Numquam prohibere somniantes
Joseph Stalin
Joseph Stalin

Joseph Stalin

https://youtu.be/CpwaCX_D1uU

โจเซฟ สตาลิน (Иосиф Виссарионович Сталин)

สตาลิน มีชื่อจริงว่า ไอโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช (Iosif Vissarionovich) หรือในภาษาจอร์เจียว่าไอโอเซฟ จูกัชวิลลิ (Ioseb “Soso” Jugashvili, იოსებ ჯუღაშვილი) เขาเกิดในวันที่ 18 ธันวาคม (6 ธันวาคม O.S.) 1878 ในเมืองกอริ, จอร์เจีย (Gori, Georgia) ในเขตปกครองทิฟลิส (Tiflis Governoorate) จักรวรรดิรัสเซียในขณะนั้น

สตาลินเกิดในปี 1878 แต่ว่าเอกสารทางการของสหภาพโซเวียตหลังจากสตาลินมีอำนาจแล้ว แม้แต่สารานุกรมก็จะระบุว่าสตาลินเกิดในปี 1879 โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมถึงทำอย่างนั้น 

  พ่อของเขาชื่อเบซาเรียน (Besarion Jughashvili, c.1850-1909) และแม่ชื่อเยแคทเธอริน่า เจแล๊ดเซ่ (Ekaterine Geladze, b.1856) เธอมาจากครอบครัวของทาส แต่เมื่อมีการเลิกทาสในปี 1864 ครอบครัวของเธอก็ย้ายมาอยู่ในเมืองกอริ จนกระทั้งเธออายุ 18 ปี ก็ได้แต่งงานกับเบซาเรียน

ครอบครัวของสตาลินมีฐานะยากจน เบซาเรียนนั้นเป็นช่างทำรองเท้า เขาติดสุรา และชอบทำร้ายทุบตีภรรยาและลูกๆ  ส่วนแคทเธอรีนทำงานรับจ้างรายวัน แคทเธอรีนนั้นรักลูกของเธอมากจนเป็นที่กล่าวถึง เธอนั้นมีความปรารถนาให้สตาลินเป็นนักบวช

สตาลินนั้นเป็นลูกคนที่สามของครอบครัว แต่ว่าพี่สองคนแรกเสียชีวิตตั้งแต่วัยทารก

1883 แคทเธอรีนได้พาสตาลินแยกออกมาจากบ้านของสามี ไปใข้ชีวิตตามยถาากรรม โดยอาศัยเช่าบ้านอยู่ในหลายแห่ง

1885 ตอนอายุ 6 ขวบ เขาถูกรถยนต์ (Phaeton) ชนจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้แขนด้านซ้ายของสตาลินไม่สามารถยืดได้ได้อย่างเต็มที่ มาตั้งแต่นั้น และแขนซ้ายจะดูสั้นกว่าแขนขวา นอกจากนั้นนิ้วเท้าด้านซ้าย นิ้วที่สองและสามก็พันกัน ซึ่งเกิดจากเคยป่วยเป็นรูมาตอย์ด (rheumatoid arthritis) 

นอกจากนี้ช่วงตอนอายั 5-6 ขวบ สตาลินยังป่วยด้วยโรคฝีดาษ (smallpox) ซึ่งหลังจากหายดีแล้วยังมีร่องรอยของหลุดแผลปรากฏบนใบหน้าของเขา 

1885 สตาลินได้พยายามสอบเข้าเรียนที่โรงเรียนศาสนาโกริ (Gori Orthodox theological schol) ตามความต้องการของมารดา แต่เพราะว่าสตาลินพูดภาษารัสเซียไม่ได้ทำให้เขาสอบไม่ผ่านในครั้งแรก  

1886 แคทเธอรีนและสตาลินเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านของบาทหลวงคริสโตเฟอร์ (Christopher Charkviani) ซึ่งแคทเธอรีนเป้นเพื่อนกับลูกของบาทหลวง โดยที่เธอทำงานเป็นคนรับใช้ภายในบ้านเพื่อเป็นการตอบแทน สตาลินจึงใช้เวลาในช่วงนี้ฝึกเรียนภาษารัสเซียไปด้วย

