Numquam prohibere somniantes
CRISPR-Cas9
CRISPR-Cas9

CRISPR-Cas9

1953 เจมส์ วัตสัน (James Watson) และ ฟรานซิส คริก (Francis Crick) ค้นพบ DNA
1987 โยชิซูมิ อิชิโนะ (Yoshizumi Ishino) นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นประจำมหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka University) ค้นพบ Palindromic ((ลำดับกรดนิวคลีอิค (nucleus acid) ในสารพันธุกรรมซึ่งเมื่ออ่านจากด้านหน้าและย้อนกลับจะเหมือนกัน และถูกคั่นด้วย DNA spacer)) ในแบคทีเรียอีโคไล (E. Coli) เขาจึงได้ทำการโคลนยีนส่วนนี้ออกมาพร้อมเรียกมันว่าเป็น “ iap gene” เพื่อทำการศึกษา  ซึ่งในตอนนั้นนักวิจัยยังไม่ทราบว่าเขาได้ทำการโคลน CRISPR แล้วโดยบังเอิญ
1993 ค้นพบ “CRISPR”
ฟรานซิสโก้ โมจิก้า (Francisco Mojica) นักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยอลิคานเต้ (University of Alicante) ในสเปน ซึ่งสนใจศึกษา Haloferax Mediterranean อาร์เคีย (archaea microbe) ชนิดหนึ่งซึ่งสามารถทนต่อน้ำที่มีความเค็มสูงได้ ซึ่งเขาได้ค้นพบว่าชิ้นส่วนพันธุกรรมยาวประมาณ 30 เบส (bases) 
โมจิก้าได้ทำการศึกษา CRISPR ที่เขาแยกออกมาตั้งแต่ 1990s-2000 และได้มีโอกาสทำงานร่วมกับรูด แจนเซน (Ruud Jansen) นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยยูเทรชต์ (Utrecht University) เนเธอแลนด์
2002 ในรายงานของ รูด แจนเซน  ได้ตั้งชื่อลำดับดีเอ็นเอที่ซ้ำกันนี้ว่า CRISPR (Clustered Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats) เป็นครั้งแรก
2005 ค้นพบ “CAS 9” และ “PAM”
อเล็กซานเดอร์ โบโลติน (Alexander Bolton) นักวิจัยของสถาบันวิจัยการเกษตรฝรั่งเศส (French National Institute for Agricultural Research, INRA) ซึ่งได้ทำการวิจัยแบคทีเรีย สเปตโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)  ค้นพบ CAS ยีน และ PAM  (protospacer adjacent motif) 
2006 สมมุติฐานว่า CRISPR เป็นระบบภูมิคุ้มกัน (adaptive immunity)
ยูจีน โคนิน (Eugene Koonin) นักวิจัยประจำศูนย์ข้อมูบไบโอเทคโนโลยีสหรัฐฯ (US National Center for Biotechnology Information, NIH) ได้ตั้งสมมุติฐานว่า CRISPR เป็นระบบภูมิคุ้มกันของแบคทีเรีย ซึ่งต่างกับสมมุติฐานก่อนหน้านี้ ที่คิดว่า CRISPR เป็นระบบในการซ่อมแซม 
2007 การทดลองซึ่งแสดงว่า CRISPR เป็นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน (adaptive immunity) 
ฟิลิปเป้ ฮอร์วาท (Philippe Horvath) นักวิทยาศาสตร์ที่ดานิสโก้ (Danisco France SAS) ซึ่งต้องการรู้ว่าจุรินทรีย์ สเตรปโตค๊อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus Thermophilus) ป้องกันตัวเองอย่างไรเมื่อถูกโจมตีจาก phage (“เฟจ” เป็นไวรัสในแบคทีเรีย)  
ฮอร์วาท ได้ใส่ดีเอ็นเอของ phage เข้าไปในอาร์เรย์ของ CRISPR ทำให้จุรินทรีย์ S. Thermophilus สามารถต่อสู้เมื่อถูก phage โจมตีครั้งต่อไปได้
ซึ่งงานวิจัยของฮอร์วาท ทำให้เข้ารู้ว่า CRISPR แท้จริงแล้วเป็นระบบภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่งของแบคทีเรีย แม้ว่าจะยังไม่รู้กระบวนการทำงานของ CRISPR อย่างแท้จริง
โรโดลเฟ บารันกัว (Rodolphe Barangou) ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่ทดสอบสมมุติฐานของโคนินโดยการใส่ไวรัสเข้าไปในแบคทีเรียของโยเกิร์ต เพื่อทำงานวิจัยให้กับบริษัทผลิตโยเกิร์ต Danisco ซึ่งการทดลองของบารัสกัวปรากฏว่าแบคทีเรียส่วนใหญ่ตาย แต่ว่ามีส่วนหนึ่งที่รอดชีวิตและสามารถต้านทานไวรัสได้
2008 สาธิตกระบวนการว่า CRISPR-Cas system ต่อสู้กับไวรัสได้อย่างไร
สิงหาคม, จอห์น ฟาน เดอร์ ออสต์ (John van deer Oost) นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเวจนินเก้น (University of Wageningen, Netherlands) ในเนเธอแลนด์ อธิบายกระบวนการทำงานของ CRISPR ได้อย่างชัดเจน โดยเขาแสดงให้เห็นว่ามีการก๊อปปี้ สายพันธุกรรมส่วนหนึ่งจาก E-scherichia coli จาก phage ไปยัง RNAs เล็กๆ , ซึ่งเรียกส่วนนี้ว่าเป็น CRISPR RNAs (crRNAs) ซึ่งมีหน้าที่ในการชี้ตำแหน่งให้กับโปรตีน CAS ในการโจมที่ DNA เป้าหมาย
 
2010 Cas9 system
ซิลเวียน (Sylvain Moineau) จากมหาวิทยาลัยลาวาล (University of Laval, Quebec) แคนนาดา สาธิตการทำงานของ CRISPR-Cas9 ในการโจมตี DNA เป้าหมายอย่างแม่นยำ
2011 ค้นพบ tracrRNA (trans-activating crRNA)
2013 สาธิตการใช้ Cas9 ในการตัดแต่งพันธุกรรมในยูคารีโอติคเซลล์ (eukaryotic cell)
เอ็มมานูเอลลี คาร์เพนเทียร์ (Emmanuelle Charpentier) นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส ซึ่งทำงานที่มหาวิทยาลัยอูเมีย (Umeå  University) ร่วมกับเจนนิเฟอร์ เดาด์น่า (Jennifer Doudna) แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ Cas-9 ในการตัด DNA ใดๆ ก็ได้ที่ต้องการ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!