Numquam prohibere somniantes
Ota Benga
Ota Benga

Ota Benga

โอตะ เบนกา เป็นชาวเผ่ามบูติ (Mbuti) ซึ่งอาศัยอยู่ริมแม่น้ำคาไซ (Kasai River) ในประเทศคองโกปัจจุบัน (Congo) 
เบนกามีส่วนสูง 4 ฟุต 11 นิ้ว ( 149 เซนติเมตร) ฟันถูกขัดจนมีลักษณะแหลมคม ซึ่งเป็นประเพณีของเผ่า
เขามีภรรยาและลูกสองคน แต่ว่าครอบครัวของเขาถูกทำร้ายและฆ่าโดยกองกำลัง Force Publique กองทหารของเบลเยี่ยมที่ส่งเข้าไปปกครองคองโก 
1904 ซามูเอล ฟิลิปส์ เวอร์เนอร์ (Samuel Philllips Verner) นักธุรกิจอเมริกันซึ่งได้รับงานมาให้หาตัวอย่างสิ่งมีชีวิตซึ่งสนับสนุนทฤษฏีวิวัฒนาการ เพื่อนำกลับไปจัดแสดงในเทศกาลแสดงสินค้าโลก (World’s Fair) ที่จัดขึ้นในเซนต์หลุยส์, มิซซูรี่ (St.Louis)
ไม่แน่ชัดว่าเวอร์เนอร์ได้พบเบนกาได้อย่างไร แต่ว่าเขาได้นำตัวเบนกากลับมายังสหรัฐฯ เพื่อจัดแสดงในหัวข้อเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอารยธรรม โดยที่เบนกาไม่ใช่คนพื้นเมืองคนเดียวที่ถูกนำกลับมา แต่ว่าเวอร์เนอร์ยังพาคนพื้นเมืองในอีกหลายเผ่ากลับมาด้วยเพื่อจัดแสดง
เบนกาได้กลับมายังคองโกหลังจากงานแสดงสินค้าจบลง และได้แต่งงานเป็นครั้งที่สองกับชาวบัตวา (Batwa) จนกระทั้งภรรยาของเขาเสียชีวิตเพราะถูกงูกัดตาย เขาจึงได้เดินทางตามเวอร์เนอร์มาสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง
1906 เป็นเวลา 40 ปี ที่การประกาศเลิกทาสในสหรัฐฯ ประกาศออกมา ทว่าเบนกา ถูกนำตัวมาจัดแสดงในสวนสัตว์บร็อนซ์ (Bronz Zoo) ในนิวยอร์ก  เพื่อแสดงในฐานะของ ‘‘Missing Link’’ ชิ้นส่วนที่แสดงถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ขาดหายไป โดยเบนกาถูกจัดแสดงไว้ภายในกรงพร้อมกับลิงอุราอุตังตัวอื่นๆ โดยเบนกาสนิทสนมกับอุราอุตังชื่อโดฮอง (Dohong) 
ขณะนั้นเลขานุการของสวนสัตว์คือ เมดิสัน แกรนต์ (Madison Grant) เป็นผู้ติดป้ายที่กรงว่า ‘’dangers’’ และ ‘’inferior’’ ดุร้ายและเป็นสายพันธ์ที่ต่ำกว่า ซึ่งถูกผสมพันธ์กับชาวคอเคเซียน  และอ้างว่าเขาได้รับจดหมายจากฮิตเลอร์เขียนมาขอบคุณ
เขากลายเป็นจุดสนใจของสวนสัตว์ที่ดึงดูดผู้คนเข้ามาชมกว่าสีหมื่นคน แต่ว่าการจัดแสดงเบนกา ต้องยุติลงเมื่อนักบวชผิวสี ดร.แม็คอาเธอร์ (Dr. R. S. MacArthur) ได้ทำหนังสือประท้วงไปยังผู้ว่าการัฐนิวยอร์ค 
หลังจากนั้นเบนกาจึงไปอยู่ในความดูแลของสถานกำพร้า Howard Colored Orphan ที่มีเจมส์ กอร์ดอน (James M. Gordon) เป็นผู้ดูแล ซึ่งต่อมากอร์ดอนได้ส่งเบนกาให้มาอยู่ในเวอร์จิเนีย
เบนกาย้ายมาอยู่ที่เมืองลินช์เบิร์ก (Lynchburg, Virginia)และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอ๊อตโต้ บินโก (Otto Bingo) ฟันของเขาได้มีการใส่ที่ครอบฟันจนดูเหมือนฟันปกติ เพื่อจะได้ดูไม่แปลกประหลาดในสังคม 
ต่อมา เบนกาได้มีโอกาสได้เข้าเรียนหนังสือช่วงสั้นๆ จนพอจะใช้ภาษาอังกฤษในการสมัครงานในโรงงานยาสูบได้
ระหว่างอยู่ในสหรัฐฯ เขามีความรู้สึกอยากจะกลับประเทศของตัวเอง แต่ติดที่ว่าเป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ทำให้เบนกาเกิดอาการซึมเศร้า

1916 20 มีนาคม เบนกา ใช้ปืนที่ขโมยมา ยิงที่หัวใจของตัวเอง เป็นผลให้เขาเสียชีวิต ร่างของเขาถูกฝังในสุสานที่เมืองลินซ์เบิร์ก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!