Numquam prohibere somniantes
Hugo Grotius
Hugo Grotius

Hugo Grotius

ฮูโก้ กรอเชียส (Hugo Grotius หรือ Hugo de Groot)

ผู้เขียน De Jure Belli ac Pacis (On the laws and customs of war), ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบิดาแห่งวิชากฏหมายระหว่างประเทศ

ฮูโก้ เกิดวันที่ 10 เมษายน 1583 เดาล์ฟ, ฮอลแลน์, สาธารณรัฐดัตช์ (Delft, Holland, Dutch Republic)  พ่อของเขาเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยไลเดน (Leiden University) ชื่อ แจน (Jan de Groot) ส่วนแม่ชื่อ อลิดา (Alida van Overschie) 

ฮูโก้ จัดเป็นเด็กอัจฉริยะตั้งแต่อายุยังน้อย  เขาสามารเขียนกวีแบบลาติน (elegies) ได้ตั้งแต่อายุ 8ขวบ  

1594 ตอนอายุ 11 ปี เข้าเรียนอักษรศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยไลเดน และได้มีโอกาสเรียนกับโจเซฟ ซคาลิเจอร์ (Joseph Scaliger) นักประวัติศาสตร์และปรัชญาที่มีชื่อเสียง

1598 ติดตามโจฮันน์ โอลเดนบารเนเวลต์ (Johann van Oldenbarnevelt) รัฐบุรุษคนหนึ่งของดัตช์ ไปยังฝรั่งเศส ทำให้เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้ากษัตริย์อองรี ที่ 4 (Henry IV) แห่งฝรั่งเศส ซึ่งกษัตริย์อองรี ถึงกับทรงรับสั่งชมโจฮันน์ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งดัตช์ (the miracle of Holland) 

ซึ่งระหว่างที่อยู่ในฝรั่งเศส ฮูโก้ยังสามารถสอบได้ปริญญาด้านกฏหมายจากมหาวิทยาลัยออลีนส์ (University of Orleans) ด้วย 

1599 ตอนอายุ 16 ปี มีผลงานหนังสือตีพิมพ์ออกมาเล่มแรก Martiani Minei Felicis Capellæ Carthaginiensis viri proconsularis Satyricon

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนของดัตช์ประจำศาลโลก (The Hague)

1601 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ทำหน้าที่บันทึกจดหมายเหตุ (historiographer) ของรัฐ

1603 จาคอฟ (Jacob van Heemskerk) แม่ทัพเรือและนักเดินทางสำรวจของดัตช์ ซึ่งได้ทำงานให้กับบริษัท United Amsterdam Company (ส่วนหนึ่งของบริษัท Dutch East India Company, Vereenigde Oostindische Compagnie , V.O.C. )  ได้ยึดเรือสินค้า ซานต้า คาตาริน่า (Santa Catarina) ของโปตุเกส บริเวณช่องแคปสิงคโปว์ 

1608 แต่งงานกับมาเรีย (Maria van Reigersberch) ซึ่งพวกเขามีลูกชายด้วยกันสี่คน และลูกสาวสามคน 

1609 เขียน The Free Sea (Mare Liberum) ซึ่งเขาได้เสนอหลักการณ์ที่ว่าทะเลเป็นพื้นที่สากลสาธารณะ ซึ่งชาติใดๆ ก็สามารถที่จะใช้ทะเลเพื่อการเดินทางในการทำการค้าได้ 

ซึ่งอังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลไม่พอใจกับแนวคิดเรื่องทะเลเสรีของฮูโก้ และตอบโต้ด้วยงานเขียนของจอห์น เซลเดน (John Selden) เรื่อง The Closed Sea (Mare Clasum) 

1613 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าฯ (Pensionary) ของเมืองรอตเตอร์ดัม (Rotterdam) 

ในปีเดียวกันนี้เกิดเหตุเรือของดัตช์สองลำถูกอังกฤษยึดเอาไว้ ทำให้ฮูโก้ถูกส่งไปยังลอนดอนเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ เรือทั้งสองลำถูกอังกฤษยึดเอาไว้ขณะที่แล่นผ่านทะเลบริเวณกรีนแลนด์ (Greenland) ซึ่งอังกฤษอ้างว่าเป็นทะเลของตน ส่วนฮูโก้นั้นทำได้เพียงแค่ประท้วงในเชิงเหตุผลซึ่งเขามองว่าทะเลเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งอย่างไรก็ตามอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลมากกว่าดัตช์ก็ไม่ได้ยอมปล่อยเรือทั้งสองลำ และฮูโก้ก็เดินทางกลับบ้านโดยล้มเหลว 

