ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman)
โนเบลฟิสิก 1965
ไฟน์แมน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1918 ในควีน, นิวยอร์คซิตี้ (Queen, New York city) พ่อของเขาชื่อเมลวิลล์ (Melville Arthur Feynman) เมลวิล์และพ่อแม่ของเขาอพยพเป็นยิวจากเบลารุส, จักรวรรดิรัสเซียไปอยู่ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1895 , ส่วนแม่ของริชาร์ดชื่อลูซิลล์ (Lucille Phillips) พ่อแม่ของลูซิลล์ก็เป็นชาวโปแลนด์ที่อพยพไปอาศัยในสหรัฐฯ ไฟน์แมนน์มีน้องสาวคนหนึ่งชื่อโจแอน (Joan) ซึ่งอายุห่างจากเขาเก้าปี
ทั้งพ่อและแม่ของริชาร์ดไม่นับถือศาสนาใดๆ
วัยเด็กของไฟน์แมน เขามีพัฒนาการพูดได้ช้า ตอนที่อายุสามขวบเพิ่งจะพูดได้เพียงคำเดียว
1928 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ฟาร์ ร็อคอะเวย์ (Far Rockaway,Queen)
ไฟน์แมน์เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมฟาร์ร็อคอเวย์ (Far Rockaway High School) โดยระหว่างที่เรียนเขาแสดงให้เห็นว่ามีพรสวรรค์ด้านคณิตศาสตร์ เขาเคยทดสอบวัดไอคิวได้ 125 ในระหว่างที่เรียนมัธยมปลายและได้รับการเสนอโอกาสให้เขาเรียนที่เมนซ่า (Mensa International) แต่ว่าเขาปฏิเสธ
ตอนอายุ 15 ปี เขาก็เริ่มเรียนวิชาตรีโกณมิติ, แคลคูลัส, พีชคณิตด้วยตัวเอง
ปีสุดท้ายก่อนที่จะเรียนจบมัธยม เขาสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบที่จัดโดยมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค
1935 ไฟน์แมนสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) แต่ว่าถูกทางมหาวิทยาลัยปฏิเสธเพราะว่ามีโควต้าของนักศึกษายิวเต็มแล้ว ไฟน์แมนจึงได้สมัครเข้าเรียนที่เอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) แทน โดยตอนแรกเรียนด้านคณิตศาสตร์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเรียนวิศวกรรมไฟฟ้า ระหว่งเรียนเขายังได้เป็นสมาชิกของกลุ่มภราดร Phi Beta Delta ด้วย
ตอนที่ยังเรียนอยู่ปริญญาตรี เขามีผลงานเขียนเรื่อง The Scattering of Cosmic Rays by the Stars of a Galaxy ร่วมกับมานูเอล วัลลาร์ต้า (Manuel Vallarta) ลงในหนังสือ Physical Review
1939 จบปริญญาตรี และได้รับทุนพุตนาม (Putnam Fellow) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยพริ้นตั้น (University of Princeton) ซึ่งเขายังได้เป็นผู้ช่วยวิจัยของจอห์น วีเลอร์ (John Archibald Wheeler) ซึ่งเขาและวีเลอร์ มีผลงงานการพารพัฒนาทฤษฏี Wheeler-Feynman absorber theory
1941 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไฟน์แมนเข้าร่วมทำงานในโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan project) โครงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ไฟน์แมน อยู่ในทีมของโรเบิร์ก วิลสัน (Robert R. Wilson) ซึ่งขณะนั้นพยายามจะสร้างเครื่องไอโซตรอน (isotron) ที่ใช้แม่เหล็กไฟฟ้าในการแยกยูเรเนียม-235 (uranium-235) และยูเรเนียม-238 (uranium-238) ออกจากกัน แต่ว่าเครื่องไอโซตรอนนี้ไม่ได้ถูกพัฒนาจนสำเร็จ
1942 จบปริญญาเอกจาก ม.พริ้นตั้น โดยที่เขาเขียนวิทยานิพนธ์จบในหัวเรื่อง “The Principle of Least Action in Quantum Mechanics”
29 มิถุนายน, เขาแต่งงานกับอาร์ไลน์ กรีนบวม (Arline Greenbaum) ซึ่งขณะนั้นอาร์ไลน์มีอาการป่วยอย่างหนักด้วยวัณโรคแล้ว อาร์ไลน์เป็นเพื่อนที่รู้จักกับไฟน์แมนมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย แต่ว่าตอนนั้นทั้งคู่ไม่ได้สนิทกัน จนกระทั้งไฟน์แมนมาอยู่ที่พริ้นตั้น ไฟน์แมนไม่สามารถแต่งงานกับเธอได้ทันทีระหว่างเรียนอยู่ที่พริ้นตั้นเพราะเป็นเงื่อนไขหนึ่งของทุน เมื่อเรียนจบเขาจึงแต่งงานกันทันที
หลังพวกเขาเข้าพิธีแต่งงานบนเรื่อเฟอร์รีระหว่างไปเที่ยวที่เกาะสเตเต้น (Staten island) ซึ่งหลังพิธีแต่งงานเสร็จลงทันที ไพน์แมนก็ต้องพาอาร์ไลน์กลับเข้าโรงพยาบาลเดโบราห์ (Deborah Hospital) ซึ่ง และเขามีโอกาสพบเธอได้เพียงช่วงสุดสัปดาห์
