Numquam prohibere somniantes
Salem Witch Trials
Salem Witch Trials

Salem Witch Trials

คดีแม่มดแห่งซาเล็ม (Salem Witch Trials)
ปี 1689 กษัตริย์วิลเลียม (King William)  และควีนแมรี่ (Queen Mary) แห่งอังกฤษทำสงครามกับฝรั่งเศส ในอาณานิคมอเมริกา ซึ่งมีการรบกันในนิวยอร์ค, ควีเบค, และโนวา สโกเทีย ทำให้เกิดผู้อพยพจำนวนมากที่พากันหนีไปอยู่ในหมู่บ้านซาเล็ม (Salem Village) บริเวณอ่าวแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Colony Bay)  แต่ว่าแมสซาซุเซตส์นั้นก่อตั้งโดยกลุ่มคริสต์เคร่งศาสนา (Puritanism) ตั้งแต่ปี 1628
แต่เพราะจำนวนผู้อพยพที่เพิ่มขี้นมาทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมา โดยเฉพาะกับบรรดาผู้ที่ทำการเกษตรและผู้ทำการค้า
ในปีนี้คอตต้อน มาเธอร์ (Cotton Mather) เขียนหนังสือ  Memorable Providences ซึ่งเล่าเหตุการ์ณเด็ก 4 คนในตระกูลกูดวิน (Goodwin) ในเมืองบอสตัน (Boston) ถูกคุณไสย์จากแม่มด และคดีนี้กูดี โกลเวอร์ (Goody Glover) ได้ถูกประหารด้วยการแขวนคอในความผิดฐานเป็นแม่มด  หนังสือเล่มนี้โด่งดัง และมีอิทธิพลต่อการตัดสินคดีแม่มดแห่งซาเล็ม 
1692 มกราคม, อลิซาเบธ (Elizabeth) วัย 9 ขวบ ลูกสาวของซามูเอล พาร์ริส (Samuel Parris) วัย 39 ปี ซึ่งรัฐมนตรีศาสนา (ordained minister) ของซาเล็มคนแรก เขาเป็นอดีตนักธุรกิจที่ล้มละลาย และอบิเกล (Abigail Williams) วัย 11 ขวบหลานสาวของพาร์ริส เกิดอาการคลุ้มคลั่ง พวกเธอพากันกรีดร้องด้วยเสียงประหลาดและเควี้ยงทำลายข้าวของภายในบ้าน 
เมื่อเด็กๆ ถูกพาไปหาหมอในหมู่บ้าน แพทย์ซึ่งไม่รู้ว่าพวกเธอป่วยเป็นอะไร กลับวินิจจัยว่าอาการของพวกเธอเกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติ 
ต่อมาไม่นานก็มีเด็กอีกคนหนึ่ง วัย 11 ปี แอน พุตแนม (Ann Putnam) ล้มป่วยด้วยอาการที่คล้ายกันอีก
29 กุมภาพันธ์,  เด็กทั้งสามคนถูกผู้พิพากษาโจนาธาน คอร์วิน (Jonathan Corwin) และจอห์น ฮาโทรน (John Hathorne) ไต่สวน พวกเด็กๆ ด้วยความกดดัน พวกเธอจึงได้กล่าวหาผู้หญิงสามคน คือ ติตูบา  (Tituba) ทาสเชื้อสายแคลิเบี้ยนในบ้านของพาร์ริส , ซาราห์ กู๊ด (Sarah Good) หญิงขอทาน และซาราห์ ออสบอร์น (Sarah Osborne) หญิงชรายากจน ว่าเป็นผู้ทำคุณไสยใส่พวกเธอ
1 มีนาคม, ในการสอบสวนหญิงสามคนซึ่งถูกล่าวหา  ออสบอร์น กับซาร่าห์ กู๊ด ยืนยันความบริสุทธิ์และปฏิเสธข้อกล่าวหา แต่ว่าติตูบา สารภาพว่าเธอได้พบกับปีศาจและปีศาจได้ขอให้เธอรับใช้มัน
หญิงทั้งสามคนถึงถูกนำไปขังไว้ในเรือนจำ 
หลังเหตุการณ์แรก ก็มีการกล่าวหากันภายในหมู่บ้านอีกหลายคดีว่าเป็นแม่มด 
27 พฤษภาคม, ผุ้ว่าฯ วิลเลี่ยม ฟิปป์ (William Phipps) ได้สั่งให้มีการตั้งศาลพิเศษขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดี (Special Court of Oyer and Terminer for Suffolk, Essex, Middlesex countries) โดยที่บริดเก็ต บิชอป (Bridget Bishop) เป็นผู้หญิงคนแรกที่ถูกนำตัวขึ้นศาลนี้ และเธอถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ในวันที่ 10 มิถุนายน
กรกฏาคม-กันยายน, มีคนอีก 18 คนที่ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ แม้ว่าคอตต้อน มาเธอร์เองก็ไม่เห็นด้วยที่ศาลมีการตัดสินโดยไม่มีประจักษ์พยานชัดเจนแต่ใช้เรื่องของความฝันและภาพหลอนเป็นหลัก
29 ตุลาคม, ศาลพิเศษถูกยุบไป แต่ผู้ว่าฯ ฟิปป์ ได้ตั้งศาลใหม่ขึ้นมา เรียกว่าศาลยุติธรรมสูงสุด (Superior Court of Judicature) โดยศาลใหม่นี้ไม่อนุญาตให้เอานิมิต หรือความฝันมาเป็นหลักฐานอีก  แต่ว่ากว่าที่ศาลใหม่นี้จะถูกตั้งขึ้นมา มีผู้ต้องหากว่า 200 คนที่ถูกลงโทษและเสียชีวิตในเรือนจำไปแล้ว 
1702 ศาลยุติธรรม ได้มีการประกาศว่าการตัดสินคดีแม่มดที่ซาเล็มเป็นความผิดผลาดและไม่เป็นไปตามกฏหาย
1711 รัฐบาลอาณานิคมอเมริกาได้ประกาศคืนความบริสุทธิให้กับผู้ถูกตัดสินในคดีแม่มดทุกคน และมีการชดใช้ค่าเสียหาย 600 ปอนด์ให้กับทายาทของแต่ละคน

1957 รัฐแมสซาซูเซตส์ออกกฏหมายขอโทษต่อความผิดพลาดในการพิจารณาคดีอย่างเป็นทางการ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!