Numquam prohibere somniantes
Herbert A. Simon
Herbert A. Simon

Herbert A. Simon

เฮอร์เบิร์ต ไซม่อน (Herbert A. Simon)

Economic Nobel Prize 1978, Turing Award 1975

ไซม่อนเกิดวันที่15 มิถุนายน 1916ในมิลวัวกี, วิสคอนซิน (Milwaukee, Wisconsin) พ่อของเขาเป็นวิศวกรไฟฟ้าชาวเยอรมันที่อพยพเข้ามาอาศัยในสหรัฐฯในปี 1903  ชื่ออาร์เธอร์ (Arthur Simon, 1881-1948) แม่ชื่อเอ็ดน่า (Edna Marguerite Merkel) เป็นนักเปียโน ซึ่งทั้งคู่มีเชื้อสายยิว แต่ว่าไซม่อนนั้นประกาศว่าเขาไม่เชื่อในพระเจ้า

ไซม่อนเรียนหนังสือระดับประถมและมัธยมที่โรงเรียนของรัฐในมิลวัวกีโดยที่เขามีความสนใจคณิตศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ตั้งแต่เรียนมัธยมโดยเฉพาะได้รับอิทธิพลจากอาของเขาชื่อฮาโรล์ด (Harold Merkel) ซึ่งเรียนเศรษฐศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน  ซึ่งหนังสือเศรษฐศาสตร์ที่ไซม่อนชอบตอนมัธยมปลายคือ The Great Illusion ของนอร์แมน แองเกลล์ (Norman Angell) และ Progree and Poverty ของเฮนรี่ จอร์จ (Henry George)

1933 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ (University of Chicago) ทางด้านคณิตศาสตร์, รัฐศาสตร์, สังคมวิทยา  โดยอาจารย์ที่มีอิทธิพลกับเขาคือเฮนรี่ ชูลต์ (Henry Schultz)

1936 จบปริญญาตรี โดยได้รับปริญญาทางด้านรัฐศาสตร์ หลังจากนั้นนได้ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับริดลีย์ (Clarence E. Ridley) ซึ่งพวกเขาทำวิจัยเกี่ยวกับงานการบริหารเทศบาล ให้กับมหาวิทยาลัยชิคาโก้  

1938 เขียนหนังสือ Measuring Municipal Activities ร่วมกับบริดลีย์

แต่งงานกับโดโรเทีย (Dorothea Pye) ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกัน 3 คน

1942 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ (Illinois Instittute of Technology) 

1943 ได้ปริญญาเอกทางด้านรัฐศาสตร์ จาก ม.ชิคาโก้

1948 มีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิด Economic Cooperation Administration (ECA) องค์กรของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งรับผิดชอบแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) 

1949 ย้ายมาทำงานที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ (Carnegie Mellon University)

1955 ไซม่อน , ชอว์ (J. C. Shaw)  และอัลเลน นีเวลล์ (Allen Newell) ซึ่งร่วมกันทำงานวิจัยให้กับ Rand Corporation ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ ที่ชื่อ the Logic Theorist (LT) ซึ่งเป็นการบุกเบิกการ heuristic programming  (Satisficing) กระบวนการหาคำตอบ/ตัดสินใจซึ่งเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นตอบที่แม่นยำ แต่เป็นคำตอบที่พึงพอใจ ไซม่อนพอใจกับผลงานสร้าง LT ของเขามาก จนกระทั่งเปรียบเปรยว่าเขาสามารถเขียนโปรแกรมที่สามารถ “คิด” ได้

นอกจากนี้พวกเขายังร่วมกันวางคอนเซปในการพัฒนาโปรแกรม EPAM (Elementary Perceiver and Memorizer) ซึ่งใช้เทคนิค Rote learning

ช่วงปี 1950-1955 นี้เขายังได้ทืำงานร่วมกับเดวิดฮอว์กิ้นส์ (David Hawkins) จนพัฒนาทฤษฏีHawkins-Simon theorem ออกมา

1957 ร่วมกับนีเวลล์สร้างโปรแกรม the General Problem Solver (GPS)

1972 เขียนหนังสือ Human Problem Solving ร่วมกับนีเวลล์

1975 ได้รับรางวัล Turing Award จากการบุกเบิก heuristic programming  

1978 ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์

2001 9 กุมภาพันธ์ เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

ผลงานเขียน

    • Economic Cooperation Administration, 1948
    • Models of Thought, 1979
    • Models of Bounded Rationality, 1984
    • Reason in Human Affairs, 1990
    • Model of My Life, 1996
    • The Sciences of the Artificial , 1996
    • Administrative Behavior, 1997 
    • Models of a Man, 2004

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!