Numquam prohibere somniantes
Lise Meitner
Lise Meitner

Lise Meitner

ลิซ เมตเนอร์ (Lise Meitner)
The Mother of Atomic bomb, ผู้ค้นพบปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิสชั่น (nuclear fission) ร่วมกับหลานชายของเธอ อ๊อตโต้ ฟริสช์ (Otto Frisch) , อ๊อตโต้ ฮาห์น (Otto Hahn) และฟริตซ์ สตร๊าสส์แมนน์ (Fritz Strassmann)
ลิซ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1878 ในกรุงเวียนนา, ออสเตรีย-ฮังการี (Vienna, Austria-Hungary) ครอบครัวของเธอเป็นชาวยิวที่มีฐานะดี พ่อเป็นนักกฏหมายชื่อว่าฟิลิปป์ (Phillipp Meitner, 1838-1910)  แม่ชื่อว่าเฮดวิก (Hedwig Meitner-Skovran) ลิซ เป็นลูกคนที่สามของบ้านในพี่น้องทั้งหมดแปดคน
ลิซ มีชื่อเดิมว่า อีลิซ (Elise) แต่ว่าภายหลังเธอใช้แค่ ลิซ (Lise) เรียกตัวเอง
ลิช จบการศึกษาจากโรงเรียนประจำเมือง (Bürgerschule) ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกวิชาชีพโดยเฉพาะ สำหรับสตรี เพราะการศึกษาของเยอรมันเวลานั้นไม่ให้ผู้หญิงเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา หลังจากเรียนจบแล้วลิซได้ผ่านการสอบเพื่อเข้าเป็นครูสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส
1901 ตอนอายุ 22 เธอได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) โดยเลือกเรียนทางด้านปรัชญา แต่ว่าเมื่อได้มีโอกาสเรียนกับลุดวิก โบลตซ์มันน์ (Ludwig Boltzmann) เธอก็หันมาสนใจวิชาฟิสิก
1905 จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) หลังจากนั้นได้เข้าทำงานที่สถาบันทฤษฏีฟิสิก (Institute for Theoretical Physics) 
1907 เดินทางมายังกรุงเบอร์ลิน, ลิซ เป็นผู้หญิงคนแรกที่แม็กซ์ แฟล็งค์ (Max Planck) อนุญาตให้เข้าฟังเขาเลคเชอร์ระหว่างที่ลิซ เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยฮัมโบลต์ (Friedrich-Wilhelms University) หลังจากนั้นปีหนึ่งลิซได้กลายเป็นผู้ช่วยของแฟลงค์อย่างไม่เป็นทางการ
ที่ ม.เบอร์ลิน ลิช ได้รู้จักกับนักเคมีชื่อ อ๊อตโต้ ฮาห์น (Otto Hahn) ซึ่ลิชได้กลายเป็นผู้ช่วยของเขาในห้องปฏิบัติการเคมีซึ่งกำลังศึกษาเกี่ยวกับธาตุรังสี  พวกเขาทั้งสองคนทำงานร่วมกันนานกว่า 30 ปี
1908 ลิซเข้าพิธีรับศีล เปลี่ยนมานับถือคริสต์ นิกายลูเธอร์ลัน
1912 ลิซ และฮาห์น ได้ย้ายมาทำงานที่สถาบันเคมี ของมหาวิทยาลัยฮัมโบล์ต (Kaiser-Wilhelm Institute for Chemistry) ซึ่งสถาบันนี้เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ โดยที่ลิซทำงานเป็นผู้ช่วยแต่ไม่ได้รับเงินเดือน
1915 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 ลิชได้รับการว่างจ้างเป็นครั้งแรก ในฐานะพยาบาลแผนกเอ็กซเรย์ ให้กับกองทัพออสเตรีย
1916 เธอกลับมายังเบอร์ลินและทำงานกับฮาห์นอีกครั้ง
