Numquam prohibere somniantes
Iranian Revolution
Iranian Revolution

Iranian Revolution

 ปฏิวัติอิหร่าน 1979 (انقلاب اسلامی)

ปฏิวัติอิหร่าน หรือเรียกว่า ปฏิวัติ 57 (Revolution 57) ตามปฏิทินของอิหร่าน ซึ่งปีที่เกิดการปฏิวัติตรงกับปี 1357 
1891 Tobacco movement , Naser-al Din Shah Qajar ได้มอบสัมประทานการค้ายาสูบให้กับบริษัท Imperial Tobacco Corp. ของอังกฤษ ของพันเอกตาลบ๊อต (G. F. Talbot) เป็นเวลาห้าสิบปี  ต่อมาเมื่อชาห์ไม่สามารถหยุดกระแสการประท้วงได้ พระองค์ก็จึงได้ยกเลิกสัมประทาน
การเคลื่อนไหวต่อต้านสัมปะทานยาสูบนี้เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นอำนาจและบทบาทของนักบวชในนิกายชีห์อะที่มีต่อสังคมอิหร่าน
1905 Constitutional Revolution (1905-1911) การปฏิวัติทำให้เกิดรัฐธรรมนูญครั้งแรกและเป็นการสิ้นสุดระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
โมฮัมมัด เรซา (Mohammad Reza Khan Pahlavi)  ริเร่ิมระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
1941 สิงหาคม,​Operation Countenance (25 สิงหาคม 1941-17 กันยายน) ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตร โดย อังกฤษและสหภาพโซเวียต ได้บุกอิหร่าน เพราะต้องการป้องกันแหล่งน้ำมันในอิหร่านเพื่อสำรองไว้สำหรับกองทัพของสหภาพโซเวียต และอิหร่านในขณะนั้นถูกมองว่าเป็นฝ่ายเดียวกับอักษะ  เมื่อสัมพันธมิตรบุกอิหร่านแล้ว ก็ได้ปลด โมฮัมหมัด เรซา ออก และได้สนับสนุนโมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (Mohammad Reza Pahlavi) ขึ้นมาเป็นชาห์องค์ใหม่
1953 สิงหาคม, (Operation Ajax) MI6 ของอังกฤษ และ CIA ของสหรัฐฯ ร่วมกันสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน โดยได้ล้มรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี โมฮัมหมัด มอสซาเดห์ (Mohammad Mossadegh) ที่มาจากการเลือกตั้งลง
สาเหตุที่มอสซาเดห์ถูกโค่นลง เพราะเขาต้องการที่จะเข้าไปตรวจสอบบัญชีของบริษัท Alglo-Iranian Oil Company (AIOC) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BP ของอังกฤษ แต่ว่าบริษัท AIOC ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ มอสซาเดห์และรัฐบาลอิหร่านจึงได้ออกกฏหมายเพื่อแปรรูปกิจการนำ้มันในประเทศกลับมาเป็นของรัฐ อังกฤษในสมัยของเชอร์ชิล (Winston Churchchill) และประธานาธิบดีไอเซ่นเฮาว์ (Dwight D. Eisenhower) ของสหรัฐฯ จึงต้องการล้มรัฐบาลของมอสซาเดห์
1963 (White revolution)  ชาห์ พยายามที่จะปฏิรูปประเทศ โดยต้องการทำให้ทันสมัยเหมือนตะวันตก ทรงริเริ่มนโยบายปฏิรูปที่ดิน (land reform) เป็นเป้าหมายหลัก ทำให้ต้องขายทรัพย์สินของรัฐบางส่วนออกไปเพื่อมาใช้กับโครงการปฏิรูปที่ดิน  นอกจากนั้นยังต้องการเพิ่มการศึกษาและสิทธิของสตรีในสังคม
การปฏิวัติสีขาว ทำให้นักศาสนา อย่างอยาโตลเลาห์ โคมัยนี (Ayatollah Rehollah Khomeini) มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เมื่อเขาต่อต้านการปฏิรูปของชาห์ เพราะเขาเห็นว่ามันขัดกับหลักคำสอนของศาสนา 
5 มิถุนายน, โคมัยนีถูกทางการจับกุมตัว หลังกล่าวปราศรัยในโรงเรียนแห่งหนึ่ง โจมตีชาห์ เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เมื่อโคมัยนีถูกจับ มีผู้คนกว่าหมึ่นคนออกมาเดินขบวนประท้วงบนถนนในกรุงเตหะราน  จนนายกรัฐมนตรีอะลัม (Asadollah Alam) ต้องประกาศสถานะการณ์ฉุกเฉินและส่งกองทัพเข้าควบคุมสถานการณ์
