การปฏิวัติกุมภาพันธ์ (Февральская революция)
20 มกราคมบอริส สเตอร์เมอร์ (Boris Vladimirovich Sturmer) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Chairman of the Council of Minister)เขาเป็นเพื่อนกับรัสปูติน และมีเชื้อสายเยอรมัน เขาต้องการให้รัสเซียทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอรมัน1 พฤศจิกายนผู้นำของพรรคคาเด็ต ปาเวล มิลัวกอฟ กล่าวหาซาร์ดิน่า อเล็กซานดร้า กับนายกรัฐมนตรีสเตอร์เมอร์ ว่าพยายามทำข้อตกลงสันติภาพกับเยอรมันอย่างลับๆ โดย มิลัวกอฟ กล่าวว่า นี่มันโง่หรือว่าขายชาติกันแน่ (Is This stupidity or treason?) และเขาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสเตอ์เมอร์ ลาออก และให้สภาดูม่า มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ทำให้มีลือกันว่าเขาพยายามที่จะก่อการปฏิวัติล้มระบบกษัตริย์10 พฤศจิกายนอเล็กซานเดอร์ ทรีปอฟ (Alexander Trepov) รัฐมนตรีคมนาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนสเตอร์เมอร์ โดยที่ทรีปอฟยังควบตำแหน่งเดิมอยู่ด้วย นายกทรีปอฟนั้นมีความขัดแย้งกับรัฐมนตรีมหาไทย อเล็กซานเดอร์ โปรโตโปปอฟ (Alexander Protopopov) ซึ่งโปรโตโปปอฟ เป็นฝ่ายต่อต้านกษัตริย์ ทำให้โปรโตโปปอฟ ลาออกจากตำแหน่ง22 ธันวาคมไดอารี่ของทูตฝรั่งเศสประจำรัสเซีย Maurice Palaeologus อ้างว่า แกรนด์ดุ๊ก ซิริล (Grand Duke Cyril Vladinirovich), แกรนด์ตุ๊ก บอริส (Grand Duke Boris Vladimirovich) , แอนเดรย์ โรมานอฟ (Andrei Vladimirovich Romanov) ได้ประชุมกันเพื่อวางแผนที่จะปฏิวัติ โดยตั้งใจที่จะตั้ง แกรนดุ๊ก นิโคไล (Grand Duke Nikolai Nikalaevich) เป็นกษัตริย์องค์ใหม่16 ธันวาคมรัสปูติน (Grigory Rasputin) ถูกสังหาร27 ธันวาคมมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ เจ้าชาย นิโคไล โกลิตซิน (Prince Nikolai Golitsyn)
9 มกราคมคนงานในกรุงเปโตรกราด (Petrograd~ St. Peturburg) กว่าห้าหมื่นคนหยุดงานประท้วง ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ Bloody Sunday 190519 มกราคมมีการประชุมกันระหว่างฝ่ายประเทศพันธมิตรในเปโตรกราด รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ที่ต้องการคำมั่นว่าจะให้สงครามดำเนินไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ9 กุมภาพันธ์นิโคไล เนกราซอฟ (Nikolia Nekrasov, สมาชิกสภาดูม่า) ,กุชกอฟ ประธาน MIC , มิคาอิล เตเรชเชนโก้ ( Mikhail Tereschenko,นักธุรกิจเจ้าของโรงงานน้ำตาล) , นิโคไล รุซสกี (Nikolai Ruzsky, นายพล) , (Mikhail Alexeev,ผู้บัญชาการกองทัพรัสเซีย) มิคาอิล รอดเซียนโก้ (Mikhail Rodzianko, ประธานสภาดูม่า) อเล็กซานเดอร์ กรีมอฟ (Aleksandr Krymov พล.