Numquam prohibere somniantes
Robert Lanza
Robert Lanza

Robert Lanza

โรเบิร์ต ลานซ่า (Robert Lanza)
Theory of Biocentrism
ลานซ่า เกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1956 ในบอสตัน, แมสซานชูเช็ตต์  ลานซ่าบอกว่าเขาไม่ได้ใกล้ชิดกับแม่ และก็พยายามอย่างมากที่จะเข้ากับพ่อที่เป็นนักพนัน
1969 ตอนอายุ 14 ปี เขาได้ทำการทดลองเพื่อแสดงในนิทรรศกาลวิทยาศาสตร์ โดยเขาได้พยายามจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของขนไก่ขาวให้กลายเป็นสีดำ โดยการกระตุ้นให้มีการสร้างเมลานิน (melanin) แต่ว่าความพยายามของเขาไม่สำเร็จ เขาบอกว่าแรงบันดาลใจที่อยากจะทำการทดลองนี้เพราะว่าครูของเขาพูดว่า “มันเป็นงานของพระเจ้า”   แต่เมื่อการทดลองไม่สำเร็จ ลานซ่า ได้เดินทางไปยังฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) และได้พบกับสตีเฟน คุฟฟ์เลอร์ (Stepehn Kuffler) นักวิทยาศสตร์ชั้นนำด้านสมอง ซึ่งคุฟฟ์เลอร์ได้พูดคุยกับลานซ่าในตอนเด็กอย่างเอ็นดู  และยังได้แนะนำให้เขารู้จักกับโจชัว ซาเนส์ (Joshua Sanes) ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องระบบประสาท
1972 เขาได้ทำงานที่ห้องวิจัยของเจรัลด์ อีเดลแมน (Gerald Edelmann) ภายในมหาวิทยาลัยร็อคกี้เฟลเลอ์ (Rockefeller University) ในนิวยอร์ค
1974 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) โดยที่ได้รับทุนของมหาวิทยาลัยและทุนเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin Scholar)  
ปีนี้ลานซ่า ได้พิมพ์บทความร่วมกับ สตีเฟน คุฟฟ์เลอร์, โจชัว ซาเนส์ ลงในหนังสือ Nature
1975 ได้เดินทางมาที่มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) ในประเทศอัฟริกาใต้ และได้มีโอกาสดูงานของ ดร.คริสเตียน บาร์นาร์ด (Christiaan Barnard) ศัลยแพทย์ที่ทำปลูกถ่ายหัวใจเป็นคนแรกของโลก
1978 ลานซ่า สำเร็จปริญญาตรีทางด้านชีววิทยา จากนั้นก็ได้เข้าเรียนต่อ ป.โท ด้านการแพทย์ ที่ม.เซานซิลวาเนีย นี้
ลานซ่าได้มาทำงานที่สถาบันซอล์ก (Salk Institute) ในซา ดิเอโก้ , แคลิฟอร์เนีย โดยได้ร่วมกับกับโจนัส ชอล์ก  (Jonas Salk) ผู้คิดค้นวัคซีนโปลิโอ
เขายังได้รับทุนบูลไบรกท์ (Fulllbright fellowshop) ให้ไปดูงานที่มหาวิทยาลัยอ๊อคฟอร์ด (Oxford) ในอังกฤษ โดยได้ทำงานกับร็อดนีย์ พอร์เตอร์ (Rodney Porter) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ทีกำลังศึกษาแอนติบอดี
1979 แลนซ่าได้มีโอกาสทำงานกับ บี.เอฟ. สกินเนอร์ (B. F. Skinner) นักพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งขณะนั้นกำลังวิจัยการเกิดพฤติกรรมในนกพิราบ
1983 เขาจบปริญญาโท หลังจากเรียนจบเขาก็ย้ายมาอยู่ในลอสแองเจลิส
1990 ลานซ่ากลับมายังแมสซานชูเช็ตต์ และได้เข้าเป็นนักวิจัยของไบโอไฮบริดจ์เทคโนโลยี (BioHybrid Technologies)
1996 มีการทำโคลนนิ่งแกะดอลลี่  (Dolly the Sheep) สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยใช้เทคนิคการปลูกถ่ายนิวเคลียส (nuclear transplantation) โดยนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาอีดินเบิร์ก (University of Edinburgh) ในสก็อตแลนด์
1999 แลนซ่ามาทำงานเป็นหัวหน้าทีมวิจัยที่บริษัท ACT (Advanced Cell Technology) ซึ่งในปี  2015 ถูกซื้อกิจการไปโดย Astellas Pharma ซึ่งลานซ่า ก็ยังคงทำงานอยู่ที่ Astellas จนปัจจุบัน
2002 เขาทำการโคลนนิ่งกระทิง (Gaur) ได้เป็นครั้งแรกของโลก โดยใช้เทคนิค somatic-cell nuclear transfer โดยการนำเอาเอ็มบริโอของกระทิงไปใส่ไว้ในครรภ์ของวัว กระทิงโคลนนิ่งตัวนี้ชื่อโนอา (Noah)  แต่ว่าโนอามีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิต
2003 ต่อมา ดร.ลานซ่า ยังได้ก็ประสบความสำเร็จอีกในการโคลนวัวแดง (Banteng) โดยใช้เซลล์จากหนังวัวแดงที่ตายนานแล้วกว่า 20 ปีซึ่งถูกแช่แข็งเก็บเอาไว้
2001 ดร.ลานซ่า และนักวิจัยของ ACT สามารถโคลนนิ่งเอ็มบริโอ (embryo) ของมนุษย์ ได้เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งการโคลนนิ่งเอ็มบริโอของมนุษย์ครั้งแรกของโลกนี้ทำให้มีการถกเถียงกันในเรื่องประเด็นศีลธรรมและสิทธิที่จะมีชีวิตไปทั่วโลก จนในสมัยนั้นในยุคของ ปธน.บุช (George W. Bush) ได้มีการออกคำสั่งให้รัฐบาลหยุดสนับสนุนเงินทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สเตมเซลล์จากเอ็มบริโอคน
2004 ห้องวิจัยของ ดร.ลานซ่า ถูกกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านการวิจัยสเตมเซลล์วางระเบิด
ลานซ่าได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเวกฟอเรสต์ (Wake Forest University School of Medicine) ซึ่งเขาทำงานสอนที่นี่จนปัจจุบัน
2006 ดร.ลานซ่า ได้ใช้เทคนิคใหม่ในการเก็บสเตมเซลล์ออกจากจากเอ็มบริโอ โดยที่ไม่ทำอันตรายต่อเอ็มบริโอ 
2009 Biocentrism : How Life and Consciousness are the Keys to Understanding the True Nature of Universe  ซึ่งเขาเสนอแนวคิดที่ว่า ชีวภาพและการชีวิตเป็นศูนย์ของทุกสิ่ง ทั้งความจริง, จักรวาล, เวลา  หรือสรุปได้ว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่สร้างจักรวาลขึ้นมา

2014 นิตยสาร Time ใส่ชื่อของ ดร.ลานซ่า ให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดโลก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!