ปฏิวัติพฤศจิกายน (November Revolution)
ปฏิวัติเยอรมัน 1918-1919
1912
การเลือกตั้งในปี 1912 (Reichstage election 1912) ของรัฐสภาเยอรมัน พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือ SPD (The Social Democratic Party of Germany) ชนะการเลือกตั้ง ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน 35% ทำให้มีที่นั่งในรัฐสภา 110 เสียง ครองเสียงข้างมาก
พรรค SPD มีหนังสือพิมพ์ของตัวเองชื่อ Vorwarts ซึ่งมีสมาชิกกว่า 1.5 ล้านคน
1913
13 สิงหาคม, ออกัส บีเบิ้ล (August Bebel) หัวหน้าพรรค SPD เสียชีวิตลงด้วยอาการของโรคหัวใจ จากนั้น ฟรีดริช อีเบิร์ต (Friedrich Ebert) จึงได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค
1914
เมื่ออาร์ชดุ๊ก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) ถูกลอบสังหารในซาราเจโว (Sarajevo) ยุโรปก็เสียงที่จะเข้าสู่สงคราม
พรรค SPD ขณะนั้น โดยเฉพาะฝ่ายซ้ายในพรรค อย่างโรซ่า ลักเซมเบิร์ก (Rosa Luxemburg) เป็นแกนนำ ได้เรียกร้องให้พรรคมีมติต่อต้านการทำสงคราม
รัฐบาลเยอรมันขณะนั้น นำโดยนายกรัฐมนตรี Theobald von Bethmann-Hollweg ไม่พอใจท่าทีของฝ่ายซ้ายในพรรค SPD จึงได้ข่มขู่ที่จะจับตัวแกนนำของพรรคถ้าสงครามปะทุขึ้นมา
ตอนนั้อีเบิร์ต และอ๊อตโต้ เบราน์ (Otto Braun) จึงได้เดินทางไปยังซูริค เพื่อที่จะซ่อนเงินทุนของพรรคให้ปลอดภัยจากรัฐบาล
1 สิงหาคม, เยอรมันประกาศสงครามกับรัสเซีย หนังสือพิมพ์ของพรรค SPD และเสียงส่วนใหญ่ของพรรคในเวลานั้นกลับมีท่าทีที่สนับสนุนการทำสงครามกับรัสเซีย เพราะเห็นว่าจักรวรรดิรัสเซียเป็นฝ่ายที่ต่อต้านกระแสสังคมนิยมในยูโรป และยังเป็นอุดมการณ์ของอดีตหัวหน้าพรรค ออกัส บีเบิ้ล ที่เคยพูดเอาไว้ว่าสมาชิกของพรรคจะจับอาวุธขึ้นมารบหากว่าประเทศทำสงครามกับรัสเซีย
แต่ว่าสงครามทำให้พรรค SPD แตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลในการทำสงครามคืออีเบิร์ตหัวหน้าพรรค
4 สิงหาคม, 96 เสียงของพรรค SPD ในสภารวมถึงไฟรดริช อีเบิร์ต หัวหน้าพรรค โหวตสนับสนุนกฏหมายการออกพันธบัตรเพื่อทำสงคราม (War Bonds) ของรัฐบาล ส่วนอีกเสียงที่เหลืออีก 14 เสียงของพรรค นำโดย ฮูโก้ ฮาเซ่ (Hugo Haase) แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับกฏหมายฉบันนี้ แต่ว่าได้ยกมือสนับสนุนตามเสียงส่วนใหญ่ของพรรค ทำให้ทั้งพรรค SPD ผ่านกฏหมายฉบับนี้ , ฮูโก้ ฮาเซ่ ให้เหตุผลที่ยกมือให้กับกฏหมายฉบับนี้ว่า «พวกเราจะไม่ปล่อยให้ปิตุภูมิต้องเดียวดายในยามขับขัน»
5 สิงหาคม, โรซ่า ลักเซมเบิร์ก, ฟรานซ์ เมห์ริง (Franz Mehring) วิลเฮล์ม เปียคก์ (Wilhelm Picek) ก่อตั้งกลุ่ม Gruppe Internationale (Group International) ซึ่งยังรวมเอาพวกที่มีแนวคิดแบบซ้ายจากพรรคอื่นๆ เข้ามาด้วย
