Numquam prohibere somniantes
Haw wars
Haw wars

Haw wars

สงครามปราบฮ่อ (Haw wars)

สงครามปราบฮ่อ (Haw wars)

หลังการล่มสลายของอาณาจักรสวรรค์ไทปิ่ง (Taiping Heavenly Kingdom) แล้ว ทหารของไทปิ่งที่เหลืออยู่ได้กระจัดกระจายออกเป็นกลุ่มๆ ทหารเหล่านี้หนีการไล่ล่าจากรัฐบาลชิง (Qing China) เข้ามายังอินโดจีน โดยเข้าไปยังเวียดนาม ลาว และสยาม ชาวจีนเหล่านี้ตั้งตัวเป็นแก๊งค์ โดยใช้ธงสีเป็นสัญลักษณ์ และออกปล้นวัด และทรัพย์สินของราษฏร์ สร้างความเดือนร้อนไปทั่ว

1864 โดยกองโจรจีนฮ่อ กลุ่มแรกนั้น ใช้ธงสีดำเป็นสัญลักษณ์ จึงเรียกว่ากองทัพธงดำ (Black Flag Army) นำโดย เหลียว หยงฟู (劉永福, Liu Yougfu) กองทัพธงดำนี้แต่เดิมก่อตั้งขึ้นในแถบภูเขาในตังเกี๋ย (Tonkin) ในหมู่บ้านซอน เตย์ (Sơn Tây) ริมแม่น้ำแดง (Red River) ทางตอนเหนือของเวียดนาม 

1869 กองทัพธงดำได้เข้าไปสวามิภักดิ์กับจักรพรรดิตึ ดึ้ก (Tự Đức) แห่งเวียดนาม และได้ช่วยเวียดนามในการต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เข้ามาล่าอาณานิคม ของทัพธงดำของ เหลียวหยงฟู นั้นจึงเป็นกองทัพที่ถือว่าถูกกฏหมายของเวียดนาม และเหลียวหยงฟู ก็ได้รับการติดยศในกองทัพเวียดนาาม 

เพราะว่าเหลียว หยงฟุ นั้นทำงานรับใช้ราชวงศ์ชิงและจักรพรรดิของเวียดนามในการต่อต้านการรุกรานของฝรั่งเศส

กองกำลังฮ่อ อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ มีชื่อเรียกว่ากองทัพธงเหลือง (Yellow Banner Army) นำโดย หวง ชงยิ่ง (黃崇英, Huang Chongying) เป็นกลุ่มที่สู้รับกองทัพธงดำกองทัพชิง และกองทัพของเวียดนาม 

1872 รัฐบาลจีนสามารถผนวกดินแดนยูนานได้สำเร็จ ชาวจีนในยูนานส่วนหนึ่งจึงหนีลงมาทางใต้ และเข้ามาก่อความไม่สงบอยู่ในลาว

1873 21 ธันวาคม, ฟรานซิส การ์เนียร์ (Francis Garnier ) เจ้าหน้าที่และนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะสำรวจพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ถูกกองทัพธงดำฆ่าตาย ในกรุงฮานอย

ต่อมา   หงชงยิ่ง ผู้นำของกองทัพธงเหลือง ถูกจับโดยกองกำลังร่วมระหว่างรัฐบาลชิงและเวียดนาม ทหารที่เหลืออยู่ของกองทัพธงเหลืองนี้ได้หนีมาทางตะวันตกเข้ามายังสิบสองจุไท ทางตอนเหนือของเวียดนามปัจจุบัน, หลวงพระบาง, ล้านช้าง,​ เวียงจันทร์ ซึ่งเป็นดินแดนที่มีคนเชื้อสายไทอาศํยอยู่กันมาก และในขณะนั้นเป็นดินแดนในอิทธิพลของสยาม

ทั้งชาวจีนที่หนีมาจากยูนาน และทหารของกองทัพธงเหลืองที่เข้ามาในเขตอิทธิพลของสยามนี้เอง ที่สยามเรียกว่า “จีนฮ่อ” พวกทหารจีนฮ่อเหล่านี้รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหม่ภายใต้สัญลักษณ์ ธงแดง (Red flag) และธงแถบสี

คำว่า “ฮ่อ” นั้น เป็นชื่อที่สันนิษฐานว่าคนไทยเรียกเพราะความเข้าใจผิด คิดว่าชาวจีนเหล่านี้เป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนานของจีน ซึ่งคนไทยและลาวเรียกชาวจีนมุสลิมว่า “ฮ่อ”  และยังเพราะธงสีดำ ที่เป็นสัญลักษณ์ของกองโจรชาวจีนนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในช่วงแรกๆ คำว่า “ฮ่อ” จึง มาจาก 回 ( Hui, ฮุย ในภาษาจีนที่แปลว่า “สีดำ”)

ราวปี 1873 กองทัพธงแถบสีสามารถยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือลาวปัจจุบันเอาไว้ได้ และกองทัพธงแถบสีก็สามารถยึดเมืองพวน (Muang Phuan)  และทุ่งไหโบราณเอาไว้ได้

