Numquam prohibere somniantes
Kublai Khan
Kublai Khan

Kublai Khan

กุ๊บไลข่าน เกิดเมื่อวันที่

5 กันยายน 1215

เป็นลูกชายคนที่สี่ของโตลุยข่าน (

Tolui Khan

) แต่เป็นลูกคนที่สองของซอร์กากตาน บีกิ (

Sorghaghtane Beki

) และเป็นหลานของเจงกิสข่าน (

Genghis Khan

)

กุ๊บไลข่าน มีแม่นม ชื่อบุดฮิสต์ มานกุต (Buddhist Tangut) 

1224

กุ๊บไลข่านเริ่มล่าสัตว์ครั้งแรก ระหว่างทางที่เจงกิสข่านออกไปทำสงครามกับควาเรซเมีย (Khwarezmia) โดยเขาสามารถยิงกระต่ายและกวางแอนทิโลป (Antelope) ได้ ซึ่งเจงกีสข่านได้นำน้ำมันจากสัตว์ที่เขาล่าได้นั้นมาบีบใส่นิ้วมืออของกุ๊บไลข่าน ตามความเชื่อของมองโกล 

1228

18 สิงหาคม, เจงกีส ข่าน (

Genghis Khan

) สวรรคต หลังจากนั้น โอเจดี ข่าน (

Ögedei Khan

)  โอรสคนที่สามของเจงกีส ข่าน ได้ขึ้นเป็นข่านสูงสุด (Great Khan)

1232

โตลุยข่าน พ่อของเขาเสียชีวิต

1236

โอเจดีข่าน เอาชนะราชวงศ์จิ๋น (Jin dynasty) ของจีน พระองค์จึงได้ประทานเขตเหอเป่ย์ (Hebei) ให้กับครอบครัวของโตลุยข่านปกครอง ซึ่งในเหอเป่ย์นี้มีบ้านเรือนกว่าหมื่นหลัง แต่ว่าช่วงแรกเพราะกุ๊บไลข่านขาดประสบการณ์ในการบริหาร ปล่อยให้ขุนนางคอร์รัปชั่นและขึ้นภาษีมากจนทำให้ประชาชนเดือนร้อน  ชาวนามากมายจึงได้พากันย้ายออกจากเมือง  

1239

แต่งงานกับชาบิ (

Chabi

)  ภรรยาคนที่สองของเขา พวกเขามีลูกด้วยกัน 5 คน

1242

กุ๊บไลข่าน ชื่นชอบวัฒนธรรมของจีน จึงได้เชิญพระไฮหยัน (Haiyun) พระที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจีนมายังมองโกล เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม, เต๋า,​ และพุทธ  พระไฮหยัน ยังได้เป็นคนตั้งชื่อลูกคนหนึ่งของกุ๊บไลข่านว่าเชนจิน (Zhenjin, b.1243)

หลังจากพระไฮหยัน เดินทางกลับเมืองจีนแล้ว  กุ๊บไลข่านได้ว่าจ้างครูคนใหม่หลายคนมาสอนเขา อาทิ หลุย บิงซง (Liu Bingzhong) ซึ่งเป็นกวี, นักวาดรูป และนักคณิตศาสตร์ , เซา บิ (Zhao Bi)

1251

พี่ชายของกุ๊บไลข่าน  มองกี (

Möngke

) ขึ้นเป็นข่านสูงสุดของมองโกล  , มองกี ได้แต่งตั้งกุ๊บไลข่านเป็นอุปราช และส่งกุ๊บไลข่านมาดูแลดินแดนทางเหนือของจีนตลอดไปจนตอนกลางของมองโกล ซึ่งการบริหารงานของเขาครั้งนี้ประสบความสำเร็จ สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและภาษีในเหนาน (Henan) และซีอาน (Xi’an) ได้มาก 

1252

Mahmud Yalavach

1253

กุ๊บไลข่านได้รับคำสั่งให้บุกยูนนาน (Yunnan) ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณาจักรตาลี้ (Dali Kingdom) ของกษัตริย์ตวน ซิงฉี (Duan Xingzhi) เหตุเพราะทูตของมองโกลที่ส่งเจริญสัมพันธไมตรีก่อนหน้านี้ถูกสังหาร 

กษัตริย์ตวน ซิงฉี ยอมสวามิภักดิ์กับมองโกล  เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นตูสิ (Tusi) หรือผู้ปกครองท้องถิ่นให้กับมองโกล 

