Numquam prohibere somniantes
Simon Bolivar
Simon Bolivar

Simon Bolivar

ซีม่อน โบลิวาร์  (Simon Jose Antonio de la Santisima Trinidad Bolivar y Palacios)
El Liberator (The Liberator)

โบลิวาร์ เกิดเมื่อวันที่  24 กรกฏาคม 1783 ภายในบ้านในเมืองคาราคัส, เวเนซุเอล่า (Caracas, Venezuela) ขณะนั้นเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสเปน พ่อของเขาคือจวน วินเซนเต่ โบลิวาร์ (Corenel Don Juan Vicente Belivar y Ponte) และแม่ชื่อมาเรีย (Dona Maria de la Concepcion Palacois y Blanco)  โบลิวาร์ มีพี่ชายและพี่สาวอีก 3 คน ชื่อ มาเรีย (Maria Antonia) , จัวน่า (Juana) , จวน (Juan) ครอบครัวของพวกเขามีฐานะร่ำรวยมาก เป็นหนึ่งในตระกูลที่รวยที่สุดในเวลานั้นในเวเนซุเอล่า  ตระกูลของเขามีเชื้อสายของบาร์ก (Basque) ซึ่งอพยพมาอยู่ในเวเนซุเอล่าในช่วงศตวรรษที่ 16
1786 พ่อของเขาเสียชีวิตตั้งแต่โบลิวาร์อายุเพียง 3 ขวบ
1792 แม่เสียชีวิตเมื่อเขาอายุ 9 ขวบ
หลังจากแม่เสียชีวิตไป โบลิวาร์ได้รับการเลี้ยงดูจากตาของเขาชื่อฟิลิซิอาโน (Don Feliciano Palacios) และลุงคาลอส (Carlos Palacios)  และมีพยาบาลพี่เลี้ยงเป็นคนผิวสีชื่อฮิโปลิต้า (Hipolita) , วัยเด็กของโบลิวาร์เขามีนิสัยซุกซน ดื้อและค่อนข้างเกเร เขาได้เรียนหนังสือจากครูที่จ้างมาสอนเป็นการส่วนตัวที่บ้าน ที่มีชื่อเสียงเช่นซีม่อน โรดิเกซ (Don Simon Rodriguez) ศจ.แอนเดรส เบลโล่ (Andres Bello)
1795 กรกฏาคม, โบลิวาร์หนีออกจากบ้าน และไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ในบ้านของไซม่อน โรดิเกรซ (Don Simon Rodriguez) ซึ่งเป็นครูอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง
1797 เมื่ออายุ 14 ปี เขาเข้าเรียนในสถาบันทหาร (Military Academy of Milicias de Veraguas) ที่พ่อของเขาเคยทำงานอยู่
1799 เดินทางไปกรุงแมดริด, สเปน เขาใช้เวลาช่วงนี้ในการเรียนรู้หลายอย่าง ทั้งประวัติศาสตร์, วรรณกรรม, คณิตศาสตร์ ทั้งยังเรียนภาษาฝรั่งเศส, การเต้นรำและการฟันดาบ
ระหว่างอยู่ในแมดริด เขาได้พบรักกับมาเรีย เทเรซ่า (Maria Teresa Rodriguez el Toro and Alayza)
1800 เดินทางกลับมาเวเนซุเอล่า
1802 มาที่สเปนอีกครั้งและเพื่อแต่งงานกับมาเรีย หลังแต่งงานแล้วทั้งคู่กลับมาอยู่ในเวเนซุเอล่า
1803 มกราคม, มาเรียเสียชีวิต
1804 เขากลับมายุโรป และไปอยู่ในปารีส และได้เข้าร่วมกับฟรีเมสันที่นี่
1806 ในเวเนซุเอล่า ฟราซิสโค มิรันด้า (Francisco de Miranda) พยายามเรียกร้องเอกราชให้กับเวเนซุเอล่า
1807 เมื่อโบลิวาร์กลับมายังเวเนซุเอล่า ซึ่งเมื่อกลับมาเขาพบว่าภายในประเทศเกิดกระแสเรียกร้องเอกราชแต่ขณะเดียวกันก็มีผู้คนจำนวนมากที่สนับสนุนสเปน
1808 นโปเลียน (Napoleon) บุกเสปน และได้จับกษัตริย์เฟอร์ดินัน ที่ 7 (Ferdinand VII, King of Spain) ไปขังไว้ ทำให้ในเวเนซุเอล่าฝ่ายเรียกร้องเอกราชได้รับความนิยมมากขึ้น
