Numquam prohibere somniantes
Kang Sheng
Kang Sheng

Kang Sheng

 คังเชิง (康生, Kang Sheng)

หัวหน้าหน่วย เชอฮุ่ยปู้ (Shehui Bu, 中央社会部, Central Department olf Social Affairs) หน่วยข่าวกรองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

คังเชิง เกิดประมาณปี 1898 ในต้าไทจวง, จูเชง (Dataizhung, Zhucheng) มณฑลชานตง (Shandong)  คังเชิง มีชื่อตอนเกิดว่า จาง ซงเค่อ (张宗可, Zhang Zongke)

คังเชิง เรียนระดับประถมที่โรงเรียนชายกวนไห่ (Guanhai school) และได้เรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนเยอรมัน (German School) ในชิงเต่า (Qingtao)

1915 ตอนอายุ 17 ปี เขาแต่งงานกับ เชน ยี่ (Chen Yi) ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกันสองคน ชื่อ จาง ยู่หยิง (Zhang Yuying) และ จาง ซีชิ (Zhang Zishi) 

1921 หลังจากจบมัธยมแล้ว คังเชิงออกไปทำงานเป็นครูชนบทในเมืองจูเชง, มณฑลชางตง (Zhucheng, Shandong)  

1924 เขาเรียนที่มหาวิทยาลัยชางไห่ (Shanghai University) คณะสังคมวิทยา ซึ่งขณะนั้นมหาวิทยาลัยอยู่ใต้บรรยาการและการครอบงำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นำโดย ฉี เฉียวไป๋ (瞿秋白, Qu Qiubai)  ซึ่งคังเชิงเข้าเรียนที่นี่ได้เพียงครึ่งปีเขาก็เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ โดยที่ช่วงนี้เขาใช้นามแฝงว่า จาง เส้าชิง (張紹卿, Zhang Shaoquing) ในการเคลื่อนไหว

1925 คังเชิงเป็นแกนนำในการจัดการประท้วงเพื่อต่อต้านบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เรียก “May 30th Movement”  ช่วงเวลานี้ทำให้เขาได้รู้จักแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลายคน อย่างเจ้า ชิหยาน (Zhao Shiyan) ลัวะ ยินอ๋อง (Luo Yinong) หวัง เชาฮัว(Wang Shouhua) โจ เอินไหล (Zhou Enlai) 

1927 มีนาคม, พรรคฯ นำการประท้วงใหญ่อีกครั้ง โดยมีแรงงานจับอาวุธขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลโก๊ะหมินตั๋ง (Kuomintang)  แต่ว่ากลุ่มผู้ประท้วงถูกรัฐบาลโก๊ะหมินตั๋งปราปราม

คังเชิง แต่งงานกับเกา ชูกิง (Cao Shuging หรือ Cao Yi’ou)

ต่อมาคังเชิงเข้าไปทำงานเป็นเลขาให้กับเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อหยู๋ ไคกิง (Yu Qiaqing) ซึ่งสนับสนุนโกะมินตั๋ง แต่ในขณะเดียวกันเบื้องหลังเขาก็ยังทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ และได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการพรรคประจำจังหวัดเจียงสุ (Jinangsu Province)

ต่อมาเขาได้ทำงานใกล้ชิดกับหลี ลี้ซาน (李立三, Li Lisan) ซึ่งเป็นตัวแทนของจีนในองค์กรโคมินเทิร์น (Comintern) และยังเป็นหัวหน้าฝ่ายโฆษณาชวนเช่ือของพรรคด้วย

1928 หลังการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 6 ไม่กี่เดือน คังเชิงก็ได้รับแต่งตั้งเป้นผู้อำนวยการของคณะกรรมาธิการพรรคประจำจังหวัดเจียงสู

1930 คงเชิงถูกจับระหว่างที่อยู่ในเซียงไฮ้ แต่ว่าไม่นานก็ถูกปล่อยตัวออกมา เพราะคนรู้จักที่เป็นสมาชิกของพรรคโกะมินตั๋งให้ความช่วยเหลือ

หลังออกจากคุก คงเชิงไปใกล้ชิดกับกลุ่ม 28 บอลเชวิค (28 Bolsheviks)  ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษารุ่นใหม่ที่กลับมาจากมหาวิทยาลัยมอสโคว์ ซุนยัดเซน (Moscow Sun Yat-Sen University) นำโดยหวัง หมิง (王明, Wang Ming) ซึ่งกลุ่ม  28 บอลเชวิค มีอิทธิพลในพรรคคอมมิวนิสต์จีนสูง และกลุ่มเสียงส่วนใหญ่ในโพลิตบุโร ในปี 1931

1931 เมษายน, Gu Shunzhang ซึ่งมีบทบาทในงานข่าวกรองของพรรคคอมมิวนิสต์ แปรพักตร์ไปอยู่กับฝ่ายของโก๊ะมินตั้ง ทำให้ข้อมูลภายในของพรรคคอมมิวนิสต์จีนรั่วไหล จนทำให้เจียง จงฟา (xiang Zhongfa) เลขาธิการของพรรค CPC ถูกจับ และต่อมาเจียง ไคเชค (Chiang Kai-shek) ก็สั่งให้สังหารเขา