โท ในกองทัพรัสเซีย)ประชุมกันเรื่องแผนการปฏิวัติ14 กุมภาพันธ์เปิดสมัยประชุมของสภาดูม่า โดยตอนนั้นสภาเรียกร้องให้รัฐมนตรีหลายคนลาออกโดยอ้างว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันมีคนงานกว่า 80,000 คนที่ทำการประท้วง18 กุมภาพันธ์คนงานในโรงงานปูติลอฟ (Putilov plant) โรงงานผลิตอาวุธที่ใหญ่ที่สุดของเมืองและของประเทศนัดหยุดงาน ผู้บริหารโรงงานเข้าเจรจาบอกว่าจะเพิ่มค่าแรงให้ ทำให้ในวันต่อมาแรงงานกลับไปทำงานตามปกติ22 กุมภาพันธ์ (7 มีนาคม)ซาร์นิโคลัสออกเดินทางไปยัง Mogilev ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการทหาร ซึ่งก่อนจะออกเดินทางไปพระองค์ได้ปรึกษารับรัฐมนตรีมหาดไทย อเล็กซานเดอร์ โปรโตโปปอฟ (Alexande Protopopov) ถึงสถานการณ์ในเมืองหลวง ซึ่งโปรโตโปปอฟ บอกว่าเขามั่นใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้คนงานในโรงงานปูติลอฟ หยุดงานประท้วงอีก แต่ครั้งนี้ผู้บริหารไม่สามารถเจรจากับคนงานได้ เขาจึงประกาศให้โรงงานหยุดการผลิตไม่มีกำหนด ทำให้แรงงานกว่า 36,000 คน ไม่มีงานทำ , เปโตรกราดในช่วงนี้ขาดแคลนขนมปัง ไม่ใช่เพราะมีผลผลิตไม่เพียงพอ แต่ว่าการประท้วงและสงครามทำให้การลำเลียงอาหารเข้ามายังเมืองเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนต้องต้องนำระบบบัตรอาหาร (Card system) มาใช้ แต่ก็ทำให้ประชาชนต้องรอคิวกันยาวหน้าร้านขนมปัง23 กุมภาพันธ์ (ถือเป็นวันเริ่มต้นของ February Revolution)แรงงานกว่า 128,000 คน พากันเดินขบวนไปยังจตุรัสเนฟสกี (Nevsky Prospekt) โดยเรียกร้องให้ยุติการทำสงคราม โดยใช้สโลแกน ไม่เอาสงคราม, ไม่เอากษัตริย์, ขอขนมปัง Down with War, Down with autocracy, Bread (Долой войну, Долой самодержавие, Хлеба) ผู้ชุมนุมบางส่วนร้องเพลง La Marsellaise เพลงชาติของฝรั่งเศส24 กุมภาพันธ์ ( 9 มีนาคม)จำนวนผู้ประท้วงกว่าสองแสนคน และเจ้าหน้าที่บางหน่วยปฏิเสธที่จะใช้กำลังกับผู้ประท้วง25 กุมภาพันธ์ (10 มีนาคม)17.30 นายพลกลาบาลอฟ (Khabalov, Petrograd Military District) ผู้บัญชาการกองทัพในเปโตรกราด โทรเลขถึงซาร์นิโคลัส รายงานว่ามีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ประท้วง ผูับัญชาการตำรวจคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะ ผู้ประท้วงใช้ระเบิด และขวดบรรจุน้ำมันซาร์นิโคลัส ประกาศคำสั่งให้ระงับกิจกรรมของสภาดูม่า และให้เลื่อนการประชุมไปเดือนเมษายนกลาบาลอฟได้รับโทรเลขจากซาร์นิโคลัส ให้เรียกคืนกฏระเบียบของเมืองกับคืนมา (Restor order in the capital)26 กุมภาพันธ์ วันอาทิตย์นายกรัฐมนตรีโกลิตซิน ประกาศว่าเมืองถูกยึดตอนบ่าย , ประธานสภาดูม่า รอดเซียนโก โทรเลขไปยังซาร์ ว่าภายในเมืองตรึงเครียด อยู่ในภาวะไร้ขื่อแปร รัฐบาททำงานไม่ได้ การลำเลียงอาหารและเชื้อเพลิงติดขัด บนท้องถนนมีความวุ่นวายและยิงกัน ทหารบางส่วนยิงกันเอง
The situation is serious. In the capital of anarchy. The government is paralyzed. Transportation, food and fuel have come to a complete breakdown. Growing general discontent. In the streets are chaotic shooting. Some of the troops shoot at each other. Immediately instruct the person enjoying the confidence of the country, to form a new government. Delayed. Any delay would be fatal. I pray to God that in this hour of responsibility does not fall on monarch.
