เฮอร์เบิร์ต ยาร์ดเล่ย์ (Herbert Osborn Yardley)
ผู้ก่อตั้ง Black Chamber องค์กรในสหรัฐฯ ซึ่งทำหน้าที่ในการถอดรหัสข้อความลับของกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2
ผู้เขียน The American Black Chamber
ยาร์ดเลย์ เกิดวันที่ 13 เมษายน 1889 ในวอชิงตัน, รัฐอินเดียน่า สหรัฐฯ พ่อของเขาชื่อโรเบิร์ต (Robert Kirkbride Yardley) เป็นหัวหน้าสถานีรถไฟ และแม่ชื่อแมรี่ (Mary Emma Osborn Yardley) เธอเสียชีวิตตอนที่เขาอายุ 13 ปี ยาร์ดเลย์ เป็นลูกคนที่สองในพี่น้องทั้งหมดสี่คน
1907 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ (University of Chicago) แต่ว่าเรียนได้เพียงแค่ปีเดียวเขาก็ดร๊อป และกลับไปอยู่ในวอชิงตัน
1908 เข้าทำงานเป็นพนักงานส่งโทรเลขของกิจการรถไฟ
1912 สอบเข้าเป็นพนักงานของรัฐได้โดยได้งานเป็นเจ้าหน้าที่โทรเลข และเสมียรด้านรหัส
1917 เข้าเป็นทหารยศร้อยโท สังกัด Single Corps ของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่ง Single Corps นั้นมีหน้าที่หลักในการดูและการสื่อสารภายในกองทัพ ซึ่ง ยาร์ดเลย์นั้นถูกส่งไปทำงานในแผนก M.I.8 (Military Intelligence Branch, Section 8) หรือรู้จักในชื่อ Cipher Bureau ซึ่งมีหน้าที่ในการเข้าและถอดรหัส หน่วยงานนี้ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยกองทัพ (Army War College) ในวอชิงตัน ซึ่งขณะนั้นนอกจากยาร์ดเลย์แล้ว มีเจ้าหน้าที่เสมียรอีกสองคนอยู่ที่นี่เท่านั้น แต่ว่าไม่นานองค์กรก็ขยายตัวมาขึ้น เพราะข้อมูลที่ตรวจจับเอาไว้ได้จากสงคราม จากหน่วยงานหลายแห่งถูกส่งเข้ามา Cipher Bureau นี้ ถูกแบ่งออกเป็น 5 แผนก คือ Code and Cipher Compilation, Communication, Shorthand, Secret ink และ Code and Cipher Sulution ในปี 1918 cipher Bureau มีพนักงานทุกแผนกรวมแล้วกว่า 300 คน สายลับคนหนึ่งที่ถูกจ้างให้ทำงานกับ Cipher Bureau คือสตีเฟ่น เบเน็ต (Stephen Vincent Benet) กวีและนักเขียนดังของสหรัฐฯ
1918 หลังสงครามโลกยุติ เขาเดินทางไปยุโรป เพื่อดูงานของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการเข้ารหัสและถอดรหัสของอังกฤษและฝรั่งเศส
1919 เมษายน, เมื่อกลับมาจากยุโรป เขาพบว่าหน่วยงานของเขากำลังจะถูกปิด เพราะว่าสงครามยุติ ยาร์ดเลย์ จึงพยายามโชว์ให้เห็นว่า Cipher Bureau มีความสำคัญและจำเป็น แม้จะเป็นช่วงที่สงบสุข จนในที่สุดเขาสามารถทำให้ รมต. ต่างประเทศ แฟรงค์ โปล์ก (Frank L. Polk) อนุมัติให้ Cipher Bureau กลายเป็นหน่วยงานถาวร แต่ว่าถูกปกปิดเป็นความลับ พนักงานของที่นี่ไม่ได้อยู๋ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ และสำนักงานย้ายไปตั้งอยู่ในในนิวยอร์ค พนักงานทุกคนที่ทำงานอยู่ที่นี่จะบอกกับคนทั่วไปว่าพวกเขาทำงานแปลเอกสารให้กับกองทัพ แต่ความจริงแล้ว Cipher Bureau ยังเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยจารกรรมของกองทัพ ที่ทำหน้าที่ในการดักจับการสื่อสารของชาติต่างๆ และแปลข้อมูลออกมา
ช่วงกลางปี ความสนใจของยาร์ดเลย์ ไปอยู่ที่การถอดข้อความสื่อสารของรัฐบาลญี่ปุ่น จนเขาท้าทายหัวหน้าของเขาว่าถ้าหน่วยของเขาไม่สามารถถอดรหัสข้อความสื่อสารของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ภายในหนึ่งปีเขาจะลาออก ซึ่งในตอนนั้นยาร์ดเลย์ไม่มีความรู้ภาษาญีปุ่นเลย แต่ว่าเขาได้ว่าจ้าง เฟรเดริก ลีฟเซย์ (Frederick Livesey) และ คอร์เรลล์ (I. H. Correll) ที่เชี่ยวชาญภาษาญี่ปุ่นมาช่วยงาน
1921 ผลงานที่ยาร์ดเลย์คิดว่าประสบความสำเร็จ เป็นการถอดรหัสข้อความ หมายเลข 700 ที่ถูกส่งจากโตเกียวมายังวอชิงตัน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1921 ถูกส่งมาให้กับนายพลกาโต๊ะ (Admiral Baron Kato) ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้แทนญี่ปุ่น เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นกำจัดอาวุธกับรัฐบาลสหรัฐฯ ก่อนการประชุม SALT conference ซึ่งข้อความดังกล่าวระบุว่าญีปุ่นยอมรับอัตราส่วน 10-7 ในการเจรจากับสหรัฐและอังกฤษ แต่ก็ระบุด้วยว่าต้องหลีกเลี่ยงที่จะปะทะกับสองมหาอำนาจ ซึ่งการรู้ข้อมุลก่อนนี้ทำให้สหรัฐฯ เจรจากับญี่ปุ่นและกดดันให้ญี่ปุ่นลดกำลังกองทัพเรือลงไปได้มาก
