เกมาล อับเดล นัสเซอร์ (مال عبد الناصر حسين)
นัสเซอร์ เกิดวันที่ 15 มกราคม 1918 ในอเล็กซานเดรีย, อียิปต์ (Alexandria, Sultanate of Egypt) ซึ่งในขณะนั้นอียิปต์ยังคงปกครองด้วยระบอบสุลต่าน พ่อของเขาชื่ออับเดล ฮุสเซน (Abdel Nasser Hussein) และแม่ชื่อฟาฮิมา (Fahima) พ่อของเขาทำงานไปรษณีย์ นัสเซอร์เป็นลูกคนโตของครอบครัว เขามีน้องชายอีกสองคนชื่ออิซซ์ (Izz al-Arab) และอัล ลีธี (al-Leithi)
ครอบครัวของเขาต้องย้ายที่อยู่บ่อยเพราะว่างานของพ่อ นัสเซอร์นั้นได้เรียนหนังสือในโรงเรียนประถมสำหรับลูกของพนักงานไปรษณีย์
1921 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่เมืองอัสยุต (Asyut)
1923 ย้ายมาอยู่ในเมืองคาตัตบา (Khatatba)
1924 นัสเซอร์ถูกส่งให้มาอยู่กับย่าในกรุงไคโร และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมนาห์ฮาซิน (Nahhasin elementary school) โดยระหว่างนี้เขาเขียนจดหมายติดต่อกับแม่เป็นประจำ
1926 แม่ของเขาเสียชีวิต หลังจากให้กำเนิดน้องชายอีกคนให้กับนัสเซอร์ ซึ่งทำให้นัสเซอร์เสียใจมากและเสียใจมากขึ้นไปอีกเมื่อไม่กี่เดือนหลังจากแม่เสีย พ่อของเขาก็แต่งงานใหม่
1928 ย้ายมาอยู่กับปู่ในอเล็กซานเดรีย และเข้าเรียนในโรงเรียนประถมอัตตาริน (Attarin elementary school)
1929 ย้ายมาเรียนในโรงเรียนประจำของเอกชนแห่งหนึ่งในเมืองเฮลแวน (Helwan)
1930 ย้ายกลับมาอยู่กับพ่อในอเล็กซานเดรียและเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมราส เอล-ติน (Ras el-Tin) ซึ่งเมื่องกลับมาอยู่ที่อเล็กซานเดรียนัสเซอร์เริ่มเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม Young Egypt Society กลุ่มชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชให้อียิปต์จากการปกครองของอังกฤษ ซึ่งภายหลังก่อตั้งเป็นพรรคการเมือง
1933 เมื่อพ่อของเขาย้ายมาทำงานในกรุงไคโร นัสเซอร์ก็ย้ายตามมาด้วย และเข้าเรียนที่โรงเรียน อัล-นาห์ดา อัล-มัสเรีย (al-Naha al-Maria school) ช่วงเวลานี้เขาเริ่มเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ของโร
งเรียน
1935 13 พฤศจิกายน, นัสเซอร์นำขบวนนักศึกษาเดินประท้วงต่อต้านการปกครองของอังกฤษ เรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญปี 1923 กลับมาใช้
12 ธันวาคม, กษัตริย์ฟารูก (Farouk) ประกาศนำรัฐธรรมนูญ 1923กลับมาใช้
1936 Anglo-Eqyptian Treaty
1937 สมัครเข้าเรียนในสถาบันทหาร (Royal Military Academy) แต่ว่าประวัติทางการเมืองทำให้เขาถูกปฏิเสธ นัสเซอร์จึงได้เปลี่ยนมาเข้าเรียนกฏหมายที่มหาวิทยาลัยคิงฟูอัด (King Fuad University) แต่ว่าเรียนได้เทอมเดียว เขาก็สมัครเข้าเรียนที่สถาบันทหารอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้เขาได้รับอนุญาตให้เข้าเรียน ด้วยความช่วยเหลือของไครี่ ปาชา (Ibrahim Khairy Pasha) ซึ่งขณะนั้นเป็นรองรัฐมนตรีกลาโหม
