Numquam prohibere somniantes
Sir Francis Walsingham
Sir Francis Walsingham

Sir Francis Walsingham

https://www.youtube.com/watch?v=r6FD-9lg0ew

ฟรานซิส วัลซิงแฮม (Francis Walsingham)

หัวหน้าสายลับ (spymaster) ในสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ ที่ 1 แห่งอังกฤษ

วัลซิงแฮม เกิดประมาณ ปี 1552 ซึ่งคาดว่าเขาเกิดแถวฟุตเครย์, เขตเบ็กซ์เลย์ (Foots Cray, Bexley) ของลอนดอน, อังกฤษ 

พ่อของชื่อวิลเลี่ยม (William Walsingham) โดยที่วิลเลี่ยมทำงานเป็นทนายความ ที่เคยทำหน้าที่สืบสวนคดีสำคัญอย่างคดีของคาร์ดินัล โธมัส (Cardinal Thomas Wolsey)

แม่ชื่อว่าจอยซ์ (Joyce Denny) เป็นบุตรสาวของเซอร์เอ็ดมันต์ (Sir Edmund Denny)

1534 พ่อของวัลซิงแฮมเสียชีวิตหลังจากเขาเกิดแค่ปีเศษ หลังจากนั้นแม่จึงได้แต่งงานใหม่กับจอห์น คาเรย์ (John Carey) ซึ่งเป็นญาติ (จากการแต่งงาน) ของราชีนีแอน โบเลียน (Queen Anne Boleyn) 

1548 เข้าเรียนที่คิงคอลเลจ (King’s college, Cambridge) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีผู้นับถือโปเตสแตนต์เรียนอยู่มากที่สุดของแคมบริดจ์

1550 จบจากคิงคอลเลจ โดยที่ไม่ได้รับปริญญา หลังจากนั้นเขาก็ออกเดินทางไปต่างประเทศเพื่อท่องเที่ยว

1552 กลับมายังอังกฤษและได้สมัครเข้าเรียนด้านกฏหมายที่เกรย์อินน์ (Gray’s Inn) 

1553 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ด ที่ 6 (Edward VI of England) ขึ้นครองราชย์ โดยที่แมรี่ ทูดอร์ (Mary Tudor,) สถาปนาเป็นพระราชินีแมรี่ ที่ 1 (Queen Mary I)  ซึ่งพระองค์ทรงเป็นแคโธริค และพระองค์ต้องการเปลี่ยนอังกฤษให้กลับไปนับถือแคโธริค ทรงดำเนินนโยบายที่เหียดโหด มีการสั่งให้เผาผู้ต่อต้านที่เป็นโปเตสแตนต์นับร้อยคน ทำให้วัลซิงแฮมซึ่งเป็นโปเตสแตนต์ต้องหนีออกจากอังกฤษ และไปเรียนกฏหมายอยู่ในพาดัว, อิตาลี (Padua, Italy) ทำให้เขาสามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสและอิตาลีอย่างคล่องแคล่ว

1558 พฤศจิกายน, พระราชินีแมรี่ ที่ 1 สวรรคต และควีนอลิซาเบธ (Elizebeth I) ขึ้นครองราชย์ในเดือนพฤศจิกายน พระองค์ทรงเป็นโปเตสแตนท์ ทำให้วังซิงแฮม เดินทางกลับมายังอังกฤษ 

1559 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภา โดยได้รับการสนับสนุนจากเอิร์ลแห่งเบดฟอร์ด (Francis Russell, 2nd earl of Bedford)

1562 แต่งงานกับแอนน์ (Anne) ลูกสาวของเซอร์จอร์จ บาร์น (Sir George Barne, Lord Mayor of London) ซึ่งเธอเป็นภรรยาม่ายของพ่อค้าชื่ออเล็กซานเดอร์ (Alexander Carieill)  และมีลูกติดมาหนึ่งคน ชื่อคริสโตเฟอร์ (Christopher Carleill)

1564 แอนน์ภรรยาของเขาเสียชีวิต

1563 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาอีกครั้ง

1566 แต่งงานกับเออร์ซูล่า (Ursula St.Barbe) ภรรยาม่ายของเซอร์ริชาร์ด (Sir Richard Worsley) ซึ่งเธอมีลูกชายติดมาสองคนชื่อจอห์นและจอร์จ แต่ว่าทั้งคู่เสียชีวิตในอุบัติเหตุในถัดมา หลังแต่งงานเธอก็ให้กำเนิดลูกสาวชื่อฟรานเซส (Frances) กับวัลซิงแฮม

1568 วัลซิงแฮมได้ทำงานให้กับเซอร์ วิลเลี่ยม เซซิล (Sir William  Cecil) ซึ่งเป็นเลขานุการในสมเด็ดพระราชินีอลิซาเบธ  วัลซิงแฮมจึงได้รับมอบหมายจากเซซิล ใช้ความรู้ภาษาฝรั่งเศสและอิตาลีของเขาในการเข้าถึงผู้อพยพชาวสเปนและฝรั่งเศสในอังกฤษเพื่อหาข้อมูล ทั้งสองคนทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะต่อสู้กับกระบวนการที่พยายามจะปลงพระชนม์พระราชินีอลิซาเบธ ซึ่งวัลซิงแฮมให้ความสำคัญกับรายงานข่าวกรองมาก แม้ว่ารายงานนั้นจะคลุมเครือ โดยเขาบอกกับเซอร์เซซิลว่า “มันมีอันตรายน้อยกว่า ถ้าจะกลัวไว้ให้มาก ดีกว่ากลัวไว้น้อย / there is lesse daynger in fearinge to much then too lyttle” ซึ่งประโยคนี้กลายเป็นวรรคทองที่คนอื่นพูดถึงเขา

