Numquam prohibere somniantes
Gavrilo Princip
Gavrilo Princip

Gavrilo Princip

กาฟริโล่ ปรินซิป (Гаврило Принцип)
ผู้ปลงพระชนษ์เจ้าชายฟรานซ์ เฟอร์นินันด์ (Franz Ferdinand of Austria) จนเป็นชนวนไปสู่สงครามโลก นครั้งที่ 1
ปริ้นซิป เกิดวันที่ 25 กรกฏาคม 1894 ในหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อโอเบิ้ลแจจ (Obljaj) ในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวิน่า (Bosnia and Herzegovina) ซึ่งในช่วงเวลานั้นถูกออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เข้ามายึดครองตั้งแต่ปี1878
พ่อชื่อว่าเปตาร์ (Petra) ส่วนแม่ของชื่อมาริจา (Marija) 
ปริ้นซิปเป็นลูกคนที่สองในพี่น้องเก้าคน แต่ว่าพี่น้องหกคนเสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทารก ครอบครัวของพวกเขามีอาชีพเกษตรกรรมที่มีฐานะยากจน พวกเขานับถือศาสนาคริสต์นิกายเซอร์เบียออโธด๊อกซ์เหมือนกับชาวเซิร์บทั่วไป   ซึ่งช่วงเวลานั้นชาวเซิร์ฟส่วนใหญ่มักทำงานในไร่นาของเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นมุสลิม ชาวเซิร์ฟส่วนมากจึงถูกกดขี่
1903 ปริ้นซิปเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนประถม ตอนที่มีอายุ 9 ขวบ 
1907 ตอนอายุ 13 ปี ได้เดินทางไปยังซาราเจโว (Sarajevo) โดยมีแผนที่จะสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนนายทหารของออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungarian military school) แต่ว่าเมื่อเดินทางมาถึงซาราเจโว พี่ชายของเขา ที่ชื่อโจวาน (Jovan) ซึ่งเป็นคนที่ริเร่ิมต้องการให้ปริ้นซิปเข้าเรียนในโรงเรียนทหารแต่แรกนั้นเกิดเปลี่ยนใจ เพราะว่าเพื่อนของเขาทักท้วงว่าไม่ต้องการให้น้องชายกลายไปเป็นมือสังหารชาวเซิร์ปด้วยกันเอง  ปริ้นซิปจึงได้เปลี่ยนไปสมัครเรียนในโรงเรียนการค้าแทน โดยที่พี่ชายของเขาทำงานรับจ้างขายแรงงานทั่วไปเพื่อที่จะส่งให้น้องชายเรียนหนังสือ
1910 ปริ้นซิปย้ายกลับเข้ามาเรียนในโรงเรียนจิมเนเซียมในซาเรเจโว ซึ่งช่วงเวลานี้เขาได้หลงไหลอุดมการณ์ของนักปฏิวัติชาวบอสเนียชื่อบ๊อกดาน เซราจิค (Bogdan Zerajic)
1911 ปริ้นซิปเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาที่เคลื่อนไหวใต้ดิน Young Bosnia (Mlada Bosna /Млада Босна) ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชของบอสเนียจากออสเตรีย-ฮังการี 
1912 ปริ้นซิปถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะเข้าร่วมการเดินขบวนประท้วงออสเตรีย-ฮังการี หลังจากนั้นเขาจึงได้ออกจากซาราเจโว และได้เดินทางด้วยเท้าเปล่าไปยังกรุงเบลเกรด (Belgrade) ของเซอร์เบีย (Kingdom of Serbia) และเขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักรบกองโจรที่นำโดยร้อยเอกโวจิสลาฟ แตนโกซิค (Vojislav Tankosic) ที่ต่อสู้กับพวกอ๊อตโตมัน ซึ่งร้อยเอกโวจิสลาฟยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม Black Hand สมาคมลับ ซึ่งว่ากันว่าอยู่เบื้องหลังของกลุ่ม Young Bosnia 
แต่ว่าหลังจากที่ปริ้นซิปพยายามจะสมัครเข้าทำงานราชการในเบลเกรดแต่ว่าถูกทางการปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าเขามีรูปร่างเล็กเกินไป ปริ้นซิปก็ได้เดินทางกลับซาราเจโวโดยไปพักอยู่กับพี่ชาย แต่ว่าปริ้นซิปยังเดินทางไปมาระหว่างซาราเจโวกับเบลเกรดอีกหลายหน จนกระทั้งได้มีโอกาสพบกับซิโวจิน ราฟาจโลวิด (Zivojin Rafajlovic) ผู้ก่อตั้งสมาคมการปฏิวัติเซอร์เบีย (Chetnik / Serbian Revolution Organization) ซึ่งราฟาจโลวิคได้ส่งปริ้นซิปไปฝึกการต่อสู้ที่ศูนย์ฝึกในเมืองวีรันเจ (Vranje) ซึ่งที่นี่ปริ้นซิปไปพักอยู่ที่บ้านของมิฮาจโล สเตปาโนวิค-คุปาร่า (Mihajlo Stevanovic-Cupara) ซึ่งเป็นผู้จัดการของโรงเรียนที่ปริ้นซิปมาฝึกการต่อสู้
