Numquam prohibere somniantes
Sockpuppet
Sockpuppet

Sockpuppet

Sockpuppet  หมายถึง ตัวตนของบุคคลปลอมที่สร้างขึ้นมาในโลกออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด  เช่น เพื่อจะทำการหลอกลวงทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการโฆษณา การแสดงความเห็นในการยกย่อง, ปกป้อง, หรือการตำหนิบุคคล หรือองค์กรหนึ่งๆ โดยปกปิดตัวตนที่แท้จริง แต่ว่าแสดงตัวเองเป็นบุคคลที่สาม โดยหวังผลในการควบคุมหรือสร้างอิทธิพลทางความคิดแบบของตนให้กับคนในจำนวนมาก (manipulate public opinion)

คำว่า Sockpuppet (หุ่นถุงเท้า, ตุ๊กตาผ้าหรือวัสดุที่ใกล้เคียง ซึ่งเอาสวมที่มือ) ถูกนิยามในปี 1993 โดย Usenet ซึ่งเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเหมือนกับนักแสดงละครหุ่นถุงเท้า (ventriloquist) ซึ่งสามารถที่จะแสดงโชว์ให้เหมือนกับว่าปากของตนเองไม่ขยับ แต่ว่าเสียงพูดมาจากตุ๊กตา

Sockpuppet แตกต่างจากคำว่า Bots เพราะว่า bots จะเป็นโปรแกรมที่ทำงานอัตโนมัติหรือทำงานโดยอาศัยการเขียนโค๊ด บางที่ก็สร้างเนื้อหาขึ้นมาบ้าง แต่ว่า bot จะถูกจับได้ง่ายเพราะะส่วนใหญ่ทำงานซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น ทำไม่ค่อยมีบนโซเชียลมีเดีย ในขณะที่ Sockpuppet ควบคุมโดยมนุษย์  ซึ่งมักจะเป็นการสร้างบัญชีบุคคลปลอมๆ ขึ้นมาในจำนวนมากบนโลกออนไลน์ ซึ่งอันท่ีจริงแล้วถูกควบคุมจากคนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มๆ หนึ่งเท่านั้น 

Sockpuppet มีผลเสียต่อธุรกิจออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น ถูกนำไปใช้เพื่อรีวิวสินค้า โดยให้ความเห็นที่ไม่จริง หรือลำเองไปข้างใดข้างหนึ่ง (engaging in review fraud)  โดยส่วนใหญ่จะทำงานผ่านระบบ อีเมล์ (mailing lists), โซเซียลเน็ตเวิร์ก อย่างทวิตเตอร์, เฟชบุ๊ค (Facebok, Twitter and Social Networks), เว็บข่าว (News websites), ระบบลงคะแนนออนไลน์ (online polls),  และระบบอื่นๆ ที่เปิดให้แสดงความเห็นได้ (comment systems)

ตัวอย่างการใช้ sockpuppet ในอดีต

2004 amazon.com ตรวจพบว่ามีนักเขียนหลายคน ที่เขียนรีวิวให้กับหนังสือของตัวเองโดยใช้บัญชีอื่น 

2011 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ว่าจ้างให้บริษัท Ntrepid สร้างโปรแกรมประเภท “online persona management” ให้กับกองทัพฯ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถสร้างบัญชี sockpuppet ได้จำนวนมาก เพื่อใช้โฆษณาชวนเชื่อในโลกออนไลน์แข่งกับคู่แข่ง ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Operation Earnest Voice

2013 วิกิพีเดีย ได้ส่งจดหมายเตือนบริษัท Texas PR ซึ่งตั้งอยู่ในออสติน, เท็กซัส ให้หยุดบริการรับจ้างเขียนข้อมูลลงในวิกิพีเดียเพื่อโปรโมทให้กับลูกค้าของตนเอง  ซึ่งวิกิพีเดีย ตรวจพบว่า Wiki-PR ได้สร้างบัญชีกว่า 300 “Sockpuppet” บัญชี ขึ้นมา เพื่อใช้เขียนข้อมูลให้ลูกค้า นอกจากนี้ภายในปีนี้ วิกิพีเดียยังสงสัยว่ามีกว่า 2,700 บัญชีที่เป็น Sockpuppet

2015 31 สิงหาคม, (Orangemoody editing of Wikipedia) วิกิพีเดีย ภาษาอังกฤษ ตรวจพบบัญชีของ 381 sockpuppet ซึ่งรับจ้างเขียนข้อมูลบน วิกิพีเดีย โดย Orangemoody เป็นชื่อบัญชีแรกที่ถูกตรวจพบ จึงถูกนำมาใช้ตั้งชื่อกรณีนี้ 

เครื่องมือจัดการบริหารโซเซียล (Socail Management Tools) ซึ่งถูกนำมาใช้บริหารจัดการ sockpuppet ได้จำนวนมากๆ ด้วย เช่นกัน

  1. hootsuite 
  2. Agorapulse
  3. eClincher
  4. Sendible
  5. SocialPilot

เหตุผลที่ในการสร้าง Sockpuppet 

  1. Privacy (เพื่อความเป็นส่วนตัว)

ไม่ใช่ทุก sockpuppet จะถูกสร้างขึ้นมาในทางที่ไม่ดีทุกครั้ง ซึ่งในบางครั้ง sockpuppet ถูกใช้เพื่อเหตุผลความเป็นส่วนตัว หรือเพื่อความปลอดภัยของผู้สร้าง แต่ไม่ได้นำเอาไอดีนั้นไปใช้ในทางที่ผิดกฏหมาย เราจึงควรเคารพคนเหล่านี้ด้วยหากเขาไม่ต้องการเปิดเผยตัวจริง

  1. Block evasion (เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบล๊อค)

การสร้าง sockpuppet ชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันการถูกบล๊อก (block) บัญชีตัวตน (account) จริงของคนๆ นั้น ถึงหลึกเลี่ยงโดยสร้าง Sockpuppet ขึ้นมาใช้งานแทน 

  1. Manipulate public opinion (ปั่นกระแสสังคม)

สร้างความเห็นปลอมๆ ขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ (creating false majority opinions) เข่น สร้างบัญชี Twiiter ขึ้นมาจำนวนมาก และรีทวีตข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน เพื่อให้เกิดเป็นกระแส (trend) ขึ้นมา ก็จะทำให้คนทั่วไปหลงเชื่อได้ว่าความเห็นนั้นถูกต้อง หรือเป็นประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจ 

  1. Vote Fraud (โกงความนิยม)

 เป็น sockpuppet ที่ถูกสร้างขี้นมาในช่วงเวลาที่ใกล้กับการเลือกตั้ง เพื่อสร้างความนิยมให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงกับฝ่ายที่ตัวเองต้องการ  ซึ่ง sockpuppet แบบนี้จะถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันจำนวนมาก จากคนๆ เดียวหรือกลุ่มเล็กๆ  และจะใช้บัญชีตัวตนปลอมๆ จำนวนมากนั้นในการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายที่ตนเองสนับสนุน  ซึ่งวิธีการแบบนี้บางทีเรียนว่าเป็น Sybil attack

หรือหากว่าเป็นการสร้าง sockpuppet แบบนี้เพื่อการตลาด โดยสร้างบัญชีจำนวนมากขึ้นมาเพื่อเข้าไปรีวิวสนับสนุนสินค้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้สินค้าตัวเอง ก็จะเรียกว่าเป็น stealth marketing หรือ guerilla marketing

  1. False Flag (เป้าลวง)

Strawman (หุ่นไล่กา) sockpuppet เป็นกลยุทธ์ false flag แบบหนึ่ง โดยใช้ sockpuppet แสดงความเห็นที่ดูโง่ จับเท็จได้ง่าย หรือง่ายต่อการหักล้าง ซึ่งความเห็นของ sockpuppet จะตรงข้ามกับความเห็นของเจ้าของ sockpuppet ที่แท้จริง ทั้งนี้เพื่อให้คนในกลุ่มหักล้างความเห็นของ sockpuppet ลงได้ง่าย และเกิดความเห็นไปในทิศทางที่เจ้าของ sockpuppet ต้องการ

  1. Meatpuppet 

เป็นพฤติกรรมหนึ่งของ sockpupput ที่จะเข้าไปเขียนเปิดประเด็น หรือคอมเม็นท์ ในฟอรั่มสาธารณะ เพื่อสร้างกระแสความสนใจ ซึ่งบางทีถูกเรียกว่าเป็นการ “Astroturfing” (มาจากยี่ห้อหญ้าเทียมชื่อดัง)

การสังเกตุ Sockpuppuets ?

  1. IP Address

การเปรียบเทียบ IP address มักจะมีความใกล้เคียงกันในตำแหน่งภูมิศาสตร์ คนที่อยู่ห้องเดียวกันหรือบริษัทเดียวกันซึ่งทำงานเป็นทีม อาจจะแชร์คอมพิวเตอร์เดียวกัน,  IP address จาก Wi-Fi เดียวกัน 

  1. Writing style

การใช้ภาษา  การสะกดคำ รูปแบบประโยค แนวคิด ฯลฯ เป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของบุคคล ซึ่งหากเขามีการสร้าง sockpuppet เอาไว้หลายบัญชี เราก็สามารถสังเกตุวิธีการสื่อสารด้วยภาษาเหล่านี้ได้ เช่น มีการพบว่า มักมีการใช้คำว่า “I” หรือ “You” บ่อยกว่าปกติ และมักจะเขียนข้อความแค่ประโยคสั้นๆ  Suckpuppet ต้องการแค่การสนทนาสั้นๆ แต่โพสต์ หรือรีทวีตให้เยอะๆ 

  1. Warped correlation (การวิเคราะห์เวลา)

งานวิจัย DeBot : Twitter Bot Detection via Warped Correlation  ในปี 2016 ตั้งข้อสังเกตุพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามีความไม่แน่นอนสูง บางครั้งพวกเขาก็จะโพสต์อะไรต่อมิอะไรมากมายา แต่ว่าบางครั้งก็หยุดโพสต์ไปเลยเป็นเวลานาน ซึ่งกะเกณฑ์ได้ไม่แน่นอน งานวิจัยนี้พบว่า sockpuppet จะมีพฤติกรรมที่ต่างไป คือโพสต์เป็นประจำ และมีเวลามีสหสัมพันธ์กันระหว่างบัญชีแต่ละอันในระยะเวลาที่ยาวนาน

  1. ความผิดสังเกตุที่อาจจะเป็นระบบอัตโนมัติ
  2. social subgraphs

งานวิจัยของ Zi Chu, Steven Gianvecchio, Haiining Wag,  เรื่อง Who is tweeting on Twitter: human, bot, or cyborg ? แนะว่า อัตราส่วน follwers / friends ของบัญชีที่เป็น bot มักจะไปอยู่ที่ 1 ได้เร็วกว่าของคนจริงๆ 

  1. Account Metadata

บัญชีที่เป็น sockpuppet มันจะมีอายุสั้น และไม่มีการใช้งานเมื่อไม่ใช่ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการณ์

  1. ความคล้ายคลึงกันของเนื้อหา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!