Numquam prohibere somniantes
Merong Mahawangsa
Merong Mahawangsa

Merong Mahawangsa

เมรอง มหาวังสะ  (Merong Mahawangsa)

เมรอง มหาวังสะ เป็นนักรบในตำนาน ซึ่งถูกกล่าวถึงในหนังสือ นิทานเมรอง มหาวังสะ (Hikaya Merong Mahawangsa) หรือเรียกว่า บันทึกเคดาห์ (Kedah Annals) ซึ่งบันทึกเล่มนี้ถูกเขียนในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 

ในนิทานเคดาห์ เล่าเอาไว้ว่า เมรอง มหาวังสะ เป็นรัชทายาทของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช (Alexander the Great) ของอาณาจักรมาซิโดเนีย (Macedonia)  พระองค์ได้ยกกองทัพเรือขนาดใหญ๋จากโรมเพื่อที่จะไปยังเมืองจีน แต่ว่าระหว่างทางเมื่อผ่านทะเลอาราเบียน (Arabian sea) กองทัพเรือของพระองค์ถูกพญาครุฑ (Garuda) โจมตี ทำให้เรือส่วนใหญ่อับปางลงในทะเล ส่วนพระองค์รอดมาได้และได้ขึ้นฝั่งที่รัฐเกดาห์ (Kedah) บริเวณหมู่บ้านบุจาง (Bujang Valley)  

เมรอง มหาวังสะ ได้ก่อตั้งอาณาจักรลังกาสุกะ (Langkasuka) ขึ้นที่เกดาห์ ซึ่งลังกาสุกะ เป็นอาณาจักรแบบฮินดู-พุทธ โดย ลังกา (Langa) แปลว่า เกาะ/ดินแดน และ สุกะ (Suka) คือ ความสุข … ลังกาสุกะ จึงแปลว่า เกาะแห่งความสุข 

ก่อนที่ในเวลาต่อมาเมรอง ได้เดินทางกลับกรุงโรมไป  โดยได้แต่งตั้งพระโอรส คือ พระราชา เมรอง มหาปุธิสัต (Raja Merong Mahapudisat) ขึ้นครองราชย์แทน 

ชีวิตหลังจากนี้ของเมรอง มหาวังสะ หลังจากเดินทางกลับโรมไม่มีใครรู้ แต่บางกล่าวว่าพระองค์เสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับโรม

ต่อมา พระราชาเมรอง มหาปุติสัต   ได้แบ่งอาณาจักรลังกาสุกะ ออกเป็นสามส่วน คือ อาณาจักรสยาม (Kingdom of Siam) มอบให้กับโอรสองค์โต, อาณาจักรเปรัก( Kingdom of Perak),  อาณาจักรปัตตานี (Kingdom of Pattani) ในขณะที่เมืองเกดาห์มอบให้กับโอรสองค์เล็ก

ราชา เสรี มหาวังสะ ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองเกดาห์ นั้นยังคงธรรมเนียมการส่งบรรณาการณ์ ดอกไม้ทองคำและดอกไม้เงิน ไปถวายยังกษัตริย์สยาม ในทุกๆ ครั้งที่พระองค์ให้กำเนิดพระโอรส

ราชาเสรี มาหวังสา สวรรคตจากอาการพระทัยวาย เพราะทรงพิโรธที่พระโอรสของพระองค์นั้นไม่ทรงเชื่อฟังพระบิดา 

เมรอง มหาวังสะ มีรัชทายาท 4 องค์ คือ

1. เมรอง มหาปุดิสัต (Raja Merong Mahapudisat) ผู้ซึ่งรับตำแหน่งกษัตริย์องค์ที่ 2 ของลังกาสุกะ และตำนานยังกล่าว่าพระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของสยาม (Siam)

2. กานจิล ซาร์จุนา (Ganjil Sarjuna) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ของลังกาสุกะ หลังจากเมรอง มหาปุดิสัต สวรรคต

3. เจ้าหญิง ราชา ปุเตรี (Raja Puteri)  เป็นผู้ปกครองลักาสุกะ เป็นองค์ที่ 4 ต่อจากพระเชษฐา และเป็นผู้ปกครองเมืองปัตตานี (Patani) 

คำว่า ปัตตานี (Patani) หมายถึง เทพีปัตตานี (Pattani) เทพธิดาแห่งความอุดมสมบูรณ์และสุขภาพของชาวฮินดู  และเพราะเมืองมีปฐมกษัตริย์เป็นสตรี ชาวฮินดูในลังกาเชื่อกันว่าเทพีปัตตานีมีอำนาจปกป้องจากโรคฝีดาษได้ด้วย

4. เสรี มหาวังสะ (Sere Mahawangsa) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 ของลังกาสุกะ หลังเจ้าหญิงราชา ปุเตรี สวรรคต

….

เจ้าชายเสรี มหา อินเดราวังสา (Seri Maha Inderawangsa) เป็นโอรสของกษัตริย์ เสรี มาหวังสา แต่พระองค์มีนิสัยโหดร้าย และติดสุรา เมื่อพระองค์ได้รับตำแหน่งกษัตริย์สืบจากพระบิดา บรรดาขุนนางในราชสำนักก็พากันก่อกบฏ ทำให้เจ้าชายเสรี มหา อินเดราวังสา ต้องเสด็จลี้ภัยไปยังเขาเจไร (Mount Jerai) 

เจ้าชายเสรี มหา อินเดราวังสา หลบอยู่ในเขาเจไร จนกระทั้งพระองค์มีรัชยาท คือ เจ้าชาย พระองค์มหาปุดิสัต (Phra Ong Mahapudisat)

เจ้าชายเสรี มหา อินเดราวังสา อาศัยอยู่ในหุบเขาจนกระทั้งพระองค์เติบใหญ่ และเมื่อพระบิดาสวรรคตลง พระองค์ก็ถูกนำตัวกลับมายังลังกาสุกะ และขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์

เจ้าชายพระองค์ มหาปุติสัต มีรัชทายาทพระองค์เดียวคือ สุลต่านมุดซาฟาร์ ชาห์-พระองค์ มหาวังสะ (Sultan Mudzafar Shah, Phra Ong Mahawangsa)

สุลต่านมุดซาฟาร์ ชาห์ เดิมที่นับถือฮินดู แต่ต่อมาพระองค์เป็นผู้เปลี่ยนลังกาสุกะให้เป็นรัฐอิสลาม และอาณาจักรลังกาสุกะ ก็กลายเป็น รัฐสุลต่านเคดาห์ (Kedah Sultanate)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!