ฝรั่งเศส กับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในรวันดา
รวันดา เคยเป็นเมืองขึ้นของเยอรมัน ในช่วงศตวรรษที่ 19 ระหว่างปี 1897 จนกระทั้งหลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 ในปี 1918 ก็กลายเป็นประเทศใต้การดูแลของเบลเยี่ยม ตาความตกลงขององค์การสันนิตบาตชาติ (League of Nations) ซึ่งช่วงเวลาที่เบลเยี่ยมดูแลอยู่นั้นฝ่ายชนเชื้อสายทัดซี (Tutsi) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ ที่มีประชากรราว 15% มีอำนาจในการปกครอง และฝ่ายชาวฮูตู (Hutu) ซึ่งมีประชากร 85% กลายเป็นพลเมืองชั้นสอง ซึ่งภายใต้การปกครองของทั้งเยอมันและเบลเยี่ยมนำระบบการแบ่งแยกและปกครองมาใช้ ทำให้ชนสองเชื้อชาตินี้มีความแปลกแยกกันมาก ฝ่ายทัดซีนั้นได้รับการดูแลที่ดีกว่าและได้รับการศึกษาแบบตะวันตก นอกจากนั้นเบลเยียมยังเอาระบบบัตรประชาชน ที่แยกเชื้อชาติสองฝ่ายชัดเจนมาใช้ในปี 1933
ชาวฮูตูในเวลานั้นส่วนใหญ่กลายเป็นแรงงานทาสที่อยู่ในที่ดินของชาวทัดซีที่มีฐานะดีกว่า
1957 ฝ่ายฮูตู มีการตั้งพรรค PARMEHUTU (Party for the Emancipation of the Hutus) เพื่อหวังปลดปล่อยตัวเอง
1959 (Hutu revolution 1959) ฝ่ายคนเชื้อสายฮูตู (Hutu) ลุกขั้นมาปฏิวัติต่อต้านเบลเยี่ยมและชาวทัดซี และเมื่อฮูตูได้ขึ้นมามีอำนาจในประเทศ ทำให้ชาวทัดซีกว่า 300,000 คน ต้องลี้ภัยไปประเทศบูรุนดี (Burundi) ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของเบลเยี่ยมเช่นกัน
1962 1 กรกฏาคม, รวันดาได้รับเอกราช ชาวฮูตู ได้สถาปนาสาธารณรัฐขึ้นมา และได้ประธานาธิบดีกรีกอร์ เคยิบานดา (Gregoire Kayibanda)
แต่ว่าสงครามระหว่างฮูตูกับทัดซียังดำเนินต่อไป
1963-1965 จากสงครามกลางเมืองระหว่างฮูตูและทัดซี ประมาณว่าคนเชื้อสายทัดซีครึ่งหนึ่งต้องอพยพกลายเป็นผู้ลี้ภัยไปอาศัยในประเทศเพื่อนบ้าน
1972 เกิดการปฏิวัติ และนายพลจูเวนัล ฮาไบริเมน่า (Juvenal Habyarimana) ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเขาเป็นประธานาธิบดีที่ดำเนินนโยบายกวาดล้างชาวทัดซี
1990 (Rwandan Civilwar, 1990-1994) เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างสองเชื้อชาติครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ระหว่างฝ่าย RPF (Rwandan Patriotic Front) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวทัดซี กับกองกำลังฝ่ายฮูตูที่สนับสนุนรัฐบาลของประธานาธิบดีจูเวนัล ฮาไบริเมน่า
ฝรั่งเศสนั้นมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ ปธน.จูเวนัล ฮาไบริเมน่า และฝรั่งเศสได้ให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธและการฝึกกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายฮูตู ได้แก่ กองกำลัง Interahamwe และ กองกำลัง Impuzamugambi ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเยาวชน
ตุลาคม, สงครามซึ่งเริ่มจากฝ่ายรัฐบาลฮูตูก็เริ่มต้นขึ้นเพื่อจำกัดชนเชื้อสายทัดซี
สงครามกลางเมืองครั้งนี้ซึ่งมีผู้เสียชีวิตราว 5 แสนคน และผู้ลี้ภัยกว่า 2 ล้านคน
1993 สิงหาคม, (Arusha Accords) รัฐบาลกับฝ่าย RPF มีการทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกัน
คณะมนตรีความมั่นคง องค๋การสหประชาติ มีมติที่ 872 จัดตั้งและส่งทหารรักษาสันติภาพ UNAMIR (United Nations Assiantance Mission for Rwanda) เข้าไปในรวันดา เพื่อรักษาความสงบ