1810 19 เมษายน, ในคาราคัส คณะทหาร (Supremem Junta of Caracas) มีการประกาศตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นมาเพื่อปกครองตัวเอง แต่รัฐบาลเฉพาะกาลยังประกาศว่าให้ความเคารพกษัตริย์เฟอร์ดินัน แต่ว่าโบลิวาร์ซึ่งมีบทบาทแล้วในช่วงเวลานั้นเรียกร้องให้มีการประกาศเอกราชอย่างเต็มที่
รัฐบาลทหารได้ส่งคณะทูตไปยังอังกฤษเพื่อของการสนับสนุน โดยที่โบลิวาร์เป็นหนึ่งในคณะทูต เดินทางไปอังกฤษ และเพื่อเกลี่ยกล่อมให้ ฟรานซิสโก้ มิรันด้า (Francisco de Miranda) เดินทางกลับมายังเวเนซุเอล่า
ระหว่างที่คณะทูตอยู่ในอังกฤษ รัฐบาลในคาราคัสได้ประกาศตัวเป็นเอกราชจากสเปนแต่ยอมรับการปกครองภายใต้อำนาจของโจเซฟ โบนาบาร์ต (Joseph Bonaparte)
1811 5 กรกฏาคม, (First Venezuelan Republic) รัฐสภามีการลงคะแนนเสียงฉบับสนุนการประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ

ช่วงสงครามที่ต้องต่อสู้เพื่อเอกราช โบลิวาร์ได้รับเลื่อนยศเป็นพันเอก แต่เป็นผู้บัญชาการทหารในเมืองเปร์โต คาเบลโล่ (Puerto Cabello)
1812 26 มีนาคม, เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงในอาณาบริเวณที่ฝ่ายต้องการเอกราชปกครอง ทำให้กัปตันโดมิโก้ มอนเตเวอร์เด (Domigo Monteverde) ซึ่งสนับสนุนเสปนฉวยโอกาสยึดเมื่องท่าสำคัญและเมืองวาเลนเซีย (Valencia) และสเปนสามารถกลับมาปกครองเวเนซุเอล่าได้อีก
มิถุนายน, โบลิวาร์แพ้ในการรบที่ค่ายซาน ฟิลิเป่ (San Felipe Fort) โบลิวาร์ซึ่งแพ้ในสงครามได้หลบหนีไปยังนิว กรานาด้า (New Grananda, ปัจจุบันอยุ่ในโคลัมเบีย) และได้สร้างกองกำลังขึ้นใหม่อีกครั้ง
1813 Admirable Campaign
24 พฤษภาคม, เขานำกองทหารบุกเมืองเมริด้า (Mérida)
9 มิถุนายน, ยึดเมืองทรูจิลโล่ (Trujillo)
6 สิงหาคม, ยึดกรุงคาราคัสกลับมาได้สำเร็จ โบลิวาร์ได้รับขนานนามว่าเป็น El Libertador ตั้งแต่นั้นมา
7 สิงหาคม, ประกาศตั้งสาธารณรัฐขึ้นมาใหม่อีกครั้ง (Second Venezuelan Republic)
1814 ภายในเวเนซุเอล่ายังมีการรบกับระหว่างสองฝ่ายที่มีความเห็นแตกต่างกัน จนกระทั้งเกิดการกบฏนำโดยโจเซ่ โบเวส (Jose Tomas Boves)
มิถุนายน, การรบที่ลาปัวต้า (battle of La Puerta) โบลิวาร์แพ้ในการรบนี้และสาธารณรัฐก็ล่มลงอีกครั้ง
โบลิวาร์ต้องลี้ภัยไปยังจาไมก้า ก่อนที่ต่อมาจะไปยังเฮติ ซึ่งที่เฮติเขาได้รู้จักสนิทสนมกับอเล็กซานเดอร์ เฟชั่น (Alexandre Petion) ผู้นำประเทศเฮติซึ่งได้รับเอกราชมาใหม่ๆ
1816 ด้วยการสนับสนุนจากเฮติ โบลิวาร์กลับมายังเวเนซุเอล่า
กรกฏาคม, ยึดเมือแอนโกสตุล่า (Angostura) ได้ ต่อมาเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และฟรานซิสโค เซีย (Francisco Antonio Zea) เป็นรองประธานาธิบดี และได้วางแผนที่จะสู้เพื่อดินแดนที่เหลือให้ถูกปลดปล่อยจากสเปน โดยเขาต้องการเมืองนิว กรานาด้า เป็นอันดับแรก
1819
โบลิวาร์ขณะนั้นอยู่ในแถบเทือกเขาแอนเดส (Andes) ทางตะวันตกของประเทศ เขาเล็งเห็นเส้นทางที่จะเข้าโจมตีฐานทัพของสเปน ในโบโกต้า (Viceregal capital of Bogota) โบลิวาร์นำกำลังคนราว 2,500 คน เดินข้ามเทือกเขาแอนเดส
