Numquam prohibere somniantes
Ludwig Boltzmann
Ludwig Boltzmann

Ludwig Boltzmann

ลุดวิก โบลต์ซมันน์ (Ludwig Eduard Boltzmann) 
โบลต์ซมันน์ เกิดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1844 ในเวียนนา, จักรวรรดิออสเตรีย (Vienna, Austrian Empire)  พ่อของเขาชื่อลุดวิก จอร์แดน (Ludwig Georg Boltzmann) เป็นเจ้าหน้าที่ภาษี ส่วนแม่ชื่อแคเธอริน่า (Maria Katharine Pauernfeind) ปู่ของเขาก๊อตตไฟรด์ (Gottfried Ludwig Boltzmann) เป็นช่างนาฬิกาที่ย้ายจากเบอร์ลินมาอยู่ในเวียนนา
วัยเด็กโบลต์ซมันน์เรียนหนังสืออยู่กับบ้าน ก่อนที่จะเข้าเรียนระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนในลินซ์ (Linz, Upper Austria) 
1859 พ่อของเขาเสียชีวิต ตอนที่เขาอายุ 15 ปี 
1863 เข้าเรียนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) 
1866 จบปริญญาเอก โดยมี ศจ.โจเซฟ สเตฟาน (Josef Stefan) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โบลต์ซมันน์ทำวิทยานิพน์เกี่ยวกับพลังงานสถิตย์ของก๊าซ (Kinetic theory of gases)
1867 เริ่มทำงานเป็นอาจารย์เลคเชอร์ และเป็นผู้ช่วยของ ศจ.โจเซฟ สเตฟาน
1869 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยกราซ (University of Graz) ช่วงปีนี้เขายังใช้เวลาหลายเดือนในการทำงานร่วมกับโรเบิร์ต บันเซ่น (Robert Bunsen) และโคนิกสเบอเกอร์ (Königsberger)  ในไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg) 
1871 ใช้เวลาหลายเดือนทำงานใกล้ชิดกับเคริชฮอฟฟ (Gustav Kirchhoff) และเฮลมโฮลต์ซ (Helmholtz) ในเบอร์ลิน
1873 ย้ายมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา โดยรับตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านคณิตศาสตร์
ช่วงปี 70s เขาพิมพ์ผลงานออกมาหลายชิ้นเกี่ยวกับทฤษฏีกลศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกฏข้อสองของเทอร์โมไดนามิค และการประยุกต์ทฤษฏีความน่าจะเป็นเพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของอะตอม
1876 17 กรกฏาคม, แต่งงานกับเฮนเรียตเต้ (Henriette von Aigentler) เธอเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์อยู่ในมหาวิทยาลัย พวกเขามีลูกด้วยกันห้าคน
โบลต์ซมันน์ย้ายกลับมาที่ ม.กราซ โดยได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ ที่สถาบันฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เขาเริ่มป่วยด้วยโรคซึมเศร้าหรืออาจจะเป็นอาการไบโพลาร์ 
1881 ร่วมกับแม็กเวลล์ (Maxwell) คิดกฏ Maxwell-Boltzmann law
1885 23 มกราคม, แม่ของเขาเสียชีวิต
ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ Imperial Austrian Academy of Sciences
1888 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยไฟรดริช-วิลเฮล์ม (Friedrich-Wilhelms University) 
1890 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทฤษฏีที่มหาวิทยาลัยมิวนิค (University of Munich)
1894 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา
1899 มีโอกาสเดินทางไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยคลาร์ก (Clark University) ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการเดินทางไปอเมริกาครั้งแรกของเขา 
1900 ได้รับตำแหน่งศาสตร์จารย์ที่ลิปซิก (Leipzig)
1902 กลับมาสอนหนังสือที่ ม.เวียนนา โดยระหว่างนี้ได้มีโอกาสบรรยายวิชาปรัชญาซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
1903 ร่วมก่อตั้งสมาคมคณิตศาสตร์ออสเตรีย (Austrian Mathematical Society)
ปีนี้โบลต์ซมันน์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลเป็นครั้งแรก แต่เขาพลาดรางวัลไป ซึ่งเขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้ถึง 5 ครั้งแต่ไม่เคยได้รับรางวัล
1904 เดินทางไปสหรัฐฯ​ ครั้งที่ 2 พร้อมกับลูกชายอาเธอร์ (Arthur Ludwig) เพื่อร่วมการประชุมด้านคณิตศาสตร์ในเซนต์หลุยส์  ครั้ง่นี้เขาจึงได้โอกาสในการเดินทางไปนิวยอร์ค, ฟิลาเดลเฟีย, วอชิงตัน, ชิคาโก ก่อนที่จะกลับเยอรมัน
1905 เดินทางไปสหรัฐฯ โดยครั้งนี้เขาได้เดินทางไปบรรยายที่เบิร์กเลย์ (Berkeley) แคลิฟอร์เนีย 
1906 5 กันยายน, เขาฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอภายในโรงแรมระหว่างเดินทางไปพักผ่อนที่ดูโน่ (Duino) 

ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานกลางในเวียนนา (Vienna Central Cemetery) โดยที่ป้ายหลุมศพได้สลักสมการเอ็นโทรปี S=K*log W ของเขา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!