Numquam prohibere somniantes
Svante Pääbo
Svante Pääbo

Svante Pääbo

สเฟนตี พาโบ (Svante Pääbo)

ผู้กู้คืน mitochondrial DNA (mtDNA) ของ Neanderthal , ค้นพบ Homo Denisona , และ FOXP2 (ยีนภาษา)

พาโบ เกิดวันที่ 20 เมษายน 1955 ในสต๊อกโฮล์ม, สวีเดน แม่ของชื่อคาริน (Karin Pääbo) เป็นนักเคมีชาวเอสโตเนีย  ส่วนพ่อของเขาชื่อซูน เบิร์กสตรอม (Sune Bergström) เป็นนักชีวเคมี รางวัลโนเบลทางการแพทย์ ในปี 1982

พาโบถูกเลี้ยงดูขึ้นมาโดยมารดา เพราะว่าพ่อของเขามีภรรยาอยู่แล้วตอนที่มีความสัมพันธ์กับแม่ของพาโบ พาโบมีความสนใจเกี่ยวกับโบราณคดีมาตั้งแต่ยังเล็ก ตอนอายุ 13 ปีแม่พาเขาเดินทางไปอียิปต์ ทำให้เด็กชายพาโบมีความฝันที่จะโตขึ้นมาเป็นอินเดียน่า โจนส์ (Indiana Jones)  แต่เพราะว่าต่อมาพ่อของเขาได้รับรางวัลโนเบลทางการแพทย์ ทำให้พาโบหันเหมาจากโบราณคดีมาเรียนแพทย์แทน 

1981 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอุปป์ศาลา (Uppsala Universtiy) ทางการแพทย์

1984 พาโบได้รับตัวอย่างเนื้อเยื่อโบราณจากโครงกระดูกมัมมีจากพิพิธภัณฑ์ของเยอรมัน และเขาได้พยายามที่จะแยก DNA ออกมาจากเนื้อเยื่อดังกล่าว ซึ่งในเวลานั้นนักวิทยาศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่า DNA ควรจะต้องถูกทำลายไปหมดแล้วด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขนาดนั้น  แต่ว่าพาโบได้ตีพิมพ์งานวิจัยของเขาลงในวารสาร East German  ว่าเขาค้นพบว่ามี DNA คงเหลืออยู่ในโครงกระดูกมัมมีบางชิ้น ซึ่งต่อมางานวิจัยของเขาถูกพิมพ์ซ้ำโดยนิตยสาร Nature

หนึ่งในผู้ที่อ่านงานวิจัยของพาโบ คือ อัลเลน วิลสัน (Allan Wilson) นักชีวโมลิกุลของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California, Berkeley) ซึ่งวิลสันก็เพิ่งประสบความสำเร็จในการแยก DNA ออกมาจากก๊วกก้า (Guagga) สัตว์คล้ายม้าลาย ซึ่งสูญพันธ์ไปในศตวรรษที่ 19

1986 จบปริญญาเอก โดยที่ได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับโปรตีน E19 ในอดีโนไวรัส (adenoviruses) ว่ามีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร

1987 พาโบได้มีโอกาสมาทำงานที่ห้องวิจัยของวิลสัน ในเบิร์กเลย์ ซึ่งขณะนั้นกำลังทำวิจัยเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า PCR (polymerase chain reaction) และการวิเคราะห์ mtDNA (mitochondrial DNA) จากสมองของมนุษย์อายุ 7000 ปีก่อน

1990 พาโบได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านชีวฯ ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค (University of Munich) ซึ่งที่นี่เขาได้เริ่มวิจัยในการถอด mtDNA ชอง Neanderthal 

1997 ทีมวิจัยของพาโบ ประสบความสำเร็จในการะปะติดปะต่อลำดับ DNA ของ Homo Neanderthal ขึ้นมาใหม่ โดยใช้โครงกระดูกของ Neanderthal ที่ค้นพบในถ้ำไคเน เฟลโทเฟอร์ เกรต, หมู่บ้านนีแอนเดอทัล (Kleine Feldhofer Grotte cave, Neanderthal Valley, German) ในเยอรมันทางตะวันตก ถ้ำแหงนี้ถูกสำรวจพบ Neanderthal ตั้งแต่ปี 1856  โดยมีชิ้นส่วนโครงกระดูกของ Neanderthal อย่างน้อย 3 คน

พาโบได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการแผนกจีเนติกของสถาบันแม็กซ์แพล็ง (Department of Genetics, Max Planck Institute of Evolutionary Anthropology) ในลิปซิก (Leipzig) ซึ่งเขาอยู่ในตำแหน่งนี้จนปัจจุบัน

2002 พาโบ ค้นพบ FOXP2 ยีนที่ถูกเรียกว่าเป็น ยีนภาษา (language gene) ซึ่งผู้ที่ขาดยีนชนิดนี้จะขาดความสามารถทางภาษา

2009 พาโบ ประกาศในที่ประชุม AAAS (American Association for the Advancement of Science) ในชิคาโก้ ซึ่งจัดขึ้นที่สถาบันมานุษยวิทยาแม็กซ์แพลงค์ (Max Planck Institute for the Evolutionary Anthropology) ในชิคาโก้ ว่าเขาจะกู้คืนลำดับ DNA ทั้งหมดของ Neanderthal ซึ่งมีความยาวประมาณ 3 พันล้านคู่เบส (base pairs) ซึ่งโครงการของเขาได้รับการสนับสนุนจากบริษัท 454 Live Sciences

2010 มีนาคม, พาโบ พิมพ์รายงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ DNA ที่กระดูกนิ้วของ Homo Denisova ซึ่งค้นพบในถ้ำในเขตไซบีเรียของรัสเซีย ซึ่งทำให้เราได้รู้จักกับ Homo Denisova ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสายพันธ์ Homo ที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน 

พฤษภาคม, เขาตีพิมพ์ต้นร่างลำดับจีโนมของ Neanderthal ลงในวารสาร Science ซึ่งเขาชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ Neanderthal จะมีการผสมพันธ์กับมนุษย์ในยูเรเซีย ซึ่งการค้นพบนี้สนับสุนสมมุติฐานที่ว่า Homo อย่าง Neanderthal , Denisova, หรือarchiac มีการผสมพันธ์กับมนุษย์สมัยใหม่ (Sapien) 

2014 เขียนหนังสือ Neanderthal Man :In Search of Lost Genomes 

ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ พาโบยังเปิดเผยด้วยว่าตัวเขาเป็นไบเซ็กซวลมานาน จนกระทั้งได้พบกับภรรยาของเขา ลินดา (Linda Vigilant) ซึ่งมีเสนห์แบบผู้ชายผสมอยู่ด้วย เขาจึงแต่งงานกันและมีลูกด้วยกัน 7 คน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!