อโศก (Devanam Priyadarshi, Ashoka)
อโศก ประสูติราวปี 304 BC ในกรุงปาตาลีปุตรา (Pataliputra) เป็นโอรสของจักรพรรดิพินทุสาร (Emperor Bindusara) ซึ่งตามหนังสือ Avadana บันทึกเขาไว้ว่าพระมารดาคือพระนางสุภาดรัง (Subhadrangī) พระมเหสีของจักพรรดิพินทุสาร, ในขณะที่หนังสือ Divyavadana บันทึกว่าพระราชินีพระนามว่าจันภากัลยาณี (Janapadakalyani) แต่หนังสือ Ashokavadana บันทึกว่าพระมารดาเป็นลูกสาวของพราห์มคนหนึ่งจากเมืองจำปา (Champa)
อโศก เป็นพระนัดดา ของจักรพรรดิจันทราคุปตะ เมารยะ (Chandragupta Maurya) ผู้ก่อตั้งราชงงศ์เมารยะ ( Mauryan dynasty)
อโศกได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าครองเมืองอวานติ (Avanti)
323 BC อเล็กซานเดอร์ สวรรคต (Alexander the Great) ปโตเลมี โซเตอร์ (Ptolemy I Soter) แม่ทัพคนหนึ่งของอเล็กซานเดอร์ จีงได้สถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นกษัติย์แห่งอียิปต์
305 BC ซีลัวคัส (Seleucus) แม่ทัพคนหนึ่งของอเล็กซานเดอร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากปโตเลมี ทำให้เขาได้ปกครองบาบิโลน (Babylon) และซีลัวคัสได้ทำสงครามขยายดินแดนออกไปทางตะวันออก ไปยังเปอร์เซีย (Persia), มีเดีย (Media) จนกระทั้งไปถึงอินเดีย
303 BC ซีลัวคัส พ่ายแพ้ให้กับกองทัพของจักรพรรดิจันทราทราคุปตะ , ซีลัวคัสจึงทำสันติภาพกับอินเดียโดยการให้ลูกสาวคนหนึ่งของเขา แต่งงานกับจักรพรรดิจันทราคุปตะ
297 BC จักรพรรดิจันทราคุปตะสวรรคต และจักรพรรดิพินทุสารครองราชย์
285 BC อโศก มีมเหสีและสนมรวม 5 พระองค์ องค์แรกพระนามว่าเทวี (Devi, Vedisa-Mahadevi Sakyakumari) ซึ่งแม้ไม่ปรากฏว่าพระองค์อภิเษกกันเมื่อใด แต่ว่าโอรสองค์แรกชื่อมาเฮนตรา (Mahendra) เกิดในปีนี้ และมีพระธิดาด้วยกันชื่อแสงหะมิตรา (Sanghamitra)
…
ต่อมาอโศกถูกส่งให้ไปเมืองตักศิลา (Takshashila) เพื่อปราบปรามการจราจล แต่ว่ากันว่าเมื่อพระองค์เดินทางมาถึง ฝ่ายผู้ก่อการจราจลยินดีในการมาของพระองค์ ทำให้มีการยอมวางอาวุธโดยที่ไม่มีการสู้รบ
ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ที่ตักศิลาสงบ อโศกก็ถูกส่งไปยังคาลินกา (Kalinga) ซึ่งที่เมืองนี้พระองค์ได้พบกับ มเหสีองค์ที่สองของพระองค์ ชื่อคารุวากี (Karuvaki) ซึ่งตอนนั้นเป็นเพียงหญิงชาวประมง ซึ่งให้กำเนิดโอรสสามคนแก่อโศก แต่รู้เพียงว่าโอรสองค์โตชื่อทิวาลา (Tivala Maurya)
ไม่นานอโศกถูกสั่งให้ไปปราบปรามการจราจลที่อุจเจน (Ujjain) ซึ่งที่เมืองนี้ อโศกได้รับบาดเจ็บในการต่อสู้ และพระองค์ได้รับการช่วยเหลือจากภิกษุ ที่เมืองนี้จึงเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา
…
272 BC จักรพรรดิพินทุสารสวรรคต ซึ่งหนังสือ Divyavadana ได้เล่าว่าพระองค์ต้องการใช้เจ้าชายสุสิมา (Susima) พระโอรสองค์โตเป็นรัชทายาทแต่ทว่าขุนนางส่วนใหญ่สนับสนุนเจ้าชายอโศก โดยขุนนางชื่อ ราภากุปตะ (Radhagupta) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เจ้าชายอโศกครองราชย์ โดยเป็นผู้ที่นำช้างหลวงเชือกหนึ่งมาให้กับเจ้าชายอโศกเพื่อใช้เดินทางไปยังพระตำหนักทองคำที่ซึ่งจักรพรรดิพินทุสารกำลังจะตัดสินใจมอบตำแหน่งรัชทายาทให้ เล่ากันว่าอโศกได้หลอกให้เจ้าชายสุสิมาตกลงไปในหลุมซึ่งมีถ่านหินลุกไหม้อยู่จนเสียชีวิต