1994 11 มกราคม, โรมิโอ ดัลแลร์ (Romeo Dallaire) นายพลชาวแคนนาดา ซึ่งเป็นผู้บัญชาการ UNAMIR ได้ส่งข้อความเตือนไปอย่างองค์การสหประชาชาติว่า เขารับทราบถึงแผนการณ์ในการกวาดล้างชาวทัดซีครั้งใหญ่ ซึ่งข้อความที่ดัลแลร์ ส่งไปยังองค์การสหประชาชาติ ภายหลังถูกเรียกว่า “genocide fax” ซึ่งคำเตือนของเขาถูกละเลยโดยองค์การสหประชาติ ซึ่งโคฟี่ อันนัน (Kofi Annan) เป็นเลขาธิการในขณะนั้น
6 เมษายน, เครื่องบินของประธานาธิบดีจูเวนัล อาไบริเมน่า ถูกยิงตกระหว่างที่เครื่องกำลังจะลงจอดที่สนามบืนในกรุงคิกาลี (Kigali airport) ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ประธานาธิบดีเสียชีวิตพร้อมกับประธานาธิบดีไซเปรียน นตาร์ยามิร่า (Cyprien Ntaryamira) แห่งบุรุนดี (Burandy) ซึ่งโดยสารมาด้วย พร้อมผู้โดยสารและนักบินอื่นอีกรวม 12 คน วันถัดมาก็เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในรวันดาขึ้น ซึ่งกินเวลากว่าหนึ่งร้อยวัน และมีผู้เสียชีวิต 8 แสนคน
ซึ่งการสังหารประธานาธิบดีครั้งนี้ ไม่แน่ชัดว่าเป็นฝีมือของฝ่าย RPF หรืออาจจะเป็นจากฝ่ายฮูตูตัวรุนแรงเองที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังต่อชาวทัดซี
7 เมษายน, (Rawanda Genocide 1994 ) เมื่อชาวฮูตู ได้เริ่มทำการสังหารชาวตุ๊ตซีเพื่อล้างแค้น เป็นจุดเริ่มต้นของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์บันลือโลก
นายกรัฐมนตรีอกาเธ่ อูไวรินกีมานา (Prime Minister Agathe Uwiringiymana) เป็นหนึ่งในเหยื่อเป้าหมายรายแรกๆ ที่ถูกฆาตกรรม และทหารรักษาสันติภาพของเบลเยี่ยมก็ถูกสังหาร
8 เมษายน, ฝ่ายกองกำลัง RPF ของทัดซี ได้ตอบโต้ และมีปฏิบัติการณ์ช่วยเหลือกองกำลังของตัวเองกว่า 600 นายที่ติดอยู่ในกรุงคิกาลี
13 เมษายน, เบลเยี่ยมและฝรั่งเศส ช่วยอพยพชาวต่างชาติกว่า 3500 คนในรวันดา
พอล รุสซาบาจิน่า (Paul Rusesabagina) ช่วยชาวทัดซีกว่า 1,000 คนหลบซ่อนในโรงแรม Hotel Des Mille Collines ในเมืองคิกาลี พอลเป็นผู้จัดการโรงแรมแห่งนี้ซึ่งเป็นของนักธุรกิจเบลเยี่ยม โดยพอลอาศัยการติดสินบนชาวฮูตูด้วยเหล้าและแอลกอฮอล
15 เมษายน, ที่โบสถ์ไนรูบาย (Nyarybuye massacre) พบศพผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน
ที่โบสถ์นตาราม่า (Ntarama church) ใกล้กับคิกาลี มีคนเสียชีวิตกว่า 4,000 คนอยู่ภายใน โดยพวกเขาถูกฆ่าด้วยขวาน ส้อมและมีด
15 มิถุนายน, อะเลน จูปเป้ (Alain Juppe) รัฐมนตรีต่างประเทสฝรั่งเศส เสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคงองค์การประชาชาติ เพื่อให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าไปในรวันดา ซึ่งได้รับการอนุมติตามมติที่ 929 (UN Resolution 929) ในวันที่ 22 มิถุนายน
19 มิถุนายน, Operation Turquiose รัฐบาลฝรั่งเศสส่งทหารเข้าไปในรวันดา ราว 2,500 นายก่อนที่ UN จะมีมติที่ 929 โดยที่ทหารฝรั่งเศสเข้าไปยังเมืองโกมา (Goma) และบุกาวุ (Bukavu) ใกล้กับเมืองแซร์ (Zaire ปัจจุบันคือประเทศคองโก (Democratic Republic of Congo) โดยฝรั่งเศสอ้างว่าเพื่อตั้งพื้นที่ปลอดภัยสำหรับให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งไม่นานพื้นที่ได้ขยายไปครอบคลุมเมือง Cyangugu, Kibuye และGikongoro ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรวันดาด้วย ซึ่งมีผู้อพยพรวมกันกว่า 1.7 ล้านคน
