หนังสือเล่มนี้เชียนโดย ซีมอง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon De La Loubere) ทูตวิสามัญจากฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางมายังสยาม (อยุธยา) ระหว่างปี 1687-1688
ถูกแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษโดย A.P. Gen. R.S.S. ในปี 1693
บทที่ 1 The Occasion and Design of This Work
เมื่อข้าพเจ้ากลับจากการเดินทางเยือนสยาม ในฐานะของทูตวิสามัญของศาสนาคริสต์สูงสุด พวกข้าพเจ้าก็ได้รับคำสั่งให้เขียนรายงานเล่าเหตุการณ์ที่ข้าพเจ้าได้เห็นหรือเรียนรู้ในประเทศนั้นโดยละเอียด ซึ่งก็คือเรื่องราวทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นช่วยให้คนทั่วไปสามารถที่จะรู้เรื่องราวของการเดินทางที่แสนยาวนานนี้ด้วย แต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำอธิบายของประเทศนี้นั้น เนื่องจากเราไม่สามารถมีความสัมพันธ์กันยาวนาน เราจึงไม่อาจจะรู้จักพวกเขาได้อย่างสมบูรณ์ เพราะว่าหนังสือเล่มนี้จะคงอยู่ตลอดไปและจะช่วยทำให้เห็นอดีตเสมอ สิ่งที่ข้าพเจ้าจะสามารถบอกได้แน่ชัด ก็คือพวกเราเริ่มออกเดินทางกันจากเมือง เบรสต์ (Brest) ในวันที่ 1 มีนาคม 1687 และเราไปถึงสยามในวันที่ 27 กันยายน ของปีเดียวกัน และเรากลับออกจากสยามในวนที่ 3 มกราคม 1688 และกลับมาถึงเมืองเบรสต์ ในวันท่ 27กรกฏาม
สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นสยามเป็นครั้งแรกนั้นบอกได้ว่า สยามเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งดินและอากาศ ข้อสอง ข้าพเจ้าจะอธิบายเกี่ยวกับนิสัยของคนสยามโดยทั่วไป และสุดท้ายข้าพเจ้าจะบรรยายเกี่ยวกับวัฒนาธรรมของพวกเขาที่แปลก และมีหลายระดับ ส่วนการปกครองและศาสนาของพวกเขาจะถูกอธิบายเอาไว้ในบทสุดท้าย ฉันบอกกับตัวเองเอาไว้ว่ายิ่งผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าในมากขึ้นเท่าไหร่ พวกเขาก็จะเห็นความสำคัญของหนังสือเล่มนี้มากขึ้นด้วยความสนอกสนใจ และเพราะว่าด้วยธรรมชาติและภูมิปัญญาของชาวสยามที่ข้าพเจ้าไปพบเจอนั้น ยิ่งได้พบก็ยิ่งรู้สึกว่ามันมีความพิเศษมากขึ้นมากขึ้น หนังสือเล่มนี้จะไม่มีเนื้อหาที่จะทำให้ไม่สบายใจ หรือขัดแย้งกับสิ่งที่ข้าพเจ้าเกริ่นมามากเกินไป ข้าพเจ้าจะบันทึกเอาความทรงจำท้ังหลายที่ข้าพเจ้านำกลับมาจากประเทศนี้ลงไป ซึ่งบ้างอย่างอาจจะกระทบต่อความรู้สึกของผู้อ่านบ้าง
