ก๊อต์ตฟรีด ไลบ์นิซ (Gottfried Leibniz)
นักคณิตศาสตร์ผู้สร้างแคลคูลัส, นักปรัชญา
ไลบ์นิซ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 1646 ในเมืองไลบ์ซิก, แซกโซนี่ (Leipzig, Saxony) พ่อของเขาชื่อฟรีดริช (Friedrich Leibniz) เป็นศาสตราจารย์ในวิชาปรัชญาศีลธรรมอยู่ที่มหาวิทยาลัยไลบ์ซิก (University of Leipzig) และแม่ชื่อคาธาริน่า ชมัค (Catharina Schmuck) เป็นภรรยาคนที่สามของฟรีดริช
พ่อนั้นเสียชีวิตไปตอนที่ไลบ์นิชอายุได้ 6 ปี แม่ทำหน้าที่เลี้ยงดูเขาต่อมาและเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขาในด้านปรัชญา พออายุได้ 7 ปี ไลบ์นิช เข้าที่ที่โรงเรียนนิโคไล (Nicolai School) ซึ่งได้เรียนภาษาลาติน และเขายังศึกษาภาษากรีกเพิ่มเติม เขายังชอบศึกษาด้วยตัวเองโดยการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดของพ่อ
1661 เมื่ออายุ 15 ปี ไลบ์นิชเข้าเรียนที่ ม.ไลบ์ซิก(University of Leipzig) ด้านปรัชญา
1663 จบปริญญาตรี โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง On the Principle of the Individual (De Principio Individui)
1664 จบปริญญาโท และได้เข้ากลับเข้าเรียนกฏหมายที่ ม.ไลบ์ซิก อีกครั้ง
1665 ได้รับปริญญาตรีด้านกฏหมาย ซึ่งไม่นานหลังการรับปริญญาแม่ของเขาก็เสียชีวิต
1666 ผลงานเขียนเล่มแรก On the Art of Combinations (Dissertatio de arte combinatorial) แต่ว่าผลงานเล่มนี้ไม่เพียงพอให้มหาวิทยาลัยไลบ์ซิกมอบปริญญาเอกให้กับเขา ไม่นานเขาจึงสมัครเข้าเรียนต่อปริญญาเอกด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยอัตดอร์ฟ (University of Altdort)
1667 กุมภาพันธ์,จบปริญญาเอก โดยวิทยานิพนธ์เรื่อง On Perplexing Cases (De Casibus Perplexis)
เข้าทำงานกับสมาคมนักเล่นแร่แปรธาตุในเมืองนูเรมเบิร์ก(Nuremberg alchemical society) เป็นเวลาสั้นๆ ซึ่งที่นี่เขาได้พบกับบารอนโจฮัน (Baron Johann Christian von Boineburg) ซึ่งชวนเขาไปทำงานด้วย
พฤศจิกายน, ไลบ์นิซเดินทางไปอยู่ในแฟรงเฟิร์ต (Frankfurt) ช่วยงานบารอนโจฮันในหลายด้าน ทั้งวิทยาศาสตร์ กฏหมายและงานเขียน และยังช่วยงานร่างกฏหมายให้กับสภาของเมนซ์ (Courts of Mainz) เพื่อปรับปรุงกฏหมายเก่าให้ดีขึ้น เขาทำงานให้กับสภาจนปี 1672
1671 พิม์ผลงาน New Physical Hypothesis (Hypothesis Physica Nova) โดยแสดงให้เห็นความสนใจของเขาเกี่ยวกับฟิสิกของการเคลื่อนที่ ช่วงเวลานี้เขามีการติดต่อกับโอเดนเบิร์ก (Oldenburg) เลขานุการของโรยัลโซไซตี้ลอนดอน (Royal Society of London)
1672 เดินทางมาปารีสในนามของบารอนโจฮัน มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะโน้มน้าวหลุยส์ ที่ 14 (Louis XIV) ให้หยุดทำสงครามกับเยอรมัน แม้ว่าภาระกิจของไลบ์นิชจะไม่ประสบความสำเร็จแต่เขาก็อยู่ในปารีสต่ออีกสี่ปี
ระหว่างอยู่ในฝรั่งเศสไลบ์นิซยังได้พบกับนักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาหลายคน และเขาได้เข้าเรียนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกกับคริสเตียน ฮูย์เจน (Christiaan Huygens)
ธันวาคม, บารอนโจฮันเสียชีวิต
1673 ไลบ์นิซและหลานของบารอนโจฮันเดินทางไปยังอังกฤษ เพื่อหาทางเจรจาสันติภาพกับฝรั่งเศสแต่ว่าภาระกิจยังล้มเหลว
เมษายน, เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกของโรยัลโซไซตี้แห่งลอนดอน (Royal Society of London) ซึ่งที่สมาคมแห่งนี้เขาได้สนใจศึกษาทฤษฏีคณิตศาสตร์ของนักคณิตศาสตร์อย่าง ปาสคาล (Pascal), ฟาบริ (Fabri) จนกระทั้งไลนิซจากที่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ธรรมดา กลายมาเป็นอัจฉริยะคนหนึ่ง และเริ่มพัฒนาสูตรคณิตศาสตร์ของตัวเอง
1675 เขาเขียนสัญลักษณ์ของอินติกัล ( ∫ ) ออกมาครั้งแรก