2 ธันวาคม, คาร์ล ลิบเนชต์ (Karl Liebknecht) โหวตต่อต้านกฏหมายพันธบัตรสงครามฉบับใหม่ เขาเป็นสมาชิกพรรค SPD คนเดียวในตอนนั้นที่โหวตค้านกฏหมายฉบับนี้ ทำให้เขากลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านสงคราม , คาร์ล ลิบเนชต์ ยังได้เข้าร่วมกับกลุ่ม Gruppe Internationale ของโรซ่า ลักเซมเบิร์กด้วย
1915
7 พฤษภาคม, เรือลูซิตาเนีย (RMS Lusitania) เรือโดยสารเดินสมุทร จากลิเวอร์พูลไปยังนิวยอร์ค ถูกเรือดำนำ U-20 ของเยอรมันยิงจนล่มใกล้กับไอร์แลนด์ ทำให้ลูกเรือและผู้โดยสาร 1,198 คนเสียชีวิต ในนั้นเป็นชาวอเมริกัน 128 คน เหตุการณ์นี้เป็นชนวนหนึ่งที่ลากสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามโลก ครั้งที่ 1 , เหตุผลทีเยอรมันยิงเรือลำนี้ เพราะเรือไม่ได้ใช้เพื่อการโดยสารอย่างเดียวแต่ยังขนเอาอุปกรณ์ที่ใช้ในสงครามมายังฝรั่งเศสด้วย
1916
1 มกราคม, สปาร์ตาคัสลีก (Spartacus League) เกิดขึ้นมาจาก Gruppe Internationale
1 พฤษภาคม, คาร์ล ลิบเนชต์ ถูกจับ
มิถุนายน, คาร์ล ลิบเนชต์ ถูกลงโทษจำคุกเป็นเวลา 4 ปี ในข้อหาเป็นกบฏ เมื่อลิบเนชต์ ถูกจับก็เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ (the Liebknecht strike) เพราะไม่พอใจที่ลิบเนชต์ถูกลงโทษ
สิงหาคม, พอล ฟอน ฮินเดนเบิร์ก (Paul von Hindenburg) ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเยอรมัน (Chief of the German General Staff) ทำให้เขามีบทบาทหลักในการกำหนดนโยบายช่วงสงครามโลก มากเสียยิ่งกว่ากษัตริย์ , ฮินเดนเบิร์ก ยังมีลูกน้องคนสนิทคือนายพล อีริช ลูเดนดอร์ฟฟ์ (Erich Ludendorff) ซึ่งมีบทบาทสำคัญเช่นกันในการวางนโยบายทางทหาร พวกเขามีนโยบายที่จะขยายดินแดนของเยอรมันและเน้นการเอาชนะโดยกำลังทหาร
1917
เกิดการปฏิวัติกุมภาพันธ์ (February Revolution) ในรัสเซีย แต่รัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซีย นำโดยเคเรนสกี (Alexander Kerensky) ยังคงร่วมรบในสงครามโลกต่อ แม้ว่ากระแสสังคมในรัสเซียต่างเรียกร้องให้ยุติสงคราม
รัฐบาลเยอรมันขณะนั้น มองเห็นโอกาสที่จะทำให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงคราม เพื่อที่เยอรมันจะได้หันไปให้ความสำคัญกับการรบทางตะวันตก จึงให้การสนับสนุนฝ่ายบอลเชวิค เลนิน (Vladimir Lemin) ได้รับอนุญาตให้ใช้รถไฟขบวนพิเศษเดินทางจากสวิสฯ ผ่านเยอรมัน กลับไปยังกรุงเปโตรกราด พร้อมสนับสนุนเงินทุนอีก 82 ล้านมาร์ก
6 เมษายน, อเมริกาเข้าร่วมในสงครามโลก ครั้งที่ 1
9 เมษายน, สมาชิกของพรรค SPD ที่ต่อต้านสงคราม ได้ตั้งพรรคใหม่ขึ้นมาชื่อว่า USPD (Independent Social Democratic Party of Germany) โดยมีฮูโก้ ฮาเซ่ เป็นหัวหน้าพรรค พรรคของพวกเขามีข้อเรียกร้องให้ประเทศยุติการทำสงครามในทันที