1888 สตาลินสอบเข้าเรียนที่โรงเรียนศาสนาโกริได้สำเร็จ 

1894 จบจากโรงเรียนศาสนาโกริ หลังจากนั้นได้สมัครเข้าเรยนที่โรงเรียนศาสนาทิฟลิส (Tifilis theological Seminary) ซึ่งระหว่างเรียนที่นี่ทำให้สตาลินได้สนใจเกี่ยวกับแนวคิดแบบมาร์กซิส (Marxism)

ด้านการเรียนนั้น สตาลินเป็นคนที่เรียนหนังสือเก่งมากในหลายวิชา ทั้งคณิตศาตร์, รัสเซียและกรีก สตาลินสามารถอ่านผลงานเขียนของพลาโต้ (Plato) จากต้นฉบับได้ด้วย เขายังชอบเขียนบทกวีในภาษาจอร์เจียด้วย

1895 สตาลินมีการติดต่อกับกลุ่มลัทธิมาร์กซ์รัสเซียซึ่งเคลื่อนไหวใต้ดินเพื่อการปฏิวัติ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในทรานคอเคซัส (Transcaucasia) 

สตาลินเคยให้สัมภาษณ์ในภายหลังถึงสาเหตุที่เขาหันมาสนใจลัทธิมาร์กซิสต์นั้นเป็นเพราะว่าไม่ชอบระบบที่เข้มงวดแบบเจซูต (Jesuits) ของโรงเรียน ทำให้เกิดการประท้วง 

1898 สตาลินเข้าไปสอนแนวคิดมาร์กซิสต์ให้กับเยาวชนซึ่งเป็นแรงงานในการก่อสร้างรางรถไฟในพื้นที่ 

1898 เข้ารวมกับพรรค Mesame-Dasi (“The Third Group) ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยพรรคแรกในจอร์เจีย ซึ่งคนที่เข้าเป็นสมาชิกพรรคนี้ยังมี ลาโด เค็ตชโคเวลิ (Lado Ketskhoveli) นักเขียนซึ่งเป็นเพื่อนกับสตาลินและเป็นคนแรกๆ ที่แนะนำให้สตาลินศึกษางานเขียนมาร์กซิสต์  อเล็กซานเดอ ทสุลุคิดเซ่ (Alexander Tsulukidze) เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มาจากครอบครัวร่ำรวย ตระกูลเก่าแก่ของจอร์เจีย

1899 พรรค Mesame-Dasi ร่วมกันจัดให้มีการประท้วงหยุดงานของแรงงานในหลายเมืองในจอร์เจีย ทั้งทบิลิซี, บาตุมิ 

29 พฤษภาคม, สตาลินถูกไล่ออกจากโรงเรียนศาสนาทิฟลิส  หลังจากที่เขาไม่ได้เข้าไปสอบโดยที่ไม่ยอมอธิบายเหตุผล  อย่างไรก็ตามสตาลินได้รับประกาศนียบัตรจากโรงเรียนว่าเขาจบชั้นสี่และสามารถเป็นครูในโรงเรียนประถมได้ 

ธันวาคม, สตาลินได้เข้าทำงานที่ศูนย์สังเกตุการณ์ดาราศาสตร์ในทิฟลิส (Tiflis Physical Observatory) ซึ่งที่นี่ลาโด เค็ตชโคเวลิ เพื่อนของเขาได้ทำงานอยู่ก่อนแล้ว 

1900 เมษายน, สตาลิน พร้อมด้วย อิวาน สตูเรีย (Ivan Fedorovich Styria, “Vano”)  และซาโกร (Zakro Chodrishvili) ได้เป็นแกนนำในการจัดการชุมนุมเดินขบวนประท้วงพร้อมกับแรงงานหลายร้อยคน 

สิงหาคน, แรงงานสี่ถึงห้าพันคนในทิปลิสนัดหยุดงานประท้วง ซึ่งทำให้รัฐบาลจอร์เจียใช้กำลังเข้าปราบปราม และจับกุมผู้ประท้วงไปหลายร้อนคน 

1901 21 มีนาคม, ตำรวจบุกคูนย์ศึกษาดาราศาสตร์ทิฟลิสซึ่งเป็นที่พักและที่ทำงานของสตาลิน แต่ว่าเขาสามารถหลบหนีไปได้