6 มิถุนายน, มายังยังเมืองนิวกรานาด้า
7 สิงหาคม, The Battle of Boyaca มีการปะทะกับกอทัพของเสปน ที่นำโดยนายพลโจเซ่ บาร์ไรโร่ (General Jose Maria Barreiro) บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโบยาค่า ซึ่งโบลิวาร์สามารถเอาชนะได้อย่างไม่ยากเย็น ทำให้เขามุ่งหน้าไปยังโบโกต้าโดยที่ไม่มีหน่วยทหารสเปนคอยขัดขวางระหว่างทางอีก
1821 24 มิถุนายน, สมรภูมิคาราโบโบ (Battle of Carabobo) เป็นชัยชนะครั้งสำคัญเพราะทำให้เขาสามารถยึดกรุงคาราคัสมาจากสเปนได้
7 กันยายน, โบลิวาร์ได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐแกรนโคลัมเบีย (Gran Columbia Republic) โดยประกอบไปด้วยดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศเวเนซุเอล่า, นิวกรานาด้า, เอกัวดอร์ (Ecuador)  ในปัจจุบัน โบลิวาร์สถาปนาตัวเองเป็นประธานาธิบดี และได้ให้ฟรานซิสโก้ ซานทันเดอร์ (Francisco de Paula Santander) เป็นรองประธานาธบิดี
1822 24 พฤษภาคม, สมรภูมิพิชินชา (The Battle of Pichincha) โบลิวาร์ส่งกองทหารนำโดยนายพลแอนโตนิโอ ซัครา (Antonio Joses de Sucre) แม่ทัพที่ดีที่สุดของเขาไปยังเอกัวดอร์เพื่อรบกับกองกำลังทียังคงภักดีต่อสเปน
26 กรกรฏาคม, ในเมืองกัวยาคิล (Guayaquil) โบลิวาร์ได้พบกับโจเซ่ ซาน มาร์ติน (Jose de San Martin) ผู้ประกาศเอกราชให้กับอาร์เจนติน่า
1824 6 สิงหาคม, การรบที่จูนิน (Battle of Junin) โบลิวาร์และซัคราเอาชนะสเปนได้อีกครั้งที่จูนิน ในประเทศเปรูปัจจุบัน
1825 6 สิงหาคม, ในวันรำลึกการรบที่จูนิน สภาของเปรูได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐโบลิเวีย (Republic of Bolivia) โดยที่โบลิวาร์เป็นประธานาธิบดี ซึ่งขณะนั้นดินแดนประกอบไปด้วยพรหมแดนของประเทศโบลิเวีย, เปรู, เอกัวดอร์,โคลัมเบีย, ปานามา และเวเนซุเอล่าในปัจจุบัน
นายพลซัครา โกรธที่โบลิวาร์ไปส่งกำลังหนุนมาช่วยระหว่างการรบเพื่อปลดปล่อยเปรูและเอกัวดอร์ และโบลิวาร์ยังปลดเขาออกจากตำแหน่งเมื่อเดินทางกลับไปยังแกรนโคลัมเบีย ทำให้รัฐต่างๆ ต้องการที่ประกาศตัวเป็นอิสระจากแกรนโคลัมเบีย ซึ่งนำไปสู่สงครามกลางเมือง
1828 25 กันยายน, ถูกลอบสังหาร แต่ว่ามานูเอล่า ซีนซ์ (Manuela Saenz) ช่วยให้เขาสามารถหลบหนีความตายมาได้ มานูเอล่านั้นเป็นชู้รักของโบลิวาร์ทั้งคู่พบกันครั้งแรกในปี 1822 ซึ่งขณะนั้นมานูเอล่าแต่งงานแล้ว
1830 27 เมษายน, เขาลาออกจากตำแหน่งเพราะปัญหาสุขภาพ และป่วยด้วยวัณโรค
17 ธันวาคม, เสียชีวิตขณะอายุ 47 ปี จากอาการป่วยภายในบ้านพัก ในซานต้า มาร์ต้า, โคลัมเบีย (Santa Marta, Gran Colombia) ร่างของเขาถูกนำไปประกอบพิธีที่วิหารซานต้า มาร์ต้า
1842 มีการย้ายอัษฐิของโบลิวาร์ไปกรุงคาราคัส และไปยังวิหารแห่งชาติ (National Pantheon of Venezuela)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!