กใจทุกคนหรือจะขัดขวางการเล่าเรื่องของข้าพเจ้า มากเกินไป ในตอนท้ายฉันจะใส่บันทึกหลายเล่มที่ฉันนำมาจากประเทศนี้ [หน้า 2] และฉันไม่สามารถระงับได้โดยไม่ทำร้ายความอยากรู้อยากเห็นของสาธารณชน แต่ถ้าแม้จะมีข้อควรระวังนี้ ข้าพเจ้ายังขยายความในบางเรื่องให้เกินความเพลิดเพลินของบางเรื่อง ข้าพเจ้าขอให้พวกเขาพิจารณาว่าการแสดงออกทั่วไปไม่สามารถให้แค่ความคิดได้ และนี่คือการดำเนินการที่ไม่เกินกว่าความรู้ผิวเผินของสิ่งต่าง ๆ ‘เพราะความปรารถนาที่จะทำให้ชาวสยามเป็นที่รู้จักอย่างสมบูรณ์นี้ ฉันจึงแจ้งเรื่องอาณาจักรอื่น ๆ ของอินเดียและจีนหลาย ๆ ครั้ง: แม้ว่าจะถูกยึดอย่างเคร่งครัดแล้วก็ตาม ทั้งหมดนี้อาจดูแปลกสำหรับเรื่องของฉัน แต่สำหรับฉันแล้วดูเหมือนว่า การเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ ของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งกันและกันทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมาก ข้าพเจ้าหวังว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษสำหรับชื่อสยามซึ่งข้าพเจ้าเกี่ยวข้องและอธิบาย ข้อสังเกตเหล่านี้จะทำให้เข้าใจความสัมพันธ์อื่นๆ ได้เช่นเดียวกับของฉัน ซึ่งบางครั้งหากไม่มีภาพประกอบเหล่านี้อาจทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่ฉันยืนยัน
พาร์ต ที่ 1. ประเทศสยาม
บทที่ 1. คำอธิบายทางภูมิศาสตร์
การสำรวจทำให้รู้จักชายฝั่งทะเลของราชอาณาจักรสยาม และผู้มีนักเขียนหลายคนได้เคยอธิบายเอาไว้แล้ว แต่ว่าพวกเขาแทบจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ของประเทศของตนเองเอาไว้ หรืออย่างน้อยก็รู้วิธีเก็บเป็นความลับ สิ่งที่ข้าพเจ้านำมาใส่เอาไว้นี้เป็นผลงานของชาวยุโรปผู้ซึ่งเดินทางล่องขึ้นไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศไปยังชายแดนของราชอาณาจักร แต่แผนที่ก็ยังไม่ละเอียดพอที่จะบอกตำแหน่งทั้งหมดได้อย่างแม่นยำทั้งหมด อาจเป็นเพราะคนที่เขียนแผนที่เขายังไม่ได้เดินทางไปเห็นพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้นฉันจึงคิดว่าจำเป็นต้องมอบแผนที่ให้กับนายคาสซินี่ (Cassini) ผู้อำนวยการหอดูดาวที่ปารีส เพื่อปรับปรุงแผนที่ให้ดีขึ้นโดยใช้ความทรงจำของข้าพเจ้าที่เกิดขึ้นในสยาม อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าตระหนักที่ว่ามันต้องมีจุดบกพร่อง แต่ว่ามันก็ยังดีเพราะอย่างน้อยก็ทำให้รู้จักกับอาณาจักรซึ่งไม่เคยเป็นที่รู้จักมาก่อน และอนาคตก็คงจะมีคนมาช่วยเสริมรายละเอียดที่ถูกต้องเพิ่มเข้าไป
พรหมแดนของสยามขยายไปทางเหนือจนถึงบริเวณองศาที่ 22 ส่วนแผนดินก็ไปสิ้นสุดที่อ่าวสยาม ที่ลาติตูดที่ 13.5 องศา ซึ่งความยาวของประเทศนั้นประมาณ 170 ลึก ตามแนวเส้นตรง ซึ่งกว้างประมาณ 20 ดีกรีของละติตูด ตามวิธีของนักเดินเรือ
ชาวสยามบอกว่าการเดินทางไปเมืองเชียงใหม่ (Chiamai) ใช้เวลา 15 วัน โดยเดินทางไปทางเหนือ ซึ่งประมาณได้ว่าเป็นระยะทางประมาณ 60-70 ลีก เพราะว่าพวกเขาเดินทางโดยทางน้ำและต้องทวนกระแสน้ำ ซึ่งจนถึงเวลานี้เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วที่กษัตริย์ของพวกเขา ตามที่มีบันทึกเอาไว้ว่าสามารถผนวกเมืองดังกล่าวเข้ามาได้ แต่ว่าก็ได้ปล่องทิ้งเมืองให้ร้าง หลังจากได้อพยพผู้คนทั้งหมดมา จนกระทั้งเมืองถูกฟื้นขึ้นมาใหม่โดยกษัตริย์อังวะ (King of Ava) …
