Numquam prohibere somniantes
Julius Caesar
Julius Caesar

Julius Caesar

จูเลียส ซีซาร์

ซีซาร์ เกิดในเดือนกรกฏาคม ปี 100 BC ครอบครัวของเขาเป็นชนชั้นปกครองในโรมัน คำว่า “ซีซาร์” นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ามีความเป็นไปได้ว่ามีที่มาจากหนึ่งในสามเหตุผล คือ (1) คำว่า Oculis Caesiis  ในภาษาลาติน ที่แปลว่า ดวงตาสีน้ำเงิน (2) คำว่า caesaries ในภาษาลาติน แปลว่า ผมหนา (3) คำว่า caesai ในภาษาพูนิค (Punic) ที่แปลว่า ช้าง

พ่อของซีซาร์ชื่อเกเอียส (Gaius Julius Caesar) เป็นผู้ปกครองเอเชีย (Asia) จังหวัดหนึ่งของโรมัน ส่วนแม่ชื่อออเรเลีย ค๊อตต้า (Aurelia Cotta) 

85 BC พ่อของเขาเสียชีวิต ซีซาร์ซึ่งมีอายุย่าง 16 ปี จึงรับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักบวชแห่งจูปีเตอร์ (priest of Jupiter) 

84 BC  ซีซาร์แต่งงานกับคอร์เนเลีย (Cornelia Cinna

คอร์เนเลีย ภรรยาของซีซาร์ นั้นเป็นลูกสาวของลูเซียส ซินน่า (Lucius Cornelius Cinna) ซึ่งเคยเป็นกงศุล (consul) ของโรมันระหว่างปี 87-84 BC ลูเซียส ซินน่า เป็นพันธมิตรกับลูเซียส ซุลล่า (Lucius Cornelius Sullla) ซึ่งเป็นศัตรูกับลุงของซีซาร์ชื่อเกเอียส มาเรียส (Gaius Marius) ,  ซินน่ากับซุลล่า ทำสงครามกับเกเอียส มาเรียส เพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองของโรมัน แต่ฝ่ายซินน่ากับซุลล่า เป็นฝ่ายที่ชนะ

เมื่อซุลล่ามีอำนาจในโรมัน ซีซาร์จึงตัดสินใจเดินทางออกจากโรมเพื่อความปลอดภัย เขาเดินทางไปอยู๋ที่เอเชีย และเข้าเป็นทหารในกองทับของมาร์คัส เธอร์มัส (Marcus Minucius Thermus)

80 BC ซีซาร์ถูกส่งตัวมาเป็นทูตที่บิธูเนีย (Bithynia) เพื่อช่วยจัดตั้งกองทัพเรือของบิธูเนีย ซึ่งทำให้เกิดข่าวลือกันในเวลานั้นว่าซีซาร์และกษัตริย์นิโคเมเดส ที่ 4 (Nicomedes IV of Bithynia) มีความสัมพันธ์กัน และกลายเป็นประเด็นที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของซีซาร์นำมาโจมตีเขาตลอดชีวิตที่เหลือ

78 BC ซุลล่า เสียชีวิต ซีซาร์จึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับโรม โดยได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งในเมืองซุบูร่า (Subura) ซึ่งห่างจากโรมออกไปพอสมควร 

ครั้งหนึ่งระหว่างที่เขากำลังเดินทางข้ามทะเลเอจี้ยน (Aegenan sea) ซีซาร์ถูกโจรสลัดจับตัวไป  โจรสลัดได้เรียกเงินค่าไถ่ตัวเขาเป็นเงินยี่สิบเหรียญเงินทาเล้น (talents) แต่ซีซาร์ได้บอกให้โจรสลัดเรียกค่าไถ่เป็นเงินห้าสิบทาเล้นแทน และเมื่อซีซาร์ได้รับการไถ่ตัว เขาได้นำกองทัพมาไล่จับโจรสลัดเหล่านั้น

ไม่นานหลังจากนั้นซีซาร์ได้รับการเรียกกลับเข้าไปประจำการณ์ในกองทัพ และได้รับเลือกให้เป็นไทรบูน (Tribune) เป็นตำแหน่งทางทหารที่มีการเลือกตั้งปีละครั้ง