กลุ่มสปาร์ตาคัสลีก ซึ่งตอนแรกไม่ต้องการให้พรรค SPD แตกแยก แต่ต่อมาให้หันมาร่วมมือกับ USPD อย่างเต็มที่ โดยการพยายามหาเสียงกับเหล่ากรรมกรในโรงงาน เพื่อเรียกร้องการยุติสงคราม
(April Strike) เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ครั้งที่ 2 ในช่วงสงครามโลก ผู้ประท้วงไม่พอใจเกี่ยวกับการแจกจ่ายอาหารที่ไม่เพียงพอ การประท้วงครั้งนี้จึงเรียกอีกอย่างว่า (Bread Strike)
19 กรกฏาคม, (Peace resolution) พรรค SPD, Centre Party และพรรค Pregressive People’s Party ในสภามีมติร่วมกันเรียกร้องสันติภาพ โดยต้องการให้หยุดการผนวกดินแดนและยอมจ่ายเงินชดเชย แต่ว่าฮินเดนเบิร์กและลุเดนดอร์ฟฟ์ขณะนั้นไม่ได้สนใจข้อเรียกร้อง
พฤศจิกายน, เลนิน ทำการปฏิวัติตุลาคม (October Revolution) ในรัสเซีย ซึ่งพรรคบอลเชวิคสามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลเฉพาะกาลมาได้
การปฏิวัติในรัสเซีย ทำให้คอมมิวนิสต์เยอรมันหลายคนคาดหวังว่ารัสเซียจะช่วยสนับสนุนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ตามอย่างรัสเซียในแผ่นดินเยอรมันบ้าง
แต่ว่าพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคใหญ่สุดในสภาไม่ได้มีความต้องการที่จะล้มล้างการปกครองเดิมแบบถอนรากถอนโคน พวกเขาเพียงต้องการให้ระบบเดิมกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมนิยมแบบประชาธิปไตย แกนนำอย่าง อ๊อตโต้ เบราน์ เขียนบทความเรื่อง The Bolsheviks and Us เขาเชื่อว่าสังคมนิยมไม่อาจจะสร้างขึ้นด้วยการใช้อาวุธและกำลังได้ แต่ต้องอาศัยระบบประชาธิปไตย
1918
8 มกราคม, ประธานาธิบดีวิลสัน (Woodrow Wilson) ของสหรัฐฯ ได้ยืนข้อเงื่อนไข 14 ข้อ (Fourteen Points) ต่อเยอรมัน เพื่อเป็นเงื่อนไขในการเจรจาสันติภาพกับเยอรมัน แต่ว่าฮินเดนเบิร์กและลูเดนดอร์ฟฟ์ ปฏิเสธข้อเสนอ เพราะเห็นว่าเยอรมันมีโอกาสในการชนะสงคราม
(January Strike) เกิดการประท้วงใหญ่ทั่วเยอรมัน จากกลุ่มแรงงานที่เรียกร้องคุณภาพชีวิตและสวัสดิการในการทำงานที่ดีขึ้น แกนนำของการประท้วงนี้คือ กลุ่ม Revulutionary Stewards นำโดย ริชาร์ด มูลเลอร์ (Richard Muller) จากพรรรค USPD , Revolutionary Stewards เรียกตัวเองว่าเป็น Rate (Councils) เหมือนคำว่า Soviets ของรัสเซีย พวกเขายังมีแรงบันดาลใจการการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในรัสเซีย
3 มีนาคม, เยอรมันกับรัสเซีย ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ (Treaty of Brest-Litovsk)