1917 ลิซและฮาห์น ค้นพบ ไอโซโทป ของธาตุโปรแทคติเนียม (Protactinium, long-lived 231 Pa) ที่มีอายุยืน (ค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ 32,760 ปี)
ก่อนหน้านั้นในปี 1913 มีการค้นพบ โปรแทคติเนียม-234 (Pa-234) โดยคาซิมีร์ ฟาจันส์  (Kasimir Fajans) ที่มีค่าครึ่งชีวิต 1.17 นาที แต่ตอนนั้นฟาจันส์ตั้งชื่อว่าบรีเวียม ( Brevium) 
ธาตุ Pa นี้ถูกรับรองว่าชื่อ Protactinium  อย่างเป็นทางการตามที่ลิซและฮาห์นตั้ง โดย IUPAC ในปี 1949
1922 ลิชได้ผ่านการทดสอบ อนุญาตให้เป็นอาจารย์เลคเชอร์ได้
ปีนี้เธอค้นพบปฏิกริยาอูเกอร์ (Auger effect)
1926 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านนิวเคลียร์ฟิสิก ซึ่งเป็นศาสตราจารย์หญิงคนแรกของเยอรมันในสาขาฟิสิก
1934 ลิช, ฮาห์น, ฟริตซ์ สตร๊าสส์แมนน์(Fritz Strassmann) ทำโครงการศึกษาธาตุหลังยูเรเนียม (transuranic elements) ซึ่งเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมมากกว่า 92 (เลขอะตอมของยูเรเนียม) เป็นธาตุที่ไม่เสถียรและปล่อยกัมมันตรังสี
1938 มีนาคม, the Anschluss (เยอรมันผนวกออสเตรีย) หลังเหตุการณ์นี้ลิซจึงได้ตัดสินใจอพยพออกจากเวียนนา
ลิช เดินทางมายังกรุงสต๊อคโฮล์ม, สวีเดน (Stockholm, Sweden) และได้เข้าทำงานที่สถาบันแมนน์ ซึกบาห์น (Manne Siegbahn’s Institute)
13 พฤศจิกายน, ฮาห์น และลิซ ได้นัดพับกันอย่างลับๆ ในกรุงโคเปนเฮเก้น (Copenhagen) ซึ่งหลังจากพูดคุยกัน ฮาห์นได้กลับไปศึกษายูเรเนียมเพิ่มเติมร่วมกับสตร๊าสส์แมนน์ ซึ่งการทดลองของฮาห์นกับยูเรเนียม ทำให้เขาคาดคะเนว่าธาตุที่ได้จะเป็นเรเดียม (radium) แต่ผลกลับเป็นว่าจริงๆ เป็นแบเรียม (barium)  ฮาห์นพยายามหาเหตุผลถึงสาเหตุนี้จึงได้เขียนจดหมายไปปรึกษากับลิซ
1939 6 มกราคม, ฮาห์นตีพิมพ์การทดลองของเขาที่ได้ธาตุแบเรียมจากการยิงนิวตรอนไปที่อะตอมของยูเรเนียม ลงในหนังสือ Naturewiseenschaften 
11 กุมภาพันธ์ , ลิซและ อ๊อตโต้ ฟริสช์ (Otto Frisch) หลานของเธอเป็นผู้ที่อธิบายได้ว่านี่คือปฏิกริยานิวเคลียร์แบบพิชชั่น ซึ่งทั้งสองคนเขียนบทความลงในหนังสือ Nature ฉบับ 11 กุมภาพันธ์ โดยชื่อบทความว่า Disintegration of Uranium by Neutrons: a New Type of Nuclear Reaction
1944 คณะกรรมการรางวัลโนเบล ได้มอบรางวัลโนเบลสาขาเคมี ให้กับอ๊อตโต้ ฮาห์น เพียงลำพัง
1947 ลิซได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของภาควิชานิวเคลียร์ฟิสิกที่สถาบันฟิสิก, สต๊อกโฮห์ม  (Royal Institute of Physics)
1960 ย้ายมาอยู่ที่แคมบริดจ์
1968 27 ตุลาคม, เสียชีวิตที่แคมบริดจ์, อังกฤษ

ลิซ ถูกเสนอชื่อเพื่อชิงรางวัลโนเบล 47 ครั้งทั้งสาขาเคมีและฟิสิก แต่ไม่เคยได้รับรางวัลนี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!