โคไมนีถูกปล่อยตัวออกมาหลังจากถูกกักบริเวณอยู่แต่ภายในบ้านพักนานแปดเดือน 
1964 พฤศจิกายน, โคมัยนีถูกจับตัวอีกครั้งหนึ่ง และถูกเนรเทศออกจากประเทศไปยังตุรกี  
โคมัยนีพำนักอยู่ในต่างประเทศนาน 15 ปี กว่าจะได้กลับอิหร่านอีกครั้งหนึ่ง
ในตุรกี เขาอาศัยอยู่ในเมืองเบอร์ซา (Bursa) ก่อนที่จะย้ายมากรุงแบกแดดของอิรัก และต่อมาย้ายมาอยู่ในเมืองนาจาฟ (Najaf) ซึ่งมีชาวนิกายชีอะห์อาศัยอยู่มาก
ในอิหร่าน ช่วงเวลาต่อมาแม้ว่าบ้านเมืองจะสงบ แต่ว่าก็เกิดกระแสการต่อต้านตะวันตก โดยผู้นำกลุ่มต่างๆ อย่าง จาลับ อัล-อี-อาหมัด (Jalal Al-e-Ahmad) มีแนวคิดเรื่อง Gharbzadegi ที่มองวัฒนธรรมตะวันตกเหมือนโลกระบาดที่ต้องกำจัด
อาลี ชาเรียติ (Ali Shariati) มีทัศคติว่าอิสลามเป็นแนวคิดที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียวที่จะปลดปล่อยกลุ่มประเทศโลกที่สามจากจักรวรรดินิยม
โคมัยนี เองเขียนหนังสือ Islamic Government เผยแพร่แนวคิด velayat-e faqih (rule of the supreme leader)ที่ต้องการให้มีรัฐบาลอิสลามขึ้นมาปกครอง โดยที่รัฐบาลต้องนำกฏหมายอิสลาม (Sharia) มาใช้
Freedom Movement of Iran นำโดยเมห์ดิ บาซาร์กาน (Mehdi Bazargan)
Tudeh Party เป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์
  People’s Fadayeen เป็นกลุ่มนิยมลัทธิเหมา ซึ่งทำสงครามกองโจรต่อต้านรัฐบาล
1971 มีการฉลอง 2,500 ปี ของการก่อตั้งอาณาจักรเปอร์เซีย
1977 ชาห์เริ่มเปิดกว้างในการแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น ทำให้ฝ่ายต่างๆ เริ่มออกมากโจมตีรัฐบาลของชาห์
ต่อมา อาลี ชาเรียติ เสียชีวิต ชาห์ถูกโจมตีว่าอยู่เบื้องหลังการสังหารเขา แม้ว่าจะมีการตรวจสอบแล้วว่าอลี เสียชีวิตเพราะอาการหัวใจวายโดยธรรมชาติ
23 ตุลาคม, มอสตาฟา โคไมนี (Mostafa Khomeini) ลูกชายคนโตของโคไมนี เสียชีวิต ทำให้เกิดข่าวลือกันอีกว่า หน่วยข่าวกรองของชาห์ SAVAK และรัฐบาลอิรัก อยู่เบื้องการสังหารเขา  แม้ว่าทางการจะประกาศเขามอสตาฟาเสียชีวิตด้วยอาการของโรคหัวใจ
1978 7 มกราคม, หนังสือพิมพ์  Ettela’at ของอิหร่า ตีพิมพ์บทความชื่อ Iran and the Red and Black Colonialism โดยคนเขียนใช้นามปากกาอาห์มัด ชาชิดี (Ahmad Rashidi) บทความโจมตีโคมัยนี ว่าเป็นสายรับของอังกฤษ  บทความนี้ทำให้นักศึกษาศาสนาในเมืองฮอม (Qom) พากันโกรธแค้นและออกมาประท้วงที่มีการหลบหลู่โคไมนี จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิตสองคนในเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ฝ่ายผู้ประท้วงอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตกว่าเจ็ดสิบคน
ต่อมาฝ่ายสนับสนุนโคไมนี ได้จัดพิธีระลึกถึงผู้เสียชีวิต ซึ่งตามธรรมเนียมทางศาสนาต้องมีการไว้อาลัย 40 วันหลังเสียการเสียชีวิตของผู้ตาย ช่วงนี้ทำให้มีฝ่ายสนับสนุนโคมัยนีมีการวางแผนการประท้วงครั้งใหญ่
หลังจากนั้นสองอาทิตย์เริ่มมีนักศึกษาออกมาประท้วงและก่อจราจลในหลายเมือง การประท้วงกินเวลาต่อเนื่องนานหลายเดือน 
Ayatollah Shariatmadari
19 สิงหาคม, (Cinema Rex fire) ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของการรัฐประหารโค่นรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีโมฮัมหมัด มอสซาเดห์ มีการประท้วงวางเพลิงโรงภาพยนต์ 28 ทั่วประเทศ โดยจุดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือที่โรงภาพยนต์เร็กซ์ ในอบาดาน (Abadan) ที่มีผู้เสียชีวิตราว 420 คน โดยทั้งฝ่ายต่อต้านชาห์และรัฐบาลของชาห์เองก็กล่าวหาอีกฝ่ายว่าอยู่เบื้องหลังการวางเพลิง