ชาวสยามที่อพยพออกมานั้นไม่รู้ว่าทะเลสาบที่นั้นซึ่งนักภูมิศาสตร์ของพวกเราบอกว่าเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ว่าจากคำบอกเล่าของพวกเขา ชื่อของเมืองมาจากชื่อของแม่น้ำ ทำให้ข้าพเจ้าสับสนกับข้อมูลที่ได้จากนักภูมิศาสตร์ ซึ่งมันอาจจะไม่ได้มีทะเลสาบอยู่ตามที่บอก หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าเมืองนี้ผูกอยู่กับหลายๆ อาณาจักร และถูกทำลายหลายครั้งเพราะสงคราม และการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่แต่ละครั้งก็อาจจะไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งเดิม ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสำหรับบ้านเมืองที่สร้างขึ้นด้วยไม้ เหมือนกับบ้านเรือนทั้งหลายในประเทศนี้ ซึ่งการถูกทำลายแต่ละครั้งก็จะไม่เหลือฐานรากหรือซากให้เห็น ซึ่งมันทำให้เกิดคำถามว่าอันที่จริงแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาถือกำเนิดขึ้นจากทะเลสาบจริงหรือไม่ ด้วยเหตุผลหนึ่งว่าต้นน้ำของแม่น้ำสายนี้มีขนาดเล็กตอนที่มันเข้าพรหมแดนสยาม และมีความยาวเพียง 55 ลีก มีเพียงเรือลำเล็กๆ ที่บรรทุกคนได้ 4-5 คนเท่านั้นที่สามารถแล่นได้
พรหมแดนทางเหนือของสยามเป็นเทือกเขา ซึ่งแยกมากจากราชอาณาจักรลาว และทางเหนือและทางตะวันตกติดกับหลายอาณาจักของชาวพะโค (Kingdoms of Pegu) และอังวะ (Ava) เทือกเขาที่เหมือนกับโซ่สองเส้นนี้ (ซึ่งมีชนกลุ่มน้อยที่ป่าเถื่อน, ยากจน แต่รักอิสระ อาศัยอยู่) ทำให้เกิดหุบเขาขนาดใหญ่ที่กว้างประมาณแปดสิบคูณร้อยลีก และทำต้นกำเนิดของสายน้ำที่ไหลจากเมืองเชียงใหม่ไปสู่ทะเล ซึ่งเป็นทิศทางจากเหนือลงไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ชาวสยามเรียกว่าแม่น้ำ (Me-nam) หรือ แม่-น้ำ (Mother-water) ซึ่งแม่น้ำสายนี้จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้รับน้ำจากลำธารหรือแม่น้ำน้อยใหญ่ตลอดสองข้างทาง ซึ่งจากเทือกเขาที่ข้าพเจ้าบอกนั้นน้ำจะใช้เวลาประมาณสามเดือนในการไหลไปยังอ่าวสยาม โดยบริเวณที่เดินเรือได้ง่ายที่สุดเป็นช่วงนี้แม่น้ำไหลไปทางตะวันออก
จากทะเลเข้ามาที่แม่น้ำสายนี้เป็นระยะทางเจ็ดไมล์ เป็นที่ต้ังของเมืองที่ชื่อว่าบางกอก (Bancok) ซึ่งข้าพเจ้าสังเกตุเห็นได้ว่าชาวสยามจำนวนน้อยเท่านั้นที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ไกลเลยจากเมืองของพวกเขา แต่ผู้ขนก็สามารถสันจรกันทางน้ำจากแม่น้ำเพื่อไปทำการค้าขายถึงทะเลได้สะดวก เมืองบางกอกนี้ถูกเรียกว่า ฝน (Fon) โดยชาวสยาม ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าชื่อชื่อ บางกอก นี่มาได้อย่างไร นอกจากนั้นยังมีชื่อของชาวสยาม ที่มักจากเริ่มต้นด้วยคำว่า บ้าน (Ban) ที่หมายถึง หมู่บ้าน (Village)
