โทมัส ซานการ่า (Thomas Isidore Noël Sankara)
ฉายาเช กูวาร่า แห่งอัฟริกา (African’s Che Guevara)
ซานการ่า เกิดวันที่ 21 ธันวาคม 1949 ในยาโก, อัพเปอร์ โวลต้า (Yako, French Upper Volta) หรือแอฟริกาตะวันตก (French West Africa) ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ซานการ่าเป็นลูกคนที่สามในพี่น้องทั้งหมดสิบคน พ่อของเขาชื่อโจเซฟ (Joseph Ыфтпфкф) เขาเป็นลูกผสมระหว่างคนเชื้อสายมอสซี (Mossi) กับเชื้อสายฟุลานี (Fulani) โจเซฟนั้นมีอาชีพเป็นทหาร ซึ่งถูกว่าจ้างให้ทำงานให้กับฝรั่งเศส
ส่วนแม่ของซานการ่าชื่อว่ามาร์กูไรต์ (Marguerite Kinda) เป็นชาวมอสซี
ตอนที่ซานการ่ายังเด็กครอบครัวของพวกเขาย้ายมาอยู่ในเกโออะ (Gaoua) ทางตอนใต้ของประเทศ
ซานการ่า เริ่มเรียนหนังสือในเมืองโบโบ-ไดโอลาสโซ (Bobo-Dioulasso) ซึ่งเขามีประวัติการเรียนหนังสือที่ดี และเก่งในวิชาภาษาฝรั่งเศสและคณิตศาสตร์
ต่อมาเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมออซซิน คูลิบาลี (Ouezzin Coulibaly lycee)
1966 3 มกราคม, เกิดการรัฐประหารภายในอัพเปอร์โวลต้า โดยพันโทซานเกาเล่ ลามิซาน่า (Lieutenant Colonel Sangoule Lamizana) ได้โค่นประธานาธิบดีมัวไรซ์ ยาเมโอโก้ (Maurice Yameogo) ลง
ซานการ่าในวัย 17 ปี สมัครเข้าเรียนที่สถาบันทหารในคาดิโอโก้ (Military Academy of Kadiogo) ในเอากาเดาเกา (Oaugadougou)
1970 เข้าศึกษาต่อที่สถาบันทหารแอนต์ซิราเบ่ (Military Academy of Antsirabe) ในมาดากัสก้า (Madagascar) ซึ่งระหว่างเรียนอยู่ที่สถาบันแห่งนี้เขาก็ได้อ่านงานเขียนของมาร์กซ์ (Karl Marx) และเลนิน (Vladimir Lenin) เป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ระหว่างเรียนซานการ่าซึ่งชอบเล่นกีตาร์ ยังได้ตั้งวงดนตรีขึ้นมาชื่อ Tout-à-Coup Jazz (suddenly Coup ~ การปฏิวัติรวดเร็ว)
1972 ได้เดินทางกลับมายังอัพเปอร์ โวลต้า และได้ร่วมรบในสงครามคริสต์มัส (Christmas War) ระหว่างอัฟเปอร์ โวลต้า กับมาลี (Mali) ซึ่งขัดแยังกันเรื่องพรหมแดน สงครามนี้ทำให้ซานการ่ากลายเป็นผู้มีชื่อเสียงขึ้นมาและ
1973 จบการศึกษา
1976 ซานการ่าได้ตำแหน่งผู้บัชญาการศุนย์ฝึกคอมมานโดในเมืองโป (Po)
ช่วงเวลานี้ซานการ่าได้พบกับเบลส คอมเพาเร่ (Blaise Comparé) ซึ่งพวกเขาได้รวมกลุ่มกับทหารในรุ่นราวคราวเดียวกันก่อตั้งองค์กรลับที่ชื่อ ROC (Regroupement des officiers communistes) หมายถึง กลุ่มเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคอมมูนิสต์ (Communist Officers’ Group)
1979 21 กรกฏาคม, แต่งงานกับมาเรียม (Mariam Sereme) ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันสองคน
1981 ประธานาธิบดี เซย์ เซอร์โบ (Saye Zerbbo) ได้ตั้งซานการ่าให้เป็นรัฐมนตรีสารสนเทศ (Minister of Information)
1982 12 เมษายน, ซานการ่าลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
7 พฤศจิกายน, เกิดการรัฐประหารอีกครั้ง โดยในครั้งนี้นำโดย แพทย์ทหาร ร้อยเอก ดร.ฌอน-แบ๊พติสต์ โออีเดราโก้ (Major-Doctor Jean-Baptiste Ouédraogo, JBO)
1983 มกราคม, ซานการ่าได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
17 พฤษภาคม, ซานการ่าถูกปลดออกจากต่ำแหน่ง และไม่นานเขาก็ถูกจับกุมตัวไปขังเอาไว้ ซึ่งการที่ซานการ่าถูกจับ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่นายทหารรุ่นใหม่ในกองทัพ
4 สิงหาคม, เบลส คอมเพาเร่ เพื่อนของซานการ่า ได้ทำการรัฐประหาร โค่นรัฐบาลของ JBO ลงได้สำเร็จ ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากลิเบีย (Libya) หลังจากการรัฐประหารคอมเพาเร่ก็ได้ตั้งซานการ่าขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี ในวัยเพียง 33 ปี
1984 ซานการ่าเปลี่ยนชื่อประเทศจากอัพเปอร์โวลต้า มาเป็นเบอร์กินา ฟาโซ (Burkina Faso) หรือแปลว่า Land of the upright people (ดินแดนแห่งประชาชนที่มีควาทรนง)
นอกจากนั้นซานการ่ายังได้ประพันธ์เพลงชาติ Une Seule Nuit ด้วยตัวเอง
ภายใต้การบริหารประเทศของซานการ่า ตัวเขาเองมีนโยบายที่ต่อต้านฝรั่งเศสและจักรวรรดิยม ซานการ่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากต่างประเทศ และถอนตัวจาก IMF และธนาคารโลก โดยเขาบอกว่า “ใครก็ตามที่ให้อาหารคุณ เขาก็คือคนที่ควบคุมคุณ”
ในช่วงระยะเวลาแรกเขามุ่งเน้นด้านสาธารณสุขและการแก้ปัญหาความอดอยากภายในประเทศ มีการเร่งฉีดวัคฉีนป้องกันโรคโปลิโอ, หัด, และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ให้กับประชาชนกว่า 2 ล้านคน ในช่วงปี 1983-1985
มีการเร่งสร้างบ้านเรือนและโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากได้เกิดขึ้น ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งมีการสร้างรางรถไฟใหม่ขึ้นมาความยาวถึง 700 กิโลเมตร
นอกจากนั้นยังต่อสู้กับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าด้วยการปลูกป่าหลายล้านต้นขึ้นมา
1987 15 ตุลาคม, เสียชีวิตจากการถูกสอบสังหาร ระหว่างการทำรัฐประหารซึ่งนำโดยเบลส คอมเพาเร่ เพื่อนของเขาเอง ร่างของซานการ่านั้นถูกนำไปเผาในหลุมศพนิรนามไม่นานหลังเสียชีวิต
หลังซานการ่าเสียชีวิต มาเรียมภรรยาและลูกของเขาก็ต้องหลบหนีออกจากประเทศ