กันยายน, สตาลินมาทำงานให้กับสำนักพิมพ์นิน่า (Nina printing house) ในบากู (Baku)  ซึ่งทำหนังสือพิมพ์ใต้ดิน  Brdzola(“Wrestling”) บริหารงานโดยลาโด เค็ตชโคเวลิ และลีโอนิด กราซิน (Leonid Krasin) ซึ่งสตาลินมีการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ Brdzola นี้ด้วย

พฤศจิกายน, สตาลินได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมธิการพรรค RSDLP (Russian Social Democratic Labour Party)สาขาทิฟลิส ซึ่งหลังจากได้ตำแหน่ง สตาลินก็ถูกส่งไปยังเมืองบาตุมิ (Batumi) เพื่อตั้งพรรค Koba

1903 เมื่อเกิดความแตกแยกภายในพรรค RSDLP เป็นบอลเชวิค (Bolsheviks) และเมนเชวิค (Mensheviks) สตาลินก็เลือกที่จะอยู่ข้างฝ่ายบอลเชวิค

1904 ธันวาคม, สตาลินจัดให้มีการประท้วงของแรงงานครั้งใหญ่ในบากู ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งแรกของแรงงานในรัสเซีย ซึ่งจบลงด้วยการทำข้อตกลงเรื่องสวัสดิการและสวัสดิภาพของแรงงานกับกลุ่มนายทุนเจ้าของบ่อน้ำมัน 

1905 ธันวาคม สตาลินได้มีโอกาสพบกับเลนิน (Vladimir Lenin) ครั้งแรก ในการประชุมพรรค RSDLP ครั้งที่แรก ซึ่งจัดขึ้นในตัมเปเร (Tampere ในประเทศฟินแลนด์ปัจจุบัน แต่ในเวลานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย)

1906 พฤษภาคม, สตาลินเป็นตัวแทนพรรคจากสาขาจอร์เจียเข้าร่วมประชุมใหญ่พรรค RSDLP ในมอสโคว์ 

16 กรกฏาคม, สตาลินแต่งงานกับ แคทเธอริน่า สวานิดเซ่ (Ekaterina Svanidze,”Kato”) ซึ่งพวกเขามีลูกชายด้วยกันชื่อยาคอฟ (Yakov Dzhugashvili, b.31.03.1907)

1907 พฤษภาคม, เข้าร่วมการประชุมกพรรค RSDLP ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นในลอนดอน

26 มิถุนายน, (Tiflis bank robbery) ฝ่ายบอลเชวิคทำการปล้นธนาคารกบางในเมืองทิฟลิส เพื่อหาเงินสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพรรค ซึ่งแผนการนี้วางแผนโดยเลนิน, สตาลิน, กราซิน และแกนนำของบอลเชวิค ซึ่งได้เงินไปกว่า 241,000 รูเบิ้ล และมีผู้เสียชีวิต 40 คน

22 พฤศจิกายน, แคทเธอริน่า ภรรยาของสตาลินเสียชีวิตจากไข้รากสาด (typhus)

1909 พ่อของสตาลินเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตไม่แน่ชัด บางข้อมูลบอกว่าเขาเสียชีวิตจากวัณโรคที่โรงพยาบาล บ้างบอกว่าเขากินเหล้าเมาและเกิดการทะเลาะวิวาทจนถูกแทงเสียชีวิต 

กุมภาพันธ์ เลนินหนีไปอยู่ในมอสโคว์ จนถึงเดือนมิถุนายน

1910 มีนาคม, สตาลินถูกจับ เขาถูกนำคุมขังเอาไว้ในเรือนจำที่บาตูมินานหกเดือนก่อนที่จะถูกเนรเทศไปขังที่โซลวิเชก๊อดส์ก (Solvychegodsk)

ซึ่งระหว่างอยู่ที่โซลวิเชก๊อดส์กนี้ นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่า สตาลินมีลูกชายนอกกฏหมายชื่อ คอนสแตนติน คุซากอฟ (Konstantin Kuzakov) ระหว่างนี้ด้วย แต่ว่าสตาลินหนีออกตากเมืองก่อนที่ลูกชายจะถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งคุซากอฟนั้นต่อมาเป็นนักข่าวในโทรท้ัศน์ของสหภาพโซเวียต และเขาก็อ้างว่าตัวเองเป็นลูกของสตาลิน ในขณะที่มารดาของคุซากอฟ คือ มาเรีย คุซาโกว่า (Maria Kuzakova