21 มีนาคม, (Spring Offensive) กองทัพเยอรมันได้เปิดการรบในแนวรบด้านตะวันตกหลายจุด ซึ่งในช่วงแรกเยอรมันเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ จนกระทั้งช่วงกลางปีซึ่งเยอรมันใช้กองทหารสำรองจนหมด
8 สิงหาคม, (Hundred Days Offensive, 8 สิงหาคม-11 พฤศจิกายน) ฝ่ายสัมพันธมิตร ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ เบลเยี่ยม โปตุเกส และประเทศสยาม(ไทย) ได้เริ่มปฏิบัติการณ์โจมตีตอบโต้เยอรมัน
กลางเดือนกันยายนแนวรบในด้านคาบสมุทรบอลข่านของเยอรมันถูกตีแตก และต่อมาบัลกาเรียพันธมิตรของเยอรมันก็ยอมแพ้
29 กันยายน, กษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 2 ซึ่งทรงประทับอยู่ในเบลเยียม พร้อมกับนายกรัฐมนตรี จอร์จ ฟอน เฮอร์ลิง (Count Georg von Hertling) ได้รับการถวายรายงานว่าเยอรมันกำลังจะแพ้สงคราม และนายพลลูเดนดอร์ฟฟ์ ได้เสนอให้หยุดยิงทันที พร้อมกับได้ถวายคำแนะนำกษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 2 ให้ทรงรับข้อเสนอของประธานาธิบดีวิลสัน ที่ต้องการให้รัฐบาลเยอรมันเปลี่ยนเป็นไปประชาธิปไตย
3 ตุลาคม, กษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 2 แต่งตั้งเจ้าชายแม็กซิมิเลียน แห่งบาเดน (Prince Maximilian of Baden) เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน จอร์จ ฟอน เฮอร์ลิง เพราะเฮอร์ลิงขอลาออก
4 ตุลาคม, เยอรมันยอมหยุดยิง
5 ตุลาคม, ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ได้รับแจ้งว่าประเทศแพ้สงคราม
รัฐบาลของเจ้าชายแม็กซิมิเลียนได้เจรจาขอให้ ปธน.วิลสัน มาเป็นตัวกลางในการเจรจาหยุดยิงกับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ไม่นาน ปธน.วิลสัน ได้ยืนเงื่อนไขใหม่ โดยต้องการให้ให้กษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 2 ต้องสละราชสมบัติด้วย พร้อมกับให้เยอรมันถอนทหารออกจากดินแดนที่ยึดไว้ทั้งหมด, ยกเลิกสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟส์ก
นายพลลูเดนดอล์ฟฟ์เห็นว่าเงื่อนไขของ ปธน.วิลสัน รับไม่ได้ เขาต้องการให้เยอรมันกลับไปรบอีกครั้ง และต้องการจะล้มการเจรจาของเจ้าชายแม็กซิมิเลียนกับสหรัฐฯ
24 ตุลาคม, (Naval order of 24 October 1918) ประกาศกองทัพเรือฉบับวันที่ 24 ตุลาคม เป็นแผนของกองทัพเรือภายใต้นายพลฟรานซ์ ฮิปเปอร์ (Admiral Franz von Hipper) ในการที่จะทำการรบครั้งใหญ่กับกองทพเรืออังกฤษโดยที่ไม่ฟังคำสั่งของรัฐบาลเยอรมัน กองเรือ High Seas Fleet ของเยอรมัน ต้องการรบกับกองทัพเรือ Grand Fleet ของอังกฤษในบริเวณทะเลเหนือ แต่ว่าแผนการณ์รบในครั้งนี้ยังไม่ทันจะได้ถูกปฏิบัติ ทหารเรือที่ไม่ต้องการจะรบอีกได้ทำการประท้วง การประท้วงของทหารเรือเริ่มจากที่เมืองวิลเฮร์มฮชาเว่น (Whilhelmshaven) มีเรือรบ 3 ลำ คือ Thuringen, Helgoland, ที่ลูกเรือปฏิเสธที่จะถอนสมอเรือเพื่อออกไปรบ