กุ๊บไลข่านได้เชิญพระโดนกอน ช๊อกยัล ฟางปา (Drogön Chögyal Phagpa) พระในนิกายสักยะ จากทิเบต มายังทิเบต เพื่อให้ดูแลชาบิ (Chabi) ภรรยาของเขา เพราะเชื่อว่าพระจากทิเบตมีความรู้เรื่องการแพทย์

1254

กุ๊บไลข่านแต่งตั้ง เหลียน ซีเซียน (Lian Xixian) เป็นหัวหน้าทีมในการเจรจาสันติภาพกับดินแดนในยูนนานที่เหลือที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์กับมองโลก 

1257

ข่านมองกีได้ส่ง อลัมดาร์ (Alamdar)  กับหลุย ไต่ปิง (Liu Taiping) มาตรวจบัญชีของกุ๊บไลข่าน  พวกเขาพบว่าบัญชีมีการทุจริตหลายรายการ จึงได้สั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ชาวจีน และยกเลิกเจ้าหน้าที่เจรจาสันติภาพ  , กุ๊บไลข่านได้ส่งภรรยาของเขาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ตรวจบัญชีสองคนมายังมองโกล เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ข่านมองกีไม่อยากมีปัญหากับกุ๊บไลข่าน จึงได้อภัยโทษให้กับเขา

กุ๊บไลข่านส่งทหารบุกไดเวียด (Dai Viet) หรือเวียดนามครั้งแรก ตรงกับสมัยของราชวงศ์ตราน (Trän dynasty) ของเวียดนาม ซึ่งเวียดนามเป็นฝ่ายชนะ แต่ว่าเมื่อกุ๊บไลข่านขึ้นเป็นข่านสูงสุดในปี 1260 เวียดนามยอมส่งบรรณาการณ์ให้ทุกๆ 3 ปี

1258

ลัทธิเต๋าขยายอิทธพลมากในอาณาจักรมองโกล และได้ยึดเอาอารามของวัดพุทธไปหลายแห่งจนทำให้เกิดปัญหา กุ๊บไลข่านจึงได้เรียกประชุมนักบวชของลัทธิเต๋าและพุทธในช่วงต้นปีเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง แต่ว่าพวกนักบวชเต๋าปฏิเสธ กุ๊บไลข่านจึงใช้กำลังบังคับให้เปลี่ยนวัด 237 แห่งของลัทธิเต๋ามาเป็นพุทธแทน และทำลายตำราของเต๋าไปจำนวนมาก

ข่านมองกีแต่งตั้งกุ๊บไลให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพในภาคตะวันออก และให้เขาช่วยสนับสนุนการทำสงครามกับเสฉวน (Sichuan)  แต่ว่าช่วงนี้กุ๊บไลป่วยด้วยอาการของโรคเกาต์ เขาจึงได้รับอนุญาตให้พักอยู่ในแนวหลังก่อนที่จะตามไปสมทบทีหลัง

1259

เมื่อกุ๊บไลตามข่านมองกี เขาได้พบว่าข่านมองกีได้สวรรคตแล้ว แต่ว่ากุ๊บไลเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ และยังเดินหน้าบุกหวู่ฮั่น (Wuhan) และหวู่ชาง (Wuchang) ต่อไป 

ราชวงศ์ซง (Song) ได้ส่งเจีย สีเตา (Jia Sidao) มาเป็นทูตเจรจา โดยเสนอที่จะส่งบรรณาการณ์ให้มองโกล เพื่อยุติสงคราม ซึ่งกุ๊บไลได้ยอมรับข้อเสนอ

ต่อมากุ๊บไลได้รับจดหมายจากภรรยาของเขา เขียนมาบอกว่าน้องชายของเขาอาริก โบ๋กี (

Ariq Boke

) กำลังรวบอำนาจอยู่ในคาราโครัม เมืองหลวงของมองโกล โดยอาริก โบกีได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของสภามองโกล (kurutai) ให้ขึ้นเป็นข่านสูงสุดคนใหม่

1260

15 เมษายน

, กุ๊บไลซึ่งคัดค้านการตัดสินใจของสภามองโกล เขาจึงได้กลับมายังดินแดนที่ตัวเองปกครอง แล้วตั้งสภาอาวุโของตัวเองขึ้นมา จากนั้นสภาของเขาก็ได้สนับสนุนเขาขึ้นเป็นข่านคนใหม่

กองทัพของกุ๊บไลข่านกับอาริก โบกี จึงได้ทำสงครามกัน (

Toluid Civil War

, 1260-1264)

เขตชานซี และเฉสวน นั้นให้การสนับสนุนข่านอริก โบ๋กี , กุ๊บไลข่านจึงได้ส่ง เหลียน ซีเซียน มาปราบ

กุ๊บไลยังแต่งตั้งให้อบิชก้า (Abishqa) เป็นข่านปกครองชากาไต (Chagatai Khanate) แต่ว่าอบิชก้าแพ้ให้กับกองทัพของอาริก โบกีข่าน ซึ่งอาริก โบกีข่าน ได้แต่งตั้ง อัลฮู (Alghu) ปกครองชากาไตแทน

ขณะเดียวกันเบอร์กี ข่าน(Berke khan) แห่งโกลเด้น ฮอร์ด (Golden Horde) กับฮุลากุ ข่าน (Hulagu) แห่งอิลข่าน (Ilkhanate) มีปัญหากันเรื่องกรรมสิทธิเหนือดินแดนคอเคซัส 

อาริก โบกีข่านจึงได้จับมือกับข่านเบอร์กี แห่งโกลเด้น ฮอร์ด กับอักฮูข่าน (

Alghu

) แห่งชากาไต (Chagatai Khanate) 

ในขณะที่ฮุลากุข่าน เป็นข่านคนเดียวที่เป็นพันธมิตรกับกุ๊บไลข่าน

มาร์โค โปโล (

Marco Polo

)

5 พฤษภาคม,

กุ๊บไลข่านตั้งเมืองหลวงใหม่ชื่อ ไคปิง (

Kaiping

)  ขึ้นแทนคาราโครัมมาโดยหลุย บิงซง เป็นสถาปนิกออกแบบ ต่อมาในปี 1264 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ชางตู (

Shangdu

) ไม่นานพระองค์ก็สามารถผนวกกอร์เยีย (Goryeo) ดินแดนหนึ่งในคาบสมุทรเกาหลีเอาไว้

กุ๊บไลข่านประกาศใช้ธนบัตรกระดาษเป็นครั้งแรก ชื่อว่า เชา (Chao)

1261

ต่อมากุ๊บไลข่านและอาริก โบกีข่านได้รบกันในคาราโครัม  ซึ่งกุ๊บไลข่านสามารถยึดเมืองหลวงเอาไว้ได้ชั่วคราว จนกระทั้งเขาถอยทัพออกจากเมือง อาริก โบกีข่านจึงได้กลับมายึดเมืองคืน

1262

หลี ตาน (

Li Tan

) ซึ่งปกครองเมืองยีโจว (Yizhou) พยายามแข็งเมืองต่อต้านการปกครองของมองโกลในช่วงที่ข่านกำลังทะเลาะกันเอง แต่ว่ากุ๊บไลข่านได้ส่งชี เทียนเซ (Shi Tianze), ชี ชู (Shi Shu) มาปราบปราม

อัลฮูข่านที่ปกครองซากาไต ได้แปรพักตร์มาสนับสนุนกุ๊บไลข่านแทน

1264

อัลฮูข่าน ข่านแห่งซากาไต สวรรคต, พระราชินีของพระองค์คือ ได้แต่งตั้งพระโอรส คือเจ้าชายมูบารัก ชาห์ (

Mubarak Shah

) ขึ้นเป็นข่านแห่งซากาไตแทน โดยที่ยังไม่ได้รับความยินยอมจากกุ๊บไลข่าน

มูบารัก ชาห์ เป็นข่านองค์แรกของมองโกลที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม

21 สิงหาคม, อริก โบกีข่าน ยอมแพ้ ซึ่งกุ๊บไลข่าน แต่ก็ลงโทษประหารขุนศึกสำคัญของเขาจนสิ้น ส่วนอริก โบกีข่านถูกขังเอาไว้ในคุก และเสียชีวิตอย่างปริศนาในปี 1266

หลังขึ้นเป็นข่านสูงสุด กุ๊บไลข่านได้แต่งตั้งเมนเตมู (

Mentemuu

) เป็นข่านแห่งโกลเด้นฮอร์ด (Golden Horde) และให้อบาก้า เป็นข่านแห่งอิลข่าน (

Ilkhan

)

แต่ว่าเจ้าชายไกตู (

Kaidu

) แห่งซากาไต ไม่ยอมเข้าร่วมการประชุมสภาของกุ๊บไลข่าน ซึ่งผิดกฏที่เขาตั้งไว้ให้ข่านทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมกุ๊บไลข่านจึงสั้งให้บารัค (Baraq) ยกทัพไปปราบไกตู และต่อมาบารัคได้รับแต่งตั้งเป็นข่านคนใหม่ของชากาไต

1266

มาร์โค โปโล (Marco Polo) พ่อค้าชาวเวนิช ได้มีโอกาสเข้าเฝ้ากุ๊บไลข่าน ที่ต้าตู (กรุงปักกิ่ง)

1271

กุมภาพันธ์, หางโจว (Hangzhou) เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง (Song Empire) พ่ายแพ้ให้กับมองโกล กุ๊บไลข่านจึงได้สถาปนาราชวงศ์หยวน (

Yuan dynasty

) กุ๊บไลข่านขึ้นเป็นจักรพรรดิชีซู (

Emperor Shizu of Yuan

)

มีการย้ายเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากชางตู มาเป็นต้าตู (Dadu)  ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี สงครามกับซ่งยังไม่ยุติ เมื่อพวกที่ยังจงรักภักดีต่อจักรพรรดิองค์เดิมได้หนีไปยังตอนใต้ของจีนและยังคงจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้

ในรัชสมัยของจักรพรรดิชีซู ทรงโปรดเกล้าให้มีตำแหน่งพระอาจารย์ (Imperial Preceptor) โดยมีหน้าที่ควบคุมพระในพุทธศาสนาทั้งหมดในจีน โดยที่มีพระธิเบตสองรูป ดำรงตำแหน่งนี้คือ ศากยะลามะ (Sakya lama) และ พักส์-ปา ลามะ (Phags pa lama)

1274

กุ๊บไลข่านบุกญี่ปุ่น ด้วยกองเรือขนาด 900 ลำ มีทหารกว่า 140,000 คน แต่ว่าการบุกญี่ปุ่นต้องยุติลงเพราะว่าเจอกับลมพายุและสภาพอากาศไม่ดี

1279

สงครามกับฝ่ายสนับสนุนราชวงศ์ซ่ง สิ้นสุด หลังจากมองโกลยึดเมือง Guangzhou เอาไว้ได้ และประหารจักรพรรดิเซา บิง (Emperor Zhao Bing of Song)

1281

ส่งกองทัพโจมตีญี่ปุ่นอีกเป็นครั้งที่สอง แต่ว่าเมื่อเดินเรือออกไปก็เจอกับลมพายุรุนแรงอีกเหมือนครั้งแรก จนกลายเป็นตำนานเล่าขานเรียกลมพายุที่ช่วยปกป้องญี่ปุ่นจากมองโกลว่าเป็น กามิกาเซ่ (Kamikaze) ซึ่งแปลว่า ลมแห่งพระเจ้า (divine wind)

จักรพรรดินีชาบิ สวรรคต

1283

กันยายน, เจ้าชายแซงคุดาร์ (Sangqudar) นำทัพมองโกลบุกตอนเหนือของพม่า และสามารถยึดอาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom) เอาไว้ได้ 

1284

มองโกล บุกเวียดนาม เป็นครั้งที่สอง  ซึ่งกองทัพมองโกลนำมาโดยเจ้าชายตอกัน (Toghon) พระโอรสในกุบไลข่าน แต่ว่าฝ่ายเวียดนามเอาชนะได้โดยสามารถสังหารแม่ทัพโซเกตู (Sogetu) แม่ทัพคนสำคัญของมองโกลได้

1287

บุกเวียดนามเป็นครั้งที่สาม โดยที่เจ้าชายตอกัน เป็นผู้นำทัพอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเวียดนามก็สามารถสู้กับมองโกลได้ แต่ว่าผลของการรบ กษัตริย์เวียดนามยอมรับอำนาจของราชวงศ์หยวนและส่งบรรณาการณ์ให้เพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม 

1293

ส่งกองทัพเรือซึ่งมีทหารราวสามหมื่นนาย บุกสิงหะสาหรี (Singhasari) และมัชปาหิต (Majapahit) บนเกาะชวา แต่ว่าเมื่อสูญเสียทหารราวสิบเปอร์เซ็นต์ก็ยกทัพกลับ

1294

18 พฤษภาคม

, สวรรคต ขณะมีพระชนษ์ 78 ชันษา พระศพถูกนำกลับมาฝังไว้ที่หุบเหาเบอร์คาน คาลดัม (Burkhan Khaldum) ในมองโกเลีย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!