สวนซึ่งอยู่ในเขตของเมืองบางกอก กว้างประมาณสี่ลึค ยาวจากเมืองสยาม (City of Siam) มายังสถานที่ที่เรียกว่า ท่าละคร (Talacoan) ซึ่งสวนเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารให้กับประชาชน ซึ่งผู้คนต่างก็ชื่นชอบมัน ข้าพเจ้าหมายถึงว่ามันเป็นแหล่งผลไม้มหาศาล
สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า แม่ตาก (Me-Tac) เป็นหัวเมืองแรกของอาณาจักรที่จะไปภาพเหนือหรือภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ถัดมาเป็นเมือง เทียนทอง (Tian-Tong), กำแพงเพชร (Campeng pet) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมืองกำแพง (Campeng) หรือบางที่ก็ออกเสียงว่า Campingue , นครสวรรค์ (Laconcevan), ชัยนาท (Tchainat), สยาม (Siam), ท่าละคร (Talacoan), ท่าละกิว (Talaqueou), และบางกอก
ระหว่างเมืองชัยนาทกับสยามนั้น แม่น้ำที่ผ่านสองจังหวัดนี้มีระยะทางพอๆ กัน เมื่อแม่น้ำไหลออกจากเมืองละโว้ (Louvo) ค่อนมาทางตะวันออกเล็กน้อย ที่ละติตูด 14.42.32 องศา ตามที่นักสำรวจเยซูอิสต์ได้ตีพิมพ์เอาไว้ กษัตริย์ของสยามในแต่ละปีมักจะเดินทางมาประทับอยู่ที่นี่เป็นระยะเวลานาน เพื่อการล่าสัตว์ แต่ว่าเมืองละโว้นี้ไม่มีประชาชนตั้งถิ่นฐานอยู่ เพราะว่าไม่มีการขุดคลองจากแม่น้ำ(เจ้าพระยา) เข้ามาเพื่อใช้ ส่วนเมืองแม่ตากนั้นประชาชนให้การนับถือเจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายกันมา ซึ่งกล่าวกันว่าเมืองนี้เป็นเมืองบริวารของกษัตริย์แห่งสยาม ที่เขาเรียกว่า พระยาตาก (Paya-Tac) หรือเจ้าชายแห่งตาก (Price of Tac) , เมืองเทียนทอง นี้เหลือแต่ซากปรักพัง เป็นผลจากสงครามกับพะโค, เมืองกำแพง เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเหมืองเหล็ก
ที่เมืองนครสวรรค์ แม่น้ำ (หมายถึง แม่น้ำเจ้าพระยา) ได้รับน้ำจากแม่น้ำสำคัญอีกสายหรือที่ไหลมาจากทางเหนือเช่นกัน ซึ่งมันถูกเรียกว่า แม่น้ำ (หมายถึง แม่น้ำปิง) เช่นกัน ซึ่งดูเหมือนแม่น้ำสายสำคัญจะถูกเรียกด้วยคำว่า “แม่น้ำ” นี้เป็นคำสามัญ นักภูมิศาสตร์ของเราบอกว่าแม่น้ำนี้เกิดจากทะเลสาบในเชียงใหม่ แต่ว่าที่แน่ชัดเลยคือมันได้น้ำมาจากเทือกเขา แต่ว่าก็ไม่มีที่ไหนให้น้ำมากเท่ากับที่เมืองนี้ โดยแม่น้ำนี้เริ่มไหลมาจากเมืองฝาง (Meuang-fang) ไปยังพิชัย (Pitchiai) พิษณุโลก (Pitsanoulouc) และพิจิตร (Pitchit) และไปสิ้นสุดที่นครสวรรค์ ซึ่งแม่น้ำสองสายบรรจบกัน
พิษณุโลก ซึ่งชาวโปตุเกส ออกเสียงเพี้ยนไปเป็น พอร์เซลุค (Porselouc) ในอดีตนั้นเคยปกครองด้วยเจ้าเมืองที่สืบกันมา เหมือนกับเมืองแม่ตาก แต่ว่าระบบยุติธรรมปัจจุบันนี้เกิดขึ้นในราชสำนักของเจ้าชายโบราณ เมืองแห่งนี้เป็นเมืองการค้าสำคัญ มีป้อมปราการอยู่ 14 แห่งล้อมรอบเมือง ที่ตั้งของเมืองอยู่ที่ละติตูดองศาที่ 19 นิดหน่อย