ภายในพรรค CPC หลังเกิดการหักหลังครั้งใหญ่แล้ว โจว เอินไหล  ก็ได้มาดูแลงานด้านข่าวกรองของพรรค โดยตั้งคณะกรรมาธิการชุดพิเศษขึ้นมา และคงเชิงก็เป็นหนึ่งในกรรมาธิการพิเศษด้านการข่าวของพรรค ร่วมกับ Pan Hannian, Guang Huian

กรกฏาคม, หวัง หมิง ถูกส่งไปมอสโคว์ เพื่อเป็นตัวแทนของจีนในองค์การโคมินเทิร์น 

สิงหาคม, โจว เอินหลาย เดินทางออกไปจากเมืองเจียงซี ทำให้คงเชิงได้คุมคณะกรรมาธิการชุดพิเศษนั้นแทน  ซึ่งในช่วงเวลาสองปีที่เขาอยู๋ในตำแหน่ง คังเชิงได้ขยายงานข่าวกรองออกไปอย่างกว้างขวาง ตลอดทั่วพื้นที่ที่อยู่ใต้ครอบครองของโก๊ะมินตั่ง 

บางข้อมูลบอกว่าคังเชิงได้ตำแหน่งในโพลิตบุโรและเป็นคณะกรรมการกลางของพรรคในช่วง 1931-1933 ด้วย

1933 คังเชิงและเกา ชูกิง ภรรยาของเขาเดินทางไปมอสโคว์ โดยไปทำหน้าที่เป็นเลขาให้กับหวัง หมิง 

1934 (Long March), กองทัพแดงของพรรคคอมมิวนิสต์ต้องออกเดินทางไกลครั้งสำคัญ เพื่อหนีการไล่ล่าของฝ่ายโก๊ะมินตั๋ง โดยเดินทางจากมณฑลเจียงซี (Jianxi) ไปยังชานซี (Shaanxi)  ซึ่งเป็นระยะทางกว่า 9000 กิโลเมตร กินเวลา 370 วัน  ซึ่งลองมาร์ช ทำให้เหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong) กลายมาเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และอิทธิพลของโซเวียตต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ถดถอยลง  อิทธิพลของคังเชิงภายในพรรคก็ลดลงด้วย

1935 มกราคม, (Zungi Conference) เหมา เจ๋อตุงได้รับเลือกเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเป็นทางการ

1936 คังเชิงก่อตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำจัดฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับ NKVD ของโซเวียต ซึ่งหน่วยของคังเชิงนี้คาดว่าได้กำจัดชาวจีนหลายร้อยคนซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในโซเวียต

1937 กรกฏาคม, เหตุการ์ณที่สะพานมาโคโปโล (Marco Polo Bridge Incident) ในปักกิ่ง ทำให้ต่อมาขยายกลายเป็นสงครามระหว่างจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 (Second Sino-Japanese War)

  ซึ่งเมื่อญี่ปุ่นบุกจีน คังเชิงและหวัง หมิง เดินทางกลับมายังจีนโดยเครื่องบินของโซเวียต ไปยังหยางอัน (Yan’an)  ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งภาระกิจช่วงแรกๆ ดูเหมือนเขาจะพยายามโน้มน้าวให้พรรคกลับไปอยู่ในแนวทางของโซเวียต คือจับมือกับโก๊ะมินตั้งในการต่อต้านญี่ปุ่น แต่ว่าไม่นาน คัง เชิง ก็เปลี่ยนมาอยู่ฝ่ายเดียวกับประธานเหมา

28 พฤศจิกายน, ประธานเหมา แต่งงานกับเจียง ชิง (江青, Jiang Qing) หรือที่รู้จักกันในฉายามาดามเหมา (Madame Mao)  ซึ่งก่อนจะแต่งงานกับเจียง ชิง เหมายังแต่งงานกับเห่อ ซื่อเจิน (贺子珍, He Zizhen) อยู่ เธอเป็นภรรยาคนที่สามของเหมาและมีลูกด้วยกันสามคน , เห่อ ซื่อเจิน เป็นคนที่เดินทางกับเหมาผ่านลองมาร์ชมาด้วยกัน แต่้เพื่อที่จะแต่งงานกับเจียง ชิง  เหมาก็ได้ขอหย่ากับเห่อ ซื่อเจิน 

แต่บางข้อมูลบอกว่าคัง เชิง กับเจียง ชิง มีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ 1930s 

1939 CDSA (中央 社会 部, Central Department of Social Affaire ) ด้วยข่าวกรองและต่อต้านสายลับของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกตั้งข้นอย่างเป็นทางการ โดยที่คังเชิงเป็นผู้อำนวยการคนแรก เขาอยู่ในตำแหน่งจนถึงปี 1948

1942 (Yan’an Rectification Movement) พรรคคอมมิวนิสต์จีน เริ่มแคมเปญในการเผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์ โดยที่มีประธานเหมาเป็นผู้นำต้นแบบ

