Numquam prohibere somniantes
Fyodor Tyutchev
Fyodor Tyutchev

Fyodor Tyutchev

โฟดอร์ ทุตเชฟ (Фёдор Тютчев)

กวี

 ทุตเชฟ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1803 ในหมู่บ้านออฟสตัก (Ovstug village) ราว 30 กิโลเมตรจากเบอร์ยานส์ก (Bryansk, Russian Empire)  หมู่บ้านของเขาอยู่บนฝังแม่น้ำเดสน่า  (Desna River) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทุตเชฟเป็นลูกชายคนที่สองของบ้าน พ่อของเขาชื่ออีวาน (Ivan Tyetchev) และแม่ชื่อแคทเธอรีน (Ekaterina L. Tyutchev) ภายในบ้านของเขานั้นใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารระหว่างกัน มีเพียงคนรบใช้ที่ใช้ภาษารัสเซีย ทำให้ทุตเชฟนั้นเชี่ยวชาญในทั้งสองภาษา แต่เขานั้นใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก

1812 ย้ายมาอยู่ในเมืองเยโลสลาฟ ไม่นานก่อนที่เมืองนี้จะถูกโจมตีโดยกองทัพของนโปเลียน

ทุตเชฟได้เรียนหนังสือโดยจ้างเซมยอน ไรซ์ (Semyon Raich) มาเป็นครูสอนที่บ้าน โดยเขาได้เรียนวรรณกรรมอิตาลีและวรรณกรรมคลาสสิค ทุตเชฟนั้นหลงไหลการอ่านมาตั้งแต่นั้น เขาเริ่มแปลผลงานของฮารีส (Horace) กวีชาวโรมัน มาเป็นภาษารัสเซียตั้งแต่อายุ 12 และเริ่มเขียนบทกวีของตัวเองตอนอายุ 16

1819 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ (Moscow University) ในคณะปรัชญา 

1822 เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ ที่สำนักงานในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กก่อนเขาถูกส่งไปเป็นเจ้าหน้าที่ทูตยังมิวนิค โดยเป็นผู้ช่วยของเคาต์ออสเตอร์มัน-ตอลสตอย (Count Ostermann-Tolstoy) ซึ่งเป็นญาติของเขาด้วย  จากงานของเขาทำให้ทุตเชฟใช้ชีวิตในต่างประเทศนานกว่า 22 ปี 

ในเมืองมิวนิคนี้ ทุตเชฟได้ตกหลุมรักเคาน์เตส อเมลีย์ เลอร์เชนเฟล์ด(Amalie von Lerchenfeld) แต่ความรักของทั้งคู่ไม่สมหวัง เมื่ออเมลีย์ถูกบังคับให้ไปแต่งงานกับบารอนอเล็กซานเดอร์ (Baron Alexander von Krüdener) อย่างไรทั้งคู่ยังคบหากันในฐานะเพื่อนตลอดมา และในวันที่ทุตเชฟเสียชีวิตเธอก็อยู่ด้วย

1826 กลับมาจากเยอรมันและได้แต่งงานกับ อีเลียนอร์ ปีเตอร์สัน (Elenore “Nelly” Peterson (Bothmer)) เธอเป็นหญิงม่ายที่มีลูกติดสามคน หลังแต่งงานกับทุตเชฟพวกเขามีลูกด้วยกันอีกสามคน ชื่อแอนน่า (Anna) , ดาร์ย่า (Darya) และแคทเธอรีน (Ekaterina)

1836 เจ้าชายอีวาน กาการิน (Prince Ivan Gagarin) เพื่อนของทุตเชฟได้ขออนุญาตนำบทกวีของเขาไปตีพิมพ์ลงในหนังสือแม็กกาซีน Sovermennik ของพุชกิ้น แต่ว่างานของเขายังไม่ได้รับความสนใจเท่าไรในขณะนั้น

1837 ถูกย้ายไปอยู่ในตูริน (Turin) พวกเขาลงเรือไอน้ำ ชื่อ นิโคลัส 1 (Nicholas I) จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปยังตูริน แต่ระหว่างที่เรืออยู่ในทะเลบอลติก ก็ประสบอุบัติเหตุ แม้ทุกคนรอดชีวิตมาได้ แต่อีเลียนอร์ก็มีปัญหาสุขภาพมาตั้งแต่นั้น

1838 อีเลียนอร์ ภรรยาของเขาเสียชีวิต

1839 แต่งงานกับเออร์เนสไตน์ (Ernestine von Dornberg)  มีลูกด้วยกันหนึ่งคนชื่ออิวาน  (Ivan) หลังจากแต่งงานไม่นานเขาก็ลาออกจากกระทรวง แล้วกลับไปอาศัยในมิวนิค

1844 กลับมาอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และทำงานในแผนกเซนเซอร์หนังสือของกระทรวงต่างประเทศ หนังสือที่ไม่ได้รับอนุญาตให้แปลเป็นภาษารัสเซียที่ถูกเซนเซอร์ในตอนนั้นอย่างเช่น Communist Manifesto 

1846 พบรักกับอีลิน่า เดนิซีว่า (Elena Denisieva) ซึ่งมีอายุอ่อนกว่าเขายี่สิบปี ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันแบบลับๆ และมีลูกด้วยกันสามคน 

1864 อีลีน่าเสียชีวิตด้วยวัณโรค 

1873 มกราคม, ล้มป่วยด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

27 กรกฏาคม เสียชีวิตภายในโรงพยาบาลในพระราชวังซาร์สโกเย่ เซโล่ (Tasrskoe Selo)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!