1923 ยาร์ดเลย์ได้รับเหรียญ the Distinguished Service Medal ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของกองทัพสหรัฐฯ ที่มอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องออกรบ
1929 1 พฤศจิกายน, กองทัพตัดสินใจปิดหน่วยงานของยาร์ดเลย์ ทำให้เขาต้องกลายเป็นคนว่างงาน และก็ได้รับผลกระทบหนักในช่วงเศรษฐกิจตกต่า (Great depression) ของสหรัฐ
1931 เขียน The American Black Chamber ซึ่งเป็นการเปิดเผยการทำงานของหน่วยของเขา และเปิดโปงรัฐบาลสหรัฐฯ ยาร์ดเลย์ให้เหตุผลในการเขียนหนังสือเล่มนี้ว่าเพราะเขารู้สึกเหมือนถูกรัฐบาลหักหลังและปฏิบัติต่อเขาอย่างไม่เป็นธรรม
มิถุนายน, ยาร์ดเลย์ได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเข้ารหัสให้กับห้องวิจัยของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสต์เทิร์น (Northwestern University’s Scientific Crime Prevention Laboratory)
1933 เขียน the Blonde Countess ซึ่งเป็นนิยายเรื่องแรกที่เขาแต่งขึ้น
Red Sun of Nippon ผลงานนิยายเรื่องที่สองของเขา
1935 เขาทำงานร่วมกับ ทอม เคอร์ติน (Tom Curtin) ในการทำนิยายทางวิทยุเรื่อง The Black Chamber ออกอากาศผ่านทาง NBC ซึ่งออกอากาศอาทิตย์ละสามครั้ง นานกว่าปี
1938 ยาร์ดเลย์กลับมาทำงานถอดรหัสให้กับกองทัพอีกครั้งหนึ่ง โดยในครั้งนี้กองทัพให้ความสนใจเกี่ยวกับข้อมูลสื่อสารของรัฐบาลจีน และญี่ปุ่นซึ่งเข้าไปยึกครองบางส่วนของจีน
ฤดูใบไม้ผลิ, ยาร์ดเลย์เข้าไปอยู่ที่เมืองฉงชิ่ง (Chungking) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจีนที่ยังไม่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง ยาร์ดเลย์ ใช้ชื่อระหว่างอยู่ในจีนว่า เฮอร์เบิร์ต ออสบอร์น (Herbet Osborn) เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ญี่ปุ่นสามารถจำเขาได้
1940 กรกฏาคม, เดินทางด้วยเครื่องบินมายังฮ่องกง และฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเดินทางกลับไปยังสหรัฐฯ หลังจากนั้นก็ได้เข้าทำงานกับหน่วย SIS (Singnal Intelligence Service)
1941 เดินทางมาแคนนาดา และได้ช่วยก่อตั้งหน่วย The Examination Unit ขึ้นที่คณะคณิตศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยโตรอนโต้ (University of Toronto) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากรหัส
1942 หลังหมดสัญญาจ้างที่แคนนาดา เขากลับมาสหรัฐฯ และได้ซื้อกิจการร้านอาหารแห่งหนึ่งมา และตั้งชื่อใหม่ว่า Ridueu ตามชื่อเมืองในแคนนาดาที่เขาประทับใจในความสวยงามของทะเลสาบที่นั่น แต่ว่าเขาเปิดกิจการได้เพียงปีเดียวก็ปิดตัวลงเพราะว่าขาดทุน
1943 กลับเข้าทำงานกับรัฐบาลอีกครั้ง ในครั้งนี้ยาร์ดเลย์ได้งานที่สำนักงานควบคุมราคาสินค้า (Office of Price Administration, OPA) ซึ่งตั้งขึ้นมาในช่วงสงครามโลกนี้
1944 หย่ากับเฮเซล (Hazel Milam) และได้แต่งงานใหม่กับเอ็ดน่า (Edna Ramsaier Hackenburg) ซึ่งทั้งคู่ต่อมามีลูกด้วยกันชื่อแจ็ค
1945 กลับมาแต่งนิยายอีกครั้ง และได้พิมพ์ผลงานใหม่ชื่อ Crows Are Black Everywhere
1947 ลาออกจาก OPA และได้เปิดบริษัท Osborn Sales Company ขึ้นมา เพื่อขายพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า และทำงานราชการกับสำนักงานอาคารสงเคราะห์ (Publich Houseing Administration) ไปด้วย
1952 เกษียณจากสำนักงานอาคารสงเคราะห์
1958 7 สิงหาคม, เสียชีวิตจากการที่เส้นเลือกในสมองแตก ในวัย 69 ปี ภายในบ้านของเข้าเองที่ซิลเวอร์ สปริงค์ (Silver Spring)
ผลงานเขียน
- The American Black Chamber, 1931
- Yardleygrams, 1931
- Japanese Diplomatic Secrets
- The Blonde Countess
- Red Sun of Nippon
- Crows Are Black Everywhere, 1945
- The Education of a Poker Player, 1957