1943 เข้าไปทำงานในศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ลอสอลามอส (Los Alamos Laboratory) ในนิว เม็กซิโก (New Mexico) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยออกแบบระเบิดนิวเคลียร์ ไฟน์แมนน์ได้เป็นผู้ช่วยของฮานส์ บีธ (Hans Bethe) ในแผนกทฤษฏี ซึ่งพวกเขามีผลงานร่วมกันในการสร้างสูตร Bethe-Feynman formula ซึ่งใช้คำนวณแรงระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์
1945 16 มิถุนายน, อาร์ไลน์ ภรรยาของเขาเสียชีวิต
16 กรกฏาคม, ไพน์แมนร่วมสังเกตุการณ์ในการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ที่ไตรนิตี้ (Trinity nuclear test)
สิงหาคม, ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านทฤษฏีฟิสิกที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ (Cornell University) ในนิวยอร์ค
1946 เพราะไม่ได้ทำงานในโครงการลับของรัฐบาลอีก เขาจึงถูกเรียนเกณฑ์ทหาร แต่ว่าไฟน์แมนแกล้งมีอาการป่วยทางจิต จนกองทัพจัดเขาอยู่ในประเภท 4-F ที่ได้รับการยกเว้นเพราะปัญหาด้านจิต
1948 30 มีนาคม, (Pocono Conference) ช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไฟน์แมน มีบทบาทในการพัฒนาควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิค (quantum electrodynamics) โดยได้นำเสนอทฤษฏีของเขาในการประชุมโปโคโน่ ที่เกาะเชลเตอร์ (Shelter Island conference) ในที่ประชุมเขานำเสนอ Feynman diagrams ออกมาเป็นครั้งแรก
1951 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านทฤษฏีฟิสิกที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology, Caltech)
ระหว่างนี้เข้ามีความสนใจ solid-state physics, superfluidity และร่วมกับเมอร์เลย์ เกลล์-แมนน์ (Murray Gell-Mann) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลฟิสิก สร้างกฏ Weak interaction (vector-axial-vertor-form)
1952 28 มิถุนายน, แต่งงานกับแมรี่ เบลล์ (Mary Louise Bell) ซึ่งเป็นครูสอนประวัติศาสตร์
1954 ได้รับรางวัล Albert Einstein Award
1958 5 พฤษภาคม, หย่ากับแมรี่ เบลล์
1959 29 ธันวาคม, ที่ ม.แคลเทค ไฟน์แมนน์ เลคเชอร์ในหัวเรื่อง There’s Plenty of Room at the Bottom ซึ่งเหมือนเป็นจุดกำเนิดของนาโนเทคโนโลยี
1960 24 กันยายน,แต่งงานกับกวีเนธ โฮวาร์ธ (Gweneth Howarth) และมีลูกด้วยกันสองคน คือ คาร์ล (Carl Richard, b.1961) และมิเชล (Michelle Catherine, b.1968
1961 เขาเริ่มซีรีย์การเลคเชอร์ให้นักศึกษาและเขียนหนังสือออกมาในชื่อที่รู้จักกันว่า The Feynman Lectures on Physics
1962 ได้รับรางวัล Lawrence Award
1965 ได้รับรางัลโนเบล จากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิกส์
1969 ไฟนน์แมนเสนอโมเดลพาร์ตอน (Parton) เพื่อใช้ศึกษาการชนกันของอนุภาคฮาดรอน (hadron)ที่มีพลังงานสูง (high-energy hadron collisions) ซึ่งปัจจุบันพาร์ตอนโมเดลเป็นส่นหนึ่งของควอนตัมโครโมไดนามิกส์ (quantum chromodynamics)
1972 ได้รับรางวัล Oersted Medal จากสมาคมครูผู้สอนวิชาฟิสิกแห่งสหรัฐฯ (American Association of Physics Teachers)
ไฟน์แมนยังเป็นผู้บุกเบิก Yang-Mills theories
1978 เริ่มมีอาการป่วยจากโรคมะเร็ง ซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง แบบ ลิโปซาร์โคม่า (liposarcoma) เขาเข้ารับการผ่าตัดสองครั้งในปี 1986, 1987
1981 Can Quantum physics and computation simulated by classical computer?
1985 เขาเขียนชีวประวัติของตัวเอง ชื่อ Surely You’re Joking, Mr. Feynman! ร่วมกับราฟ เรียจตัน (Ralph Leighton) ออกมาใน
1986 เข้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในการสอบสวนเหตุระเบิดของกระสวยอวกาศชาลเลนเจอร์ (Challenger Disaster, Rogers Commissions) ซึ่งไพน์แมนเสนอหลักฐานว่าน้ำแข็งที่เกาะอยู่ที่แหวนปิดถังเชื้อเพลิงมีส่วนในอุบัติเหตุ ซึ่งรายงานของไพน์แมนค้านกับเสียงส่วนใหญ่ในนาซ่า
1988 15 กุมภาพันธ์, เสียชีวิตในลอสแองเจิ้ลเลส จากโรคมะเร็ง ที่เขาป่วยมาหลายปี ซึ่งคำพูดสุดท้ายของเขาคือ “Well, you just have to die once, it’s so boring … ตายได้เพียงครั้งเดียวเอง, ทำมันมันน่าเบื่ออย่างนี้”