Numquam prohibere somniantes
Judea Pearl
Judea Pearl

Judea Pearl

จูเดีย เพิร์ล (Judea Pearl)
Turing Award 2011, ผู้เขียน Probabilistic Reasoning in Intelligent Systems
จูเดีย เกิดวันที่ 4 กันยายน 1936 ในเทล อาวีฟ, ปาเลสไตน์ (Tel Aviv, Mandatory Palestine)  เขาใช้ชีวิตวัยเด็กเติบโตขึ้นมาในเมืองเน บรัค (Bnei Brak) 
1956 หลังจากปลดประจำการณ์จากกองทัพอิสราเอล เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของนารวม (Kibbut) และเข้าเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่สถาบันเทคโนโลยีอิสราเอล (Technion) ซึ่งที่สถาบันแห่งนี้จูเดียได้รู้จักกับรูท (Ruth) ซึ่งกลายมาเป็นภรรยาในอนาคตของเขา
ภายหลังจูเดียและรูทมีลูกด้วยกันสามคน คือ ทามาร่า (Tamara), มิเชล (Michelle), แดเนียล (Daniel)
1960 จบปริญญาตรี  หลังจากนั้นเขาก็ได้อพยพมาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา
1961 จบปริญญาโทด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากเนวาร์กคอลเลจ (Newark College) และปริญญาโทฟิสิกจากมหาวิทยาลัยรูตเจอร์ส (Rutgers University) ซึ่งเขาเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง Vortex Theory of Superconductive Memories
1965 จบปริญญาเอกวิศวกรรมไฟ้าจากแทนดอน (New York University Tandon School of Engineering)  หลังจากนั้นได้เข้าทำงานกับบริษัท RCA บริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าของสหรัฐฯ 
1970 มาสอนหนังสือที่ ม.แคลิฟอร์เนีย (UCLA)
1976 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์
1978 ก่อตั้งห้องทดลองทางด้านระบบความนึกคิด (laboratory for cognitive systems) 
1984 เขียน Heuristics: Intelligent Search Strategies for Computer Problem Solving
1988 เขียน Probabilistic Reasoning in Intelligent Systems : Networks of Plausible Inference
2000 เขียน Causality : Models, Reasoning and Inference
2002 แดเนียล (Daniel Pearl)  ลูกชายของเขาซึ่งเป็นนักข่าวของ Wall Street Journal  เสียชีวิตในปากีสถานเพราะถูกกลุ่มติดอาวุธลักพาตัวไปก่อนที่จะสังหาร
หลังแดเนียลเสียชีวิต จูเดียจึงได้ก่อตั้งมูลนิธิ Daneil Pearl Foundation (www.dannielpearl.org)
2003 ได้รับรางวัล Allen Newell
2004 จูเดียและรูท ร่วมกันเขียนหนังสือ I Am Jewish : Personal Reflections Inspired by the Last Words of Daniel Pearl ซึ่งหนังสือได้รับรางวัล National Jewish Book Award 
2008 ได้รรับรางวัล Benjamin Franklin 

2011 ได้รับรางวัล ACM Turing Award จากงาพัฒนาแคลคูลัสสำหรับความน่าจะเป็นและเหตุผล (development of calculus to conduct probabilistic and causal reasoning) ที่นำมาใช้กับปัญญาประดิษฐ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!