ในขณะที่กองทัพธงแดงยีดเมืองดียน เบียน ฟู (Dien Bien Pu) เอาไว้

1874 เจ้าอุ่นคำ (Chao Ounkham) แห่งหลวงพระบาง ได้ร่ววมกับจักรพรรดิตึ ดึ้ก ของเวียดนาม ในการปราบกองกำลังจีนฮ่อ แต่ว่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ 

1875 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการส่งกองทัพสยามไปปราบปรามชาวจีนฮ่อเหล่านี้ แต่ว่าการรบกับกองโจรชาวจีนเหล่านี้กินเวลานานหลายสิบปี ระหว่าง 1875-1890 โดยกองทัพสยามนั้นยกทัพข้ามแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดหนองคาย โดยกองทัพสยามยกทัพไปที่ฮ่อที่เมืองเชียงคาม (Chiangkham) แต่ว่าจีนฮ่อที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้ถอยร่นเข้าไปยังเมืองพวนและหัวพัน (Houaphanh) กองทัพสยามอยู่ที่เชียงคามปีหนึ่งก็ยกทัพกลับ

1883 กองโจรจีนฮ่อมีการก่อความไม่สงบรุนแรงขึ้นอีกครั้งหนึ่งในดินแดนของอาณาจักรหลวงพระบาง (ขณะนั้นหลวงพระบางเป็นประเทศ)  เจ้าอุ่นคำ จึงได้มีพระราชสานขอควมช่วยเหลือมายังสยาม  ทำให้ ร.5 ทรงส่งกองทัพสยามไปยังหลวงพระบางเพื่อให้ความช่วยเหลือ โดยที่ เจมส์ แม็คคาร์ธี (James McChathy) ชาวอังกฤษได้ร่วมไปกับกองทัพสยามด้วย ซึ่งแม็คคาร์ธี ได้บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ได้ละเอียด และนำมาเขียนเป็นหนังสือ Surveying and exploring in Siam ซึ่งในความเห็นของแม็คคาร์ธี กองทัพสยามนั้นไม่มีประสิทธิภาพและขาดการเตรียมพร้อม  กองโจรจีนฮ่อนั้นเข้ามายึดเมืองยู (Muang You) ของหลวงพระบางเอาไว้ ส่วนกองทัพสยามนำทัพโดยพระยาราชวรานุกุล (เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช) ถูกฝ่ายโจรจีนฮ่อนั้นบุกทำลายค่ายและเสบียงได้ และต่อมาช่วงกลางปีซึ่งเป็นฤดูฝน มีฝนตกลงมาอย่างหนัก พระยาสุโขทัยก็ล้มป่วยด้วยมาลาเรีย ทำให้สยามยกทัพกลับ ส่วนหนึ่งยังอยู่ที่หลวงพระบาง แต่อีกส่วนก็กลับมาตั้งหลักที่หนองคาย ส่วนแม็คคาร์ธี นั้นเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ 

ในขณะเดียวกันกองทัพสยามนำโดยพระยาราชวรานุกุล (เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช) ได้นำกองทัพไปปราบฮ่อ ที่ ตำบลทุ่งเชียงคำ เมืองเชียงขวาง 

1885 กองทัพสยามนำโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพในการยกทัพไปปราบฮ่อ ที่แขวงเมืองอ่าว เมืองออม ที่ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงขวาง  โดยกองทัพสยามเดินทางข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย 

14 มกราคม, แม็กคาร์ธี เดินทางกลับไปหลวงพระบางอีกครั้ง และเขาได้พบว่าเกิดการปะทะกันหนักระหว่างฝ่ายสยาม หลวงพระบาง กับโจรจีนฮ่อ ซึ่งฝ่ายโจรจีนฮ่อนั้นมีอาวุธที่ทันสมัย มีปืนไรเฟิ้ลที่ผลิตจากอังกฤษและเชี่ยวชาญการรบแบบสงครามกองโจร และมักจะเข้าโจมตีในเวลากลางคืน

ส่วนกองทัพสยามนั้นยังใช้ช้าง และปืนอาร์มสตรอง (Armstrong 64 mm) ซึ่งเป็นปืนใหญ่น้ำหนักมาก ติดไว้บนหลังช้าง ทั้งยังขาดแคลนกระสุน 

พระยาราช (Phraya Raj) ผู้นำของกองทัพสยามได้รับบาดเจ็ดในการรบวันนี้ 

1887 กองกำลังจีนฮ่อได้บุกยึดหลวงพระบางเอาไว้ได้สำเร็จ โดยที่เจ้าอุ่นคำได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในสยาม 

ฝ่ายสยามนั้นได้ส่งกองทัพนำโดยพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) ยกทัพขึ้นไปปราบ แต่ว่าในเวลาเดียวกันนั้ฝรั่งเศส นำโดยออกัสเต้ ปาวี่ (Auguste Pavie) ได้นำทัพจากเวียดนามเข้ามาขับไล่กองกำลังจีนฮ่อออกไป และยึดหลวงพระบางไว้เป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส  

ซึ่งฝ่ายจีนฮ่อนั้นหมดอิทธิพลและสลายไปจากการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินโดจีน

1893 เหตุการณ์ รศ. 112, สงครามระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส

Don`t copy text!