Numquam prohibere somniantes
E. Donnall Thomas
E. Donnall Thomas

E. Donnall Thomas

เอ็ดเวิร์ด โธมัส (Edward Donnall Thomas) 

โนเบลทางการแพทย์ 1990, Father of bone marrow transplantation

โธมัส เกิดวันที่ 15 มีนาคม 1920 ในมาร์ท, เท็กซัส (Mart, Texas, US) พ่อของเขาเป็นแพทย์ชื่อเอ็ดเวิร์ด (Edward E. Thomas) ส่วนแม่ชื่อแอนจี (Angie Hill Donnall) มีอาชีพเป็นครู 

1937 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส ณ.ออสติน (University of Texas, Austin) ทางด้านวิศวกรรมเคมี

1941 จบปริญญาตรี และเข้าเรียนต่อโท ซึ่งระหว่างที่เรียนโทเขาก็ทำงานไปด้วยหลายอย่าง ซึ่งทำให้เขาได้พบกับโดโรธี มาร์ติน (Dorothy Martin, “Dottie”) ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน 

1942 แต่งงานกับโดโรธี

1943 จบปริญญาโท และเข้าเรียนต่อคณะแพทย์ที่ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School)

1946 จบปริญญาเอกแพทย์ศาสตร์ และ เข้าทำงานที่โรงพยาบาลปีเตอร์ เบนต์ บริกแฮม (Peter Bent Brigham Hospital) ในบอสตัน ซึ่งที่โรงพยาบาลนี้เขาได้รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการเปลี่ยนไต  

แต่ไม่นานเขาก็ได้ได้ฝึกงานเป็นแพทย์ด้านโรคเลือด (hematology) ในกองทัพสหรัฐฯ อยู่สองปี ภายใต้การดูแลของ ดร.คลีเมนท์ ฟินช์ (Dr. Clemnet Finch)

1948 หลังจากออกจากกองทัพ ก็ได้เข้าศึกษาระดับสูงที่เอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology)  เขาได้ทำงานกั้บ ดร. จอห์น ลูฟบอร์โรว (Dr. John Loofborrow) ในการศึกษายีสต์ที่ได้รับการฉายรังสี 

โธมันมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไขกระดูกมาตั้งแต่ตอนเรียนหนังสือ และเมื่อได้ได้พบกับ ดร.ซิดนีย์ ฟาร์เบอร์ (Dr. Sydney Farber) ซึ่งเป็นผู้ที่ตั้งให้เขาดูแลห้องวิจัยให้เขาในตึกจิมมี่ฟันด์ (Jimmy Fund Building) เขาก็ได้มีโอกาสพบกับผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แบบ ALL (acute lymphoblastic leukemia) 

1955 เข้าทำงานที่โรงพยาบาลแมรี่ อิโมจีน บาสเซตต์ (Mary Imogene Bassett Hospital) ในนิวยอร์ค ซึ่งเป็นโรงพยายาลในเครือของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (University of Columbia) ตามคำเชิญของ ดร.โจเซฟ (Dr. Joseph Ferrebee)  ซึ่งที่นี่เขาได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกถ่ายไขกระดูกในสุนัขและในมนุษย์ 

ได้อ่านงานวิจัยของ ดร.ลีออน (Leon Jacobsen) และ อีก้อน ลอเรนซ์ (Egon Lorenz) เกี่ยวกับการฉีดเซลล์ของม้าม (spleen) เข้าไปในหนูซึ่งได้รับรังสี ซึ่งสามารถช่วยให้หนูรอดชีวิตได้ 

1956 ประสบคววามสำเร็จในการทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกได้เป็นครั้งแรกของโลกในมนุษย์ โดยเป็นการถ่ายไขกระดูกระหว่างกันของฝาแฝด

1957 ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกให้กับผู้ป่วย 6 ราย แต่ว่าผู้ป่วยทั้งหมดไม่มีใครมีอายุเกิน 100 วันหลังฝ่าตัด

1963 ย้ายมาทำงานในซีแอตเติ้ล ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington)

1975 ห้องวิจัยของเขาถูกย้ายมาอยู่ที่ศูนย์วิจัยเฟรด ฮัตชิสัน (Fred Hutchinson Cencer Research Center)

1990 ได้รับรางวัลโนเบลทางการแพทย์ ร่วมกับโจเซฟ มูร์เรย์ (Joseph E. Murray) 

2003 ร่วมลงชื่อในคำประกาศเจตจำนงค์มนุษยชาติ ฉบับ 3  (Humanist Manifesto)

2012 20 ตุลาคม, เสียชีวิต ในซีแอตเติ้ล (Seattle, Washington) 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!