29 ตุลาคม, หนีไปอยู่มอสโคว์อีกครั้ง

1911 แอบเดินทางกลับเข้าไปในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยใช้พาสปอร์ตของเพื่อนของเขา แต่ว่าไม่นานก็ถูกทางการจับตัวได้ และเนรเทศไปยังโวล๊อกด้า (Vologda)

1912 คณะกรรมการกลางพรรค RSDLP ได้เลือกสตาลินขึ้นเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลางพรรค ซึ่งในระหว่งนี้เขาก็เริ่มใช้ชื่อ “Stalin” แทนตัวเอง

เมษายน, สตาลินถูกตำรวจจับและถูกเนรเทศไปยังไซบีเรีย ซึ่งครั้งนี้เป็นที่เมืองทอมส์ก (Tomsk) ซึ่งที่นี้เขาพบกับสมาชิกพรรคหลายคนที่ถูกเนรเทศมาก่อนหน้าเขาแล้วอย่าง Smirnov, Sverdlov

กันยายน, สตาลินหลบหนีออกจากเมืองทอมส์ก และมุ่งหน้าไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อพบกับเลนิน

1913 มีนาคม, ถูกจับอีกครั้งหนึ่ง 

1917 มีนาคม, หลังการปฏิวัติกุมภาพันธ์ (February revolution) ซึ่งระบอปกษัตริย์สิ้นสุดลงในรัซเวีย สตาลินก็พ้นผิดและสามารถกลับเข้ามายังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ โดยเขาได้มาเป็นกองบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ปราพด้า (Pravda) ของพรรคด้วย

ในช่วงแรกหลังการปฏิวัติ สตาลินยังคงให้การสนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกาล จนกระทั้งเลนินเดินทางกลับมาในเดินเมษายน และได้นำเสนอ “April Thesis”  ซึ่งเลนินเรียกร้องให้ล้มรัฐบาลเฉพาะกาล สตาลินก็เปลี่ยนมาสนับสนุนเลนิน

24-29 เมษายน, ระหว่างการประชุมใหญ่พรรค RSDLP ครั้งที่ 7 สตาลินได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมาธิการกลางของพรรค 

16-19 กรกฏาคม, (July Days) ฝ่ายบอลเชวิคพยายามทำการปฏิวัติโค่นรัฐบาลเฉพาะการของจอร์จี ลวอฟ (Georgy Lvov) โดยสามารถปลุกระดมมวลชนได้กว่า 5 แสนคน  แต่ว่าปฏิบัติการครั้งหนี้ล้มเหลว

16 ตุลาคม, สตาลินได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการทหารเพื่อการปฏิวัติ (Petrograd Military Revolutionary Committee) ที่บอลเชวิคตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบด้านกองกำลังที่เตรียมไว้สำหรับการปฏิวัติ ซึ่งคณะกรรมาธิการยังประกอบไปด้วย เลนิน, เฟริกซ์ ดเซอร์ซินสกี้ (Felix Dzerzhinsky), ยาคอฟ ซเวิร์ดลอฟ (Yakov Sverdlov), แอนเดรย์ บับนอฟ (Andrei Bubnov), ปาเวล ลาซิมีร์ (Pavel Lazimir) เป็นต้น  แต่มีสองสมาชิกพรรคสำคัญอย่าง เคเมเนฟ (L. D. Kamenev) และ กริกอรี่ ซิโนเวียฟ (Grigory E. Zinoviev) ที่โหวตคัดค้าการทำการปฏิวัติ 

25 ตุลาคม (7 พฤศจิกายน​ N.S.) , (October Revolution) บอลเชวิคก่อการปฏิวัติล้มรัฐบาลเฉพาะกาลลงได้สำเร็จ 

1918 แต่งงานกับนาเดซด้า อลิลูเยว่า (Nadezhda Alliluyeva)  ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกันสองคน คือ วาสิลี (Vasily Stalin, b.1921) และ สเว็ตลาน่า (Svetalana Alliluyeva, b.1926)

ตุลาคม, ได้เป็นสมาชิกสภากลาโหมเพื่อการปฏิวัติ (Revolutionary military Council of the RSFSR)