ปีนี้ยังเกิดความขัดแย้งว่าหว่างคริสต์นิกาย Calvanist ด้วยกันเอง ซึ่งฝ่ายหนึ่งที่ต้องการปฏิรูป เรียกว่า Remonstants และฝ่ายอนุรักษ์นิยม เรียกว่าว Contra-Remonstrants 

ซึ่งฮูโก้เองนั้นเข้าข้างฝ่าย Remonstants

1618 29 สิงหาคม, ฝ่าย Conter-Remonstants นำโดย Maurice ทำรัฐประหารล้มล้างสภาแห่งรัฐ (States General)  ทำให้ ฮูโก้ในฐานะผู้ว่าของรอตเตอร์ดัม ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาแห่งรัฐก็ถูกจับพร้อมกับ โอลเดนบาร์เนเวลต์ (Oldenbarnevelt), รอมเบาต์ (Rombout Hogerbeets) ผู้ว่าของไลเดน

ซึ่งต่อมาฮูโก้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวต โดยถูกนำตัวไปขังที่คุกในปราสาทโลเวสไตน์ (Loevestein Castel) 

1621 ภรรยาของเขาและสาวใช้ ชื่อเอลเซลิน่า (Elselina van Houwening) ช่วยให้เขาหนีออกมาจากคุกได้สำเร้จ โดยซ่อนตัวในหีบหนังสือ ซึ่งหลังจากออกมาแล้ว เขาก็หนีไปแอนเวิร์ป (Antwerp) ก่อนที่จะมุ่งหน้าต่อไปยังปารีส 

ในฝรั่งเศสฮูโก้ ได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งยังได้รับเงินบำนาญจากทางการฝรั่งเศสด้วย 

1625 เขียน De jure belli ac pacis (On the Law of War and Peace) ซึ่งหนังสือนี้เขาอุทิศถวาย หลุยส์ ที่ 13 (Louis XIII of France)

1631 พยายามจะกลับดัตช์อีกครั้ง เพราะเชาได้รับการเสนอให้เป็นผู้บัญชาการของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดียในเอเซีย  แต่ว่าไม่นานเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลก็เคลื่อนไหวต่อต้านฮูโก้ ทำให้เขาาเกือบจะโดนจับอีกครั้งหนึ่ง 

1632 ฮิวโก้ต้องหนีออกมาจากดัตช์ หลังจากนั้นเขาก็ไม่เคยเดินทางกลับดัตช์อีกเลย หลังจากหนีออกมาจากดัตช์แล้ว ฮิวโก้ได้ไปอาศัยอยู่ที่แฮมเบิร์ก (Hamburg) เยอรมัน ใกล้กับสวีเดนซึ่งก็เป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งในเวลานั้น ซึ่งต่อมาสวีเดนก็หาโอกาสที่จะจ้างฮิวโก้ให้ทำงานด้วย 

1634 ได้รับแต่งตั้งเป็นทูตสวีเดน ประจำฝรั่งเศส ซึ่งงานสำคัญของเขาคือพยายามที่จะเจรจาหาทางในการทำสนธิสัญญาเพื่อยุติสงครามสามสิบปี (Thirty Years’ War)

1644 หลังจากพระราชินีคริสติน่า (Queen Christina) ขึ้นครองราชย์ ฮูโก้ก็ถูกปลดจากการเป็นทูต และถูกเรียกตัวกลับสวีเดน

1645 มีนาคม, ระหว่างที่กำลังเดินเรือเพื่อกลับไปยังสต๊อกโฮม เรือที่เขาโดยสารก็ล่มลงในทะเลบอลติก แต่ว่าฮูโก้สามารถเอาชีวิตรอดมาได้  และกลับไปจนถึงสวีเดน แตว่าเขาใช้ชีวิตอยู่ในสวีเดนไม่นาน ก็ตัดสินใจกลับไปเยอรมัน 

1645 28 สิงหาคม, เสียชีวิต ในรอสต๊อก (Rostock, Swedish Pomerania) 

ผลงานเขียนบางส่วน

  • Adamus exul (The Exile of Adam), 1601
  • Parallelon rerumpublicarum (Camparison of Constitutions), 1601
  • De Jure Praedae( On the Law of Spoils), 1604
  • De Indis (On the Indies), 1604
  • Christus patiens (The Passion of Christ) 1608
  • Mare Liberum (On the freedom of the seas), 1609
  • De antiquitate reipublicae Batavicae (On the Antiquity of the Batavian Republic), 1610
  • Ordinum Pietas
  • De Veritate Religionis Christianae, 1627
  • Pontifex Romanus
  • Annales et Historiae de Rebus Belgicis
  • De iure praedae commentarius (Commentary on the law of prize and booty)
  • De iure belli ac pacis (DIB)
  • Opera Omnia Theologica

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!