ระหว่างที่เรียนในสถาบันทหารเขาได้รู้จักกับอับเดล เอเมอร์ (Abdel Hakim Amer) และอันวาร์ ซาดัต (Anwar Sadat) ซึ่งทั้งสองมีส่วนช่วยให้นัสเซอร์ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในภายหลัง
1938 ช่วงกลางปีเขาเรียนจบจากสถาบันทหาร โดยได้รับยศเป็นร้อยโทและถูกส่งไปประจำการที่เมืองแมนกาบัด (Mankabad)
1941 ถูกส่งไปประจำการณ์ในคาร์ตวม, ซูดาน (Khartoum, Sudan) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอียิปต์
1942 เอกอัครทูตอังกฤษประจำอียิปต์ ไมล์ แลมป์สัน (Miles Lampson) เป็นผู้นำขบวนประท้วงเดินไปยังพระชายวังของกษัตริย์ฟารูก เรียกร้องให้พระองค์ปลดนายกรัฐมนตรีฮุสเซน ปาชา (Hussein Siri Pasha) ออกจากตำแหน่ง เพราะเขาเป็นว่านายกรัฐมนตรีปาชา สนับสนุนฝ่ายอักษะ (Axis) ซึ่งนัสเซอร์มองกว่าการกระทำของทูตอังกฤษเป็นการละเมิดอธิปไตยของอียิปต์อย่างร้ายแรง เขาจึงเริ่มรวบรวมนายทหารที่มีความคิดชาตินิยมคล้ายๆ กันเพื่อเตรียมการปฏิวัติ
ปีเดียวกันนี้นัสเซอร์ได้เข้าเรียนวที่วิทยาลัยเจ้าหน้าที่ทหาร (General Staff College)
1943 ถูกเรียกกลับมายังไคโร เพื่อรับตำแหน่งครูผู้ฝึกที่สถาบันทหาร
1945 นัสเซอร์ได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มลับๆ ขึ้นมาชื่อ Free Offices เพื่อทำการปฏิวัติ โดยในแรกเริ่มก่อตั้งนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของ Muslim Brotherhood
1948 นัสเซอร์ร่วมรบในสงครามจริงๆ ในช่วงสงครามอิสราเอล-อาหรับ (Arab-Israeli War) ในพื้นที่บริเวณปาเลสไตน์ (Palestine) ซึ่งนัสเซอร์มีโอกาสได้พบกับโมฮัมหมัด อัล-ฮุเซย์นี (Mohammad Amin al-Husayni) ผู้นำของกลุ่ม AHC (Arab Higher Committee) ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองหลักที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์ในดินแดนปาเลสไตน์
พฤษภาคม, อังกฤษถอนกำลังออกจากดินแดนปาเลสไตน์ กษัตริย์ฟารุกของอียิปต์จึงได้ส่งกองทัพเข้าไป โดยนัสเซอร์ได้ประจำการณ์ในหน่วยทหารราบที่ 6 ซึ่งปก้ปองพื้นที่บริเวณฟาลูจา (Faluja pocket)
12 กรกฏาคม, เขาได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยในการรบ จากการถูกกระสุนของทหารอิสราเอล ซึ่งบริเวณฟาลูจานี้ถูกปิดล้อมโดยกองทัพอิสราเอล และไม่นานการเจรจาทำให้่อียิปต์ยอมยกฟาลูจาให้กับอิสราเอล เล่ากันว่านัสเซอร์เริ่มเขียนหนังสือ Philosophy of the Revolution ระหว่างที่หน่วยทหารของเขาติดอยู่ในวงล้อมของอิสราเอลที่ฟาลูจานี้
หลังสงคราม นัสเซอร์กลับมาเป็นครูฝึกสอนที่สถาบันทหาร
1949 30 มีนาคม, ฮุสนี่ อัล-ซาอิม (Husni al-Za’im) ทำการปฏิวัติในซีเรีย โดยไร้การนองเลือดและได้รับการสนับสนุนจากชาวซีเรียส่วนใหญ่ เหตุการณ์นี้กระตุ้นความต้องการล้มการปกครองของกษัตริย์ของนัสเซอร์เพิ่มมาขึ้น