1945 คังเชิงได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของกองทัพ

1946 ปลายปีเขาถูกปลดออกจากตำแหน่งในงานด้านความั่นคง  แต่ว่าถูกป่งไปดูแลงานด้านการปฏิรูปที่ดินในหลงตง, มณฑลกานสู (Longdong, Gansu) ซึ่งคังเชิงใช้การกระตุ้นให้เกษตรกรยากจนลุกขึ้นมาประท้วงและสังหารเกษตรกรที่มีฐานะดี หรือเจ้าของที่ดิน 

1947 เขาถูกส่งมาอยู่ในมณฑลชานซี (Shanxi) และยังคงดำเนินนโยบายปฏิรูปที่ดินด้วยความรุนแรง

พฤศจิกายน, คังเชิงถูกส่งไปยังชานตง บ้านเกิดของเขาเพื่อทำการปฏิรูปที่ดิน 

1948 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการของกิจการพรรค CPC ทางภาคตะวันออก (East China Bureau) ใต้การบังคับบัญชาของเหยา ชูชี (饶漱石,Rao Shushi) ซึ่งบทบาทของคังเชิงในช่วงนี้ จนถึงปี 1954 ดูหายไป  ซึ่งมีสมมุติฐานว่าเขาอาจจะป่วยจากโรคจิตเภท (Schizophrenia) 

1949 1 ตุลาคม, ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

1956 คังเชิงกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในงานการประชุมที่ปรึกษาทางการเมืองของพรรค (Chinese People’s Political Consultative Conference)  เขายังได้ตำแหน่งในโพลิตบุโลของพรรค CPC แต่ว่าถูกลดบทบาทลง

(百花齐放, Hundred Flowers Campaign, 1956-1957) ประธานเหมาเริ่มใช้กลยุทธ์ร้อยบุพผา โดยเขาเปิดโอกาสให้ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารย์พรรค CPC ได้อย่างเสรี ซึ่งเป็นการหลอกให้พวกเห็นต่างกับเขาแสดงตัวออกมา จากนั้นก็มีนโยบายในการกำจัดคนเหล่านั้นทิ้ง โดยที่คังเชิง มีบทบาทในการไล่ล่าและทำลายฝ่ายตรงข้าม

1958 นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ (The Great Leap Forward) ประธานเหมา ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีก โดยต้องการเปลี่ยนประเทศจากกสิกรรมไปเป็นอตุสาหกรรม มีการนำระบบนารวมมาใช้ และใช้แรงงานจำนวนมากไปกับการหาและผลิตเหล็ก ซึ่งที่สุดแล้วนโยบายของประธานเหมาล้มเหลว มีผู้คนหลายล้านคนต้องเสียชีวิต นั่นทำให้บารมีของประธานเหมาภายในพรรคเสื่อมลง

คังเชิงมีบทบาทในการสนับสนุนประธานเหมาในช่วงนโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่นี้ โดยเหมาและคังเชิงมองความวุ่นวายและความสูญเสียในช่วงนี้ว่าเป็น Dictatorship of Prolitaliat  (ช่วงเปลี่ยนผ่านของทุนนิยมสู่สังคมนิยม ซึ่งผู้นิยมคอมมิวนิสต์จะยอมรับการใช้ความรุนแรง และมองความสูญเสียเป็นเรื่องยอมรับได้)  เฉพาะผู้เสียชีวิตจากความอดอยากจากการขาดแคลนอาหารเพราะนโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ก็ 30-50 ล้านคน 

1966 (Cultural Revolution, 1966-1976) ประธานเหมาเริ่มนโยบายปฏิรูปวัฒนธรรม โดยที่คังเชิงมีส่วนร่วมในการร่างนโยบายท่เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลางของพรรค ในวันที่ 16 พฤษภาคม

หลังากนันคังเชิง ได้ส่งภรรยาของเขาไปเคลื่อนไหวในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง  เพื่อจัดการให้มีการเดินชบวนของนักศึกษาเพื่อต่อต้านลู่ ปิ่ง (Lu Ping) อธิการบดีของมหาวิทยาลัย 

หลังจากนั้นนักศึกษาก็ตกเป็นเครื่องมือชองเหมา  ในนามของกลุ่มเรดการ์ด (Red Guards) ซึ่งใช้ความรุนแรงในกดขี่ผู้เห็นต่าง 

1970 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของ COPG (Central Organization and Propaganda Leading Group) ซึ่งมีหน้าที่คอยสอดส่องดูแลสื่อในเครือข่ายของพรรค อย่าง สำนักข่าวซินหัว (Xinhua) หนังสือพิมพ์พีเพิ้ลเดียลี่ (People’s Daily) แม็กกาซีนเรดแฟล็กซ์ (Red Flag)

1973 สิงหาคม, คังเชิงปรากฏตัวครั้งสุดท้ายต่อสาธารณะ ในงานประชุมพรรคครั้งที่ 10 

1975 16 ธันวาคม, เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!