Numquam prohibere somniantes
Béla Kun
Béla Kun

Béla Kun

เบลา คุน (Béla Kun)
ผู้ก่อตั้ง Hungarian Soviet Republic
คุน เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1886 ในหมู่บ้านลีเล (Lelei, Transylvanis, Romania) ทรานซิลวาเนีย, โรมาเนีย ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ชื่อจริงเมื่อแรกเกิดของเขาคือ Béla Kohn,  พ่อของเขาเป็นยิว ส่วนแม่นั้นเป็นคริสต์โปรเตสแตนต์ 
เข้าเรียนที่วิทยาลัยซิลวาเนีย (Silvania National College) โดยขณะที่เรียนเขาได้รับรางวัลจากการเขียนบทความ ภายหลังได้เข้าเรียนด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยโคโลชวาร์ (Kolozhvar University) โดยระหว่างที่เรียนเขาได้เป็นเพื่อนกับกวีอย่างเอ็นดรี เอดี้ (Endre Ady)  ซึ่งเป็นพวกนิยมฝ่ายซ้าย 
1902 ได้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยฮังการี (Hungarina Social Democratic Party)
1904 ออกจากมหาวิทยาลัยก่อนที่จะเรียนจบ และได้มาทำงานเป็นนักข่าว
1913 1 พฤษภาคม, แต่งงานกับอิเรน กัล (Iren Gal) ซึ่งเป็นครูสอนวิชาดนตรี พวกเขามีลูกสาวด้วยกันคนหนึ่งชื่อแอ็กเนส (Agnes Kun, b. 1915)  ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับกวีฮังการีชื่อฮีดัส อันตาล (Hidas Antal)
1914 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 เขาเข้าเป้นทหารในการรบให้กับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 
1916 มกราคม, ถูกทหารรัสเซียจับตัวได้ และถูกนำไปขังเป็นเชลยในข่ายกักกันแถบทือกเขายูราล ระหว่างที่เป็นเชลยอยู่นี้ ทำให้เขาได้รับอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์มา นอกจากนั้นยังเรียนรู้ภาษารัสเซียจนสามารถใช้ได้อย่างดี
1918 หลังการปฏิวัติคอมมิวนิตส์ในรัสเซีย เบลา คุน  เข้าต่อสู้ในฝ่ายเดียวกับพรรคบอลเชวิค เขาได้รู้จักกับเลนิน (Lenin) และแกนนำคนอื่นๆ ของพรรค 
28-31 ตุลาคม, เกิดการปฏิวัติแอสเตอร์ในฮังการี (Aster Revolution) นำโดยมิเฮลี กาโรลอี (Mihály Károlyi) เขาเรียกร้องให้มีการแยกฮังการีออกจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี  ในวันที่ 31 ตุลาคม ทหารและกองทัพฮังการีส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนกาโรลอี และนำกำลังบุกยึกสถานที่ราชการหลายแห่งในกรุงบูดาเปสต์ นายกรัฐมนตรีซานเดอร์ เวเกอร์ลี (Sandor Wekerle) ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
จักรพรรดิชาร์ล แห่งออสเตรียฮังการี (King Charles I of Austria, King Charles IV of Hungary) จำนนต่อการปฏิวัติและได้แต่งตั้งให้กาโรลอีเป็นนายกรัฐมนตรี
พฤศจิกายน, เบลา คุน และชาวฮังกาเรียนอีกหลายร้อยคนที่เป็นคอมมิวนิสต์เดินทางกลับมายังฮังการีโดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากโซเวียต เพื่อทำการปฏิวัติในฮังการี แต่ว่างานแรกที่กาโรลอีทำคือการนำฮังการีออกจากจักรวรรดิ
4 พฤศจิกายน, เบลา คุน ก่อตั้งพรคคอมมิวนิสต์ฮังการี (Hungarian Communist Party) 
หลังจากนั้นฝ่ายคอมมิวนิตส์มีการปลุกระดมในหมู่ผู้ใช้แรงงานอย่างมาก มีการนัดหยุดงาน การเดินประท้วง
16 พฤศจิกายน, รัฐบาลฮังการีนำโดยกาโรลอี ได้ประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนฮังการี (Hungarina People’s Republic) อย่างเป็นทางการ และตัวกาโรลอีขึ้นเป็นประธานาธิบดี