แต่เหตุการณ์อีกแบบหนึ่งเล่าว่า อโศกได้รับการสนับสนุนจากราภากุปตะ ให้นำกองทัพบุกเมืองหลวง ซึ่งอโศกได้ยกทัพมายังปาตาลีปุตรา และได้สังหารพระเชษฐาสุสิม และพี่น้องคนอื่นๆ อีกหลายคน
นอกจากนั้นหนังสือ Dipavansa และ Mahavansa ได้เขียนเอาไว้ว่าอโศกฆ่าพี่น้องกว่า 99 คนเพื่อที่จะได้เหลือตนเองเป็นรัชทายาทแต่เพียงผู้เดียว มีเพียงพระอนุชาวิทาโศก (Vithashoka) เท่านั้นที่ได้รับการไว้ชีวิต
เมื่ออโศกขึ้นเป็นจักรพรรดิ งานแรกๆ ของพระองค์ในฐานะจักรพรรดิคือการทำสงครามในการปราบปรามกบฏ เพราะในระหว่างที่จักรพรรดิพินทุสารยังมีพระชนษ์อยู่นั้น ในหนังสือ Divyavadana ได้บันทีกเอาไว้ว่าในสมัยของจักรพรรดิพินทุสาร อุปราชย์จันนากยะ (Channakya) ได้ก่อกบฏขึ้น ซึ่งเขาสามารถทำลายและยึดเมืองหลายสิบแห่งทางตะวันออกของอินเดียเอาไว้ได้ เมื่ออโศกขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงสืบราชกิจในการทำสงครามปราบกบฏต่อจากพระบิดา
270 BC อภิเษกกับอสันธิมิตรา (Asandhimitra) ซึ่งพระนางได้รับตำแหน่งพระอัครมเหสี และเป็นพระราชีนีของประเทศ
269 BC มีพิธีราชพิเษกอย่างเป็นทางการ ซึ่งเมื่อทรงครองราชย์ พระองค์ได้ทำสงครามต่อเนื่องกว่า 8 ปี เพื่อขยายดินแดนทุกทิศทาง ด้านตะวันออกเข้าไปยังบริเวณอัสสัม (Assam) ด้านตะวันตก ไปถึงบาโลชิสถาน (Balochistan) บริเวณอัฟกานิสถานและปากีสถาน และทางใต้ขยายไปจนติดรัฐทมิฬ นาดู (Tamil Nadu) ซึ่งมีอาณาจักรของชาวทมิฬอยู่ที่ปลายของอนุทวีปอินเดีย
เมื่ออโศกครองราช ตำนานเล่าว่าพระองค์มีนิสัยที่โหดอำมะหิต พระองค์ทรงสร้างสถานที่สำหรับทรมานนักโทษขึ้นมา เรียกกันว่าเป็นนรก (Ashoka’s Hell) จนพระองค์ถูกขนาดนามว่าเป้น Chanda Ashoka หรือ Ashoka the Fierce
265 BC อโศกเปิดสงครามกับคาลิงกา (Kalinka) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้หัดมานับถือพุทธศาสนา เพราะว่าพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นผู้คนล้มตายและเจ็บป่วยหลายแสนคนเพราะสงคราม
263 BC เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา
เจ้าชายกุนาละ (Kunala) จากพระมเหสีปัทมาวะตี (Padmavati) มเหสีองค์ที่ 4
มเหสีองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายของอโศกชื่อติชยะรัคชา (Tishyaraksha) ซึ่งติชยะรัคชาเคยหลงรักกุนาละ พระโอรสของอโศก แต่ว่ากุนาละไม่ได้คิดเช่นเดียวกับพระองค์ ติชยะรัคชาจึงเกิดความแค้นและได้ทำให้ดวงตาของกุนาละปอด
260 BC ชนะสงครามต่อคาลิงกา
250 BC ส่งคณะทูตไปเผยแพร่ศาสนาพุทธ
กันธารา มาหาติกะ (Gandhara Majjhantika) – ไปแคชเมียร์
มหาเทวา (Mahadeva) – ไมเซอร์ (Mahasamandala ~ Mysore)
รักขิตา (Rakkhita) – ทามิฬ นาดู (Vanavasi ~ Tami Nadu)
มหารักขิตา (Maharakkhita) – จักรวรรดิซีลูคิด (Bactria, Seleucid Emire, Country of Yona)
มาจหิมา (Majjhima) – เนปาล (Himavanta ~ Nepal)
โสนะ (Sona) , อุตตะระ (Uttara) – ไทย พม่า (Suvannabhumi)
โยนะ ธรรมารักขิตะ (Yona Dhammarakkhita) – กุจรัต (Aparantaka ~ Gujarat , Sindh)
มหาธรรมารักขิตะ (Mahadhammarakkhiita) – มหารัชทะ (Maharattha)
มหามหินตา (Mahamahinda) – ศรีลังกา (Lankadipa ~ Sri Lanka)
232 BC สวรรคต , ตำนานเล่าว่าต้องใช้เวลาถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนในการเพลิงพระศพ