Numquam prohibere somniantes
Otto Robert Frisch
Otto Robert Frisch

Otto Robert Frisch

อ็อตโต้ โรเบิร์ต ฟริสซ์ (Otto Robert Frisch)
ผู้อธิบายปรากฏการณ์ nuclear fission
ฟริสซ์ เกิดวันที่ 1 ตุลาคม 1904 ในเวียนนา, ออสเตรียฮังการี (Vienna, Austria-Hungary) พ่อของเขาชื่อจัสตินเนียน (Justinian Frisch) เป็นยิวชาวโปแลนด์ มีอาชีพเป็นจิตรกรและนักกฏหมาย และแม่ชื่อออกัสเต้ มีตเนอร์(Auguste Meitner) เป็นนักเปียโน ฟริสซ์ เป็นหลานของลิส มีตเนอร์ (Lise Meitner) 
1922 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) ทางด้านฟิสิก
1926 จบปริญญาตรี หลังจากเรียนจบได้ทำงานในห้องทดลองหลายแห่งในเยอรมัน และมีโอกาสทำงานกับอ๊อตโต้ สเติร์น (Otto Stern) นักฟิสิกรางวัลโนเบล 
1933 เมื่อฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) มีอำนาจในเยอรมัน ฟริสซ์ได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน โดยได้ทำงานที่เบิร์กเบ็คคอลเลจ (Birkbeck College)  โดยได้อยู่ในทีมวิจัยของแพรทริก แบล็คเกตต์ (Patrick Maynard Stuart Blackett) ซึ่งกำลังศึกษาเกี่ยวกับการสลายตัวของกัมมันตรังสีโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า cloud chamber
1934 ได้รับทุนให้ไปดูงานที่โคเปนฮาเก้น, เดนมาร์ก ทำให้เขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับนีล บอห์ร (Niels Bohr) เป็นเวลากว่า 5 ปี 
1938 กุมภาพันธ์, ในเบอร์ลิน อ๊อตโต้ ฮาห์น (Otto Hahn) และฟริตซ์ สตรัซซ์มันน์ (Fritz Strassmann) ทำการทดลองระดมยิงอนุภาคนิวตรอน (neutrons) เข้าไปที่อะตอมของยูเรเนียม (Uranium) 
ช่วงคริสมาสต์ ฟริสซ์ ได้เดินทางไปเยี่ยมลิส มีตเนอร์ ป้าของเขาที่เมืองคูแงลฟ์ (Kungälv) ในสวีเดน ซึ่งขณะนั้นลิส ได้รับทราบข่าวจากเบอร์ลิน เกี่ยวกับการทดลองของอ๊อตโต้ ฮาห์น  และฟริตซ์ สตรัซซ์มันน์ ซึ่งการให้อนุภาคนิวตรอน (neutron) ชนกับอะตอมของยูเรเนียม   ซึ่งปราฏกว่าพวกเขาได้แบเรียม (barium) ออกมาเป็นผลพลอยได้ของการทดลองนี้ ซึ่งฟริสซ์และลิส ได้ตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าอะตอมเกิดการแบ่งออกเป็นส่วนๆ และปล่อยพลังงานอออกมา ซึ่งฟริสซ์เรียกมันว่าเป็นการ “fission”
1939 เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 ใกล้จะเปิดฉากขึ้น ฟริสซ์ออกจากเดนมาร์ก และมาอยู่ในอังกฤษ และได้งานเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮม (University of Birmingham) และได้ทำงานร่วมกับรูดอล์ฟ ไพเอิร์ส (Rudolf Peierls)
1940 มีนาคม, ฟริสซ์ และรูดอล์ฟ  เขียน Frisch-Peierls memorandum  ซึ่งเป็นเอกสารชิ้นแรกที่อธิบายความเป็นไปได้ทางเทคนนิค ในการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ จากยูเรเนียม 235 จำนวนเพียงเล็กน้อยก็สามารถจะสร้างแรงระเบิดที่เทียบเท่ากับระเบิด TNT หลายพันตัน
ซึ่งหลังจาก Frisch-Peierls memorandum ถูกเผยแพร่ออกไป ทางการอังกฤษได้ตั้งคณะกรรมการ MAUD Committee ขึ้นมา โดยจอร์จ ทอมสัน (George Thomson) เป็นประธาน และคณะทำงานส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะศึกษาความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสร้างระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมาตามที่ฟริสซ์และรูดอล์ฟอธิบายได้อธิบายเอาไว้  ซึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ ถูกกระจายออกไปยังมหาวิทยาลัยหลักสี่แห่งของอังกฤษ  ได้แก่ ม.เบอร์มิงแฮม, แคมบริดจ์, อ๊อกฟอร์เต้, และ ม.ลิเวอร์พูล
หลังจากกรรมธิการชุด MAUD ทำงานได้ 15 เดือน ก็ได้รายงานออกมาสองฉบับคือ “Use of Uranium for a Bomb” และ “Use of Uranium as a source of Power” ซึ่งทำให้อังกฤษตัดสินใจเริ่มโครงการ Tube Alloys โครงการวิจัยระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมา ซึ่งอังกฤษซึ่งกลัวว่าประเทศของตนซึ่งอยู่ในรัศมีของเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันจะทำให้โครงการวิจัยอาวุธนิวเคลียร์มีความเสี่ยงที่จะโดนลูกหลงไปด้วย จึงได้เสนอให้สหรัฐฯ และแคนาดามาร่วมมือในโครงการนี้ด้วย
1942 สหรัฐฯ เริ่มโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) 
1943 ฟริสซ์ เดินทางไปสหรัฐฯ​ และเข้าทำงานในโครงการแมนฮัตตัน โดยทีมของเขาทำหน้าที่คำนวณหาปริมาณยูเรเนียมที่เสริมสมรรถนะแล้วว่าต้องใช้ในปริมาณน้อยที่สุดเท่าใดที่จำเป็นต่อการสร้างระเบิดนิวเคลียร์
1946 หลังสงครามโลก เขาเดินทางกลับอังกฤษ และได้ทำงานศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ AERE (Atomic Energy Research Estabishment) ขณะเดียวกันเขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ (Jacksonian Professor) และทำงานสอนหนังสือที่แคมบริดจ์ (Cambridge) ไปพร้อมกัน
1947 เขียนหนังสือ Meet the atoms
1961 เขียนหนังสือ Atomic physics today
1972 เกษียณ
1979 เขียนหนังสือ What Little I Remember

22 กันยายน, เสียชีวิตในแคมบริดจ์, สหราชอาณาจักร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!