76 BC จูเลีย ซีซาริส (Julia Caesaris) ลูกสาวของซีซาร์กับคอร์เนเลีย เกิดมา

69 BC ได้รับเลือกตั้งเป็นเควสเตอร์ (quaestor) ซึ่งดูแลด้านการเงิน 

ป้าจูเลีย (Julia) ของซีซาร์เสียชีวิต ซีซาร์ได้กล่าวคำไว้อาลัย ที่รู้จักกันในชื่อ Laudatio Iuliae amitae (funeral oration for his aunt Julia)

ไม่นานหลังการเสียชีวิตของจูเลีย , คอร์เนเลีย ภรรยาของซีซาร์ก็เสียชีวิตไปในปีเดียวกัน

ช่วงฤดูร้อน, ซีซาร์ออกเดินทางไปยังสเปนทำงานเป็นเควสเตอร์ที่นั่น

67 BC หลังจากกลับจากสเปน เขาได้แต่งงานกับปอมปีอา (Pompeia) หลานสาวของลูเซียส ซุลล่า

63 BC ซีซาร์ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งปอนติเฟกซ์ แม็กซิมัส (Pontifex Maximus) ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้านักบวชของโรมัน

62 BC ปอมปีอาเป็นแม่งานของเทศกาลโบน่าเดีย (Bona Dea~good gooddess) เป็นงานพิธีบูชาเทพีของโรมันซึ่งไม่อนุญาตให้ผู้ชายเข้าชมงาน แต่ว่าภายในงานกับมีพระหนุ่มชื่อพับเบียส พัลเชอร์ (Publius Clodius Pulcher) ปลอมตัวเป็นสตรีเข้าไปในงาน พัลเซอร์ถูกจับตัวได้และถูกนำตัวไปสอบสวนในข้อหาหลบหลู่เทพเจ้า แต่ว่าซีซาร์กลับเห็นว่าเขาไม่มีความผิดและปล่อยตัวไป

แต่ว่าซีซาร์ต่อมาหย่ากับปอมปีอา ด้วยให้เหตุผลว่า “my wife ought not even to be under suspicion (Caesar’s wife must be about suspicion)”

ซีซาร์ได้รับตำแหน่งเปียเตอร์ (praetor) และถูกส่งไปปกครองเสปน ช่วงที่อยู่ในสเปนเขาสามารถกำหลาบชนพื้นเมืองสองกลุ่มได้จนได้รับความชื่นชมและยกย่องในหมู่ทหารของเขาว่าเป็นอิมเพเรเตอร์ (Imperator) ซึ่งเป็นคำยกย่องนายทหารที่มีชัยชนะครั้งสำคัญในสงคราม

60 BC ซีซาร์ลงสมัครชิงตำแหน่งกงศุลสำหรับวาระสมัยปี 59 BC โดยซีซาร์ได้รับชัยชนะร่วมกับมาร์คัส ไบบูลัส (Marcus Bibulus)

ช่วงเวลานี้ซีซาร์ติดหนี้สินคราสซัส (Marcus Licinius Crassus) ได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งคราสซัสนั้นไม่ถูกกับปอมปีย์ (Pompey) แต่ว่าซีซาร์ก็สนิทสนมกับปอมปีย์ ซึซาร์จึงเป็นตัวกลางพยายามที่จะทำให้สองฝ่ายรอมชอมกัน  และจับมือเป็นพันธมิตร เพื่อจะสามารถควบคุมอำนาจการเมืองและธุรกิจของโรมันไว้ได้

ซีซาร์, ปอมปีย์, คราสซัส เป็นพันธมิตรกันครั้งแรกเรียกว่า First Triumvirate (rue of three men)

59 BC จูเลีย ลูกสาวของซีซาร์แต่งงานกับปอมปีย์

ช่วงปลายปี ซีซาร์แต่งงานครั้งที่สามกับคาลเพอร์เนีย (Calpurnia) เธอเป็นลูกสาวของลูเซียส ซีโซนินัส  (Lucuis Calpurnius Piso Caesoninus) ซึ่งเป็นวุฒิสภาและเป็นกงศุลในปี 58 BC