1569 พฤศจิกายน, (Northern Rebellion) กลุ่มแคโธริคพยายามจะก่อการกบฏเพื่อปลดอลิซาเบะอออกจากตำแหน่ง และตั้งแมรี แห่งสก๊อต (Mary, Queen of Scots) ขึ้นมาแทน โดยแกนนำผู้ก่อกบฏคือเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์  (the Earl of Northumberland)และเอิร์ลแห่งเวสต์มอรแลนด์ (Earl of Westmorland)

1570 ช่วงต้นปีเขาถูกส่งให้เป็นผู้ช่วยให้กับกลุ่มนักบวชโปเตสแตนต์ฝรั่งเศส (Huguenots) ในการเจรจากับชาร์ล ที่ 9 (Charles IX of France) พอปลายปี วัลซิงแมนก็ได้รับตำแหน่งเป็นเอกอัครทูต ประจำปารีส  ซึ่งงานสำคัญของเขาคือการเจรจาเรื่องความร่วมมือกันระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อต่อต้านอิทธิพลของเสปน การสนับสนุนเโปเตสแตนต์ในเนเธอแลนด์ที่ต้องการแยกเป้นเอกราชการสเปน และการอภิเษกระหว่างอลิซาเบธ กับพระอนุชาของชาร์ล ที่ 9 ชื่อดุ๊ก ฟรานซิส (Francis, Duke of Alencon) ซึ่งมีอายุน้อยกว่าอลิซาเบธ 20 ปี

1571 Ridolfi plot, เป็นแผนการลอบปลงพระชนม์พระราชินีอลิซาเบธ โดยโรเบอร์โต้ ริโดลฟี ร่วมมือกับโธมัน โฮวาร์ด ดุ๊กแห่งนอร์ตโฟล์ก (Thomas Howar, 4th Duke of Nortfolk)

1572 Treaty of Blois, อังกฤษและฝรั่งเศสตกลงทำสนธิสัญญโบลวา ซึ่งเป็นความร่วมมือกันด้านการทหาร เพื่อต่อต้านอิทธิพลของเสปน แต่ว่าในสนธิสัญญาไม่ได้กล่าวถึงการอภิเษกระหว่างอลิซาเบธกับดุ๊กฟรานซิส

23-24 สิงหาคม, (Bartholomew’s Day massacre) เกิดการสังหารหมู่ชาวโปเตสแตนท์ในฝรั่งเศส สะเทือนถึงการเจรจาความร่วมมือระหว่างสองประเทศล้มเหลวไปด้วย 

1573 เดินทางกลับมายังอังกฤษ ซึ่งพอถึงปลายปีเขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศร่วม ร่วมกับเซอร์โธมัส สมิท (Sir Thomas Smith) 

1574 ชาร์ล ที่ 9 สวรรคต และอองรี ที่ 3 (Henry III) ของราชย์ อลิซาเบธก็มีรื้อฟื้นพระประสงค์ที่จะอภิเษกกับดุ๊กฟรานซีสอีกครั้ง  และวัลซิงแฮมถูกส่งไปเป็นตัวแทนเจรจา แต่ว่าในครั้งนี้วัลซิงแฮมไม่เห็นด้วยกับการอภิเษก เพราะคิดว่าอลิซาเบธทรงเลยวัยที่จะมีรัชทายาทแล้ว หากพระองค์สวรรคตหลังการแต่งงาน จะทำให้อาณาจักรตกไปเป็นของฝรังเศส

1576 เซอร์โธมัสเกษียณราชการ ทำให้วัลซิงแมนกลายเป็นผู้บัชญาการหน่วยซีลประจำองคมนตรี  (Privy seal) แต่เพียงผู้เดียว งานหลักที่ทำคือการคอยสอดส่องและรวบรวมข้อมูลการบริหารงานของรัฐบาล  เขาได้สร้างเครื่อข่ายสายลับขึ้นในหลายประเทศในยุโรป และแอฟริกาเหนือ

นอกจากนั้นเขายังสนับสนุนการสำรวจเปิดเส้นทางเดินเรือเพื่อการค้าใหม่ๆ อย่างการสำรวจเส้นทาง NWP (Northwest Passage) ซึ่งเชื่อมระหว่งแอตแลนติกกับแปซิฟิก การให้รัฐบาลเข้าไปลงทุนถือหุ้นในบริษัทมันโควี (Muscovy Company) ซึ่งผูกขาดการค้าระหว่างอังกฤษกับรัสเซีย และบริษัทเวลานซ์ (Levant Company) ซึ่งทำการค้าระหว่างอังกฤษและอ๊อตโตมัน

1577 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นอัศวิน 

1558 ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าอัศวินการ์เตอร์ (Chancellor of the Order of the Garder)

1587 ได้รับตำแหน่งนายกเทศมนตรีแลนคาสเตอร์ (Chancellor of the Duchy of Lancaster)

แมรี่ แห่งสก็อตถูกประหารชีวิต

1590 6 เมษายน, เสียชีวิต ในลอนดอน

1655 หนังสือ The Complete Ambassador หรือ Two Treaties of the Intended Marriage of Qu. Elizabeth พิมพ์ออกมา โดยเป็นจดหมายติดต่อราชการที่วัลซิงแฮมเขียนขึ้นระหว่างที่ไปทำงานอยู่ในฝรั่เศส

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!