ไม่นาน สถานีวิทยุ RTML (Radio Télévision Libre des Mille Collines) ซึ่งออกอากาศจากเมืองโกมา ได้ยุให้ชาวฮูตูจับอาวุธขึ้นมาเพื่อสังหารพวกทัดซี
ซึ่งระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ มีผู้อพยพหลายล้านคนที่หนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่า ทานซาเนีย (Tanzania), แซร์ , และอูกันดา (Uganda) เฉพาะที่แซร์ประเทศเดียวก็มีผู้อพยกว่าสองล้านคน ซึ่งผู้อพยพบางส่วนเป็นอดีตทหาร และพวกเขาก็ได้ตั้งกองกำลังติดอาวุธ Democratic Forcrs for the Liberation of Rwanda (FDLR) ขึ้นมา
18 กรกฏาคม, พลเอกพอล คาเกเม่ (Major General Pual Kagame) ผู้นำของ RPF ได้ประกาศยุติสงครามต่อต้านรัฐบาล หลังจากยึดเมืองหลวงและเมืองสำคัญเอาไว้ได้ ซึ่งพลเอกพอล กาเกม ได้กลายมาเป็นประธานาธิบดีของรวันดา ในปี 2000
21 สิงหาคม, Operation Turguiose ยุติลง หลังจาก UN ได้มีมติ 925 เพื่อตั้ง UNAMIR ชุดที่ 2 ขึ้นมา
สงครามกลางเมืองในรวันดา ในปี 1994 นี้ จบลงด้วยชัยชนะของ RPF และฝ่ายทัดซี แต่ประมาณกันว่าชาวทัดซี กว่า 8 แสนคน หรือราว 75 เปอร์เซ็นต์ต้องเสียชีวิตในสงครามนี้ ในขณะฝ่ายของชาวฮูตูส่วนใหญ่ราวสองล้านคน ต้องอพยพออกจากประเทศไปอาศัยในประเทศเพื่อนบ้าน
Operation Turguiose จากคำบอกเล่าฝ่ายฝรั่งเศส คือปฏิบัติการณ์ด้านมนุษยธรรม ซึ่งสามารถช่วยชีวิตชาวรวันดาได้ 80,000-100,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวทัดซี
ในขณะที่ฝ่ายกองกำลัง RPF บอกว่าทหารฝรั่งเศส เข้าไปช่วยเหลือทหาร RGF ของรัฐบาลและกองกำลังติดอาวุธของฮูตูในการต่อต้านฝ่ายทัดซี
1994 อทานาเซ่ เซรอมบ่า (Athanase Seromba) อดีตนักบวชแคโธริกซ์ ถูกศาลอาณาระหว่างประเทศกรณีรวันดา (Internatinal Criminal Tribunal for Rwanda, ICTR) ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จากการสังหารหมู่ชาวทัดซี 1,500-2,000 คน
2000 พอล คาเกเม่ ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีของรวันดา เขาเป็นคนหนึ่งที่กล่าวหาฝรั่งเศสว่าสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในรวันดา
2003 3 ธันวาคม, ศาลรวันดา ได้ตัดสินลงโทษผู้ต้องหา 18 คนซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ในโบสถ์ไนรูบาย ซึ่งกิเตร่า รวามูไฮไซ (Gitera Rwamuhizi) ผู้นำถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตก่อนลดโทษเหลือ 25 ปี ส่วนคนอื่นๆ ถูกตัดสินจำคุกระหว่าง 7-16 ปี
2005 ศาลอาญาระหว่างประเทศกรณีรวันดา ลงโทษ ซิลเวสเตอร์ กาคัมบิตซี (Sylvestre Gacumbitsi) อดีตผู้ว่าของรูซูโม (Rusumo district) ในกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธืและข่มขืนเหยื่อ
2008 เตเนสต์ บาโกซอร่า (Théoneste Bagosora) อดีตนายทหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วางแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ เขาเป็นผู้ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ Interrahamwe บาโกซอร่า ถูกศาล ICTR ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแต่ต่อมามีการลดโทษเหลือ 35 ปี ในปี 2011 ซึ่งนอกจากบาโกซอร่ายังมี ร้อยเอกอลอยส์ นตาบากุเซ่ (Major Aloys Ntabakuze) และร้อยโทอนาโตเล นเซนกิยัมวา (Colonel Anatole Nsengiyumva)