Numquam prohibere somniantes
Kohinoor
Kohinoor

Kohinoor

โคห์อินนอร์ (Kohinoor)

โคห์อินนอร์ เป็นเพชรที่เจียรไนแล้วที่มีน้ำหนัก 105.5 กะรัต (21.12 กรัม) ปัจจุบันเป็นเพชรประดับยอดพระมงกุฏของสหราชอาณาจักร

โคห์อินนอร์เป็นเพชรที่ขุดจากบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโคทาวารี (Godavari delta) จึงถูกจัดเป็นเพชรโกลคอนด้า (Golconda diamond) ตามแหล่งที่มา ซึ่งไม่รู้ว่าขุดจากเหมืองแห่งไหนชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเหมืองโคลเลอร์ (Kollur Mine) ในสมัยของราชวงศ์กากาติยะ (Kakatikya dynasty, 1163-1323) โดยที่ไม่ได้มีการบันทึกน้ำหนักเริ่มต้นของเพชรเอาไว้อย่างชัดเจน

ต่อมาโคห์อินนอร์ถูกนำไปประดับไว้ในวิหารเจ้าแม่กาลี (Bhadrakali Temple) ที่เมืองวารันกาล (Warangal)

1303 ในศตวรรษที่ 14 สุลต่านอะลาด์ดิน คาลจี (Alauddin Khalji) แห่งรัฐสุลต่านเดลฮี (Delhi Sultanate) ได้ยกทัพมารุกรานรัฐทางตอนใต้ของอินเดีย ก็ได้นำโคห์อินนอร์กลับไปด้วย

1526 บาเบอร์ (Zahir-ud-Bin Babur) แห่ง Turco-Mongol ได้บุกอินเดีย และก็ได้นำเพชรกลับไปด้วย ซึ่งราชวงศ์โมกุล (Mughal) ปกครองดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ และตะวันออกของอัฟกานิสถาน นานกว่า 330 ปี และเพชรก็ได้มีการสืบทอดกันต่อๆ มาภายในราชวงศ์

1628 ชาห์จาฮัน (Shah Jahan) จักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์โมกุล ได้สั่งให้มีการสร้างบัลลังค์นกยูง (Peacock Throne) ขึ้นมา โดยที่โคห์อินนอร์กลายเป็นอัญมณีชิ้นหนึ่งที่ถูกนำไปประดับที่บัลลังค์รนกยูง โดยบัลลังค์นี้ใช้เวลาในการทำอยู่นานถึงเจ็ดปี ซึ่งเล่ากันว่าค่าใช้จ่ายในการทำบัลลังค์ไม่น้อยไปกว่าการสร้างทัจมาฮาล

อิหร่าน

1739 ชาห์เนเดอร์ (Nader Shah) แห่งเปอร์เซีย ผู้ก่อตั้งราชวงศ์อัฟชาริด (Afsharid dynasty) ได้บุกกรุงเดลฮีของอาณาจักรโมกุล และได้ขนสมบัติจากอินเดียกลับมายังเปอร์เซียมากมาย รวมถึงบัลลังค์นกยูงด้วย 

ต่อมาได้มีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกว่า โคห์อินนอร์ มีน้ำหนัก 186 กะรัต (38.2 กรัม) โดยมูฮัมหมัด มาฮาร์วี (Muhammad Mahavi) บันทึกเอาไว้ว่าโคห์อินนอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของอัญมณีที่ใช้ประดับบัลลังค์นกยูง เชื่อกันว่าชาห์เนเดอร์เป็นผู้พระราชทานชื่อเพชรเม็ดนี้ว่าโคห์อินนอร์ ซึ่งแปลว่า หุบเขาแห่งแสง (mountain of light)

1747 ชาห์เนเดอร์ถูกปลงพระชนษ์ และโคห์อินนอร์ก็ได้ตกไปอยู่กับพระราชนัดดาของพระองค์ ก่อนที่่จะถูกมอบให้กับอาห์มัด ชาห์ ดูร์รานิ (Ahmad Shah Durrani) ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอัฟกานิสถาน (Afgan Empire) 

ซึ่งโคห์อินนอร์ก็สืบทอดกันอยู่ภายในราชวงศ์ดูร์รานิ จนในสมัยของชูจา ชาห์ ดูร์รานิ (Shuja Shah Durrani) ซึ่งเป็นนัดดาของอาห์หมัด ชาห์ ดูร์รานิ ในตอนนี้โคห์อินนอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของกำไล ที่ชูจา ชาห์ ดูร์รานิ สวมใส่

ต่อมาชูจา ชาห์ ดูร์รานิ ได้ร่วมมือกับอังกฤษ ในการต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย แต่ว่าไม่นานพระองค์ก็ถูกโค่นลงจากราชบัลลังค์ และเสด็จหนีไปยังละฮอร์ (Lahore) ในปากีสถานปัจจุบัน พร้อมกับโคห์อินนอร์ ก่อนที่เพชรจะถูกมอบให้กับกษัตริย์รันจิต สิงห์ (Ranjit Singh) ซึ่งปกครองอาณาจักรซิกห์ (Sikh Empire) ซึ่งตั้งอยู่ในปันจาบเวลานั้น

1839 เมื่อชูจา ชาห์ ดูร์รานิ ทรงพระประชวรและใกล้จะสวรรคต พระองค์ได้แต่งตั้งให้เจ้าชายคารัค สิงห์ (Kharak Singh) พระโอรสองค์โตเป็นรัชทายาท 

26 มิถุนายน, กษัตริย์ชูจา ชาห์ ตูร์รานิสวรรคต กษัตริย์คารัค สิงห์ ก็ทรงเก็บรักษาโคห์อินนอร์เอาไว้ แม้ว่าจะขัดพระประสงค์ของพระบิดาที่ต้องการจะมอบเพชรให้กับวิหารจากันนาท (Jagannath Temple) ในเมืองบูรี (Puri)

8 ตุลาคม, กษัตริย์คารัค สิงห์ ถูกโค่นลงจากอำนาจด้วยการปฏิวัติโดยเดียน สิงห์ (Dian Singh) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นโคห์อินนอร์ จึงตกไปอยู่ในครอบครองของกุหลาบ สิงห์ (Gulab Singh) น้องชายของเดียน สิงห์

1841 กุหลาบ สิงห์ ได้ถวายเพชรโคห์อินนอร์ ให้กับกษัตริย์พระองค์ใหม่ เชอร์ สิงห์ (Sher Singh)

1843 15 กันยายน, กษัตริย์ เชอร์ สิงห์ และนายกรัฐมนตรีเดียน สิงห์ ถูกลอบสังหาร ระหว่างการปฏิวัติที่นำโดย อาจิต สิงห์ (Ajit Singh)

หลังจากนั้นดุลีฟ สิงห์ (Duleep Singh) ซึ่งมีพระชนม์เพียง 5 ชันษาถูกตั้งขึ้นมาเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ และโคห์อินนอร์ก็ถือว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของพระองค์

1845 สงครามระหว่างอังกฤษ-ซิกห์ ครั้งที่ 1 (the First Anglo-Sikh war)

1848 สงครามอังกฤษ—ซิกห์ ครั้งที่ 2 (2nd Anglo-Sikh war, 1848-1849)

1849 เมื่อสงครามระหว่างอังกฤษ-ซิกห์ ยุติลงตามสนธิสัญญาละฮอร์ฉบับสุดท้าย (Last Treaty opf Lahore) อังกฤษในสมัยของสมเด็จพระราชินีวิตอเรีย ที่ 1  โดยบริษัทอีสต์อินเดีย (East India Company) ได้ยึดรัฐปันจาบ (Punjab) เอาไว้เป็นอาณานิคม โคห์อินนอร์จึงได้ตกไปอยู่กับอังกฤษ 

อา

1851 อังกฤษนำโคห์อินนอร์ออกมาจัดแสดงในนิทรรศกาลในลอนดอน แต่ว่าโคห์อินนอร์ในเวลานั้นไม่ได้รับความสนใจจากคนที่เข้าชมนิทรรศกาล เพราะว่าโคห์อินนอร์ในขณะนั้นถูกเจียรนัยด้วยเทคนิคแบบดังเดิมของอินเดีย ทำให้เพชรไม่เกิดประกายแวววาวเหมือนการเจียรนัยสมัยปัจจุบัน

เจ้าชายอัลเบิร์ต (Prince Albert) พระสวามีร์ของพระราชินีวิคตอเรีย จึงได้สั่งให้มีการนำโคอินนอร์ไปเจียรนัยใหม่ โดยโรงงานคอสตอร์ (Coster Diamonds) ในเนเธอร์แลนด์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!