สงครามอังกฤษ-อยุธยา (Anglo- Ayutthaya War)
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2221 สมเด็จพระนารายณ์ กษัตริย์แห่งอยุธยา ได้ประกาศทำสงครามกับบริษัทอีสต์อินเดีย (East India Company) ของประเทศอังกฤษ
ปี 1681 (พ.ศ.2224) ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ พระยาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ซึ่งเป็นชาวกรีก ที่ทำงานในราชสำนักอยุธยา มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของอยุธยาเป็นอย่างมาก นโยบายหนึ่งคือด้านการค้าต่างประเทศ ซึ่งคอนสแตนติน ฟอลคอน ได้สั่งให้มีการสร้างท่าเรือขึ้นที่เมืองมะริด (Mergui) เพื่อใช้สำหรับทำการค้ากับประเทศรอบอ่าวเบงกอล
ปี 1681 เรือสินค้าของอยุธยาลำหนึ่ง ซึ่งคอนสแตนติน ฟอลคอน ได้จ้างว่าชาวอังกฤษเป็นคนเดินเรือ และเรือดังกล่าวก็ชักธงอยุธยา เรือได้แล่นเข้ามาที่ท่าเรือโกลคอนด้า (Kingdom of Golconda) ที่เมืองมาสุลิปาตัม (Masulipatam) บริเวณประเทศอินเดียปัจจุบัน บนเรือลำดังกล่าวของอยุธยามีซามูเอล ไวต์ (Samuel White) ชาวอังกฤษที่ทำงานให้กับคอสแตนติน ฟอลคอน โดยสารมากับเรือด้วย
อย่างไรก็ดี การมาโกลคอนด้าของเรือสินค้าอยุธยานี้สร้างความไม่พอใจให้กับพ่อค้าชาวมุสลิมซึ่งเคย และบริษัทอีสต์อินเดีย ( British East India Company) ที่เคยผูกขาดการค้าในพื้นที่มาก่อน ทำให้ทางด้านเจ้าหน้าที่ของโกลคอนด้าปฏิเสธที่จะให้เรือสินค้าของอยุธยาเข้าเทียบที่ท่าเรือ ทำให้ในที่สุดเรือสินค้าขออยุธยาก็ล่มลง
ซามูเอล ไวต์ จึงรู้สึกผูกใจเจ็บกับเหตุการณ์ที่เรือของเขาล่มมาก
1683 (พ.ศ. 2227) คอนสแตนติน ฟอลคอน ได้แต่งตั้งริชาร์ด เบอร์นาบี้ (Richard Burnaby) ชาวอังกฤษ ให้เป็นเจ้าเมืองมะริด และให้ซามูเอล ไวต์ เป็นชาห์บันดาร์ (Shahbandar) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินและเก็บภาษีประจำท่าเรือ และทั้งเบอร์นาบี้และซามูเอล ไวต์ ยังทำหน้าที่ดูแลโครงการต่อเรือในมะริดด้วย
ซามูเอล ไวต์ ซึ่งยังคงเจ็บแค้นใจจากเหตุการณ์ในปี 1681 ได้อาศัยตำแหน่งของเขาเพื่อที่จะแก้แค้นเหตุการณ์ที่เรือของเขาล่มเมื่อสองปีก่อนในโกลคอนด้า เขาจึงสนับสนุนเหล่าโจรสลัดให้ปล้นโดยเรือสินค้าของบริษัทอีสต์อินเดียที่มาจากโกลคอนด้า และลูกเรือก็ถูกทำร้ายหรือสังหาร
เช่น บันทึกของบริษัทอีสต์อินเดีย บอกว่าเรือสินค้าถูกยิงที่มาสุลิปาตัม (Masulipatam), เรือสินค้าหลายลำถูกจับ, เรือสินค้าราชาเทียกา (Tiaga Raja) ถูกยึดสินค้ามูลค่ากว่า 2,000 ปอนด์ระหว่างเทียบท่าที่มะริด, เรือสินค้าอเมริกันของจอห์น เดมาร์คาร่า (John Demarcora) ถูกยึด
เหตุการ์เหล่านี้เป็นความแค้นส่วนตัวของซามูเอล ไวต์ แต่ว่าบริษัทอีสต์อินเดียมองว่ารัฐบาลอยุธยาให้ท้ายซามูเอล ไวต์ แม้ว่าคอนสแตนติน ฟอลคอน ได้สั่งให้ไวต์ ยุติการกระทำดังกล่าวแต่ไวต์ก็ไม่ได้ทำตาม
นอกจากนั้นยังมีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง เมื่อคอนสแตนติน ฟอลคอน ได้สั่งซื้อเครื่องประดับจากอีลิฮู เยล (Elihu Yale) ประธานของหมู่เกาะมาดรัส (President of Madras) เพื่อจะนำเครื่องประดับดังกล่าวไปถวายแก่สมเด็จพระนารายณ์ แต่ว่าเมื่ออีลิฮู เยล ได้ส่งบิลเรียกเก็บเงิน คอนสแตนติน ฟอลคอน ท้วงว่ามันมีราคาที่สูงเกินไป และปฏิเสธที่จะซื้อเครื่องประดับดังกล่าว
ต่อมาน้องชายของอีลิฮู เยล ชื่อโทมัส (Thomas) ได้เดินทางมายังอยุธยา
1686 (พ.ศ. 2229) กรกฏาคม, บริษัทอีสต์อินเดีย ได้รับพระราชทานกฤษฏีการับรองจากกษัตริย์เจมส์ ที่ 2 (King James II of Englasn) ที่ห้ามไม่ให้ชาวอังกฤษทุกคนทำงานในเรือสินค้าของต่างชาติที่แล่นในน่านน้ำของดินแดนตะวันออก
ตุลาคม, บริษัทอีสต์อินเดียได้ส่งเรือรบจากมาดรัส มายึดบริเวณแหลมเนกระอิส (Negrais) บริเวณชายฝั่งของเมืองมะริดเอาไว้ เพื่อใช้เป็นฐานในการต่อสู้กับโจรสลัด แต่ว่าต่อมามีมรสุมเข้ามาทำให้เรือรบต้องถอยกลับไป
พฤศจิกายน, คอนแสตนติน ฟอลคอน ได้ส่งจดหมายไปยังบาทหลวงฟรานเซียส (Pere Francois de la Chaise) เพื่อส่งสาส์นผ่านไปถวายยังพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 (Louise XIV of France) โดยเสนอว่าจะมอบเมืองมะริดให้อยู่ภายใต้การดูแลของฝรั่งเศส เพื่อที่จะได้หยุดการเป็นสลัดปล้นเรืออย่างผิดกฏหมายที่นำโดย ซามูเอล ไวต์
1687 (พ.ศ. 2230) มีนาคม, ทางด้านฝรั่งเศส ได้มีการตอบรับข้อเสนอของคอนสแตนติน ฟอลคอน ที่จะยกเมืองมะริดและกรุงเทพฯ ให้กับฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสนำโดยจอมพลเดส ฟาร์เกส (Marshal Des Farges) จึงได้ยกกองทัพเรือออกมาจากฝรั่งเศส
มิถุนายน, เรือรบ เคอร์ตาน่า (Curtana) และเรือรบเจมส์ (James) ที่บัญชาการโดยแอนโทนี่ เวลต์เดน (Anthony Weltden) ได้ถูกส่งมาจากมาดรัส มีเป้าหมายในการนำตัวชาวอังกฤษทั้งหมดที่ทำงานให้กับราชสำนักอยุธยากลับประเทศ และใช้เรือรบดังกล่าวในการปิดท่าเรือมะริด ไม่ให้อยุธยาสามารถทำการค้าได้ จนกว่าทางอยุธยาจะยอมจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 65,000 ปอนด์
เวลต์เดน นั้นเหมือนจะถูกหลอกให้ตายใจ เมื่อไวต์และชาวอังกฤษคนอื่นๆ มีท่าทีจะยอมทำตามคำสั่ง และแสดงความตั้งใจจะกลับอังกฤษ
14 มิถุนายน, เวลต์เดน และทหารอังกฤษถูกเชิญเข้าร่วมในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นบนฝัง และในคืนนั้นทหารของอยุธยา ที่ได้รับคำสั่งจากผู้ว่าเมืองตะนาวศรี (Tenasserim) ก็ได้รับคำสั่งให้ยิงเรืออังกฤษและทหารอังกฤษของเวลต์เดน จนเรือเจมส์นั้นจมลง
แต่ว่าเวลต์เดนและไวต์ สามารถหนีจากเหตุการณ์ลวงสังหารนี้ได้ พวกเขาหนีไปขึ้นเรือง เคอร์ตาน่า (Curtana) และ รีโซลูชั่น (Resolution) และหลบไปอยู่บนเกาะๆ หนึ่งในหมู่เกาะมะริด เพื่อรอเวลา
สิงหาคม, อยุธยาได้ประกาศสงครามกับบริษัทอีสต์อินเดีย
สิงหาคม, กษัตริย์ เจมส์ ที่ 2 ได้มีพระราชโองการมายังบริษัทอีสต์อินเดียในมาดรัส ให้ทำการยึดเมืองมะริด เพื่อป้องกันไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของฝรั่งเศส เยล จึงได้นำกองทัพเรือมาเสริมกำลังให้กับเวลต์เดน แต่ว่าเยลนำเรือเข้าไปยังท่าเรือที่มะริด โดยที่ไม่รู้ว่าเวลต์เดนนั้นมีปัญหากับอยุธยาและถูกขับไล่ออกมาแล้ว และอยุธยาก็ได้ประกาศสงครามกับบริษัทอีสต์อินเดีย
22 กันยายน, กองเรือของเยลมามาจอดยังท่าเรือของเมืองมะริด และถูกทางอยุธยายึดเรือเอาไว้
ตุลาคม, เวลเดนต์หนีกลับไปยังมาดรัสได้สำเร็จ ในขณะที่ไวต์ได้โดยสารเรือรีโซลูชั่น กลับไปยังอังกฤษและเสียชีวิตในอังกฤษในเวลาต่อมา
ความขัดแย้งระหว่างอยุธยากับบริษัทอีสต์อินเดีย เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ว่าทั้งสองฝ่ายไม่เคยมีการทำสนธิสัญญายุติสงครามระหว่างกัน และท่าเรือของอยุธยาก็ปิดตายสำหรับบริษัทอีสต์อินเดียไปจนกระทั้งปี 1708 แต่ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทอีสต์อินเดียยังคงทำการค้ากับอยุธยาเพียงแต่ใช้เรือที่ติดธงชาติอื่นแทน