แต่ว่าซาร์นิโคลัส ปฏิเสธที่จะตอบโทรเลขฉบับนี้ พระองค์คิดว่า โทรเลขที่รอดเซียนโก้ เขียนมาไร้สาระ
One that fat Rodizianko writes me all sorts to nonsense
4 ทุ่ม , ประธานสภาดูม่า ร๊อดเซียนโก้ ส่งโทรเลขอีกฉบับไป แนะนำให้ซาร์นิโคลัส ตั้งรัฐบาลที่ประชาชนยอมรับ27 กุมภาพันธ์ (12 มีนาคม)กองทหารหน่วย Volhynia Regiment ราว 600 นายนำโดย Kirpichnikov หันไปเข้าข้างฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งต่อมาทหารหน่วยปาพลอฟสกี (Pavlovsky Regiment) ทหารหน่วยปรีโอบราเชนสกี (Preobrazhensky regiment) หน่วยลิตอฟสกี (Litovsky regiment) ก็สนับสนุนผู้ประท้วงด้วย รวมแล้วเป็นกำลังทหารกว่าหมื่นนายทหารสามหน่วยนี้มุ่งหน้าไปยังค่ายตำรวจ และสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยึดเอาอาวุธมาแจกจ่ายให้กับผู้ประท้วง และหลังจากนั้นได้มีการปล่อยนักโทษที่อยู่ในคุกออกมา พวกนักโทษเหล่านั้นได้เข้าร่วมกับผู้ประท้วงที่ใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ซาร์นิโคลัส ประกาศระงับกิจกรรมของสภาดูม่าออกไป
สมาชิกของสภาดูม่า ได้เปิดการประชุมกันเอง ใน White Hall ที่พระราชวังทูไรด์ (Tauride Palace) โดยที่มีทหารแปรพักตร์คุ้มกันอยู่ภายนอกพระราชวัง หลังจากใช้เวลาประชุมกันนาน 17 ชั่วโมง พวกเขาได้จัดตั้งคณะกรรมการฉุกเฉินแห่งสภาดูม่า (Interim Committee of the State Duma) ขึ้นมาประกอบไปด้วย 13 คน โดยที่ประธานของคณะกรรมการคือร็อดเซียนโก้
- มิคาอิล รอดเซียนโก้ (Mikhail Rodzianko) ประธานสภาดูม่า พรรคอ๊อคโต้
- นิโคไล เนกราซอฟ (Nikolai Nekrasov) พรรคคาเด็ต
- อเล็กซานเดอร์ โคโนวาลอฟ (Alexander Ivanovich Konovalov, พรรคคาเด็ต)
- อิวาน ดมิทรียุค (Ivan Dmitryuk) เลขานุการสภาดูม่า , พรรคอ๊อคโต้ , Progessive Bloc
- วลาดิมีร์ รเชฟสกี (Vlavdimir A. Rzhevsky) สมาชิกสภาดูม่า , Progressive Bloc, Freemason
- นิโคไล ชคิดเซ่ (Nikolay S Chkheidze) พรรคเมนเชวิค , Petrograd Soviet
- อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander F. Kerensky) สมาชิกพรรค Socialist Revolutionary Party ย้ายมาสังกัน Trudovik , Progessive Bloc, Petrograd Soviet
- วิซิลี ชูลกิ้น (Vasily V. Shulgin) หัวหน้าพรรค Russian National Union
- ปาเวล มิลยูกอฟ (Pavel N. Milyukov) หัวหน้าพรรคคาเด็ต
- อิวาน เยฟรีมอฟ (Ivan Efremov), พรรค The Progressist Party, Progressive Bloc
- วลาดิมีร์ ลโวว (Vladimir Nikolayevich Lvov) Progressist Party
- A few hours later was co-opted to the Committee of BA Engelhardt(commander of the Petrograd garrison, outside parties).
นายกรัฐมนตรี
จอร์จี ลโวว์ (Georgy Lvov)
รัฐมนตรีต่างประเทศปาเวล มิลยุกอฟ (Pavel Milyukov) พรรคคาเด็ต
มิคาอิล เตเรชเชนโก้ (Mikhail Tereshchenko) ไม่สังกัดพรรค, ตั้งแต่ เมษายน
รัฐมนตรีกิจการสงครามและกองทัพเรืออเล้กซานเดอร์ กุชกอฟ (Alexander Guchkov) พรรคอ็อคโต้
อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander Kerensky) พรรค Socialist-Revolutionary , ตั้งแต่ เมษายน
รัฐมนตรีคมนาคมนิโคไล เนกราซอฟ (Nikolai Nekrasov) พรรคคาเด็ต
รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมอเล็กซานเดอร์ โกโนวาลอฟ (Alexander Konovalov) พรรค Progressist
รัฐมนตรียุติธรรมอเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander Kerensky) พรรค Socialist-Revolutionary
ปาเวล เปเรเวอร์เซฟ (Pavel Pereverzev) พรรค Socialist-Revolutionary , ตั้งแต่ เมษายน
รัฐมนตรีคลังมิคาอิล เตเรชเชนโก้ (Mikhail Tereshchenko) ไม่สังกัดพรรค
แอนเดรย์ ชินกาเรฟ (Andrei Shingarev) พรรรคคาเด็ต , ตั้งแต่เมษายน
รัฐมนตรีศึกษาธิการแอนเดรย์ มานัวลอฟ (Andrei Manuilov) พรรคคาเด็ต
รัฐมนตรีเกษตรแอนเดรย์ ชินกาเรฟ ( Andrei Shingarev) พรรคคาเด็ต
วิคเตอร์ เชอร์นอฟ (Victor Chernov) พรรค Socialist-Revolutionary, ตั้งแต่ เมษายน
รัฐมนตรีแรงงานแมตเวย์ สโกเบเลฟ (Matvey Skobelev) พรรคเมนเชวิค
รัฐมนตรีอาหารอเล็กซีย์ เปเชโคนอฟ (Alexey Peshekhonov) พรรค National socialists
รัฐมนตรีไปรษณีย์และโทรเลขอิรากลิ ทเชเรเตลิ (Irakli Tsereteli ) พรรคเมนเชวิค
ผู้แทนของรัฐประจำโฮรี่ไซน๊อด (Ober-Procurator of the Holy Synod)วลาดิมีย์ ลโวว์ (Vladimir Lvov) พรรค Progressist
9 มีนาคม
ซาร์นิโคลัส กลับมายังพระราชวัง Tsarskoe Selo และอยู่กับครอบครัว โดยที่ถูกรัฐบาลกักบริเวณเอาไว้ หลังจากนั้นพระองค์ได้ขอให้รัฐบาลส่งตัวพระองค์ลี้ภัยไปยังอังกฤษ และฝรั่งเศส แต่ว่าทางการของทั้งสองประเทศปฏิเสธ22 มีนาคมรัฐบาลสหรัฐประกาศรับรองรัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซีย3 เมษายนเลนิน เดินทางจากสวิส ผ่านเยอรมันกลับเข้ามาถึงรัสเซีย ต่อมาเขาได้นำเสนอ แถลงการณ์เมษายน (April Thesis) เจตจำนงค์เพื่อโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะกาล นำไปสู่ การปฏิวัติตุลาคม (October Revolution)