28 ตุลาคม, October Constitution รัฐสภาของเยอรมันผ่านรัฐธรรมนูญใหม่ ทำให้ประเทศกลายเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ลูกเรือ ของเรือมาร์เกรฟ (SMS Margrave) ก่อการประท้วงในวิลเฮร์มฮชาเว่นอีก
ช่วงวันที่ 30 ตุลาคม, เรือตอปิโตได้หันกระบอกปืนใหญ่มาที่เรือที่ประท้วง ทำให้ทหารเรือที่ประท้วงอยู่ยอมแพ้ มีทหาร 47 นาย และถูกส่งไปขังที่เมืองเคียล (Kiel)
stab-in-the-back legend
3 พฤศจิกายน, (Keil mutiny) ทหารเรือในเมืองเคียลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพแรงงานและพรรค SPD, USPD จึงได้ร่วมกันทำการประท้วง เรียกร้องให้ปล่อยให้ทหารเรือที่ถูกจับ พวกเขาใช้สโกแกนในการประท้วงว่า «Peace and Bread» ซึ่งไม่ใช่เพียงการเรียกร้องให้ปล่อยทหารที่ถูกจับตัวไว้ แต่ยังรวมถึงเรียกร้องให้มียุติสงครามและปรับปรุงสวัสดิการอาหาร
ผู้ประท้วงถูกปราบปรามด้วยการยิง ทำให้มีการเสียชีวิต 7 คนและบาดเจ็บหลายคน
4 พฤศจิกายน, การประท้วงในเคียลขยายใหญ่ขึ้นมีทหารและแรงงานรวมกว่าสี่หมื่นคนออกมาร่วมประท้วง พวกเขาได้ร่วมกันตั้งสภา (Soldiers’ Council) ของตัวเองขึ้นมา
รัฐบาลของเยอรมันได้ส่งกุสตาฟ นอสเก้ (Gustav Noske) รองหัวหน้าพรรค SPD มาเจรจา ซึ่งเขาทำให้การประท้วงในเคียลสงบลงได้ โดยที่ตัวของนอสเก้เองถูกเลือกเข้าไปเป็นสมาชิกของ Soldiers’ Council ด้วย แม้ว่าการประท้วงในเมืองเคียลคลี่คลายลง แต่ว่าะกระแสการประท้วงได้ลุกลามไปทั่วประเทศแล้ว
5 พฤศจิกายน, นายพลลูเดนดอร์ฟฟ์ ถูกปลด และรัฐบาลเยอรมันได้ตั้ง นายพลวิลเฮล์ม โกรเนอร์ (Wilhelm Groener) ขึ้นมาแทน , ส่วนนายพลลูเดนดอร์ฟฟ์หนี่ไปยังสวีเดนประเทศซึ่งเป็นกลางในช่วงสงครามโลก
6 พฤศจิกายน, House of Trade Unions ถูกกลุ่มผู้ประท้วงยึด
7 พฤศจิกายน, เมืองสำคัญบริเวณชายฝั่ง อย่าง แฟรงเฟิร์ต, แฮโนเวอร์, สตุ๊ตการ์ท, มิวนิค ตกไปอยู่ในการครอบครองของผู้ประท้วง กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งได้ตั้งสภาของตัวเอง ชื่อว่า Workers’ and Soldier’s Council
ในบาวาเรีย ผู้ประท้วงได้บังคับให้กษัตริย์ลุดวิก ที่ 3 (Ludwig III, King of Bavaria) กษัตริย์แห่งบาวาเรียสละราชสมบัติ และไ้ดประกาศให้บาวาเรียเป็นสาธารณรัฐ บาวาเรียเป็นรัฐแรกของจักรวรรดิเยอรมันที่กลายเป็นสาธารณรัฐ