8 กันยายน, (Black Friday) มีการประท้วงใหญ่ในกรุงเตหะราล และจบลงด้วยการจราจลที่มีผู้เสียชีวิตอีก 64 คน
กันยายน-ตุลาคม, มีการนัดหยุดครั้งใหญ่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะแรงงานในโรงกลั่นน้ำมันสำคัญของประเทศ
6 ตุลาคม, รัฐบาลอิรักของซัดดัม (Saddam Hussein) ถูกกดดันให้ส่งตัวโคมัยนีกลับมาอิหร่าน ทำให้โคมัยนีออกจากอิรักและไปอยู่ในฝรั่งเศส  
การไปอยู่ในฝรั่งเศสทำให้โคมัยนีได้กลายเป็นจุดสนใจของตะวันตก เมื่อสื่อหลายสำนักต่างก็มาสัมภาษณ์เขา โคมัยนีใช้ประโยชน์จากสื่อตะวันตกในการสื่อสารกับชาวอิหร่านเรื่องการปฏิวัติ โดยโมฮัมหมัด เบเฮชติ (Mohammad Beheshti) ซึ่งถือเป็นผู้นำคนที่สองรองจากโคมัยนีหลังการปฏิวัติ มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวใต้ดิน ในการนำเทปการให้สัมภาษณ์ของโคมัยนีกลับมาเผยแพร่ในอิหร่าน
พฤศจิกายน, คาริม ชานจาบิ (Karim Sanjabi) ผู้นำกลุ่ม National Front เดินทางไปปารีส เพื่อพบกับโคไมนี และทั้งสองได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา 
5 พฤศจิกายน, นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเตหะราน เสียชีวิตจำนวนมากระหว่างการประท้วง
6 พฤศจิกายน, ชาห์ ปลดชาริฟ-อีมามิ (Sharif-Emami) ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งรัฐบาลทหารนำโดยนายพลโกลาม-เรซา อซารี (General Gholam-Reza Azhari)
และชาห์ได้ออกแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ในวันเดียวกัน รับสั่งแสดงความเสียใจต่อข้อปกพร่องภายใต้การปกครองของพระองค์
แต่ว่าโคไมนีได้ออกแถลงการณ์ให้ผู้ประท้วงโค่นล้มกษัตริย์
2 ธันวาคม, การประท้วงมูฮาร์รัม (Muharram protest)  มีคนกว่าสองล้านคนออกมาเดินประท้วงในกรุงเตหะราน  โดยพากันมานัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์เสรีภาพ (Tehran Freedom Tower)
28 ธันวาคม, ชาห์ ตกลงกับชาห์ปอร์ บัคเตียร์ (Shahpour Bakhtiar) แกนนำคนหนึ่งของกลุ่ม National Front  ว่าจะให้เขาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และชาห์จะเสด็จออกไปต่างประเทศ อ้างว่าพรรคผ่อน
1979 16 มกราคม,​ชาห์แต่งตั้งบัคเตียร์ เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพระองค์เสด็จลี้ภัยออกจากประเทศไปยังอียิปต์พร้อมกับสมาชิกราชวงค์
บัคเตียร์ประกาศปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด แล้วปล่อยให้ผู้ประท้วงเดินขบวนแสดงพลังโดยที่เจ้าหน้าที่ไม่เข้าไปขัดขวาง เขายังเชิญให้โคไมนีเดินทางกลับอิหร่าน
1 กุมภาพันธ์, โคมัยนีเดินทางกลับอิหร่าน
5 กุมภาพันธ์, โคไมนี ประกาศตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นมาแทนรัฐบาลของบัคเตียร์โดยให้เมห์ดิ บาซาร์กาน (Mehdi Bazargan) เป็นนายกรัฐมนตรีบัคเตียร์โกรธและประกาศว่าเขาเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมเพียงรัฐบาลเดียวของประเทศ แต่ผู้ประท้วงส่วนใหญ่ยืนเคียงข้างโคมัยนี และไม่นานเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างก็แปรพักตร์ไปอยู่ฝ่ายโคไมนี
11 กุมภาพันธ์, สภากลาโหม (Supreme Military Council) ของอิหร่านประกาศวางตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้ง
Decade of Fajr ระหว่างวันที่ 1-11 กุมภาพันธ์ จึงเป็นวันที่ประกาศชัยชนะในการปฏิวัติอิหร่าน ของทุกปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!