โธมัส วัตสัน จูเนียร์ (Thomas “Tommy” J. Watson Jr.)
วัตสัน เกิดวันที่ 14 มกราคม 1914 ในเดย์ตัน, โอไฮโอ (Dayton , Ohio) พ่อของเขาคือ โธมัส วัตสัน, ซีเนียร์ (Thomas J. Watson) และแม่ชื่อเจนเน็ตต์ (Jeannette M. Kittredge) วัตสัน มีน้องสาวสองคนชื่อเจน และเฮเลน และน้องชายคนสุดท้องชื่ออาร์เธอร์ ขณะที่วัตสันเกิด พ่อของเขายังทำงานเป็นเซลแมนอยู่ที่บริษัท NCR (National Cash Register) แต่ว่าไม่นานก็ต้องออกจากบริษัทเพราะคดีเกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจ และต่อมาได้มาทำบริษัทใหม่ซึ่งกลายมาเป็น IBM
วัตสันเติบโตขึ้นมาในหมู่บ้านชอร์ต ฮิลล์, มิลล์เบิร์น (Short Hills, Millburn) ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jeersy) ห่างจากนิวยอร์คไปราวยี่สิบไมล์
เขาเรียนที่โรงเรียนชอร์ต ฮิลล์ คันทรี เดย์ (Short Hills Country Day School)
1914 พ่อของวัตสันย้ายมาทำงานที่ CTR (Computing-Tabulating-Recording Company)
1924 CTR เปลี่ยนชื่อมาเป็น IBM (International Business Machines)
1933 วัตสันจบมัธยมจากฮันสคูล (Hun School of Princeton) โดยที่ผลการเรียนตอนมัธยมไม่ดีเลย วัตสันเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University)
1937 จบปริญญาตรีบริหารธุรกิจ ซึ่งหลังจากเรียนจบได้ทำงานเป็นเซลล์แมนที่ IBM
1939 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 เขาเข้าเป็นทหารในกองทัพอากาศของสหรัฐฯ โดยเข้ารับหน้าที่เป็นนักบิน เนืองจากวัตสันมีงานอดิเรกเป็นการขับเครื่องบินอยู่แล้ว ซึ่งระหว่างสงครามโลก เขาได้ขับเครื่องบินพานายพลแบรดเลย์ (Gen Follett Bradley) ไปสหภาพโซเวียตหลายครั้ง ซึ่งช่วงสงครามสหรัฐฯ และ IBM ให้ความช่วยเหลือสหภาพโซเวียตในเรื่องการเช่าเครื่องคำนวณของ IBM ทำให้วัตสันเริ่มเรียนภาษารัสเซียไปด้วย
1941 แต่งงานกับโอลีฟ (Olive Cawley) ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันหกคน
1943 ได้รับยศพันโท
1944 IBM เปิดตัว Harvard Mark I (Automatic Sequence Controlled Calculator, ASCC) เป็นเครื่องคำนวณรุ่นแรกที่สามารถคำนวณเลขจำนวนมากได้อัตโนมัติ
1946 หลังสงครามโลก ได้ออกจากกองทัพและกลับมาทำงานที่ IBM โดยได้รับตำแหน่งรองประธานบริหาร
1948 IBM เปิดตัว SSEC (Selective Sequence Electronic Calculator) เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศ 12,000 ดวง ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงโปรแกรมที่มีอยู่แล้วได้
1952 ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการ (President) ของ IBM ซึ่งการเข้ามารับตำแหน่งของวัตสันถือเป็นจุดเปลี่ยนของ IBM สู่อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ยุคใหม่
IBM เปิดตัว IBM 701 ซึ่งเป็นเครื่องประมวลข้อมูลแบบไฟฟ้า (เครื่องคอมพิวเตอร์) เครื่องแรกของ IBM
1956 พ่อของเขาเสียชีวิต ซึ่งก่อนจะเสียชีวิตหกสัปดาห์ ก็ได้แต่งตั้งให้วัตสันดำรงตำแหน่ง CEO ของ IBM ซึ่งหลังเข้ารับตำแหน่ง วัตสันได้จัดประชุมวิลเลี่ยมเบิร์ก (Williamburg Conference) ซึ่งเรียกผู้บริหารระดับสูงของบริษัทร้อยคนมาประชุมกันที่วิลเลี่ยมเบิร์ก, เวอร์จิเนีย ซึ่งผลของการประชุมนี้มีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่
IBM เปิดตัว RAMAC (Random Access Method of Accounting and Control) เป็นฮาร์ดดิสรุ่นแรกของโลก ซึ่งเก็บข้อมูลบนแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ 5MB หัวหน้าที่วิจัยฮาร์ดดิสของ IBM คือเรย์โนล์ด จอห์นสัน (Reynold B. Johnson) ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งฮาร์ดดิส
1957 IBM เปิดตัวภาษษ FORTRAN (FORmula TRANslation) ซึ่งจอห์น แบ็คกุส (John W. Backus) เป็นหัวหน้าทีมวิจัย
1959 เปิดตัวคอมพิวเตอร์ IBM 1401 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่สามารถขายได้ถึง 10,000 เครื่อง
1961 ก่อตั้งศูนย์วิจัยวัตสัน (Thomas J. Watson Research Center) ในนิวยอร์ค
1962 วัตสันสร้างวัฒนธรรมองค์กรของ IBM ขึ้นมา เขาเรียกว่า The Basic Beliefs ซึ่งได้แก่ การเคารพปัจเจกบุคคล (respect for the individual), การให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า (Best possible service to our customer), ทำงานทุกอย่างให้เลิศเลอ (Every task performed in a superior manner)
1964 ได้รับรางวัล Presidential Medal of Freedom จากประธานาธิบดีจอห์นสัน (Lyndon B. Johnson)
7 เมษายน, วัตสัน และ IBM เปิดตัว System/360 ซึ่งกลายเป็นระบบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe) ของบริษัทในรุ่นต่อๆ มา
1966 IBM สร้าง DRAM (Dynamic Random Access Memory) ขึ้นมา โดยทีมวิจัยนำโดย โรเบิร์ด เดนนาร์ด (Robert H. Hennard)
1970 เกิดอาการหัวใจวาย
1971 ลาออกจาก IBM
1979 ตุลาคม, ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครข้าราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหภาพโซเวียต ในสมัยของประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ (Jimmy Carter)
1981 พ้นจากตำแหน่งทูตสหรัฐฯ
1993 31 ธันวาคม, เสียชีวิตจากการที่เส้นเลือดในสมองแตก ที่เมืองกรีนวิช (Greenwich,Connecticut )