแรง ซึ่งครั้งนี้รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ มีผู้คนต้องตายจากความหิวโหยกว่าห้าล้านคน เพราะนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดผลาดของบอลเชวิค ซึ่งทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ออกมทำการประท้วงต่อต้านรัฐบาล

กุมภาพันธ์, เลนินประกาศใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ NEP (New Economic Policy) ซึ่งเป็นการถอยจากเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ในช่วง 1918-1921 กลับไปเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและตลาด  ยกเลิกการยึดเมล็ดพืชจากชาวนา 

มีนาคม, (Kronstadt rebellion) ทหารเรือที่เมืองท่าครอนสแต๊ด ในอ่าวฟินแลนด์ จำนวนเกือบสองพันนาย ร่วมกับประชาชนหลายหมื่นคนได้ก่อกบฏเพื่อต่อต้านรัฐบาลบอลเชวิค โดยผู้ประท้วงเรียกร้องเสรีภาพ และสิทธิพื้นฐานของแรงงานและเกษตรกรคืนมาก 

สิงหาคม, การประท้วงที่ตามบอฟ (Tambov Rebellion,1920-1921} เป็นการประท้วงใหญ่ของเกษตรกร จนเรียกว่าเป็นการกบฏ เพื่อต่อต้านที่รัฐพยายามจะบังคับยืดเอาเมล็ดพันธ์พืชและอาหารไป เกษตรกรจึงได้รวมตัวกันเพื่อทำสงครามกองโจรต่อต้านกองทัพแดง และเชก้า ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน

ในครึ่งหลังของปีนี้เลนินเริ่มมีอาการป่วยรุนแรง  เขามีอาการนอนไม่หลับ มีความผิดปกดติในการได้ยิน และปวดหัว ทำให้เขาปลีกตัวไปพักฟื้นที่กอร์กิ (Gorki mansion) ชานมอสโคว์ โดยที่แม่และนาเนซด้าภรรยาคอยดูแล 

1922 เมษายน, เลนินเข้ารับการผ่านตัดเพื่อนำเอากระสุนในร่างของเขา จึงเกิดจากการถูกลอบสังหารตั้งแต่ปี 1918 ออกจากร่างกาย ซึ่งแพทย์ระบุว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เลนินป่วย แต่หลังจากการผ่าตัดแล้ว เลนินก็ไม่ดีขึ้น ยังมีอาหารปวดหัว 

พฤษภาคม, มีอาการเส้นเลือดในสมองตีบ จนทำให้เลนินสูญเสียความสามารถในการพูดและร่างกายซึกขวาเป็นอัมพาต  อยู่หลายเดือนก่อนอาการจะดีขึ้น 

ธันวาคม, เกิดอาการเส้นเลือดในสมองตีบอีกครั้งหนึ่ง 

1923 พินัยกรรมของเลนิน (Lenin’s Testament)  สัปดาห์แรกของปี เลนินอยากจะให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารของโซเวียต เพราะเห็นความขัดแย้งระหว่างทร็อตสกี้กับสตาลิน ซึ่งดูเหมือนเลนินต้องการที่จะปลดสตาลินออกจากตำแหน่งเลขาธิการึคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเลนินต้องการให้พินัยกรรมของเขาถูกอ่านในที่ประชุมพรรค ครั้งที่ 12 ที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายน แต่ว่าเลนินก็ต้องป่วยด้วยเส้นเลือดในสมองตีบอีกครั้งในเดือนมีนาคม ก่อนหน้าการประชุม ซึ่งนาเดซด้าได้เก็บพินัยกรรมเอาไว้เป็นความลับ เพราะคิดว่าเลนินจะฟื้นตัวกลับมาได้ 

1924 21 มกราคม, เลนินเสียชีวิต

หลังเลนินเสียชีวิต นาเดซด้าได้นำพินัยกรรมของเลนินมอบให้กับคณะกรรมการกลางของพรรค แต่ว่าพินัยกรรมถูกเซ็นเซอร์ และเผยแพร่ในวงจำกัดเพราะเกรงว่าจะมีผลทำความเสียหายให้กับพรรคในภาพรวม พินัยกรรมของเลนินจึงไม่สามารถหยุดสตาลินที่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ของโซเวียตแล้ว

ผลงานเขียน

  • The Development of Capitalism in Russia, 1899
  • What Is To Be Done ?, 1902
  • One Step Forward, Two Step Back, 1903
  • Imperialism, the Highest Stage of Capitalism, 1917
  • The State and Revolution, 1917
  • “Left-Wing” Communism” An Infantile Disorde, 1920

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!