Numquam prohibere somniantes
Dead Hand
Dead Hand

Dead Hand

https://m.youtube.com/watch?v=RVO2vvqWQIs&t=49s

Perimetr (Периметр)
Mertvaya Ruka  (Мёртвая Рука)
ธันวาคม 2018ประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ (Donal Trump) ของสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญาควบคุมขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range and Shorter-Range Nuclear Forces Treaty)  สนธิสัญญาดังกล่าว ทำขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และโซเวียต ในปี 1987 ในสมัยของประธานาธิบดีเรแกน (Ronal Reagan) และประธานาธิบดีกอร์บาเชฟ (Mikhail Gorbachev)  โดยตกลงห้ามการพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (500-1000 กิโลเมตร) ที่ยิงจากพื้นดิน   แต่ไม่รวมขีปนาวุธที่ยิงขึ้นจากเรือรบในทะเล การถอนตัวของสหรัฐฯ จากสนธิสัญญา INF ทำให้รัสเซียวิตกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในยุโรปอีกครั้ง ซึ่งสามารถโจมตีมอสโคว์ได้เพียงเวลาไม่กี่นาที ในขณะที่โอกาสตอบโต้ของรัสเซียในกรณีทีถูกโจมตีก่อนนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะระยะทางที่ห่างกันมาก และกรณีรัสเซียถูกโจมตีก่อน ก็อาจจะสูญเสียระบบการบัญชาการในระดับสูงไป
มีข่าวลือว่ามอสโคว์กลับมาพิจารณาการใช้ระบบตอบโต้ในกรณีฉุกเฉินที่เรียกว่า Perimetr หรือ หรือถูกเรียกว่า Dead Hand ตามชื่อหนังสือที่เขียนโดยฮาโรล์ด โคลีย์ (Harold Coyle)
Dead Hand เป็นระบบซึ่งเชื่อว่าเคยมีอยู่ในช่วงสงครามเย็น วาเลรี ยาไรนิช (Valery Yarynich) อดีตนายพันในกองทัพมิสไซด์ยุทธศาสตร์ (Strategic Missile Forces) ซึ่งอ้างว่าเขาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา Dead Hand ได้ให้ข้อมุลว่า โซเวียตสร้าง Dead Hand ราวปี 1974 โดยแรกเริ่มที่จะใช้มิสไซด์ MR-UR-100 (15A15) ก่อนที่ต่อมาหลังปี 1979 ได้พัฒนามิสไซด์ไลน์ Perimetr 15A11 สำเร็จ และเริ่มติดตั้งในปี 1985
Dead Hand เป็นระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ ในกรณีฉุกเฉิน ที่ให้อำนาจควบคุมในการยิงตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ไปอยู่กับหน่วยงานระดับล่างที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (ที่เหลืออยู๋หลังจากโดนโจมตีจากศัตรู) ในการสั่งการยิงขีปนาวุธได้ด้วยตนเอง
ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็มีระบบที่คล้ายกันเรียกว่า Emegency Rocket Communications System (ERCS)
ซึ่งปัจจุบันไม่แน่ชัดว่าระบบ Dead Hand นี้มีอยู่หรือว่ายังคงทำงานอยู่หรือไม่

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!