Numquam prohibere somniantes
Edmund Burke
Edmund Burke

Edmund Burke

https://www.youtube.com/watch?v=OPT7WsRZneU

เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke)

ผู้เขียน Reflections on the Revolution in France 

 เบิร์ก เกิดวันที่ 12 มกราคม 1729 ในดับลิน, ไอร์แลนด์ (Dublin, Ireland) ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดอังกฤษ  พ่อของเขาริชาร์ด (Richard Burke)  เป็นผู้พิพากษาที่มีฐานะดี เขานับถือนิกายแองลิกัน (anglicanism)  ส่วนแม่มีชื่อว่าแม่รี่ (Mary Nagle, 1702-1770) เป็นแคโธริก

วัยเด็กของเบิร์กเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน ก่อนที่ต่อมาจะเข้าเรียนในโรงเรียนของอับราฮัม แชคเกลตัน (Abraham Shackkleton) ในคิลแดร์คันทรี่ (Country Kildare) ห่างจากดับลินไปกว่าหกสิบไมล์

1744 เข้าเรียนที่ไตรนิตี้ คอลเลจ (Trinity College, Dublin) ในดับลิน ซึ่งเป็นวิทยาลัยของโปเตสแตนท์ ซึ่งระหว่างเรียนเบิร์กได้มีการตั้งชมรม the Edmund Burke’s club ขึ้นมาในปี 1747 ซึ่งถือว่าเป็นชมรมของนักศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งยังคงอยู่จนปัจจุบัน

1748 จบจากไตรนิตี้ คอลเลจ

1750 เข้าเรียนกฏหมายที่มิดเดิ้ล เทมเพิ้ล (Middle Temple) ในอังกฤษ

1756 มีผลงานเขียนเล่มแรก AVindication of Natural Society: A View of the Miseries and Evil

1757 The Philosophical Enquiry into the Origin of Our Ideas of the Sublime and Beautiful เป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขาเป็นที่รู้จัก

ปีนี้เขาทำสัญญากับโรเบิร์ก ดอดสเลย์ (Robert Dodsley) ในการเขียนหนังสือประวัติศาสตร์อังกฤษชื่อ  History of England from Julius Caesar until the reign of Queen Anne แต่ว่าเบิร์กไม่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้จนเสร็จระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่หนังสือพิมพ์ออกมาในปี 1216 หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว ในชื่อ An Essay towards an Abridgement of the English history

12 มีนาคม, แต่งงานกับเจน (Jane Mary Nugent, 1734-1812) ซึ่งพวกเขามีลูกชายด้วยกันสองคน ชื่อคริสโตเฟอร์ (Christopher) ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และริชาร์ด (Richard)

1758 ร่วมกับดอดสเลย์ ทำวารสาร The Annual Register  เพื่อวิเคราะห์การเมืองเป็นรายปี 

เข้าเป็นสมาชิกพรรควิกส์ (Whigs party) 

1765 ได้งานเป็นเลขานุการส่วนตัวให้กับชาร์ล วัตสัน, มาร์กิสแห่งร็อคกิ้งแฮม (Charles Watson-Wentworth, Marquis of Rockingham) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ

และเบิร์กได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทน (House of Commons)

1769 เข้าเป็นสมาชิกของฟรีเมสัน (Freemason) 

เขียน The present state of nation 

ปีนี้เขากู้เงินเพื่อมาซื้อที่ดิน 240 เอเคอร์  ตั้งชื่อว่า Gregories ซึ่งทำให้เขามีภาระทางการเงินอย่างมาก และเสียชีวิตไปก่อนที่จะชำระได้หมด 

1774 ได้รับเลือกตั้งกลับมาอีกครั้ง จากเขตบริสตอล (Bristol) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของอังกฤษ 

1775 กล่าวสุนทรพจน์ On American Taxation โดยเสนอให้รัฐบาลอังกฤษเจรจากับอเมริกาซึ่งกำลังเรียกร้องเอกราช เพื่อหาทางออกอย่างสันติ เขาไม่สนับสนุนการทำสงคราม และเสนอให้อังกฤษยอมให้สหรัฐฯ เลือกผู้แทนของตัวเอง และเก็บภาษีเท่าที่จำเป็น

