วลาดิมีร์ เชโลมีย์ (Владимир Николаевич Челомей)
ผู้ก่อตั้ง OKB-52
เชโลมีย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1914 ในลูบลิน, จักรวรรดิรัสเซีย (Siedlce, Lublin Governorate, Russian Empire) ห่างจากกรุงวอร์ซอราว 70 กิโลเมตร ปัจจุบันเมืองที่เขาเกิดอยู่ในโปแลนด์ พ่อแม่ของเขามีอาชีพเป็นครู มีเชื้อสายของคอสแซ็คในยูเครน ช่วงเวลานั้นเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 ทำให้ครอบครัวของเขาต้องลี้ภัยไปอยู่ในโปลตาว่า (Poltava) ก่อนที่จะย้ายกลับมาลูบลินเมื่อสงครามโลกยุติ
1926 เมื่ออายุ 12 ปี ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ในกรุงเคียฟ
1929 เข้าเรียนที่วิทยาลัยยานยนต์เคียฟ (Kiev Automobile College)
1932 เข้าเรียนที่สถาบันโพลีเทคนิคเคียฟ (Kiev Polytechnic Institute) ระหว่างที่เรียนหนังสือเขามีความสนใจคณิตศาสตร์และฟิสิกมาก เขาหาโอกาสเข้าฟังเลคเซอร์ที่มหาวิทยาลัยเคียฟและสถาบันวิทยาศาสตร์ยูเครนสม่ำเสมอ
1936 มีผลงานเขียนเล่มแรกชื่อ Vector Analysis
1937 สำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยม โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ‘’The vibrations of aircraft engine’’
หลังจากเรียนจบได้เข้าทำงานที่สถาบันคณิตศาสตร์ (Institute of Mathematics, USSR Academy of Sciences) พร้อมกับเรียนต่อที่สถาบันแห่งนี้
1939 จบปริญญาเอก โดยวิทยานิพนธ์เรื่อง ‘’ Dynamic stability of aircraft structural elements’’
ทำงานที่สถาบันเบรานอฟ (Baranov Central Institute of Aviation Motor Building, TsIAM) ในมอสโคว์
1941 ได้ทำงานที่สถาบันเครื่องยนต์การบิน (Central Institute of Aviation Motors) ในมอสโคว์
1942 เชโลมีย์ประดิษฐ์เครื่องยนต์เจ็ตแบบมีจังหวะ (pulsejet) ได้สำเร็จเป็นคนแรกของโซเวียต
1944 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการของห้องทดลองที่ 51 (ปัจจุบันคือ NPO Mashinostroyeniya) ซึ่งนำโดยโปลิการ์ปอพ (N.N. Polikarpov) ที่นี่เขาสร้างจรวดมิสไซด์ Х10 (Kh10) ซึ่งเป็นจรวดมิสไซด์ที่เลียนแบบมาจาก V-1 ของเยอรมัน
ต่อมาเชโลมีย์ได้เสนอโครงการจรวดมีสไซด์สำหรับเรือดำน้ต่อรัฐบาล ซึ่งกองทัพเรือให้ความสนใจในแบบของเขา จึงได้มีการฟอร์มทีมขึ้นมาออกแบบมิสไซด์ขึ้น
1951 มาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยบัวแมน (Bauman State Techincal University)
1952 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์
1955 ทีมออกแบบของเชโลมีย์ถูกย้ายมายังเมืองรัวตอฟ (Reutov) ใกล้กับมอสโคว์ เพื่อทำงานให้กับ OKB-52 ที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่
OKB-52 ถูกมองว่าเป็นคู่แข่งของ OKB-1 (Energia) ของโคโลเลฟ (Sergey Korolev)
ไม่นาน OKB-52 ก็มีการสร้างมิสไซด์ P-5 ‘’Pyatyorka’’ สำหรับติดตั้งบนเรือ และ C-5 เป็นเวอร์ชั่นที่อยู่บนบก ซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายในทะเลหรือบนดินได้
1959 ได้รับรางวัล Order of Lenin, Hero of Socialist Labor จากผลงานการออกแบ P-5
เชโลมีย์ ได้เริ่มพัฒนามิสไซด์อเนกประสงค์ที่ไม่ใช่เพียงใช้เป็นอาวุธแต่ยังใช้เพื่อขนส่งอุปกรณ์ขึ้นในอวกาศด้วย ซึ่งเป็นผลให้มีการสร้างมิสไซด์ SD-100, SD-200, SD-500, SD-700 และจรวดขนาดใหญ่ UR-100, UR-200, UR-500 ซึ่ง UR-500 ก็คือจรวดโปรตอน (Proton)
1964 หลังจากมีจรวดโปรตอน เชโลมีย์ได้เสนอโครงการให้มีการสร้างสถานีอวกาศโดยใช้จรวดโปรตอนลำเลียชิ้นส่วนขึ้นไป โดยมีเป้าหมายหลักคือด้านการทหาร และการสำรวจอวกาศ เป็นที่มาของโครงการสถานีอวกาศ Salyut, Almaz, Venus, Zond, Luna, Mars โดยเฉพาะโครงการสถานีอวกาศ Almaz เป็นโครงการทางทหารที่เป็นความลับในเวลานั้น
1962 ได้เป็นสมาชิกเต็มตัวของ USSR Academy of Sciences
1970s ช่วงปี 70s มีการพัฒนามิสไซด์ P-700 ‘Granit’ ที่มีความเร็วเหนือเสียงและสามารถยิงได้จากใต้ผิวน้ำหรือเหนือผิวน้ำด้วย
1984 ต้นเดือนธันวาคมเชโลมีย์ประสบอุบัติเหตุถูกรถของตัวเองทับขาระหว่างลงไปปิดประตูโรงเก็บรถ เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาเพราะการบาดเจ็บและขาหัก
12 ธันวาคม, เสียชีวิตในมอสโคว์ ขณะมีอายุได้ 70 ปี จากอาการเลือดคั่ง (thrombosis) ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานโนโวเดชิชี (Novodevichy cemetery)