1919 20 มีนาคม, ฝรั่งเศสได้ประกาศคำสั่ง Vix Note ซึ่งสั่งให้ทหารฮังการีถอยจากที่ตั้งกลับเข้าไปภายในประเทศ ก่อให้เกิดการประท้วงในฮังการี เพราะกลัวกันว่าแนวที่ตั้งใหม่ของทหารจะกลายเป็นพรหมแดนใหม่ทำให้เสียดินแดนไป  นั้นทำให้นายกรัฐมนตรีเบรินสกี (Denes Berinsky) และคณะรัฐมนตรีของฮังการีประกาศลาออกจากตำแหน่ง , ปธน.กาโรลอี จึงได้แถลงการณ์ให้พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (The Social Democrats) มีสิทธิในการตั้งรัฐบาลใหม่  ซึ่งพรรค SD ได้หันไปจับมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ของเบลา คุน เพื่อหวังที่จะได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากโซเวียต
21 มีนาคม, พรรคคอมมิวนิสต์และพรรค SD  ร่วมตัวกันเป็นพรรคใหม่ในชื่อพรรคสังคมนิยม (Hungarian Socialist Party)  เบลา คุน ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง และได้ประกาศให้ฮังการีเป็นสาธารณรัฐฮังการีโซเวียต (Hungarian Soviet Republic) ทันที โดยเป็นประเทศที่ 2 ในโลกตามหลังรัสเซียที่กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ เขาดำเนินนโยบายยึดที่ดินจากประชาชน และประกาศเปลี่ยนที่ดินให้เป็นระบบนารวม นั่นทำให้เขาเสียเสียงสนับสนุนจากบรรดาชาวนายากจนที่ต้องการที่ดิน และเกิดความพยายามปฏิวัติอีกครั้งเพื่อโค่นรัฐบาลของเขาแต่ว่าเบลา คุน ใช้กองกำลังติดอาวุธ ที่ถูกเรียกว่า Lenin Boys ในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของเขา
1 สิงหาคม, สาธารณรัฐฮังการีโซเวียตของเบลา คุน ล้มลงโดยมีอายุเพียง 133 วัน จากการบุกฮังการีของเชค, โรมาเนีย  และพลเอกมิกอล ฮอร์ธี (Admiral Miklos Horthy) ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส
เบลา คุน หนีไปยังเวียนา และถูกจับที่นั่น 
1920 เบลา คุนถูกนำไปแลกเปลี่ยนกับเชลยของออสเตรียที่ถูกจับอยู่ในโซเวียต เขาจึงได้อาศัยอยู่ในโซเวียตโดยไม่ได้เดินทางกลับมาฮังการีเลยหลังจากนี้ไป เขาได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต และถูกส่งไปทำงานในไครเมีย ช่วงสงครามกลางเมืองในรัสเซีย ซึ่งไครเมียเป็นที่มั่นสุดท้ายของกองทัพขาว 
1921 ได้มาทำงานกับองค์กรโคมินเทิร์น (Comintern) 
เขาเดินทางไปเยอรมันและได้ให้คำปรึกษากับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน (KPD, Communist Party of Germany) ซึ่งเขาอยู่เบื้องหลัง ความพยายามจะทำการปฏิวัติในเดือนมีนาคมที่เรียกว่า March Action แต่ว่าล้มเหลว ความล้มเหลวดังกล่าวทำให้เขาถูกเลนินตำหนิ
1928 ถูกจับในเวียนนาเพราะว่าเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ใช้หนังสือเดินทาง แต่ว่าไม่นานได้รับการปล่อยตัว
1937 28 มิถุนายน, เบลา คุน ถูกจับในสมัยของสตาลิน ในข้อหาเป็นพวกเดียวกับทร็อตสกี และต่อต้าการปฏิวัติ 
1938 29 สิงหาคม, ถูกตัดสินประหารชีวิต และถูกนำไปยิงทิ้งที่คอมมูนาร์ก้า (Communarka shooting ground) พื้นที่ของ NKVD ที่สำหรับประหารนักโทษ

1955 2 กรกฏาคม, รัฐบาลโซเวียตในยุคหลังสตาลินได้ลบล้างความผิดของเขา

amzn_assoc_ad_type = “contextual”;
amzn_assoc_tracking_id = “hoboctn-20”;
amzn_assoc_marketplace = “amazon”;
amzn_assoc_region = “US”;
amzn_assoc_placement = “ZBYUDA42I5YV2PW4”;
amzn_assoc_linkid = “ZBYUDA42I5YV2PW4”;
amzn_assoc_emphasize_categories = “1000”;
amzn_assoc_fallback_products = “”;
amzn_assoc_width = “300”;
amzn_assoc_height = “250”;

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!