1776 สหรัฐฯ ประกาศเอกราช

1780 เชาพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง

1781 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการสืบสวนกรณีบริษัทอีสต์อินเดีย (Commons Select Committee on East Indian Affairs) ซึ่งเบิร์กได้พยายามที่จะปลดวอร์เรน ฮาสติ้งส์ (Warren Hastings) ผู้ว่าเมืองเบงกอล (Bengal) หลังจากได้รับรู้เรือ่งการบริหารที่ไม่ยุติธรรม และสงครามกับสุลต่างอาลี (Hyder Ali) ทางตอนใต้ของอินเดีย

1782 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี และรัฐมนตรีการเงินของกองทัพ (Paymaster of the Forces) อยู่ในตำแหน่งอยู่ 1 ปี

1785 28 กุมภาพันธ์, กล่าวสุนทรพจน์ Nabobo of Arcot’s Debts ซึ่งตำหนิการบริหารจัดการอินเดียโดยบริษัทอีสต์อินเดีย

1789 การปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) เบิร์กเป็นหนึ่งในไม่กี่คนของนักคิดในเวลานั้นที่แสดงความเห็นตรงข้ามกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อมีคนถามว่าเขาสนับสนุนการปฏิวัติไหม เขาแสดงความเห็นว่าการปฏิบัตินี้แม้ว่าจะโค่นกษตริย์ลงได้ แต่ก็ไม่ได้สร้างเสรีภาพ มีแต่ปีศาจที่เป็นผลผลิตจากเหตุการณ์นี้

1790 9 กุมภาพันธ์, เขากล่าวสุนทรพจน์ตำหนิการปฏิวัติฝรั่งเศสต่อรัฐสภาอังกฤษ (ฉบับเต็ม) บอกว่า 

The french have proved themselves the ablest architects of ruin that ever existed in the world. In one summer they have done their business for us as rivals in a way more destructive than twenty Ramillies or Blenheims.1 In this very short space of time they have completely pulled down to the ground their monarchy: their church; their nobility; their law;2 their revenue; their army; their navy; their commerce; their arts; and their manufactures. 

ฝรั่งเศสได้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นสถาปินิกแห่งหายนะที่สุดเท่าที่โลกเคยเกิดขึ้น  เพี่ยงแค่ฤดูเดียวพวกเขาทำลายล้างทุกสิ่งเพื่อเรา (อังกฤษ) ยิ่งกว่าตอนที่เราทำสงครามกับเขา แค่เวลาสั้นๆ พวกเขาทำลายสถาบันกษัตริย์, โบสถ์วิหาร, กฏหมาย, การเงิน, กองทัพ, การพาณิชย์, ศิลปะ และอุตสาหกรรมจนราบคาบ.

Let us beware of being led through an illegitimate admiration of successful fraud and outrageous violence to an imitation of the excesses of an irrational, unprincipled, proscribing, confiscating plundering ferocious bloody and tyrannical democracy.

พวกเราต้องระวังไม่ให้หลงไหลไปกับความคิดไร้เหตุผล ความสำเร็จที่คตโกง และความรุนแรงป่าเถื่อน ของเหตุการณ์นี้จากการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล, ไร้หลักการ, ดุร้าย, ทำร้ายล้าง ปล้นฆ่า  เป็นประชาธิปไตยนองเลือกของทรราชย์

พฤศจิกายน, Reflections on the Revolution in France พิมพ์ออกมา ซึ่งเบิร์กเป็นนักคิดเพียงไม่กี่คนในยุคสมัยที่มองเหตุกาณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสต่างจากคนอื่น  ผู้ที่อ่าน Reflections เวลานั้น อย่างเจมส์ แม็คกินทอช (James Mackintosh) มองว่า Reflections เป็นคำประกาศเจตนารมณ์ของการต่อต้านการปฏิวัต (the manifesto of a counter Revolution)

1797 9 กรฏาคม, เสียชีวิตในเบคอนฟิลด์ (Beaconsfield, Buckinghamshire)

ผลงานเขียน

  • A Vindication of Natural Society, 1756
  • A Philosophical Enquiry into the Origin of our Ideas of the Sublime and Beautiful, 1757
  • Thereafter he was co-author of An Account of the European Settlements, 1757
  • An Abridgement of English History, 1757
  • Reflections on the Revolution in France, 1790

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!