เจ้าชายแม็กซิมิเลียน กับอีเบิร์ต ผู้นำพรรค SPD นั้นมีความเห็นรวมกันว่าควรจะป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติสังคมนิยมแบบโซเวียตขึ้นมาในเยอรมัน อีเบิร์ด นั้นมีความเห็นว่าเยอรมันไม่ควรจะเดินตามแนวทางของโซเวียต ซึ่งการปฏิวัติเป็นไปอย่างนองเลือดและอำนาจตกไปอยู่ในกลุ่มคนที่นิยมความรุ่นแรง อีเบิร์ตอยากจะหลอมรวมระบบเก่าเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบใหม่มากกว่า โดยเขาเชื่อว่าพรรค SPD ซึ่งฐานเสียงก็คือแรงงานและทหารใน Workers’ and Soldier’s Council ด้วยนั้น จะทำให้พรรคได้รับเสียงข้างมาในสภาและสามารถขับเคลื่อนการปฏิรูป
เจ้าชายแม็กซิมิเลียน กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำให้จักรพรรดิวิลเฮล์ม ที่ 2 ทรงสละราชสมบัติ โดยให้เหตุผลว่าถ้ากษัตริย์ไม่สละราชสมบัติการปฏิวัติแบบสังคมนิยมก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
9 พฤศจิกายน, กษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 2 (Kaiser Wilhelm II) ประกาศสละราชสมบัติ และได้เสด็จหนีออกจากเยอรมัน เจ้าชายแม็กซิมิเลียน นายกรัฐมนตรีก็ลาออกจากตำแหน่งและมอบอำนาจการบริหารประเทศไปอยู่ในมือของ อีเบิร์ต ,
อีเบิร์ดเปิดการเจรจากับกลุ่มอำนาจเก่า และยังคงต้องการรักษาระบบกษัตริย์เอาไว้ แต่ว่าการสละราชสมบัติของกษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 2 ไม่เพียงพอสำหรับผู้ประท้วง ที่ต้องการให้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ไปเลย
ในวันนี้ยังเกิดการประกาศตั้งสาธารณรัฐซ้อนกัน 2 ครั้ง เมื่อคาร์ล ลิบเนชต์ ที่เพิ่งถูกปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำไม่นาน เขากลับมารวมสมาชิกกลุ่ม Spartacist League ขึ้นอีกครั้ง เขารีบเดินทามาเบอร์ลินและวางแผนที่จะประกาศตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยม
ช่วงกลางวันฟิลิป ไชเดอมันน์ (Philipp Scheidemann) รองหัวหน้าพรรค SPD ล่วงรู้แผนการณ์ของ ลิบเนชต์ ไซเดอมันน์จึงได้เดินออกไปที่ระเบียงของรัฐสภา แล้วชิงประกาศตั้งสาธารณรัฐ
ขณะที่ลิบเนชต์ใช้ระเบียงของอาคาร Berlin Royal Residence ประกาศให้เยอรมันกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยม (socialist republic) ช่วง 4 โมง
ช่วงสองทุ่ม กลุ่ม Revolutionary Stewards นำโดย Richard Muller และ Emil Barth ได้เข้ายึดอาคารรัฐสภา พวกเขาได้ประกาศตั้งสภาปฏิวัติ (Revolutionary parliament) และวางแผนที่จะปฏิวัติในวันที่ 11
ขณะที่อีเบิร์ต พยายามลดความตรึงเครียดของผู้ประท้วงและนักปฏิวัติกลุ่มต่างๆ ด้วยการถึงพรรค USPD และลิบเนชต์เข้ามาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล มีการตั้ง The Council of the People’s Deputies (Rat der Volksbeauftragten) หรือ The Council ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นรัฐบาลโดยที่อีเบิร์ตรับผิดชอบงานด้านการทหารและตำรวจ