นครสวรรค์ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่าง พิษณุโลก หรือ พอร์เซลุค กับ สยาม (หมายถึง อยุธยา) ซึ่งมีระยะห่างกัน 25 วัน สำหรับการเดินทางด้วยเรือ แต่ว่าอาจจะเดินทางได้เร็วกว่านี้เพียง 12 วัน หากว่าสามารถหาฝีพายได้จำนวนมาก เพราะว่าต้องเดินเรือทวนกระแสน้ำ
เมื่อนี้ดูเหมือนกับเมืองอื่นๆ ของราชอาณาจักรสยาม ที่บ้านเรือนมีจำนวนมากและทำขึ้นจากไม้ แต่มีบ้างที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ หรือมีกำแพงหิน แต่ว่าแบบที่เป็นกำแพงหินนี่หาได้ยากมาก
อย่างไรก็ตามผู้คนในภาคตะวันออกนี่มีเอกลักษณ์และความภาคภูมิในในภาษาของตน มีวิถึชีวิตเรียบง่ายและยากจน ทำอะไรก็ได้เพื่อให้มีชีวิตรอด และชื่อของเมืองนี้เรียกว่า เทียน-ทอง (Tian-Tong) ซึ่งแปลว่า ทองคำแท้, กำแพงเพชร – กำแพงที่สร้างด้วยเพชร ซึ่งจริงๆ แล้วกำแพงของที่นี่ทำขึ้นจากหิน และนครสรรค์ แปลว่า ภูเขาแห่งสววรค์
เมืองที่สำคัญอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองฟาง ซึ่งคำว่า “ฟาง” หมายถึงต้นฟาง พืชซึ่งนิยมนำไปทำเป็นสีย้อมผ้า ซึ่งในภาษาโปตุเกส เรียกต้นไม้นี้ว่า “Sapan” ชื่อของเมืองจึงมีความหมายว่า เมืองที่เต็มไปด้วยต้นฝาง และเพราะว่าเมืองนี้เป็นที่เก็บของ “ฟัน” ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของ สมณโคดม (Sommano-Codom) ซึ่งทำให้ชาวสยามชอบสร้างวัด บางคนจึงไม่ได้เรียกเมืองนี้ว่าเมืองฟาง แต่เรียกว่า เมืองฟัน (Meung-fan) หมายถึงเมืองแห่งฟัน ซึ่งความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาตินี้ทำให้มีผู้คนจำนวนมากที่ออกเดินทางแสวงบุญ ซึ่งไม่เฉพาะแต่ชาวสยาม แต่ยังรวมถึงชาวพะโค (Pegu) และลาวด้วย
ซึ่งความเชื่อไสยศาสตร์นี้ทำให้ต้องพูดถึงอีกเมืองหนึ่ง ที่ชื่อว่า พระบาท (Prabat) ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวั้นออกเฉียงเหนือ 5-6 ลึก จากเมืองละโว้ ความเชื่อของที่นี่มาจาก ในภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวสยามเรียนกัน เพื่อเป็นภาษาสื่อสารกันทางศาสนา คำว่าบาท (bat) แปลว่าเท้า และคำว่า พระ (Pra) เป็นคำที่ยากที่จะแปลความหมายให้แน่ชัดชัดเจน แต่ว่าเป็นคำที่มีค่าและจะใช้เพื่อยกย่องหรือให้ความเคารพ ชาวสยามยังใช้คำนี้เรียก พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ใช้เรียก พระสมณโคดม และยังใช้เรียก พระมหากษัตริย์ของพวกเขา และอาจจะรวมถึงขุนนางบางตำแหน่งที่สำคัญด้วย
พระบาท จึงหมายถึง รอยเท้าของมนุษย์ ซึ่งมันถูกแกะสลักลงบนก้อนหินโดยช่างที่ฝีมือแย่ แต่ว่าน่าทึ่งตรงที่มันลึกลงไปในหิน 13-14 นิ้ว แต่มีขนาดใหญ่กว่าเท้าของมนุษย์ 5-6 เท่า มีสัดส่วนเหมือนไม้กระดาน ชาวสยามหลงไหลพระบาทนี่มาก นอกจากนั้นพวกเขายังหลงไหลช้าง โดยเฉพาะช้างที่มีสีขาว, แรด, และสัตว์ประหลาดอื่นๆ ที่อยู่ในป่าด้วย ซึ่งเหมือนกับว่าพวกเขาจะเข้าไปสักการะบูชาพวกมันด้วยเวลาที่ไม่มีคนอื่นอยู่