1952 25 มกราคม, เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างกองกำลังทหารอังกฤษกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอียิปต์ในเมืองอิสไมเลีย (Ismailai) ทำให้ตำรวจอียิปต์เสียชีวิตไปกว่าสี่สิบนาย เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงและกลายเป็นจราจลในกรุงไคโร ทำให้มีคนเสียชีวิตเพิ่มอีกเป็น 76 คน
หลังเหตุการณ์นี้ นัสเซอร์เขียนบทความลงในนิตยสาร Rose al-Yūsuf ประกาศแผนที่จะขับไล่อังกฤษออกจากอียิปต์
23 กรกฏาคม, ปฏิวัติอียิปต์ (Egyptian revolution 1952) กลุ่ม Free Officers นำโดยนายพลมูฮัมหมัด นาจิ๊บ (General Muhammad Naguib) ซึ่งนัสเซอร์เลือกขึ้นมาเป็นผู้นำเพราะว่านัสเซอร์เองเห็นว่าตัวของเขาเองเป็นนายทหารที่มียศต่ำจึงอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนทำการยึดอำนาจจากกษัตริย์ฟารุกได้สำเร็จ โดยที่พวกเขายินยอมให้กษัตริย์ฟารุกลี้ภัยออกนอกประเทศไปได้
1953 18 มิถุนายน, นายพลนาจิ๊บ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอียิปต์ และระบบกษัตริย์ในอียิปต์สิ้นสุดลง ส่วนแกนนำของ Free Officers กลายสภาพไปเป็นสภาการปฏิวัติ (Revolutionary Colman Council) โดยนาจิบเป็นประธานสภาฯ และนัสเซอร์เป็นรองประธานสภาฯ
11 กันยายน, รัฐบาลอียิปต์ออกกฏหมายปฏิรูปที่ดิน (Agrarian Reform Law)
1954 25 กุมภาพันธ์, นายพลนาจิ๊บลาออกจากตำแหน่ง และเขาถูกนัสเซอร์กักบริเวณเอาไว้แต่ภายในบ้านพัก , RCC ได้ตั้งนัสเซอร์ขึ้นเป็นประธานคนใหม่และเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่กลุ่มผู้สนับสนุนนายพลนาจิ๊บ โดยเฉพาะกลุ่ม Muslim Brotherhood ได้พากันประท้วงให้คืนตำแหน่งประธานาธิบดีให้กับเขา
4 มีนาคม, นายพลนาจิ๊บได้รับการตั้งกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง
26 ตุลาคม, มาห์มุด ลาตีฟ (Mahmoud Abdel-Latif) สมาชิกของ Muslim Brotherhood พยายามจะลอบสังหารนัสเซอร์ระหว่างที่เขาไปกล่าวปราศรัยในอเล็กซานเดรีย ในโอกาสที่อังกฤษยอมถอนทหารออกจากอียิปต์ แต่ว่ากระสุนที่ยิงใส่นัสเซอร์พลาดเป้าไป
หลังเหตุการณ์ลอบสังหาร นัสเซอร์จึงได้ทำการกวาดล้างกลุ่มผู้สนับสนุนนายพลนาจิ๊บ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม Muslim Brotherhoods จำนวนมาก, และนายพลนาจิ๊บถูกถอดจากตำแหน่งประธานาธิบดีและถูกคุมขังไว้แต่ในบ้านพักโดยไม่ได้ถูกนำตัวมาพิพากษา
1955 การประชุมที่บันดุง (Bandung Conference) ในอินโดนีเซีย นัสเซอร์ มีความเห็นสอดคล้องกับนายพลติโต (Josip Broz Tito) แห่งยูโกสลาเวีย และนายกรัฐมนตรีเนห์รู (Jawaharlal Nehru) ของอินเดีย ที่จะตั้งกลุ่มประเทศโลกที่ 3 ซึ่งเป็นกลางในช่วงสงครามเย็น ไม่เข้าข้างสหรัฐฯ หรือสหภาพโซเวียต
1956 รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอียิปต์ กำหนดให้ใช้ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว คือพรรค National Union (NU)
