Joint All-Domain Command and Control (JADC2),
JADC2 คืออะไร
JAPC2 เป็นแนวความคิดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Department of Defense) ที่จะสร้างระบบซึ่งรวมเอาสัญญาณ เซ็นเซอร์ต่างๆ ของกองทัพทั้งหมด ทั้ง กองทัพอากาศ, กองทัพบก, มารีน, กองทัพเรือ, และกองทัพอวกาศ เข้าเป็นเครือข่ายเดียว หรือเรียกว่าเป็นอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งของกองทัพ (internet of militar things)
ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบของกองทัพแต่ละส่วนมีการพัฒนาในแบบต่างคนต่างทำ ทำให้เกิดปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของระบบ แตว่ากระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ประเมินว่าสงครามในอนาคตมีความต้องการการตัดสินใจในเวลาที่รวดเร็มา อาจจะเป็นเวลาแค่ชั่วโมง, นาที, หรือวินาที ซึ่งระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะรองรับกับสถานะการณ์ในอนาคตได้
JADC2 ถูกวางไว้ว่าเป็นระบบที่ทำงานคล้ายกับระบบเคลาด์ (cloud-like environment) เพื่อที่กองทัพต่างๆ จะได้แชร์ข้อมูลสำคัญ อย่างข้อมูลสอดแนม, ข้อมูลสังเกตุการณ์ ร่วมกันผ่านเครื่อข่ายสื่อสารหลายเครือข่าย เพื่อที่จะทำให้กระบวนการตัดสินใจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด โดยระบบยังจะช่วยให้การแนะนำหรือกำหนดแผนการณ์และเป้าหมายที่จะตอบโด้อย่างเหมาะสมไปพร้อมกัน
ความแตกต่างของ JADC2 กับ A2/AD (Anti Access/Area denial)
ความแตกต่างชัดเจนอย่างหนึ่งตามความต้องการของกระทรวงกลาโหม คือ ต้องการระบบทำงานได้รวดเร็วและมีข้อมูลครอบคลุมมากที่สุด กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เห็นว่าระบบอย่าง Air and Space Operation Centers, E-8C Joint Surveillance หรือ E-3 Airborne Warning and Control System นั้นยังทำงานได้ไม่รวดเร็วเพียวพอ
สถาปัตยกรรมของ JADCS2 ที่สหรัฐฯ ต้องการนั้นจะต้องประกอบไปด้วย 4 หลักการณ์คือ
1. ช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
2. สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าระบบของฝ่ายตรงข้าม
3. ระบบมีความเชื่อมโยงกันถึงทุกกองกำลังของกองทัพ (all domains)
การพัฒนา JADC2 ในขณะนี้
กองทัพอากาศ มีการพัฒนาระบบ ABMS (Advanced Battle Managment System) ซึ่งจะเป็นเครือข่ายที่ส่งข้อมูลให้กับ JADC2
กองทัพบก มีการทดสอบ Project Convergence ซึ่งเป็นการทดลองภาคสนาม เพื่อทดลองส่งข้อมูลให้กับ JADC2
กองทัพเรือ ในเดือนตุลาคม 2020 กองทัพเรือสหรัฐฯ มีการทดสอบ Project Overmatch ซึ่งวางแผนว่าจะมีการเชื่อมกับ JADC2 ในอนาคต
2019 ธันวาคม, ในฟลอริด้า, กระทรวงกลาโหมสหรัฐ มีการจำลองสถานการณ์ว่าสหรัฐฯ ถูกโจมตีด้วยจรวดมิสไซด์ และมีการเปิดใช้ระบบเรดาห์ระบบต่างๆ ของสหรัฐฯ เพื่อส่งข้อมูลกันแบบเรียลไทม์ ซึ่งนี่เป็ฯการทดสอบระบบ ABMS ไปด้วย
2020 กรกฏาคม, มีการทดสอบ JADC2 อีกครั้งโดยเชื่อโยงกับข้อมูลจากเรือรบสหรัฐฯ ในทะเลดำ และมีการแชร์ข้อมูลร่วมกับบางประเทศของสมาชิกนาโต้ โดยจำลองเหตุกาณ์ว่าถูกโจมตีจากรัสเซ๊ย