1921 ป่วยด้วยโรคติดเชื้อ (appendix) ทำให้สตาลินเข้ารับการรักษากับหมดวลาดิมีร์ โรซานอฟ (Vladimir Rozanov)

1922 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสุพรีมโซเวียต (Supreme Soviet)  และโพลิตบุโร (Politburo) ของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต  และเลขานุการทั่วไปของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ (General Secretary of the Central Committee of the CPSU) ซึ่งทำให้เขาเป็นเสมือนกับผู้นำประเทศอย่างเป็นทางการ แต่ว่าในทางปฏิบัติแล้วยังเป็นรองให้กับเลนิน

แต่ในช่วงเวลานี้เลนินล้มป่วยและใกล้จะเสียชีวิต  ช่วงเวลานี้สตาลิน ก็มีความขัดแย้งกับทร็อตสกี้ ซึ่งฝ่ายสตาลินได้ตั้งกลุ่มทรอยก้า (Troika) ขึ้นมา ประกอบด้วยตัวของสตาลิน, กริกอรี่ ซิโนเวียฟ และเคเมเนฟ 

1923 สัปดาห์แรกของปี, (Lenin’s Testament) เลนินเขียนพินัยกรรมขึ้นมาฉบับหนึ่ง โดยต้องการจะลดความขัดแย้งภายในพรรคระหว่างฝ่ายทร็อตสกี้กับสตาลิน และสงสัญญาณให้พรรคปลดสตาลินออกจากตำแหน่ง แต่ว่านาเดซด้า ครุปสกาย่า (Nadezhda Krupskaya) ภรรยาของเลนิน เก็บเอกสารนั้นไว้กับตัวไม่ได้ส่งให้พรรคทันทีเพราะหวังว่าเลนินจะอาการดีขึ้น แต่เอกสารถูกเปิดเผยในวงจำกัดหลังจากสตาลินเสียชีวิตในปี 1924 ทำให้ทำอะไรสตาลินไม่ได้

1924 23-31 มีนาคม, การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 13 (13th Congress of the Communist Party) เป็นการประชุมพรรคครั้งแรก หลังเลนินเสียชีวิต ซึ่งการประชุมครั้งนี้ สตาลินสามารถครองอำนาจภายพรรคได้สัมบูรณ์ และทร็อตสกี้ ต้องหลุดจากตำแหน่งต่างๆ  แต่กลุ่มทร็อยก้าของสตาลินก็แตกด้ว้ย 

1927 7 พฤศจิกายน, (Trotskyist demonstration) ในการเฉลิมฉลองครบรอบทศวรรษการปฏิวัติตุลาคม ฝ่ายต่อต้านสตาลิน นำโดยทร็อตสกี้ และซิโนเวียฟ ก็ได้ถููกขับไล่ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์ 

1928 grain procurement crisis, ปีนี้สหภาพโซเวียตเกิดวิฤตการจัดหาเมล็ดพันธ์พืช ทั้งข้าวสาลี, ไรซ์ และพืชผักอีกหลากหลายชนิด ทำให้เกิดการประท้วงของเกษตรกรอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ 

พฤษภาคม, Shakhty Trial

นโยบาย NEP (New Economy Policy) ของเลนิน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ 1921 แสดงความล้มเหลว เพราะอัตราการว่างงานยังคงสูง และไม่สามารถขจัดควมมเหลื่อมล้ำได้จริง ทำให้กลุ่มแรงงานและนักศึกษาไม่พอใจ สตาลินจึงได้ใช้โอกาสนี้ในลดความสำคัญของ NEP  ลง ซึ่งทำให้เขาได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น 

Five Year Plan, สตาลินประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ แทน NEP ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี นี้จะเร่งก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรรม 1.5 พันแห่ง ทำให้มีการอพยพประชากรขนานใหญ่ภายในประเทศกว่า 23 ล้านคน ในช่วง 1928-1940 เข้ามาอย่างเมืองใหญ่ เพื่อทำงานในโรงงาน

1929 Great Turn , สตาลินประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่ ตามแผ่น 5 ปี ซึ่งเน้นอุตสหกรรมหนัก ส่วนในด้านเกษตรกรรมนั้นได้บังคับยกเลิกเกษตรแปลงเล็กๆ และเปลี่ยนไปทำเกษตรแปลงรวมขนาดใหญ่ที่ (collectivization of agriculture) มีการใช้เครื่องจักรทันสมัย นโยบายการทำเกษตรแปลงรวมนี้ตามมาด้วยการยึดที่ดินของเกษตรกร (dekulakization)  )ที่มีฐานะหน่อย ที่เรียกว่าคูลัค (kulak) นอกจากนั้นประชาชนเกือบสองล้านคนถูกบังคับย้ายถิ่นฐานเพื่อให้เข้าไปทำงานในแปลงเกษตรที่รัฐบาลเตรียมเอาไว้ 

นโยบาย Great Turn นี้ก่อให้เกิดความปั่นป่วนไปทั่วประเทศ มีการประท้วงในทั่วประเทศจนเกือบเกิดสงครามภายในประเทสอีกรอบ

1930 2 มีนาคม, สตาลิน ตีพิมพ์บทความ Dizzy with Success ลงในหนังสือพิมพ์ปราพด้า คล้ายจะเป็นการขอโทษหรือแก้ตัวให้กับนโยบายการทำเกษตรแปลงรวม ซึ่งเขาบอกว่าเจ้าหน้าที่รัฐอาจจะเร่งรีบจนมันเกินพอดีไป

1932 Ryutin affair

(Soviet Famine, 1932-1933) สหภาพโซเวียตเผชิญกับวิกฤตการขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้ประชาชนหลายล้านเสียชีวิตเพราะขาดอาหาร ซึ่งตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่แน่ชัด แต่อยู่ระหว่ง 4-10 ล้านคน 

1933 สตาลินประกาศความสำเร็จกับ แผน 5 ปี ฉบับแรก ซึ่งเขาบอกว่าแผนบรรลุเป้าหมายภายในเวลา 4 ปี 3 เดือน ซึ่งทำให้สหภาพโซเวียตมีโรงงานเพิ่มกว่า 1,500 แห่ง ซึ่งข้อมูลทางการของโซเวียต จาก Central Statistical Administration (TsSU) บอกว่าผลิตภัณฑ์มูลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) มีการขยายตัวในอัตราเฉลี่ย 14% ในช่วงแผนห้าปีฉบับแรก ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นช่วงมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของโซเวียน (Soviet Economic Miracle) แต่ว่าการประเมินภายหลังคาดว่าอัตราเจริญเติบโตที่แท้จริงน่าจะแค่ 3-5% เท่านั้น

1936 5 ธันวาคม, (Constitution of the Soviet Union) มีการประใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ ซึ่งบางที่ถูกเรียกว่ารัฐธรรมนูญสตาลิน (Stalin Constitution) ซึ่งใช้แทนฉบับปี 1924 ซึ่งรัฐธรรมนูญสตาลินนี้ รับรอสิทธิความเท่าเทียมกันของประชาชนเป็นครั้งแรก ให้สิทธิในการเลือกงาน และการเลือกเรียนหนังสือ สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และสิทธิในการแสดงความคิดเห็น 

1937 The Great Purge, สตาลินเริ่มการกวาดล้างศัตรูทางการเมืองครั้งใหญ่ ซึ่งประมาณว่ามีผู้ที่ถูกลงโทษประหารชีวิต ประมาณ 950,000 – 1.2 ล้านคน ในช่วงปี 1936-1938

1939 23 สิงหาคม, (Molotov-Ribbentrop Pact) สหภาพโซเวียตและเยอรมันทำข้อตกลงที่จะไม่เผชิญหน้าระหว่างกัน ซึ่งข้อตกลงนี้ทำในระหว่างที่สหภาพโซเวียตกำลังรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เยอรมันนั้นเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ข้อตกลงนี้ทำขึ้นเพื่อให้เยอรมันไม่เข้ามายุ่งในสงครามของอีกฝ่ายหนึ่ง 

1 กันยายน, เยอรมันบุกโปแลนด์ ทำให้เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2

17 กันยายน, สหภาพโซเวียตบุกโปแลนด์ 

30 พฤศจิกายน, (Winter War, 1939-1940) สหภาพโซเวียตบุกฟินแลนด์

ธันวาคม, สหภาพโซเวียตถูกไล่ออกจากองค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) จากการที่บุกฟินแลนด์ ซึ่งเป็นชาติสมาชิก

1940 12 มีนาคม, (Moscow Peace Treaty) สงครามระหว่างโซเวียตและฟินแลนด์ยุติลงในเวลาไม่กี่เดือน สนธิสัญญานี้ฟินแลนด์ได้ยอมเสียดินแดนบางส่วนให้กับโซเวียต ส่วนสหภาพโซเวียตแม้จะมีกองทัพขนาดใหญ่แต่ก็สูญเสียทหารไปจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเป็นการเปิดเผยให้เห็นความอ่อนแอของกองทัพสหภาพโซเวียต ทำให้เยอรมันตัดสินใจบุกสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา

เมษายน, (Katyn massacre) หน่วย NKVD ของโซเวียต โดยเบเรีย (Lavrentiy Beria) ได้รับอนุญาตจากสตาลิน ให้สังหารหมู่เชลยสงครามชาวโปแลนด์ สองหมื่นกว่านาย ถึงส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งโซเวียตจับกุมตัวไว้ตั้งแต่ตอนบุกโปแลนด์ 

รัฐอลติก ได้แก่ เอสตัวเนีย, แลตเวีย, และลิธัวเนีย ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียต รวมถึงดินแดนเบสซาราเบีย (Bessarabia ในมอลโดว่าปัจจุบัน) และ บุโกวิน่าเหนือ (Northern 

Bukovina ในยูเครนและโรมาเนียปัจจุบัน) ก็ถูกผนวกเข้ามาด้วย 

1941 22 มิถุนายน, เยอรมันบุกสหภาพโซเวียต 

1943 ยกเลิกองค์การโคมินเทิร์น (The  Comintern)

พฤศจิกายน, Tehran conference สตาลินเข้าร่วมในการประชุมที่กรุงเตหะราน อิหร่าน  ร่วมกับประธานาธิบดีรูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ของสหรัฐฯ และนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล (Winston Chruchill) ของอังกฤษ 

1945 กุมภาพันธ์, (Yelta conference) 

กรกฏาคม, (Potsdam Conference) ซึ่งในการประชุมนี้ทรูแมน (Harry Truman) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้บอกเป็นนัยให้กับสตาลินรู้ว่า สหรัฐฯ กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งอ้ันที่จริงสตาลินรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว 

สิงหาคม, โซเวียตเริ่มโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยเบเรียเป็นประธาน และอิกอร์ เคอชาตอฟ (Igor Kurchatov) นักวิทยาศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ 

1946 (famine 1946-1947) เกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารครั้งรุนแรงในโซเวียตอีกครั้งหนึ่งจากปัญหาภัยแล้ง 

1947 (Monetary reform) มีการปรับปรุงระบบเงินของโซเวียต ครั้งใหญ่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าในช่วงสงคราม นาซีเยอรมันได้พิมพ์ธนบัตรโซเวียตปลอมออกมาจำนวนมาก

1949 29 สิงหาคม, สหภาพโซเวียตทดสอบอาวุธนิวเคลียร์  RDS-1 (สหรัฐฯ เรียกว่า Joe-1 )

1953 1 มีนาคม, การ์ดของสตาลินพบเขานอนหมดสติอยู่ ภายในบ้านคันซีโว่ (Kuntsevo Decha) ซึ่งสตาลินใช้พำนักมาตั้งแต่หลังสงครามโลก 

5 มีนาคม, เสียชีวิต จากอาการเลือดออกในสมอง

ร่างของสตาลินถูกดองและนำไปไว้ที่สุสานเลนิน (Lenin mausoleum) ร่วมกับร่างของเลนิน 

1961 30 ตุลาคม, ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 22 ได้ลงมติว่าสตาลินได้ทำการหลายอย่างที่ขัดต่ออุดมการณ์ของเลนิน

1 พฤศจิกายน, ร่างของสตาลินถูกนำออกจากสุสานเลนิน และนำไปฝังที่ข้างกำแพงเบอร์ลิน 

ผลงานเขียน

  1. Foundations of Leninism, 1924
  2. Questions of Leninism, 1927
  3. Marxism and the National Question
  4. Anarchism or Socialism ?
  5. The Tasks of the Youth, 1940
  6. Economic Problems of Socialism in the U.S.S.R
  7. Marxism and Problems of Linquistics
  8. History of the Communist Party of the Soviet Union 
  9. Lenin
  10. On the Opposition

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!