26 กรกฎาคม , นัสเซอร์ประกาศควบคุมกิจการคลองซุเอซ (Suez Canal) ให้กลับมาเป็นกิจการของรัฐ
29 ตุลาคม, อิสราเอลโจมตีกองทัพอียิปต์ในคาบสมุทรไซนาย หลังจากนั้นสองวันอังกฤษและฝรั่งเศสก็ส่งเครื่องบินโจมตีอียิปต์
7 พฤศจิกายน, วิกฤตคลองซุเอซ ยุติลงได้ด้วยแรงกดดันจากสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตประเทศที่รุกรานอียิปต์ และมีการส่งทหารรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติเข้ามาดูแลบริเวณพรหมแดนอียิปต์และอิสราเอลแทน วิกฤตครั้งนี้อียิปต์พ่ายแพ้ในทางการทหารเพราะเสียทหารไปกว่าสามพันนาย แต่ว่าได้รับชัยชนะทางการเมือง เมื่อเสียงสนับสนุนเขาเพิ่มมากขึ้นจากการนำคลองซุเอชกลับมาเป็นสมบัติของชาติได้
1957 วิกฤตคลองซุเอชทำให้คะแนนนิยมในตัวนัสเซอร์เพิ่มมากขึ้นไม่เฉพาะภายในประเทศอียิปต์แต่ว่าความนิยมเขากระจายไปทั่วในตะวันออกกลางและแอฟริกา จนนัสเซอร์ขายแนวคิด pan-Arabism ซึ่งต้องการรวมเอาชาติอาหรับเข้ามาเป็นสหรัฐฯ
1958 1 กุมภาพันธ์, อียิปต์และซีเรีย รวมประเทศกันเป็นสาธารณรัฐสหรัฐอาหรับ (United Arab Republic, UAR) โดยที่นัสเซอร์เป็นประธานาธีคนแรก
14 กรกฏาคม, (July Revolution) เกิดการปฏิวัติโค่นล้มระบบกษัตริย์ในอิรัก กษัตริย์ไฟซาล ที่ 2 (Faisal II) และสมาชิกราชวงศ์ส่วนใหญ่ถูกปลงพระชนษ์
1965 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี สมัยที่ 2
1961 28 กันยายน, กลุ่มที่ไม่ต้องการให้ซีเรียรวมกับอียิปต์ ได้ก่อกรรัฐประหารในกรุงดามัสกัส และประกาศแยกซีเรียออกจาก UAR
5 ตุลาคม, ซีเรียประกาศแยกตัวออกจาก UAR อย่างเป็นทางการ
1962 27 กันยายน, อับดุเลาะห์ อัล-ซัลเลาะล์ (Abdullah al-Sallal) ทำการรัฐประหารในเยเมนเหนือ (North Yemen) โดยที่นัสเซอร์ให้การสนับสนุน แต่อิหม่าม บัดร์ (Imam Badr) ที่ถูกรัฐประหารได้รับความช่วยเหลือจากซาอุดิอาระเบีย ทำให้เยเมนเกิดสงครามกลางเมืองที่ยาวนานหลายปี
กรกฏาคม, อัลจีเรีย (Algeria) ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส
1963 8 กุมภาพันธ์, เกิดการปฏิวัติอิรัก และ Abdel Salam Aref ซึ่งเป็นฝ่ายนิยมนัสเซอร์ได้ขึ้นเป็นประธานาธ.บ. ดี
8 มีนาคม,เกิดการปฏิวัติในซีเรียโดยฝ่ายนิยมนัสเซอร์เช่นกัน
หลังการปฏิวัติในอิรักและซีเรีย ทั้งสองประเทศได้ส่งทูตมาเจรจากับนัสเซอร์ในการตั้งสหภาพอาหรับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีการตกลงกันว่าวันที่ 17 มีนาคมจะมีการตั้งสหภาพอาหรับขึ้นมา แต่ว่าข้อตกลงนี้ล้มไปเพราะว่าเกิดการกวาดล้างฝ่ายนิยมนัสเซอร์เสียก่อนในซีเรีย
1967 อียิปต์พ่ายแพ้ต่ออิสราเอล ในช่วงสงครามหกวัน (Six-Day War)
1968 19 มิถุนายน, แต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีและผู้นำสูงสุดของกองทัพ และเริ่มทำสงคราม (War of Attrition) เพื่อนำดินแดนที่สูญเสียไปให้กับอิสราเอลคืนมา
1970 28 กันยายน, เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย