Numquam prohibere somniantes
Antonio Stradivari
Antonio Stradivari

Antonio Stradivari

แอนโตนิโอ สตราดิวาริ (Antonio Stradivari, ลาติน (Antonius Stradivarius))
ช่างทำเครื่องดนตรี
แอนโตนิโอ สตราดิวาริ เกิดราวปี 1644 ในครีโมน่า (Cremona) เมืองทางตอนเหนือของอิตาลี  ครอบครัวของเขาเป็นครอบครัวที่มีชื่อเสียงของเมือง สังเกตุได้จากมีการเรียกนามสกุล ซึ่งยังไม่เป็นที่นิยมในยุคสมัยนั้น
พ่อของเขาชื่อว่า อเลสซานโดร (Alessandro Stradivari) และแม่ชื่อแอนนา (Anna Moroni) ทั้งคู่แต่งงานกันในวันที่ 30 สิงหาคม 1622 และมีลูกที่เกิดก่อนแอนโตนิโอ อย่างน้อยสามคน คือ กุซซิปเป้า (Giuseppe Giulia Cesare) คาร์โล (Carlo Felice) และจิโอวานนี (Giovanni Battista)
ข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับครอบครัวนี้สูญหายไปอาจเป็นเพราะเกิดโรคระบาดหนักภายในเมืองช่วงปี 1628-1630 ทำให้ครอบครัวต้องอพยพออกจากเมือง หรือไม่ก็เกิดจากการปฏิรูปศาสนาของจักรพรรดิโจเซฟ ที่ 2 แห่งออสเตรีย (Joseph II of Austria) ในปี 1788 เอกสารที่บันทึกเอาไว้จึงสูญหาย
ตอนอายุราว 12 ปี สตราดิวาริ น่าจะได้ฝึกวิชาช่างกับนิโคล่า อมาติ (Nicola Amati)
1667 4 กรกฏาคม, เขาแต่งงานกับฟรานเซสก้า เฟอร์ราบอสชิ (Francesca Ferraboschi) เธอเป็นหญิงม่ายที่เคยแต่งงานกับเกียโคโม่ คาปรา (Giacomo Capra) และมีลูกด้วยกันสองคน ก่อนที่พี่ชายของฟรานเซสก้าจะฆ่าเกียโคโม่ตาย และหนีไป
สตราดิวาริ กับฟรานเซสก้า มีลูกด้วยกัน 5 คน ชื่อ กัวเลีย มาเรีย (Giulia Maria), แคทเธอริน่า (Catterina) ฟรานเซสโก้ (Francesco) อเสซซานโดร (Alessandro) และโอโมโบโน่ (Omobono Stradivari)
ระหว่างปี 1667-1680 สตราดิวาริ ไปอาศัยอยู่ในบ้านชื่อ คาซ่า เดล เปสคาโตเร่  (Casa del Pescatore) หรือ คาซ่า นูเซียเล่ (Casa Nuziale) ซึ่งมีเจ้าของเป็นสถาปนิกชื่อฟรานเซสโก้ เปสคาโรลิ (Francesco Pescaroli)
1680 สตราดิวาริ ซื้อบ้านหลังใหม่ และตั้งชื่อว่า เลขที่ 1 เปียสซ่า โรม่า  (No.1 Piazza Roma) ซึ่งข้างๆ บ้านก็ยังติดกับร้านทำไวโอลีนของช่างคนอื่นๆ ด้วย อย่างอมาติส (Amatis) และกัวร์เนริส (Guarneris) เขาอาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้จนกระทั้งเสียชีวิต
1684 นิโคล่า อมาติ เสียชีวิต
ช่วงปี 90s หลังจากอมาติ เสียชีวิตไปแล้ว สตราดิวาริ ถึงพัฒนาการไสตล์การออกแบบเป็นของตัวเอง เขาสร้างไวโอลีนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ทาด้วยสีที่เข้มขึ้นจากเดิมที่เคยใช้สีเหลืองเหมือนอมาติ นอกจากนั้นเขายังลงน้ำมันขัดเงาให้แวววาว ซึ่งไวโอลีนแบบนี้ของ สตราดิวาริ ถูกเรียกว่าเป็น “Long Strads”
1698 20 พฤษภาคม, ฟรานเซสก้า ภรรยาของเขาเสียชีวิต
สตราดิวาริ เริ่มกลับมาสร้างไวโอลีนขนาดเล็กเหมือนเดิม ซึ่งเขาผลิตไว้ไวโอลีนแบบนี้ออกมาขายจนกระทั้งเสียชีวิต โดยถือเป็นช่วงที่คุณภาพไวโอลีนของสตราดิวาริดีที่สุด โดยไวโอลีนที่มีชื่อเสียง ที่ถูกสร้างขึ้นมาในยุคทองของเขา อาทิ the “Betts” (1704) the “Alard” (1715) และ the “Messiah” (1716)
1690 “Medici Tuscan” เป็นวิโอล่าตัวหนึ่งของสตราดิวาริ ที่สร้างให้กับเฟอร์ดินันโด้ เมดิซี (Ferdinando de Medici, Grand Duchy of Tuscany) ปัจจุบันถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีในฟลอเรนซ์ (Conservatory Luigi Cherubini of Florence)
1699 24 สิงหาคม, สตราดิวาริ แต่งงานครั้งที่ 2 กับแอนโตเนีย แซมเบลลิ (Antonia Zambelli) เธอมีอายุ 35 ตอนที่ทั้งคู่แต่งงานกัน พวกเขามีลูกด้วยกันอีก 5 คน ชื่อ ฟรานเซสก้า (Francesca Maria) จิโอวานนี กุสเซปเป้ (Giovanni Battista Giuseppe) จิโอวานนี มาร์ติโน่ (Giovanni Battista Martino) กุเซปเป้ แอนโตนิโอ้ (Giuseppe Antonio) และเปาโล (Paolo)
1737 18 ธันวาคม,​เสียชีวิตในวัย 93 ปี ร่างของเขาถูกนำไปฝังไว้ที่โบสถ์ซานโดเมนิโก้ (Church of San Domenico)

ตลอดชีวิตของสตราดิวาริ เขาผลิตเครื่องดนตรีออกมาราว 1100 ชิ้น ไม่ใช่เฉพาะแค่ไวโอลีน แต่ว่าเขายังทำฮาร์ฟ, กีตาร์, เซลโล่ และอื่นๆ ด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!