ช่วงที่ซีซาร์ดำรงตำแหน่งกงศุล เขาเสนอให้มีการแจกจ่ายที่ดินให้กับคนยากจน แต่ว่าไบบูลัส ซึ่งเป็นกงศุลอีกคนพร้อมกับซีซาร์นั้นไม่เห็นด้วย แต่ว่าซีซาร์ได้รับการสนับสนุนจากปอมปีย์และทหาร ในที่ประชุมสภาซีเนทไบบูลัสพยายามจะคว่ำร่างกฏหมาย แต่ถูกทหารที่สนับสนุนซีซาร์ทำร้าย จนในที่สุดเขาออกจากที่ประชุมไปและไม่เข้าประชุมสภาซีเนทอีกเลย ทำให้อำนาจในสภากลายเป็นของซีซาร์เพียงลำพัง

ก่อนที่ตำแหน่งกงศุลของซีซาร์จะสิ้นสุดลง เขาได้แต่งตั้งตัวเองเป้นผู้ปกครองคิซัลไฟน์โกล (Cisalpine Gaul) ตอนเหนือของอิตาลี , อิลไลริคัม (Illyricum) ตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป และทรานซัลไฟน์โกล (Transalpine Gaul) ทางใต้ของฝรั่งเศส ทำให้เขามีอำนาจบัญชาการกองทัพในสี่เขตดังกล่าว 

เมื่อซีซาร์พ้นจากตำแหน่งกงศุลเขาจึงรีบเดินทางไปอยู่ในเขตที่เขาปกครอง และเขาได้นำทหารไปปรามปรามชนเผ่าต่างๆ ในแคว้นโกลที่ยังไม่ได้ขึ้นกับโรมัน เกิดเป็นสงครามกาลลิค (Gallic Wars, 58-50 BC) นานหลายปี ซึ่งสุดท้ายซีซาร์ได้รับชัยชนะ ซึ่งพลูตาร์ช (Plutarch) เขียนเล่าเอาไว้ว่ามีทหารและประชาชนที่เสียชีวิตในช่วงสงครามกาลลิคนี้กว่าสามล้านคน

56 BC การประชุมลูคค่า (Lucca Conference) จัดในเมืองลุคค่าทางเหนือของอิตาลี เป็นการประชุมกันของกลุ่มสามคน ปอมปีย์ , คราสซัส และซีซาร์ ซึ่งพูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาของโรมขณะนั้นที่มีความวุ่นว่าย และความสัมพันธ์ของสามคนที่ไม่ค่อยราบรื่น

ที่ประชุมตกลงกันว่าจะให้ปอมปีย์ และคราสซัสสมัครเป็นกงศุลประจำปี 55 BC และจะขยายวาระการปกครองแคว้นโกลของซีซาร์ไปอีกห้าปี 

55 BC ซีซาร์นำกองทัพมายังอังกฤษ แต่เพียงแค่ขึ้นฝังเขาก็ต้องยกทัพกลับเพราะว่าไม่สามารถบุกเข้าไปได้

54 BC เขาบุกอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ซีซาร์สามารถลึกเข้าไปในแผ่นดินของอังกฤษได้มากขึ้น แต่ว่าเมื่อได้ทราบข่าวว่าเกิดความไม่สงบในแคว้นโกลเพราะปัญหาการเก็บเกี่ยวที่ได้น้อย ทำให้ซีซาร์ต้องยกกองทัพกลับ

ระหว่างนี้จูเลียลูกสาวของซีซาร์และภรรยาของปอมปีย์เสียชีวิต ซีซาร์ได้พยายามผูกสัมพันธ์กับปอมปีย์ใหม่โดยเสนอหลานสาวของเขาให้แต่งงานด้วย แต่ว่าปอมปีย์ปฏิเสธ

53 BC คราสซัส เสียชีวิตระหว่างออกไปทำสงคราม ทำให้กลุ่มสามคนสิ้นสุดลง, ปอมปีย์กลายเป็นกงศุลคนเดียวของโรมัน

52 BC เกิดการจราจลใหญ่ในแคว้นโกล นำโดยเวอร์คินเกโตริกซ์ (Vercingetorix) ที่ต้องการรวมดินแดนของชาวโกลเข้าด้วยกัน 

กันยายน, สมรภูมิเอเลเซีย (Battle of Alesia) ซีซาร์สามารถปราบกบฏชาวโกลได้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากมาร์ก แอนโทนี่  (Mark Antony) ไตตัส (Titus Labienus) และทรีโบเนียส (Gaius Trebonius) 