แม้แต่กษัตริย์ของสยามก็เดินทางมาสักการะพระบาทนี้ปีละครั้ง โดยมีพิธีที่ใหญ่โต ซึ่งบริเวณผิวของพระบาทถูกแปะด้วยแผ่นทอง และมีการสร้างอาคารล้อมรอบเอาไว้ เล่ากันตามความเชื่อว่าหินที่พบพระบาทนี้เล็กลงจนมาก คล้ายกับทุ่งหญ้าที่ถูกตัด ซึ่งเดิมหินก้อนนี้เคยเป็นภูเขาขนาดใหญ่ แต่เพราะพระพุทธเจ้าประทับรอยเท้าของพระองค์ลงบนภูเขาจึงทำให้ภูเขาหินเล็กลง
อย่างไรก็ตาม มันชัดเจนที่สุดว่าหินนี้ถูกทำขึ้นโดยฝีมือมนุษย์รุ่นก่อน ซึ่งประเพณีนี้เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่เกิน 90 ปี พระสงฆ์ หรือชาวสยามที่นับถือศาสนา ในเวลานั้นก็มีความเคลือบแคลงสงสัย และได้เดินทางมาดูด้วยตนเอง และได้สรุปว่าหินนี้ถูกทำขึ้นแต่หลอกลวงว่าค้นพบอย่างปาฏิหาริย์ และเพราะว่ามันไม่มีความจริงอะไรเลย ทำให้คนที่ยกเมฆเรื่องนี้ขึ้นมากลายวเป็นคนมีชื่อเสียง
ชาวสยามนั้นเหมือนกับนักเลียนแบบ ซึ่งในประวัติศาตร์ของอินเดีย ได้เล่าถึง กษัตริย์แห่งเกาะซีลอน (ศรัลังกา) ซึ่งพระองค์เก็บฟันของลิงได้ ซึ่งต่อมาชาวอินเดียได้ประกาศว่าฟันนี้คือของพระพุทธเจ้า ต่อมาคอนสแนตินแห่งบริแกนเทียม (Constantine of Brigantium) ผู้ซึ่งได้เข้าไปปกครองอินเดีย ได้ครอบครองฟันนี้จากการยึดมาจากชาวอิเดียว แต่ว่าคอนสแตนตินตัดสินใจที่จะเผาฟันนี้ทิ้งไป และโยนขี้เถ้าอัฐิลงไปในแม่น้ำ
บนเกาะซีลอนนี้ชาวอินเดียเรียกว่าลังกา (Lanca) มีภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งมีรอยเท้าที่เชื่อว่าเป็นรอยของมนุษย์อยู่บนยอดเขาเช่นกัน ซึ่งรอยเท้านี้ก็ถูกบูชามาเป็นระยะเวลานานเช่นกัน ซึ่งรอยเท้านี้เป็นรอยเท้าข้างซ้าย ทำให้ต่อมาชาวสยามสร้างเรื่องึ้นมาว่าสมณโคดมได้ประทับรอยพระบาทข้างขวาไว้ที่เมืองพระบาท และรอยเท้าซ้ายอยู่ที่ลังกา แม้ว่าทั้งสองเมืองนี้จะอยู่ห่างกันโดยมีอ่าวเบงกอลอยู่กึ่งกลางก็ตาม
ชาวโปตุเกสเรียกรอยเท้าที่เกาะซีลอนว่า รอยเท้าของอดัม (Adam’s Foot) พวกเขาเชื่อว่าซีลลอนเป็นส่วนหนึ่งของสวรรค์ และสำหรับชาวอินเดียบนเกาะซ๊ลอน พวกเขาเชื่อว่านี่เป็นรอบเท้าของมนุษย์คนแรก
ประเทศไร้ศาสนา(คริสต์)หลายประเทศ ต่างก็มีความเชื่อว่ามนุษย์คนแรกเกิดในประเทศของตนเองกันทั้งนั้น อย่างชาวจีน เรียกมนุษย์คนแรกว่า Puoncou พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์คนนี้อาศัยอยู่ในประเทศจีน แต่ข้าพเจ้าเองไม่สามารถบอกอะไรได้เกี่ยวกับสิ่งที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมานี้ได้ และก็ไม่อาจจะอ้างได้เช่นกันว่านี่คือรอยเท้าของเฮอร์คิวลิส (Hercules’s foot) จากนิยายของเฮโรโดตัส (Herodotus)