ยามาชิตะ โตโมยุกิ (山下 奉文)
ฉายา Tiger of Malaya
ยามาชิตะ เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1885 ในหมู่บ้านโอซุกิ (Osugi village) เมืองกามิ (Kami county, Kochi Prefecture) พ่อของเขาเป็นหมอชื่อซากิชิ (Sakichi) และแม่ชื่อยู (Yu) โดยยามาชิตะเป็นลูกชายคนที่สองของครอบครัว พี่ชายของเขาชื่อว่าโฮโอ (Hoho) ภายหลังเป็นแพทย์ทหารในกองทัพเรือ นอกจากนั้นยามาชิตะมีน้องชายอีกหนึ่งคน และน้องสาวสองคน
เมื่ออายุได้ 2 ขวบ ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านเกิดของบิดาในหมู่บ้านโอซุกิ มูระ (Osugi Mura) บนเกาะชิโกกุ (Shikoku island)
1905 จบจากสถาบันทหาร (Imperial Japanese Army Academy) ในเมืองฮิโรชิม่า
1908 ได้ติดยศร้อยโท และเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในการต่อสู้กับทหารเยอรมันที่เมืองชานตง (Shandong, China) ในประเทศจีน
1913 กลับมาญี่ปุ่นและได้เข้าศึกษาในวิทยาลัยการสงคราม (Army war College) ในโตเกียว
1916 จบจากวิทยาลัยการสงคราม โดยเป็นที่ 6 ของรุ่น และได้ติดยศเป็นร้อยเอก
แต่งงานกับ ไฮซาโกะ นากายาม่า (Hisako Nagayama) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอดีตนายพลเกษียณ นากายาม่า
1919 ยามาชิตะถูกส่งไปเป็นฑูตทหารที่เยอรมัน ที่เมืองเบิร์น ในสวิสเซอร์แลนด์ และเมืองเบอร์ลิน เยอรมัน จนถึงปี 1922 ทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเยอรมัน
1922 กลับมายังญี่ปุ่น, และได้เลื่อนยศเป็นพันตรี และได้เข้าทำงานในกองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่น (Imperial Japanese Army General Staff) โดยเป็นคณะกรรมการด้านการปฏิรูปของทัพ (the Military Affairs Bureau) ซึ่งในขณะนั้นกำลังดำเนินแผนงานการปฏิรูปกองทัพที่เรียกว่าแผน อูกากิ (the Ugaki Army Reduction Program) ซึ่งเป็นแผนการลดขนาดกองทัพลง
1925 ได้เลื่อนยศเป็นพันโท ,ยามาชิตะนั้นไม่ได้เห็นด้วยกับแผนการลดขนาดกองทัพลง ซึ่งเป็นความขัดแย้งภายในกองทัพขณะนั้นและเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายภายใน
ยามาชิตะไปเข้ากับกลุ่มที่มีชื่อว่า Imperial way group (皇道派, โกโดฮะ , Kodoha)ซึ่งเป็นคู่แข่งของกลุ่ม Control Faction (統制派, โตไซฮะ, Toseiha) ทำให้ยามาชิตะกลายเป็นคู่แข่งของ ฮิเดกิ โตโจ (Hideki Tojo) ซึ่งอยู่กับกลุ่มหลัง
1927 ยามาชิตะ ถูกส่งไปยังกรุงเวียนนา, ออสเตรีย ในฐานะฑูตทหาร
1930 หลังจากกลับจากเวียนนาก็ได้รับยศเป็นพันโท และเป็นผู้บัญชาการทหารราบที่ 3 (Imperial Japanese Infantry Regiment)
1934 สิงหาคม, ได้รับยศพลจัตวา
1936 กบฏ 26 กุมภาพันธ์ (February 26 incident), เกิดเหตุการณ์ความพยายามในการก่อกบฏ เพื่อโค่นล้มกลุ่ม Control Faction ในกองทัพ การก่อกบฏนี้นำโดย ซาดาโอะ อะรากิ (Sadat Araki)
การพยายามรัฐประหารนี้ล้มเหลว ทำให้ยามาชิตะเองสูญเสียความไว้วางใจจากสมเด็จพระจักรพรรดิ ทำให้เขาเองตัดสินใจจะลาออกจากกองทัพแต่ว่าหัวหน้าของเขาโน้มน้าวให้เขาล้มความตั้งใจ
หลังการรัฐประหารล้มเหลว ยามาชิตะถูกส่งตัวไปยังเกาหลี และเป็นผู้บัญชาการทหาราบที่ 40 (40th Infantry Brigade)
1937 ญี่ปุ่นบุกจีน (2nd Sino-Japanese war) ยามาชิตะได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยทหารราบ ที่ 4 ( IJA 4th Division) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยในสังกัดกองทัพกานโต (Kwantung Army) ที่อยู่ในแมนจูเรีย (Manchuria) ตอนเหนือของจีนซึ่งในตอนนั้นแมนจูเรียอยู่ในการยึดครองของญี่ปุ่น
1940 ธันวาคม, ยามาชิตะ ถูกส่งตัวไปเป็นสายลับทางทหาร ไปยังเยอรมันและอิตาลี
1941 16 มิถุนายน, ยามาชิตะได้มีโอกาสพบกับฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) และมุโสลินี (Benito sในเบอร์ลิน และ
6 พฤศจิกายน, ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพที่ 25 (25th Army) โดยหลังรับตำแหน่งเขาก็ย้ายสำนักงานกองบัญชาการของเขาไปอยู่ในไซง่อน (Saigon)
8 ธันวาคม, (Invasion of Malaya) ญี่ปุ่นทำการบุกคาบสมุทรมาลายู รวมถึงประเทศไทย
1942 14 กุมภาพันธ์, (Alexandra Hospital massacre)
15 กุมภาพันธ์, (Fall of Singapore) ญี่ปุ่นยึดสิงคโปว์จากอังกฤษได้สำเร็จ ทำให้ยามาชิตะได้รับฉายา “Tiger of Malaya” มาตั้งแต่ตอนนั้น เพราะว่าทหารของจักรวรรดิอังกฤษกว่า 120,000 นายยอมวางอาวุธ ซึ่งเป็นการยอมแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพอังกฤษ
4 มีนาคม, (Sook Ching massacre)
17 กรกฏาคม, ยามาชิตะถูกส่งตัวกลับไปควบคุมกองทัพแมนจูกัว โดยเป็นผู้บัญชาการกองทัพที่ 1 (First Area Army)
1943 กุมภาพันธ์, ได้รับยศนายพล
1944 ตุลาคม, เขาได้รับหน้าที่บัญชาการกองทัพที่ 14 อีกครั้ง เพื่อทำหน้าที่ในการรบกับสหรัฐอเมริกาในสงครามที่ฟิลิปปินส์
17 ตุลาคม, สมรภูมิเลย์เต้ (Battle of Leyte), ไม่ถึงสิบวันหลังจากยามาชิตะมาถึงฟิลิปปินส์ กองทัพสหรัฐฯ และฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดยยายพลแม็กอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur) ก็ยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต้
1945 15 สิงหาคม, ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2
2 กันยายน, ยามาชิตะและทหารของเขาในฟิลิปปินส์ประกาศยอมแพ้
29 ตุลาคม- 7 ธันวาคม, เป็นช่วงเวลาที่ยามาชิตะถูกนำขึ้นไต่สวนในศาลอาญกรรมสงคราม ที่สหรัฐฯ ตั้งขึ้นในกรุงมะลิลา ซึ่งยามาชิตะถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาการก่ออาชญากรรมในหลายเหตุการณ์ ซึ่งมีผู้บริสุทธิ์สังเวยชีวิตไปกว่า 57,000 คน
1946 23 กุมภาพันธ์, ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ภายในเรือนจำลอสบานอส, ลากูน่า (Los Banos, Laguna Prison Camp) ฟิลิปปินส์ ห่างจากกรุงมะลิลาไปทางใต้ 48 กิโลเมตร
ร่างของเขาถูกนำไปฝังในสุสานญี่ปุ่นในเมืองลอสบานอส ก่อนที่ต่อมาจะถูกส่งกลับไปยังญี่ปุ่นและฝังไว้ที่สุสานทามะ (Tama Cemetery) ในกรุงโตเกียว