อดัม คาสติลเลโจ (Adam Castillejo)
ผู้ป่วยเอดส์ รายที่ 2 ของโลก ที่ได้รับการรักษาจนหาย
2009 ทิมโมธี บราวน์ (Timothy Brown) ซึ่งทางการแพทย์เรียกเขาว่า ผู้ป่วยแห่งเบอร์ลิน (The Berlin Patient) ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) มานานกว่าสิบปี เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาวด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplant) ซึ่งหมอเจโร ฮัตเตอร์ (Gero Hutter) แห่งโรงพยาบาลชาไรต์ (Charite Hospital) ในเบอร์ลินเป็นผู้ทำการรักษา แต่ว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกนี้มีการเลือกใช้สเตมเซลล์ (stem cell) ชนิดที่มียีนต์ของโปรตีนชนิด CCR5 Delta 32 จากผู้บริจาค ซึ่งเป็นที่ทราบกันก่อนหน้านั้นอยู่แล้วว่าผู้มียีนต์โปรตีนชนิดนี้จะไม่ติดเชื้อ HIV
2011 หลังการติดตามผลเป็นเวลาหลายปี บราวน์ ได้รับการประกาศว่าเป็นผู้ป่วยรายแรก ของโลกที่ได้รับการรักษาจนหายจนปลอดจากเชื้อ HIV
2019 อดัม เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี มาตั้งแต่ปี 2003 เขาเข้ารับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ ชนิดเดียวกับบราวน์ โดศาสตราจารย์ราวินดรา กุบตา (Ravindra Kumar Gupta) ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (University of Cambridge)
2020 อดัมได้รับการประกาศว่าเป็นผู้ป่วยที่รักษาหายจากเอชไอวี เป็นรายที่ 2 ของโลก
อย่างไรก็ตามการปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นวิธีเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเป็นหลัก และมีความเสี่ยงสูง วิธีนี้จึงอาจจะไม่สามารถนำไปรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลายล้านคนทั่วโลกได้