 50 BC ปอมปีย์กล่าวหาซีซาร์ว่าเป็นขายชาติ เขาสั่งให้ซีซาร์กลับมายังโรม และวางมือจากกองทัพ

49 BC ซีซาร์นำทหารหน่วยเล็กๆ เข้ามแม่น้ำลูบิคอน (Rubicon) บริเวณพรหมแดนของอิตาลี เพื่อก่อสงคราม เขาสามารถเอาชนะปอมปีย์และวุฒิสมาชิก วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่พากันหนึตายไปทางใต้ ปอมปีย์หนึไปยังเสปน ซีซาร์ตามไปและปล่อยให้มาร์ค แอนโทนีดูแลอิตาลี

48 BC เมื่อซีซาร์รบชนะปอมปีย์ได้ที่กรีซ และได้เดินทางกลับอิตาลี  เมื่อมาถึงยังโรม ซีซาร์ได้รับแต่งตั้งเป็นดิกเตเตอร์ (Dictator) แต่อยู่ในตำแหน่ง 11 วันเขาลาออก เมื่อได้รับเลือกเป็นกงศุลสมัยที่สอง

ซีซาร์ออกตามล่าปอมปีย์อีกครั้ง โดยตามไปถึงอียิปต์ แต่ว่าเมื่อไปถึงอียิปต์เขากลับได้รับศรีษะและแหวนประจำตัวของปอมปีย์เป็นของกำนัล ทำให้ซีซาร์ถึงกลับหลั่งน้ำตา

คนที่สังหารปอมปีย์เป็นทหารของปโตเลมี ที่ 13 (Ptolemy XIII) ซึ่งกำลังแย่งชิงอำนาจกับคลีโอพัตรา (Cleopatra VII) ด้วยความแค้นที่ปอมปีย์ถูกสังหาร ซีซาร์จึงเลือกอยู่ข้างคลีโอพัตรา 

ช่วงปลายปีซีซาร์ได้รับแต่งตั้งเป็นดิกเตเตอร์อีกครั้ง 

47 BC Battle of the Nile, กองทัพของซีซาร์เอาชนะกองทหารของปโตเลมี ที่ 13 ได้ และซีซาร์ได้แต่งตั้งคลีโอพัตราเป็นผู้ปกครองอียิปต์

ซีซาร์อยู่กลับคลีโอพัฒนาโดยไม่ได้แต่งงาน และมีลูกด้วยกันชื่อซีซาเรียน ( Caesarion)

หลังอยู่ในอียิปต์ช่วงต้นปี ซีซาร์ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลาง และสามารถเอาชนะกษัตริย์แห่งปอนตัส (King of Pontus) ศัตรูเก่าที่ปอมปีย์ไม่สามารถเอาชนะได้ ทำให้ซีซาร์ได้รับการยกย่องว่าเก่งกว่าปอมปีย์

46BC ซีซาร์ประกาศใช้ปฏิทินจูเลี่ยน (Julian calendar) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี 45 BC

ในปีนี้ซีซาร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นดิกเตเตอร์อีกครั้ง แต่ว่าครั้งนี้มีวาระยาวนาน 10 ปี

45 BC 17 มีนาคม, สมรภูมิมันดา (Battle of Munda) เป็นการรบครั้งสุดท้ายของซีซาร์​ บริเวณตอนใต้ของสเปน โดยรบการฝ่ายออฟติเมท (Optimate) กลุ่มทหารของโรมันเองที่สนับสนุนการปกครองโดยสภาซีเนทมากกว่าเผด็จการ ผู้นำของออฟติเมท ได้แก ติตัส (Titus Labienus) เสียชีวิตในการรบครั้งนี้ และเนียส ปอมเปียส (Gnaeus Pompeius) บุตรชายของปอมปีย์ ถูกจับได้และถูกประหารไม่นานหลังพยายามหลบหนี

กันยายน, เดินทางกลับมาถึงโรม และได้ตั้งให้อ๊อตเตเวียส (Gaius Octavius) เหลนของเขาเป็นทายาทหากเขาเป็นอะไรไป 