1676 มาอยู่ในฮันโอเวอร์ (Hanover) เขาได้ทำงานกับดุ๊กโจฮันน์ (Johann Friedrich, Duke of Hanover) ได้ตำแหน่งเป็นบรรณารักษ์และทำงานในสภาของเมือง ซึ่งเขาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ที่เมืองนี้และทำงานหลายๆ โครงการ
1678 เริ่มโครงการ Harz Project เป็นโครงการที่พยายามจะใช้พลังงานลมและน้ำบนภูเขาฮาร์ซ (Harz mountains) ในการปั่นปั๊มน้ำที่ใช้สูบน้ำออกจากเหมือง แต่ว่าโครงการนี้ล้มเหลวหลังจากเขาใช้ความพยายามหลายปีจนถึงปี 1684 อย่างไรก็ตามมันทำให้เขาค้นพบทฤษฏีเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ เช่น เขาอธิบายว่าโลกเคยอยู่ในสภาพหลอมเหลว
1679 ในหนังสือ Explication de l’Artihmetique Binaire ของไลบ์นิซ ปรากฏระบบเลขฐานสอง (Binary number system) เป็นครั้งแรก
1701 ไลบ์นิซได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ Paris Academy หลังจากผลงานเรื่องเลขฐานสองของเขาตีพิมพ์ลงใน Essay d’une nouvelle science des nombres
1680 ดุ๊กโจฮันเสียชีวิต และเอิร์น ออกัส(Ernst August)น้องชายได้รับตำแหน่งดุ๊กต่อมา
1684 Determinants เป็นคณิตศาสตร์อีกด้านที่เป็นผลงานการคิดค้นสำคัญของไลบ์นิซ เอกสารที่เขาเขียนลงวันที่ 22 มกราคม 1864 แต่ว่าผลงานไม่ได้รับการตีพิมพ์ในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู๋
Differential Calculus, แคลคูลัส ของไลบ์นิซเริ่มเปิดเผยรายละเอียดตีพิมพ์ลงในวารสาร Nova Methodus pro Maximis et Minimis, itemque Tangentibus.. in Acta Eruditorum
1686 เขียน Discours de metaphysique (Discourse on Metaphysics)
ใน Acta Eruditorum ปรากฏเครื่องหมายอินติกรัล (“∫”)ที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรก
1687 ไอแซ็ค นิวตัน (Isaac Newton) เขียน Principia ซึ่งเขาอธิบายคณิตศาสตร์ที่เขาเรียกว่าฟลักชั่นส์ (method of fluxions) ซึ่งคือสิ่งเดียวกันกับแคลคูลัสของไลบ์นิซ แต่อย่างไรก็ดี นิวตันไม่ได้ตีพิมพ์ Principia จนกระทั้งถูกพิมพ์ในปี 1736
1689 ช่วงที่มาอยู่ในวาติกันและทำงานให้กับห้องสมุดของวาติกัน เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ Accademia
1700 ร่วมก่อตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์บรันเดนเบิร์ก (Brandenburg Society of Sciences~Berlin Academy of Science) ในเบอร์ลิน โดยที่เขาได้รับตำแหน่งเป็นประธานคนแรก ไลบ์นิซมีโอกาสได้พบกับจักรพรรดิปีเตอร์ แห่งรัสเซีย (Peter the Great) หลายครั้ง
1701 Law of Continuity ,
1710 พิมพ์ Essais de Theodicee หนังสือปรัชญาของเขาที่ไลบ์นิซบอกว่าจักรวาลเป็นสิ่งไม่สมบูรณ์ ไลบ์นิซ ปรากฏศัพท์อย่าง ธีโอดิซี (Theodicy) ซึ่งพยายามจะอธิบายคำถามว่า “ทำไมพระเจ้าถึงอนุญาตให้มีความชั่วบนโลก”
เขาปฏิเสธทฤษฏีที่ว่าจักวาลเกิดจากสสาร (matter), อวกาศ(space)และเวลา(time) แต่ไลบ์นิซเสนอว่าโมนาด (monad) เป็นพื้นฐานที่แท้จริงของจักรวาลซึ่งไม่ใช่สสารในอวกาศและเวลา โมนาดจะไม่มีความเร่งและไม่มีการเคลื่อนที่
1711 วารสาร Transactions of the Royal Society of London ตีพิมพ์บทความของคีลล์ (Wallis Keill) ที่กล่าวหาไลบ์ซิกว่าขโมยทฤษฏีแคลคูลัสมาจากนิวตัน แต่ไลบ์ซิกตอบโต้ว่าเขาไม่เคยรู้เรื่อง fluxions ของนิวตันเลย จนกระทั้งได้อ่านงานเขียนของคีลล์
ไลบ์นิซได้เขียนจดหมายกลับไปยังโรยัลโซไซตี้ลอนดอน ให้ลงบทความแก้ไขและข้อโทษเขา แต่ว่าโรยัลโซไซตี้สอบสวนเรื่องนี้อย่างลำเอียงเข้าข้างนิวตัน
1714 Monadology, เป็นผลเขียนอีกเล่มหนึ่งของเขาที่รู้จักกันดี ซึ่งไลบ์นิซพยายามอธิบายความหมายของโมนาดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1716 14 พฤศจิกายน, เสียชีวิตในฮันโอเวอร์