1913 ปริ้นซิปอยู่ในซาราเจโว ในขณะที่ทางการออสเตรีย-ฮังการี ได้ประกาศใช้กฏอัยการศึก และได้สั่งควบคุมโรงเรียนของชาวเซิร์ปทั้งหมด
1914 28 มิถุนายน, ปริ้นซิป เข้าร่วมในทีมสังหารฟราน เฟอร์ดินันด์ (Franz Ferdinand,Archduke of Austrian) มงกุฏราชกุมารของออสเตรีย และพระชายาโซเฟีย (Sophie Chotek, Duchess of Austria) ซึ่งเจ้าชายฟราน เฟอร์ดินนันด์ ได้เสร็จมาเพื่อตรวจกำลังทหารในบอสเนีย
ทีมสังหารประกอบไปด้วย มูฮัมเหม็ด เมห์เหม็ดบาซิค (Muhamed Mehmedbašić), วาโซ่ คูบริโลวิค (Vaso Čubrilović), เนเดลโก็ คาบริโนวิค (Nedeljko Čabrinović), อีริค ฟอน เมริซซี (Eric von Merizzi), อเล็กซานเดอร์ ฟอน บูส-วัลเด็คก์ (Count Alexander von Boos-Waldeck)
โดยเวลาประมาณ 10.15 น. เมื่อขบวนรถยนต์ของเจ้าชายฟราน เฟอร์ดินันด์เสร็จผ่านมา คาบริโนวิค ได้ใช้ระเบิดมือเควี้ยงเข้าไปยังรถที่ทรงประทับ แต่ว่าระเบิดทำงานช้าไปเล็กน้อยทำให้ระเบิดไปตกใส่ล้อของรถคันหลังที่ตามเสด็จ แต่ก็ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง  ส่วนคาร์บิโนวิคซึ่งกลัวจะถูกจับจึงได้กินไซยาไนด์เข้าไปแล้วกระโดดลงไปในแม่น้ำมิลแจ็คก้า (Miljacka river) หวังจะฆ่าตัวตาย แต่ว่ายาของเขาเสื่อมสมรรถภาพและแม่น้ำตอนนั้นก็ตื่นเกินไป ทำให้เขาไม่เสียชีวิตและถูกจับตัวได้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หลังเหตุการณ์ปาระเบิดเข้าใส่ขบวนเสด็จ เจ้าชายฟราน เฟอร์ดินันด์ ได้ตัดสินใจที่จะไปเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดที่โรงพยาบาล ซึ่งเมื่อรถยนต์ที่ประทับได้กลับรถและเกียร์ของรถยนต์เกิดสะดุด ทำให้ รถหยุด และปริ้นซิปฉวยโอกาสที่จะเข้าไปใกล้รถยนต์ที่ประทับได้และได้ใช้ปืนพก FN 1910 ยิงเข้าที่เจ้าชายในระยะห่างเพียงเมตรครึ่ง สองนัด ซึ่งกระสุดได้เจาะเข้าที่ลำคอของเจ้าชาย และเข้าที่ช่องท้องของพระชายา ซึ่งทั้งสองพระองค์เสียชีวิตในเวลาประมาณ 11 น.
ปริ้นซิปได้กินไซยาไนด์เข้าไปหวังจะฆ่าตัวตายเช่นกัน แต่ยาของเขาไม่ออกฤทธิ์ เขาจึงได้ใช้ปืนพยายามฆ่าตัวตาย แต่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แย่งปืนของเขามาได้ก่อนที่เขาจะยิง
5 ธันวาคม, ปริ้นซิปถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีในศาล ซึ่งขณะก่อเหตุเขามีอายุเพียง 19 ปี ซึ่งตามกฏหมายทำให้เขาไม่ต้องถูกลงโทษประหารชีวิต แต่เขาถูกตัดสินจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 20 ปีแทน
23 กรกฏาคม, (Australia-Hungarian Ultimatum) ออสเตรีย-ฮังการี ยื่นเงื่อนไขบังคับให้เซอร์เบียปฏิวัติตามมิเช่นนั้นจะประกาศสงคราม เช่น การเรียกร้องให้เซอร์เบียจับผู้นำกลุ่ม Black Hand ส่งมอบให้ทางการออสเตรีย , ให้เซอร์เบียปิดองค์กรต่างๆ ที่ต่อต้านออสเตรีย-ฮังการี
28 กรกฏาคม, ออสเตรียประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
1918 28 เมษายน, ปริ้นซิป เสียชีวิตภายในเรือนจำในค่ายทหารเตเรซิน (Terezín) ในเชค ด้วยอาการของวัณโรค ซึ่งตอนที่เขาเสียชีวิต วัณโรคได้กินกระดูกของเขาไปมาก จนกระทั้งแขนขวาต้องถูกตัด และน้ำหนักของเขาก็เหลือเพียง 40 กิโลกรัม
หลังจากปริ้นซิปตายแล้วนั้นกระดูกของเขาถูกนำไปฝังในหลุมนิรนามโดยเจ้าหน้าที่เลือนจำ เพราะเกรงว่ากระดูกของเขาจะกลายเป็นสัญลักษณ์ให้กับชาวเซิร์ป

1920 มีการขุดกระดูกของปริ้นซิปขึ้นมา โดยความช่วยเหลือของทหารที่ทราบตำแหน่งของกระดูกของเขาและกระดูกของปริ้นซิปถูกนำกลับไปยังซาราเจโวและนำไปไว้ที่สุสานเซนต์มาร์ก (St.Mark’s Cemetery) 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!