อีเบิร์ตเมื่อทราบแผนการที่จะปฏิวัติของกลุ่ม Revolutionary Stewards เขาจึงประกาศให้มีการเลือกตั้งในวันถัดมา
10 พฤศจิกายน, กลุ่มของอีเบิร์ต ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในสภามากที่สุด มีการจัดประชุมในเบอร์ลิน และได้มีการฟอร์มรัฐบาลชั่วคราวขึ้นมาเพื่อบริหารประเทศ โดยที่รัฐบาลใหม่ประกอบไปด้วยพรรค SPD , พรรค USPD
ในขณะที่ Revolutionary Stewards ของ Richard Muller ยังคงเคลื่อนไหว ตั้ง Executive Council
ซึ่ง Council of the People’s Deputies และ Executive Council กลายมาเป็นฝ่ายบริหารทำหน้าที่แทนรัฐสภา Reichstag ในช่วงหลังการปฏิวัติ 9 พฤศจิกายน
อีเบิร์ต ได้โทรศัพท์ไปเจรจากับนายพล Wilhelm Groener เพื่อขอความมั่นใจว่ากองทัพจะสนับสนุนเขา
11 พฤศจิกายน, เยอรมันลงนามในข้อตกลงสันติภาพ (Armistice of 11 November 1918) ที่แชมเปจญ์ ในฝรั่งเศส เป็นอันว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ยุติลง
12 พฤศจิกายน, The Council ได้ออกประกาศ To the people of Germany ซึ่งประกอบไปด้วยคำสั่ง 9 ข้อ
- ยกเลิกประกาศสถานะการณ์ฉุกเฉิน
- ให้เสรีภาพในการชุมนุม
- ยกเลิกการเซ้นเซอร์
- ให้เสรีภาพในการพูดและเขียน
- ให้เสรีภาพทางศาสนา
- อภัยโทษให้กับนักโทษการเมือง
- ยกเลิกกฏหมาย Gesetz über den vaterländischen Hilfsdienst ซึ่งบังคับให้พลเมืองชายทุกคนที่ไม่ได้เป็นทหารต้องทำงานในโรงงานที่กำหนด
- ยกเลิกกฏหมาย Gesindeordnung ในปรัสเซีย
- กลับไปใช้กฏหมายคุ้มครองแรงงานในช่วงก่อนที่จะมีสงคราม
ขณะที่ในเมืองลิปซิก (Leipzig),แฮมบูร์ก (Hamburg), บรีเมน (Bremen),เชมนิตซ์ (Chemnitz), โกธ่า (Gotha) สภา the Workers’ and Soldiers’ Councils ยังคงยึดอำนาจบริหารเอาไว้ และมีการตั้งหน่วยเรดการ์ด (Red Guards) ขึ้นมาเพื่อรักษาความปลอดภัย
15 ธันวาคม, the Workers’ and Soldiers’ Councils จัดการประชุมสามัญขึ้นครั้งแรก โดยแต่ละเมืองส่งตัวแทนมาประชุมที่ Circus Busch ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันถัดไป แต่ว่าอีเบิร์ตและนายพลโกรเนอร์ ได้สั่งทหารเข้ามาขัดขวางการประชุม เพื่อที่ฝ่าของเขาจะได้กลับมาควบคุมเมืองหลวง และพยายามจะจับตัวสมาชิกของสภา Executive Council ด้วย ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 16 คน
19 ธันวาคม, ที่ประชุมสภาของปรัสเซีย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของ SPD ได้โหวตสนับสนุนรัฐบาลในการจัดให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (constituent national assmebly)