44 BC ไม่นานก่อนที่ซีซาร์จะเสียชีวิตเขาได้รับแต่งตั้งเป็นดิกเตเตอร์ตลอดชีพ

15 มีนาคม, (Ides of March) มาร์ค แอนโทนี่ ทราบแผนการณ์ว่าจะมีการสังหารซีซาร์ในการประชุมสภาซีเนท เขาจึงรีบเดินทางไปยังสภาเพื่อจะช่วยซีซาร์ แต่ว่าทรีโบเนียส (Trebonius) ได้มาสกัดมาร์ค แอนโทนีได้ระหว่างทางโดยหลอกพาเขาไปยังโรงละครปอมปีย์ (Theater of Pompey) 

เมื่อซีซาร์มาถึงยังสภา ติลเลียส ซิมเบอร์ (Tillius Cimber) ได้เสนอฏีกาต่อซีซาร์ให้เขายกเลิกโทษเนรเทศพี่น้องของเขา  แต่ซีซาร์ปัดฏีกาของซิมเบอร์   ซิมเบอร์จึงใช้มือคว้าชายเสื้อของซีซาร์เอาไว้  และคาสค่า (Casca) ได้เข้ามาและใช้ของแหลมแทงเข้าที่คอของซีซาร์  ซีซาร์ถูกแทง แต่ว่าใช้แขนล๊อคาสซ่าเอาไว้ได้ สภาชิกสภาซีเนทคนอื่นๆ ที่สมรู้ร่วมคิดกันสังหารซีซาร์ อย่าง บรูตัส (Brutus) ต่างกรู่เข้ามาที่ตัวซีซาร์ และใช้มีดแทงที่เขา ซีซาร์โดนแทงไม่น้อยกว่า 23 ครั้ง และมีสมาชิกซีเนทที่ร่วมในการสังหารเขากว่า 60 คน 

นักประวัติศาสตร์อย่างพลูตาร์ช หรือซูโตเนียส (Suetonius) บันทึกเอาไว้ว่าซีซาร์ไม่ได้กล่าวอะไรเป็นประโยคสุดท้าย ซูโตเนียสบอกว่า คำพูดที่ว่า “เจ้าด้วยหรือ,เด็กน้อย ?”  (καὶ σύ, τέκνον ~ And you, Child?) เป็นคำพูดที่คนอื่นใส่ลงไป ในขณะที่ประโยคที่ว่า เจ้าด้วยหรือ, บรูตัส (Et tu, Brute?) เป็นประโยคที่มาจากวรรณกรรมเรื่อง Julius Caesar  ของเชคสเปียร์ (Wiiliam Shakespeare)

ร่างของซีซาร์ถูกทิ้งไว้ในจุดที่เขาเสียชีวิตกว่าสามชั่วโมงก่อนที่เจ้าหน้าที่จะถูกส่งมานำศพออกไป 

19 มีนาคม, ศพของซีซาร์ถูกนำมายังฟอรัทหน้าวิหารวีนัส เจเนทริกซ์ (Temple of Venus Genetrix) เทพวีนัสถือเป็นเทพประจำตระกูลของซีซาร์  และมาร์ก แอนโทนี่ได้กล่าวอ่านพินัยกรรมของซีซาร์ Will of Caesar ที่นี่

แอฟเปี้ยน (Appian) นักประวัติศาสตร์โบราณ บอกว่าต่อมาศพของซีซาร์ถูกนำมาเผายังฟอรั่มบริเวณวิหารรีเกีย (Regia) รีเกียนี้เป็นสถานที่ที่ซีซาร์ใช้ทำงานระหว่างที่ดำรงค์ตำแหน่งปอนติเฟกซ์ แม็กซิมัส 

42 BC ในสมัยของจักรพรรดิออกัสตัส (อ๊อตเตเวียส) สภาซีเนทได้ยกย่องซีซาร์เป็นเทพเจ้า และออกัสตัสได้ดำริให้มีการก่อสร้างวิหารสำหรับซีซาร์

29 BC 18 สิงหาคม, ได้มีการพิธีเปิดวิหารแห่งซีซาร์ (Temple of Caesar, Temple of Comet Star) ซึ่งได้นำเอาอัษฐิของซีซาร์มาเก็บไว้

ในวันที่ซีซาร์เสียชีวิตนั้น ในกรุงโรมสามารถมองเห็นดาวหางได้ด้วยตาเปล่านานถึงเจ็ดวัน ชาวโรมันเชื่อว่าเป็นดวงวิญญาณของซีซาร์ ดาวหางดวงนี้ถูกเรียกว่า Comet Caesar 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!