23 ธันวาคม, ทหารเรือจากเมืองเคียลที่ได้รวมตัวกันในเบอร์ลินในชื่อกลุ่ม Volksmarinedivision มีทหารรวมกันจำนวนกว่าสามพันนาย ที่มีความใกล้ชิดกับพรรค USPD และ Spartacists ได้บุกยึดอาคาร Reich Chancellery ทำให้ ส.ส. ติดอยู่ภายในจำนวนมาก รวมถึง Otto Wels ผู้บัญชาการทหารของรัฐบาลเยอรมันประจำกรุงเบอร์ลิน
24 ธันวาคม, (Ebert’s Bloody Christmas) อีเบิร์ตได้โทรศัพท์ไปสังการให้กองทหารเข้าจู่โจมในช่วงเช้า ซึ่งการปะทะทำให้มีคนเสียชีวิตอีก 30 คน และทหารเรือเป็นฝ่ายชนะ กองทัพของรัฐบาลจึงได้ถอนกำลังออกจากใจกลางเมือง ทหารที่เหลือได้รวมตัวขึ้นเป็นกลุ่มใหม่ เรียกว่า Freikorps และได้ยึดที่ทำการของหนังสือพิมพ์ Red Flag
30 ธันวาคม, โรซ่า ลักเซมเบิร์ก และกลุ่ม Spatacists ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน หรือ KPD (The Communist Party of Germany) เพราะเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคการเมืองของตัวเอง
แต่ว่ากลุ่ม Revolutionary Stewards ยังตัดสินใจที่จะอยู่กับพรรค USPD ต่อ
1919
4 มกราคม , (Spartacist uprising , 4-15 มกราคม) พรรคคอมมิวนิสต์ โดยจัดการประท้วงใหญ่ในเบอร์ลิน โดยที่กำลังของ Spartacists ก็ติดอาวุธ พวกเขาบุกยึดสำนักงานตำรวจ และได้ตั้ง คณะกรรมาธิการปฏิวัติ (Interim Revolutionary Committee) ขึ้นมา 53 คน ลิบเนชต์เป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ที่สั่งให้มีการล้มล้างรัฐบาลของอีเบิร์ต แต่ว่าโรซ่า ลักเซมเบิร์กเองเห็นว่าการประท้วงครั้งนี้เร็วเกินไปและมีความเสี่ยงที่จะเป็นหายนะของพรรคเอง
6 มกราคม, ผู้ประท้วงใช้สโลแกนว่า «Brothers, don’t shoot» อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากทหาร ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเชื่อฟังคำสั่งของรัฐบาล , พรรค USPD พยายามที่จะเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างฝ่ายประท้วงกับรัฐบาล ในขณะที่อีเบิร์ตก็เรียกกำลังทหารเข้ามาเสริมในเมืองเพิ่มขึ้น
12 มกราคม, รัฐบาลเริ่มปราบปรามผู้ประท้วง กุสตาฟ นอสเก้ (Gustav Noske) สมาชิกของพรรค SPD และเป็นผู้บัญชาการของ Freikorps ปราบปรามกลุ่ม Spatacists อย่าโหดเหี้ยม
15 มกราคม, คาร์ล ลิบนิชต์ และโรซ่า ลักเซมเบิร์ก ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ถูกสังหาร การประท้วงของ Spatacists สิ้นสุดลง โดยมีผู้เสียชีวิต 156 คน
19 มกราคม, จัดการเลือกตั้ง Weimar National Assembly เป็นครั้งแรก
13 กุมภาพันธ์, The Council ยุติบทบาทลง หลังจากมีรัฐบาลใหม่
ช่วงเดือนมีนาคม ยังมีการประท้วงกันในเบอร์ลิน และหลายเมืองในเยอรมัน มีผู้เสียชีวิตอีกนับพันคน
11 สิงหาคม, การปฏิวัติสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ Weimar Constitution
สิงหาคม, ก่อตั้งสาธารณรัฐเยอรมัน (Weimar Republic) อย่างเป็นทางการ